สินค้าจ่อขึ้นราคาแน่ตามประเพณี หลัง คสช.ประกาศขึ้นเงินเดือนข้าราชการทั่วประเทศ เพราะเชื่อมั่นผู้บริโภคมีศักยภาพ-กำลังซื้อเพิ่มขึ้น ด้านนักการตลาด เผย 3 กลยุทธ์ขึ้นราคาสินค้าแบบแยบยลของบรรดาผู้ผลิตที่ผู้บริโภคไม่รู้ตัว แต่สร้างกำไรให้ผู้ผลิตสูงขึ้น ขณะที่ข้าวถุง 5 กิโล เตรียมปรับราคาใหม่พฤศจิกายนนี้ จับตาผู้ผลิตสินค้าอาจมีการ “ฮั้ว” สร้างสถานการณ์โอเวอร์ดีมานด์ เหมือนกรณี “น้ำมันปาล์ม” หายจากท้องตลาด!
หลังจากที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และว่าที่นายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ประกาศจะขึ้นเงินเดือนข้าราชการ รวมไปถึงข้าราชการบำนาญ โดยมอบหมายให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ไปดำเนินการต่อไป ล่าสุดเมื่อวันที่ 21 ส.ค. “รังสรรค์ ศรีวรศาสตร์” ปลัดกระทรวงการคลัง ออกมาเปิดเผยความคืบหน้าในหลักการการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการจะเสนอเป็น 2 ทางเลือก คือ การปรับขึ้นเงินเดือนทั้งระบบในอัตรา 8% หรืออีกแนวทางปรับขึ้นเฉพาะข้าราชการชั้นผู้น้อยที่มีเงินเดือนไม่เกิน 9 พันบาท
โดยในเรื่องดังกล่าว คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และกรมบัญชีกลาง อยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียด แนวทางการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการ เพื่อเสนอให้รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นผู้พิจารณาต่อไป พร้อมมีการกำหนดกลุ่มข้าราชการว่ามีกลุ่มใดบ้างที่เข้าข่ายปรับขึ้นเงินเดือน และอัตราในการปรับขึ้นควรจะอยู่ในเกณฑ์ใด ซึ่งรวมไปถึงข้าราชการบำนาญเช่นกัน
“เรื่องขึ้นเงินเดือนยังไม่ได้ข้อสรุปว่าเป็นเท่าไร ซึ่งกระทรวงการคลังต้องหาช่องทางหาเงิน 2 หมื่นล้านบาทมาใช้ให้ทัน ถ้าต้องการจะขึ้นเงินเดือนให้ทัน เม.ย. 2558 โดยอาจมีการปรับ/ลดงบประมาณเพื่อนำมาโปะเงินเดือนใหม่”
อย่างไรก็ดี ทุกครั้งที่มีข่าวการปรับขึ้นเงินเดือนของข้าราชการ และการขึ้นค่าแรงของภาคเอกชน ก็จะมีข่าวการเตรียมขึ้นราคาสินค้าของบรรดาผู้ผลิต หรือบางแห่งมีการปรับราคาสินค้าไว้ก่อนแล้ว แต่ครั้งนี้อาจจะปรับขึ้นราคาสินค้าได้ยากกว่าที่ผ่านมา เพราะเป็นยุคการใช้อำนาจพิเศษผ่าน คสช.โดยให้กระทรวงพาณิชย์ดูแลควบคุมกลไกสินค้าไม่ให้ขึ้นราคา เพราะจะส่งผลกระทบต่อประชาชนโดยรวม
คสช./พาณิชย์ประกาศควบคุม
สำหรับในเรื่องสถานการณ์ราคาสินค้าในช่วงระยะเวลากว่า 3 เดือนที่ คสช.เข้าควบคุมอำนาจการปกครองประเทศ ตั้งแต่ 22 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นมานั้น ยังไม่มีสินค้ารายการไหนปรับขึ้นราคา ส่วนหนึ่งเป็นเพราะนโยบายเพื่อบรรเทาสภาพฝืดเคืองทางเศรษฐกิจของกระทรวงพาณิชย์ที่ออกมายืนยันเรื่องการควบคุมราคาสินค้าอย่างต่อเนื่อง รวมทั้ง คสช.ขอความร่วมมือผู้ผลิตรายใหญ่ เพื่อจะตรึงราคาสินค้าจำเป็นต่อการอุปโภค-บริโภค ไปจนถึงอาหารจานด่วนเป็นระยะเวลา 6 เดือน
