กองทัพประกาศกฎอัยการศึก เป็นคุณประโยชน์ต่อ กปปส. และประเทศชาติ ล้มอำนาจรัฐบาลรักษาการ ปิดฉาก “นิวัฒน์ธำรง” คุมอำนาจ ผอ.กอ.รมน. สลาย ศอ.รส. ชี้นายกฯ คนกลางไม่ใช่ “2 บิ๊ก” ทหาร ส่วนจะทูลเกล้าฯชื่อตาม ส.ว. หรือไม่ อยู่ที่ “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” วงในแจง หลายฝ่ายเสนอ “อานันท์ ปันยารชุน” ขณะที่ภาคเอกชน บอกกฎอัยการศึกช่วยลดความรุนแรง 2 คู่ขัดแย้งเจรจากันได้ ขณะเดียวกัน หากกลุ่มผู้ชุมนุมป่วน ตำรวจจะเข้าจัดการ ส่วนทหารทำหน้าที่ไล่ล่าหัวโจกทันที!
วิกฤตการเมืองไทยที่เกิดขึ้นและมีการชุมนุมเรียกร้องของคู่ขัดแย้ง 2 ฝ่าย เป็นเวลากว่า 7 เดือนแล้วแต่ก็ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ แม้จะมีความพยายามจากหลายฝ่ายก็ตาม เนื่องเพราะฝ่ายหนึ่งต้องการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นหนทางเดียวที่จะกำจัดระบอบทักษิณที่ยึดกุมประเทศมาเป็นเวลายาวนานได้สำเร็จ แต่อีกฝ่ายต้องการเลือกตั้งโดยอ้างประชาธิปไตยคือการคืนอำนาจให้ประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้งเพื่อกลับเข้าสู่อำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด กำลังจะนำไปสู่จุดแตกหักและรุนแรงถึงขั้นจลาจลในเร็ววันนี้
ในที่สุดกองทัพบก โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ตัดสินใจประกาศกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร เพราะมองเห็นความจำเป็นเร่งด่วนจากสถานการณ์ผู้ชุมนุมประท้วงหลายกลุ่มในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เขตปริมณฑล ตลอดจนพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ และมีกลุ่มผู้ไม่หวังดีสร้างสถานการณ์ความรุนแรงด้วยการใช้อาวุธสงครามต่อประชาชน และสถานที่สำคัญอย่างกว้างขวาง เป็นผลให้ประชาชนผู้บริสุทธิ์เสียชีวิต ได้รับบาดเจ็บ และเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มจะก่อให้เกิดเหตุการณ์จลาจล อันกระทบต่อความมั่นคงของชาติและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนโดยรวม
ทั้งนี้ เพื่อให้การรักษาความสงบเรียบร้อยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นำความสงบสุขกลับคืนสู่ประชาชนทุกกลุ่มทุกฝ่ายโดยเร็ว จึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 2 และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พุทธศักราช 2457 ประกาศกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร มีผลตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เวลา 03.00 น. เป็นต้นไป
โดยขอให้ทุกพวกทุกฝ่ายนั้นหยุดการเคลื่อนไหว เพื่อเข้าสู่กระบวนการในการแก้ปัญหาของชาติอย่างยั่งยืนโดยเร็ว และมีการเชิญหัวหน้าส่วนราชการและหน่วยงานรัฐวิสาหกิจตั้งแต่ระดับอธิบดีหรือเทียบเท่าขึ้นไป ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้แทนองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ 2550 และผู้แทนสภาวิชาชีพสาขาต่างๆ ตลอดจนผู้แทนภาคประชาสังคม ที่มีที่ตั้งสำนักงานในพื้นที่ภาคกลางเข้าร่วมประชุม ณ สโมสรกองทัพบก ถ.วิภาวดีรังสิต เมื่อเวลา 14.00 น.ที่ผ่านมา
“วันนี้ทหารก็ทำงานไป ข้าราชการประจำก็มีหน้าที่ทำงานไป กองทัพมีแผนมีกระบวนการที่จะดำเนินการเป็นขั้นเป็นตอน เรามีอำนาจตามกฎอัยการศึกไม่งั้นใครจะฟังเรา มีสิทธิ์จะเรียกทุกกลุ่ม ทุกฝ่ายเพื่อหาข้อยุติ โดยจะเรียกคู่ขัดแย้งทั้งสองฝ่ายมาคุยกัน จะไม่ยอมให้นองเลือดในแผ่นดินไทยเด็ดขาด” พล.อ.ประยุทธ์ระบุ
จากนี้จึงเป็นการนับหนึ่งเดินหน้าเพื่อแก้ไขวิกฤตการเมืองครั้งนี้ เพื่อนำความสงบคืนสู่ประชาชนตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ ลั่นวาจาและเป็นเป้าหมายสำคัญในการประกาศกฎอัยการศึก
ขณะเดียวกัน ผู้เกี่ยวข้องได้แสดงทรรศนะในการประกาศกฎอัยการศึกครั้งนี้และมั่นใจว่าจะเลี่ยงเหตุจลาจลและทำให้ประเทศชาติดีขึ้น
กฎอัยการศึกเป็นบวกกับ กปปส.
นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา บอกว่า การประกาศกฎอัยการศึกครั้งนี้เป็นผลดีกับผู้ชุมนุม กปปส.