จากการสำรวจ 2 ยักษ์ใหญ่ดิสเคานต์สโตร์ คือ บิ๊กซีและเทสโก้ โลตัส ในช่วงของนโยบายลดค่าครองชีพ ที่กระทรวงพาณิชย์เพิ่งขอความร่วมมือ 14 ห้างสรรพสินค้า ให้ลดราคา 10-70% ติดต่อกัน 6 วัน ตั้งแต่วันที่ 19-24 ส.ค. 2557 นั้น จนถึงวันที่ 21 ส.ค.ยังพบว่ารายการสินค้าหลักๆ อย่าง ข้าวสาร น้ำมันพืช ตลอดจนของกินของใช้ กลุ่มคอนซูเมอร์โปรดักส์ ยังไม่มีการปรับราคาในปัจจุบัน
ขณะที่สินค้าหลายประเภทชักแถวกันลดราคาในหลายรูปแบบ อาทิ กลุ่มคอนซูเมอร์ เช่น ยาสีฟัน สบู่ ผงซักฟอก จัดรายการแข่งขันกันอย่างดุเดือด เช่น ลดราคา 50% ซื้อ 1 แถม 1 หรือแม้แต่ซื้อ 2 แถม 1 ตามมาด้วยสินค้ากลุ่มน้ำมันพืชขนาด 1 ลิตร เกือบทุกยี่ห้อมีราคาขายเฉลี่ยระหว่าง 40-50 บาท และจำกัดการซื้อครอบครัวละไม่เกิน 3-6 ขวด หรือการทำโปรโมชันซื้อ 2 แพ็กราคาพิเศษ เช่นสินค้ากลุ่มนมยูเอชทีและขนมขบเคี้ยว
จับตาสินค้าจ่อขึ้นราคา
ขณะเดียวกันหากย้อนไปดูก่อนหน้าที่ คสช.จะเข้ามาบริหารประเทศ สินค้าที่มีความจำเป็นในการดำรงชีวิตของคนไทยหลายรายการ ได้มีการปรับขึ้นราคาไปแล้ว เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งพบว่าสินค้าหลายรายการที่เป็นสินค้าควบคุม ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมการค้าภายในและกระทรวงพาณิชย์ อย่างกลุ่มบะหมี่สำเร็จรูปบางยี่ห้อ ใช้วิธีขยับเพิ่มราคาในช่องทางค้าส่ง รวมถึงราคาสินค้ากลุ่มนมผงเด็ก นมสดยูเอชที และนมข้น ยังมีการปรับขึ้นราคาค้าปลีกขึ้นมาประมาณ 5-10%
แต่หลังจาก คสช.เข้ามา ได้ขอความร่วมมือให้นมผงปรับลดราคาลง และผู้ผลิตได้ปฏิบัติตามอย่างดี แต่หลังมาตรการตรึงราคาสินค้าสิ้นสุด ก็มีแนวโน้มจะขึ้นราคาเช่นเดียวกับสินค้าอื่นๆ
ล่าสุดสินค้ากลุ่มข้าวบรรจุถุง ได้ประกาศจะปรับราคาในเดือนพฤศจิกายน โดยเมื่อเร็วๆ นี้ นายสมเกียรติ มรรคยาธร นายกสมาคมผู้ประกอบการข้าวถุงไทย ออกมาเปิดเผยว่าจะปรับราคาข้าวขาว จากเดิมราคา 80-130 บาทต่อถุง 5 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 5-10 บาทต่อถุง 5 กิโลกรัม โดยให้เหตุผลของการปรับราคาว่ามาจากต้นทุนที่สูง จากผลผลิตข้าวขาวที่ออกมาปีนี้มีปริมาณน้อยกว่าความต้องการของตลาด
ค้าส่งค้าปลีกไทย “ไม่ฟันธง” ขึ้นราคา
ด้าน นายสมชาย พรรัตนเจริญ นายกสมาคมค้าส่งค้าปลีกไทย มองแนวโน้มหลังการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการว่า จะทำให้สินค้ามียอดขายดีขึ้น เพราะข้าราชการมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น และไม่ใช่ตัวแปรทั้งหมด ที่เมื่อเงินเดือนปรับแล้วราคาสินค้าจะปรับตาม เพราะเม็ดเงินที่เพิ่มเข้ามาจะช่วยเพิ่มศักยภาพ และกำลังซื้อที่ดีขึ้นให้คนกลุ่มหนึ่งมีเงินในการจับจ่ายใช้สอย และมีโอกาสในการเลือกที่จะซื้อสินค้าไฮเอนด์ ยกระดับการใช้ชีวิตมาซื้อสินค้าราคาแพง รับประทานอาหารในร้านหรู หรือเดินเลือกซื้อสินค้าในห้างระดับไฮเอนด์
นอกจากนี้แม้จะมีการปรับราคาในรูปแบบการปรับสูตรใหม่เพื่อขึ้นราคาทางอ้อมก็ตาม แต่สถานการณ์การแข่งขันทางการค้าในปัจจุบันมีการทำโปรโมชันลดแลกแจกแถมตลอดเวลา ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการซื้อสินค้าที่ถูกและดีกว่าได้เช่นกัน
“อันที่จริงแล้วต้นทุนทางด้านวัตถุดิบ และแรงงาน เหล่านี้เป็นปัจจัยหลัก เป็นต้นทุนถาวรที่ทำให้สินค้าต้องปรับราคา ที่ผ่านมาเมื่อวัตถุดิบประเภทนี้ขึ้นราคา สินค้ากลุ่มคอนซูเมอร์ที่มีการใช้ในชีวิตประจำวันจะมีการปรับราคา
ส่วนกลุ่มไหนจะปรับราคาก่อนนั้น มักจะเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากวัตถุดิบเช่น น้ำมันปาล์ม และน้ำตาล ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุดิบว่าขาดตลาดหรือไม่ ราคากลุ่มนี้จึงสวิงปรับขึ้น-ลงบ่อย อย่างไรก็ตาม ในสถานการณ์ปัจจุบันที่ต้นทุนยังคงที่นั้น ก็เป็นไปไม่ได้ว่าการขึ้นเงินเดือนข้าราชการจะเป็นตัวกำหนดทำให้สินค้าปรับราคา”
ขณะที่มุมมองของผู้ประกอบการค้าปลีกและค้าส่งรายใหญ่จังหวัดอุดรธานี ไม่ฟันธงว่าราคาสินค้าจะขึ้น เพราะไม่อยู่ในช่วงเวลาที่เหมาะสม “นายมิลินทร์ วีระรัตนโรจน์” กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตั้งงี่สุนซูเปอร์สโตร์ จำกัด บอกว่า จากหนี้ครัวเรือนและรถคันแรก ส่งผลกระทบกับยอดขายสินค้าอุปโภคบริโภคใน 7 เดือนที่ผ่านมาลดลงถึงกว่า40%
ส่วนการขึ้นเงินเดือนข้าราชการจะทำให้สินค้ามีการปรับราคา เช่นเดียวกับช่วงที่ค่าแรงขึ้น 300 บาทหรือไม่นั้น เชื่อว่าอาจจะไม่มีเพราะปัจจุบันราคาขึ้นไปจนถึงจุดคุ้มทุน และเป็นไปตามกลไกตลาดปกติ ที่หยุดการขึ้นราคาแล้ว และภาวะตลาดขณะนี้เป็นการทำโปรโมชันย้อนกลับ เพื่อทำตัวเลขแทน เป็นการสร้างวงจรและกำลังซื้อ ซึ่งอยู่ที่การอัดฉีดเม็ดเงินจากรัฐบาล คสช.
นักการตลาดเชื่อสินค้าขึ้นแน่
ขณะที่ในมุมของแหล่งข่าววงการตลาดกล่าวถึงเรื่องการปรับขึ้นราคาสินค้าว่าค่าแรงขึ้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการขึ้นราคา แต่ก็ยังมีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องเช่น ค่าวัตถุดิบ ค่าขนส่ง และการขึ้นเงินเดือนข้าราชการครั้งนี้จึงมั่นใจว่าจะมีการปรับราคาสินค้าซึ่งทำให้ต้นทุนการดำรงชีพเพิ่มขึ้น อีกทั้งสินค้าบางตัวน่าจะมีการปรับราคาขึ้นนำหน้าไปก่อน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้า
ที่สำคัญหากเป็นสินค้าที่มีความจำเป็นในชีวิตประจำวัน อย่าง สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอกนั้น ยิ่งมีแนวโน้มจะปรับราคาก่อนสินค้าตัวอื่น
ส่วนสาเหตุของการปรับราคาสินค้าเป็นเพราะ “ผู้ผลิต” มองเห็นว่ามีผู้บริโภคบางกลุ่มมีศักยภาพในการซื้อสินค้า แต่การจะปรับหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับสภาพการแข่งขันในตลาด โดยหากสินค้าประเภทใดอยู่ในระหว่างที่คู่แข่งกำลังทำโปรโมชันลดราคา อาจทำให้สินค้านั้นไม่สามารถปรับราคาขึ้นได้
แต่ในบางกรณีก็มีข้อยกเว้น เช่นอาจจะมีการฮั้วหรือตกลงกันของผู้ผลิตหลายราย นัดหมายกันขึ้นราคาสินค้า เช่นเดียวกับปรากฏการณ์น้ำมันปาล์มขาดตลาดในปี 2554 ซึ่งข้อมูลบางกระแสชี้ให้เห็นว่าเป็นผลมาจากพ่อค้าและนักธุรกิจแสวงหากำไรจากการกักตุนสินค้า ทำให้ไม่มีสินค้าวางขายในท้องตลาด สร้างสถานการณ์โอเวอร์ดีมานด์ เพื่อปั่นราคาน้ำมันปาล์มให้สูงกว่าราคาปกติ
เทคนิคขึ้นราคาแบบทางอ้อมของผู้ผลิต
ในการขึ้นราคาของผู้ผลิตในยุคปัจจุบันนั้น มีวิธีการทั้งทางตรงและทางอ้อมและแนบเนียนกว่าเดิมที่ผู้บริโภคอาจหลีกเลี่ยงได้ยาก จึงเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคต้องคอยสังเกตและติดตามเพื่อรู้เท่าทันกลยุทธ์การขึ้นราคาของบรรดาผู้ผลิตซึ่งวิธีที่นิยมทำกัน จะเริ่มจากการปรับราคาสินค้าแบบไม่ขึ้นตรงๆ แต่มีวิธีการทางอ้อมหลากหลายรูปแบบ ทั้งโปรโมชันซื้อ 1 แถม 1 เพื่อดันสินค้าออกจากสต๊อก โดยสินค้าบางส่วนเป็นสินค้าใกล้หมดอายุ หรือล้าสมัย
ต่อมาคือ กลยุทธ์ลดราคาสินค้าเกินกว่า 50% แต่สินค้าที่นำมาจัดรายการเป็นสินค้าคนละเกรดกับสินค้าราคาปกติ หรือตั้งราคาเต็มสูงกว่าราคาปกติ ไม่รวมการปรับสูตรและบังคับผู้บริโภคให้ใช้สูตรใหม่ที่ราคาสูงขึ้น เมื่อไม่มีสูตรดั้งเดิมจำหน่าย หรือสูตรดั้งเดิมคุณภาพลดลง
ปิดท้ายด้วยการลดไซส์ซึ่งไม่มีทางเลือกให้กับผู้บริโภค และเป็นช่องว่างที่กระทรวงพาณิชย์ไม่สามารถสำรวจเพื่อเอาผิดได้ครบถ้วน เมื่อในที่สุดแล้วการค้าก็ต้องมีกำไร จึงขึ้นอยู่กับผู้บริโภคในการฉลาดซื้อ ฉลาดเลือก เพราะการแข่งขันวันนี้มีความรุนแรง หากเลี่ยงไม่ได้คงต้องใช้เม็ดเงิน และเสาะหาสิ่งที่คุ้มค่าที่สุดเท่าที่จะทำได้
ด้าน ดร.ธีรพันธ์ โล่ห์ทองคำ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการตลาด การสร้างแบรนด์ และประธานกรรมการบริหาร บริษัท ธรู เดอะ ไลน์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด อธิบายถึงความสำคัญของปัจจัยด้านราคาสินค้าซึ่งจะส่งผลให้ผู้บริโภคเปลี่ยนใจไปใช้ยี่ห้ออื่นได้ ซึ่งในทางการตลาด กลยุทธ์การปรับราคาจึงไม่ใช่วิธีที่นักการตลาดจะเลือกใช้ตรงๆ แต่กลยุทธ์ที่ผู้ผลิตมักนำมาใช้เพื่อเพิ่มกำไรให้กับสินค้าโดยไม่ปรับราคาขึ้นโดยตรงนั่นก็คือ
1. การใช้เทคนิคและกลยุทธ์ทางการตลาดมาช่วยผลักดันสินค้าโดยคงราคาเดิม แต่กระตุ้นยอดจำหน่าย เพื่อผลกำไรที่มากขึ้นในระยะเวลาสั้นๆ
2. การปรับสูตรสินค้าใหม่เข้ามาทดแทนด้วยราคาเดิม โดยสูตรใหม่ลดต้นทุนจากวัตถุดิบที่มีราคาถูกกว่าสูตรเดิม
3. การปรับขนาดบรรจุภัณฑ์ โดยขายในราคาเดิม แต่ลดปริมาณสินค้าลง
ดังนั้นทั้ง 3 วิธีในการขึ้นราคาสินค้าที่นิยมกันในปัจจุบัน จึงเป็นกลยุทธ์สำคัญทางการตลาดที่ทำให้ผู้บริโภคไม่รู้ว่าตัวเองได้ซื้อสินค้าที่มีการปรับราคาแล้วเช่นกัน!
หลังจากที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และว่าที่นายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ประกาศจะขึ้นเงินเดือนข้าราชการ รวมไปถึงข้าราชการบำนาญ โดยมอบหมายให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ไปดำเนินการต่อไป ล่าสุดเมื่อวันที่ 21 ส.ค. “รังสรรค์ ศรีวรศาสตร์” ปลัดกระทรวงการคลัง ออกมาเปิดเผยความคืบหน้าในหลักการการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการจะเสนอเป็น 2 ทางเลือก คือ การปรับขึ้นเงินเดือนทั้งระบบในอัตรา 8% หรืออีกแนวทางปรับขึ้นเฉพาะข้าราชการชั้นผู้น้อยที่มีเงินเดือนไม่เกิน 9 พันบาท
โดยในเรื่องดังกล่าว คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และกรมบัญชีกลาง อยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียด แนวทางการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการ เพื่อเสนอให้รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นผู้พิจารณาต่อไป พร้อมมีการกำหนดกลุ่มข้าราชการว่ามีกลุ่มใดบ้างที่เข้าข่ายปรับขึ้นเงินเดือน และอัตราในการปรับขึ้นควรจะอยู่ในเกณฑ์ใด ซึ่งรวมไปถึงข้าราชการบำนาญเช่นกัน
“เรื่องขึ้นเงินเดือนยังไม่ได้ข้อสรุปว่าเป็นเท่าไร ซึ่งกระทรวงการคลังต้องหาช่องทางหาเงิน 2 หมื่นล้านบาทมาใช้ให้ทัน ถ้าต้องการจะขึ้นเงินเดือนให้ทัน เม.ย. 2558 โดยอาจมีการปรับ/ลดงบประมาณเพื่อนำมาโปะเงินเดือนใหม่”
อย่างไรก็ดี ทุกครั้งที่มีข่าวการปรับขึ้นเงินเดือนของข้าราชการ และการขึ้นค่าแรงของภาคเอกชน ก็จะมีข่าวการเตรียมขึ้นราคาสินค้าของบรรดาผู้ผลิต หรือบางแห่งมีการปรับราคาสินค้าไว้ก่อนแล้ว แต่ครั้งนี้อาจจะปรับขึ้นราคาสินค้าได้ยากกว่าที่ผ่านมา เพราะเป็นยุคการใช้อำนาจพิเศษผ่าน คสช.โดยให้กระทรวงพาณิชย์ดูแลควบคุมกลไกสินค้าไม่ให้ขึ้นราคา เพราะจะส่งผลกระทบต่อประชาชนโดยรวม
คสช./พาณิชย์ประกาศควบคุม
สำหรับในเรื่องสถานการณ์ราคาสินค้าในช่วงระยะเวลากว่า 3 เดือนที่ คสช.เข้าควบคุมอำนาจการปกครองประเทศ ตั้งแต่ 22 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นมานั้น ยังไม่มีสินค้ารายการไหนปรับขึ้นราคา ส่วนหนึ่งเป็นเพราะนโยบายเพื่อบรรเทาสภาพฝืดเคืองทางเศรษฐกิจของกระทรวงพาณิชย์ที่ออกมายืนยันเรื่องการควบคุมราคาสินค้าอย่างต่อเนื่อง รวมทั้ง คสช.ขอความร่วมมือผู้ผลิตรายใหญ่ เพื่อจะตรึงราคาสินค้าจำเป็นต่อการอุปโภค-บริโภค ไปจนถึงอาหารจานด่วนเป็นระยะเวลา 6 เดือน
จากการสำรวจ 2 ยักษ์ใหญ่ดิสเคานต์สโตร์ คือ บิ๊กซีและเทสโก้ โลตัส ในช่วงของนโยบายลดค่าครองชีพ ที่กระทรวงพาณิชย์เพิ่งขอความร่วมมือ 14 ห้างสรรพสินค้า ให้ลดราคา 10-70% ติดต่อกัน 6 วัน ตั้งแต่วันที่ 19-24 ส.ค. 2557 นั้น จนถึงวันที่ 21 ส.ค.ยังพบว่ารายการสินค้าหลักๆ อย่าง ข้าวสาร น้ำมันพืช ตลอดจนของกินของใช้ กลุ่มคอนซูเมอร์โปรดักส์ ยังไม่มีการปรับราคาในปัจจุบัน
ขณะที่สินค้าหลายประเภทชักแถวกันลดราคาในหลายรูปแบบ อาทิ กลุ่มคอนซูเมอร์ เช่น ยาสีฟัน สบู่ ผงซักฟอก จัดรายการแข่งขันกันอย่างดุเดือด เช่น ลดราคา 50% ซื้อ 1 แถม 1 หรือแม้แต่ซื้อ 2 แถม 1 ตามมาด้วยสินค้ากลุ่มน้ำมันพืชขนาด 1 ลิตร เกือบทุกยี่ห้อมีราคาขายเฉลี่ยระหว่าง 40-50 บาท และจำกัดการซื้อครอบครัวละไม่เกิน 3-6 ขวด หรือการทำโปรโมชันซื้อ 2 แพ็กราคาพิเศษ เช่นสินค้ากลุ่มนมยูเอชทีและขนมขบเคี้ยว
จับตาสินค้าจ่อขึ้นราคา
ขณะเดียวกันหากย้อนไปดูก่อนหน้าที่ คสช.จะเข้ามาบริหารประเทศ สินค้าที่มีความจำเป็นในการดำรงชีวิตของคนไทยหลายรายการ ได้มีการปรับขึ้นราคาไปแล้ว เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งพบว่าสินค้าหลายรายการที่เป็นสินค้าควบคุม ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมการค้าภายในและกระทรวงพาณิชย์ อย่างกลุ่มบะหมี่สำเร็จรูปบางยี่ห้อ ใช้วิธีขยับเพิ่มราคาในช่องทางค้าส่ง รวมถึงราคาสินค้ากลุ่มนมผงเด็ก นมสดยูเอชที และนมข้น ยังมีการปรับขึ้นราคาค้าปลีกขึ้นมาประมาณ 5-10%
แต่หลังจาก คสช.เข้ามา ได้ขอความร่วมมือให้นมผงปรับลดราคาลง และผู้ผลิตได้ปฏิบัติตามอย่างดี แต่หลังมาตรการตรึงราคาสินค้าสิ้นสุด ก็มีแนวโน้มจะขึ้นราคาเช่นเดียวกับสินค้าอื่นๆ
ล่าสุดสินค้ากลุ่มข้าวบรรจุถุง ได้ประกาศจะปรับราคาในเดือนพฤศจิกายน โดยเมื่อเร็วๆ นี้ นายสมเกียรติ มรรคยาธร นายกสมาคมผู้ประกอบการข้าวถุงไทย ออกมาเปิดเผยว่าจะปรับราคาข้าวขาว จากเดิมราคา 80-130 บาทต่อถุง 5 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 5-10 บาทต่อถุง 5 กิโลกรัม โดยให้เหตุผลของการปรับราคาว่ามาจากต้นทุนที่สูง จากผลผลิตข้าวขาวที่ออกมาปีนี้มีปริมาณน้อยกว่าความต้องการของตลาด
ค้าส่งค้าปลีกไทย “ไม่ฟันธง” ขึ้นราคา
ด้าน นายสมชาย พรรัตนเจริญ นายกสมาคมค้าส่งค้าปลีกไทย มองแนวโน้มหลังการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการว่า จะทำให้สินค้ามียอดขายดีขึ้น เพราะข้าราชการมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น และไม่ใช่ตัวแปรทั้งหมด ที่เมื่อเงินเดือนปรับแล้วราคาสินค้าจะปรับตาม เพราะเม็ดเงินที่เพิ่มเข้ามาจะช่วยเพิ่มศักยภาพ และกำลังซื้อที่ดีขึ้นให้คนกลุ่มหนึ่งมีเงินในการจับจ่ายใช้สอย และมีโอกาสในการเลือกที่จะซื้อสินค้าไฮเอนด์ ยกระดับการใช้ชีวิตมาซื้อสินค้าราคาแพง รับประทานอาหารในร้านหรู หรือเดินเลือกซื้อสินค้าในห้างระดับไฮเอนด์
นอกจากนี้แม้จะมีการปรับราคาในรูปแบบการปรับสูตรใหม่เพื่อขึ้นราคาทางอ้อมก็ตาม แต่สถานการณ์การแข่งขันทางการค้าในปัจจุบันมีการทำโปรโมชันลดแลกแจกแถมตลอดเวลา ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการซื้อสินค้าที่ถูกและดีกว่าได้เช่นกัน
“อันที่จริงแล้วต้นทุนทางด้านวัตถุดิบ และแรงงาน เหล่านี้เป็นปัจจัยหลัก เป็นต้นทุนถาวรที่ทำให้สินค้าต้องปรับราคา ที่ผ่านมาเมื่อวัตถุดิบประเภทนี้ขึ้นราคา สินค้ากลุ่มคอนซูเมอร์ที่มีการใช้ในชีวิตประจำวันจะมีการปรับราคา
ส่วนกลุ่มไหนจะปรับราคาก่อนนั้น มักจะเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากวัตถุดิบเช่น น้ำมันปาล์ม และน้ำตาล ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุดิบว่าขาดตลาดหรือไม่ ราคากลุ่มนี้จึงสวิงปรับขึ้น-ลงบ่อย อย่างไรก็ตาม ในสถานการณ์ปัจจุบันที่ต้นทุนยังคงที่นั้น ก็เป็นไปไม่ได้ว่าการขึ้นเงินเดือนข้าราชการจะเป็นตัวกำหนดทำให้สินค้าปรับราคา”
ขณะที่มุมมองของผู้ประกอบการค้าปลีกและค้าส่งรายใหญ่จังหวัดอุดรธานี ไม่ฟันธงว่าราคาสินค้าจะขึ้น เพราะไม่อยู่ในช่วงเวลาที่เหมาะสม “นายมิลินทร์ วีระรัตนโรจน์” กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตั้งงี่สุนซูเปอร์สโตร์ จำกัด บอกว่า จากหนี้ครัวเรือนและรถคันแรก ส่งผลกระทบกับยอดขายสินค้าอุปโภคบริโภคใน 7 เดือนที่ผ่านมาลดลงถึงกว่า40%
ส่วนการขึ้นเงินเดือนข้าราชการจะทำให้สินค้ามีการปรับราคา เช่นเดียวกับช่วงที่ค่าแรงขึ้น 300 บาทหรือไม่นั้น เชื่อว่าอาจจะไม่มีเพราะปัจจุบันราคาขึ้นไปจนถึงจุดคุ้มทุน และเป็นไปตามกลไกตลาดปกติ ที่หยุดการขึ้นราคาแล้ว และภาวะตลาดขณะนี้เป็นการทำโปรโมชันย้อนกลับ เพื่อทำตัวเลขแทน เป็นการสร้างวงจรและกำลังซื้อ ซึ่งอยู่ที่การอัดฉีดเม็ดเงินจากรัฐบาล คสช.
นักการตลาดเชื่อสินค้าขึ้นแน่
ขณะที่ในมุมของแหล่งข่าววงการตลาดกล่าวถึงเรื่องการปรับขึ้นราคาสินค้าว่าค่าแรงขึ้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการขึ้นราคา แต่ก็ยังมีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องเช่น ค่าวัตถุดิบ ค่าขนส่ง และการขึ้นเงินเดือนข้าราชการครั้งนี้จึงมั่นใจว่าจะมีการปรับราคาสินค้าซึ่งทำให้ต้นทุนการดำรงชีพเพิ่มขึ้น อีกทั้งสินค้าบางตัวน่าจะมีการปรับราคาขึ้นนำหน้าไปก่อน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้า
ที่สำคัญหากเป็นสินค้าที่มีความจำเป็นในชีวิตประจำวัน อย่าง สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอกนั้น ยิ่งมีแนวโน้มจะปรับราคาก่อนสินค้าตัวอื่น
ส่วนสาเหตุของการปรับราคาสินค้าเป็นเพราะ “ผู้ผลิต” มองเห็นว่ามีผู้บริโภคบางกลุ่มมีศักยภาพในการซื้อสินค้า แต่การจะปรับหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับสภาพการแข่งขันในตลาด โดยหากสินค้าประเภทใดอยู่ในระหว่างที่คู่แข่งกำลังทำโปรโมชันลดราคา อาจทำให้สินค้านั้นไม่สามารถปรับราคาขึ้นได้
แต่ในบางกรณีก็มีข้อยกเว้น เช่นอาจจะมีการฮั้วหรือตกลงกันของผู้ผลิตหลายราย นัดหมายกันขึ้นราคาสินค้า เช่นเดียวกับปรากฏการณ์น้ำมันปาล์มขาดตลาดในปี 2554 ซึ่งข้อมูลบางกระแสชี้ให้เห็นว่าเป็นผลมาจากพ่อค้าและนักธุรกิจแสวงหากำไรจากการกักตุนสินค้า ทำให้ไม่มีสินค้าวางขายในท้องตลาด สร้างสถานการณ์โอเวอร์ดีมานด์ เพื่อปั่นราคาน้ำมันปาล์มให้สูงกว่าราคาปกติ
เทคนิคขึ้นราคาแบบทางอ้อมของผู้ผลิต
ในการขึ้นราคาของผู้ผลิตในยุคปัจจุบันนั้น มีวิธีการทั้งทางตรงและทางอ้อมและแนบเนียนกว่าเดิมที่ผู้บริโภคอาจหลีกเลี่ยงได้ยาก จึงเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคต้องคอยสังเกตและติดตามเพื่อรู้เท่าทันกลยุทธ์การขึ้นราคาของบรรดาผู้ผลิตซึ่งวิธีที่นิยมทำกัน จะเริ่มจากการปรับราคาสินค้าแบบไม่ขึ้นตรงๆ แต่มีวิธีการทางอ้อมหลากหลายรูปแบบ ทั้งโปรโมชันซื้อ 1 แถม 1 เพื่อดันสินค้าออกจากสต๊อก โดยสินค้าบางส่วนเป็นสินค้าใกล้หมดอายุ หรือล้าสมัย
ต่อมาคือ กลยุทธ์ลดราคาสินค้าเกินกว่า 50% แต่สินค้าที่นำมาจัดรายการเป็นสินค้าคนละเกรดกับสินค้าราคาปกติ หรือตั้งราคาเต็มสูงกว่าราคาปกติ ไม่รวมการปรับสูตรและบังคับผู้บริโภคให้ใช้สูตรใหม่ที่ราคาสูงขึ้น เมื่อไม่มีสูตรดั้งเดิมจำหน่าย หรือสูตรดั้งเดิมคุณภาพลดลง
ปิดท้ายด้วยการลดไซส์ซึ่งไม่มีทางเลือกให้กับผู้บริโภค และเป็นช่องว่างที่กระทรวงพาณิชย์ไม่สามารถสำรวจเพื่อเอาผิดได้ครบถ้วน เมื่อในที่สุดแล้วการค้าก็ต้องมีกำไร จึงขึ้นอยู่กับผู้บริโภคในการฉลาดซื้อ ฉลาดเลือก เพราะการแข่งขันวันนี้มีความรุนแรง หากเลี่ยงไม่ได้คงต้องใช้เม็ดเงิน และเสาะหาสิ่งที่คุ้มค่าที่สุดเท่าที่จะทำได้
ด้าน ดร.ธีรพันธ์ โล่ห์ทองคำ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการตลาด การสร้างแบรนด์ และประธานกรรมการบริหาร บริษัท ธรู เดอะ ไลน์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด อธิบายถึงความสำคัญของปัจจัยด้านราคาสินค้าซึ่งจะส่งผลให้ผู้บริโภคเปลี่ยนใจไปใช้ยี่ห้ออื่นได้ ซึ่งในทางการตลาด กลยุทธ์การปรับราคาจึงไม่ใช่วิธีที่นักการตลาดจะเลือกใช้ตรงๆ แต่กลยุทธ์ที่ผู้ผลิตมักนำมาใช้เพื่อเพิ่มกำไรให้กับสินค้าโดยไม่ปรับราคาขึ้นโดยตรงนั่นก็คือ
1. การใช้เทคนิคและกลยุทธ์ทางการตลาดมาช่วยผลักดันสินค้าโดยคงราคาเดิม แต่กระตุ้นยอดจำหน่าย เพื่อผลกำไรที่มากขึ้นในระยะเวลาสั้นๆ
2. การปรับสูตรสินค้าใหม่เข้ามาทดแทนด้วยราคาเดิม โดยสูตรใหม่ลดต้นทุนจากวัตถุดิบที่มีราคาถูกกว่าสูตรเดิม
3. การปรับขนาดบรรจุภัณฑ์ โดยขายในราคาเดิม แต่ลดปริมาณสินค้าลง
ดังนั้นทั้ง 3 วิธีในการขึ้นราคาสินค้าที่นิยมกันในปัจจุบัน จึงเป็นกลยุทธ์สำคัญทางการตลาดที่ทำให้ผู้บริโภคไม่รู้ว่าตัวเองได้ซื้อสินค้าที่มีการปรับราคาแล้วเช่นกัน!