กล่าวคือ ทำให้ความเสี่ยงผู้ชุมนุมฝ่าย กปปส. ลดลง เพราะเมื่อทหารเข้ามาทำให้ตำรวจที่ ศอ.รส. เกณฑ์มาต้องกลับที่ตั้ง ทำให้ผู้ชุมนุมมีความเสี่ยงลดลง เท่ากับตอนนี้ฝ่ายผู้ชุมนุม กปปส.มีความปลอดภัยมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการลดความร้อนแรงของกลุ่มผู้ชุมนุมทั้ง 2 ฝ่ายลง โอกาสปะทะหรือสูญเสียเลือดเนื้อลดน้อยลง
ที่สำคัญคือ กฎอัยการศึก มีบทบาทสำคัญในการลดอำนาจฝ่ายรัฐบาลลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะใน 2 ประเด็นคือ
1. ทำให้เห็นว่าตัวของนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรีรักษาการ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี ไม่มีอำนาจใดๆ อีก โดยเฉพาะในตำแหน่ง ผอ.กอ.รมน. (กองกำลังรักษาความมั่นคงภายใน) ที่นายนิวัฒน์ธำรง ไม่สามารถทำงานเป็น ผอ.กอ.รมน. ได้ ดังนั้นคนที่คุม กอ.รมน. ตอนนี้เบ็ดเสร็จคือทหาร
2. ศอ.รส. ถูกยึดอำนาจไปแล้ว โดย ศอ.รส. ถือเป็นปัญหาอย่างมากกับกลุ่มผู้ชุมนุม กปปส.
“ศอ.รส. ทำให้เชื่อว่าเป็นหน่วยที่ตั้งขึ้นมาเพื่อสนับสนุนความรุนแรง ช่วยรัฐบาลที่ไม่สมประกอบให้มีอำนาจมาตลอด ดังนั้นเมื่อ ศอ.รส. ปิดฉาก รัฐบาลรักษาการก็หมดสภาพโดยสมบูรณ์ไปอีกหนึ่งหน่วยงาน”
ดังนั้น หลังประกาศกฎอัยการศึก อำนาจจึงอยู่ในมือทหารเต็มที่ แม้จะไม่ได้ทำรัฐประหารก็ตาม
“ต่อไปนี้ทหารจะเป็นตัวหลักในการหาทางออกให้ประเทศชาติ วุฒิสภาจะเป็นแค่ส่วนหนึ่ง อยู่ที่ทหารว่าจะใช้ช่องทางไหน” ส.ว.ไพบูลย์ กล่าว
อย่างไรก็ดี จากนี้ไปคาดว่ากองทัพจะเริ่มจากการควบคุมสภาพบ้านเมืองให้มีความสงบเรียบร้อยก่อน ไม่ผลีผลาม และกฎอัยการศึกได้ให้อำนาจทหารเต็มที่ ส่วนตำรวจก็ต้องออกไป จุดนี้ถือเป็นด้านดีกับประเทศชาติ เพราะเมื่อรัฐบาลได้ใช้ตำรวจในการปกป้องตัวเอง ซึ่งจากนี้ไป ไม่มีตำรวจอีกต่อไป และนายนิวัฒน์ธำรงก็ไม่ได้เป็น ผอ.กอ.รมน. ไม่มี ศอ.รส.แล้ว ส่งผลให้จากนี้ไปฝ่ายต่างๆ ทำงานได้เต็มที่
ส่วนขั้นตอนต่อไปคือการเสนอชื่อนายกฯ ซึ่งคาดว่าในระยะเวลาไม่นานนัก น่าจะมีการเสนอชื่อนายกฯ ขึ้นทูลเกล้าได้ โดยผู้เสนอชื่อนายกฯ ขึ้นไป จะเป็นฝ่ายใดเป็นผู้ดำเนินการ ขึ้นอยู่กับทหารตามกฎอัยการศึกเป็นผู้ชี้ขาด
ขณะเดียวกันผู้ที่จะทำหน้าที่นายกฯ ชั่วคราวหรือรัฐบาลเฉพาะกิจไม่ได้มีแค่ชื่อเดียว เพราะมีฝ่ายต่างๆ เสนอชื่อนายกฯ ที่หลากหลายเข้ามา และคาดว่าจะสรุปได้ในเวลาสุดท้าย
นายกฯชั่วคราวไม่ใช่ 2 บิ๊กทหาร “ประวิทย์-ประยุทธ์”
อีกทั้งชื่อนายกฯ ที่ ส.ว. มีการเสนอนั้นไม่ใช่คนที่ชื่อนำหน้าด้วยตระกูล ป. ทั้ง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พี่ใหญ่แห่งบูรพาพยัคฆ์ และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่มีการกล่าวถึงนั้นไม่ใช่ทั้งคู่ และนับจากนี้ไม่ว่าจะเป็น ส.ว. หรือฝ่ายอื่น หรือภาคประชาชน ตอนนี้เริ่มเดินหน้าหาทางออกให้ประเทศได้เต็มที่
นอกจากนี้ ส.ว.ไพบูลย์ เตรียมเดินหน้ายื่นศาลรัฐธรรมนูญอีกครั้งหนึ่ง เพื่อฟ้องร้องคณะรัฐมนตรีทั้งคณะ ตามมาตรา 91 ประกอบมาตรา 182 วรรคสาม ว่าคณะรัฐมนตรีกระทำการต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 268 เป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีของรัฐมนตรีทั้งคณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182 (7)
ประเด็นหลักคือคณะรัฐมนตรีมีมติประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างร้ายแรง ก่อให้เกิดปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ สรุปได้ 3 ประการโดยสรุปดังนี้
ประการที่ 1 คณะรัฐมนตรีออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินนั้นเข้าข่ายเป็นการกระทำต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 181 (4) เพื่อให้เกิดประโยชน์กับพวกของตนและพรรคการเมืองที่ตนเองสังกัดอยู่ ในช่วงการดำเนินการจัดการการเลือกตั้ง ทำให้พรรคของตัวเองได้เปรียบในการเลือกตั้ง
ประการที่ 2 ศูนย์รักษาความสงบ (ศรส.) ที่ดำเนินการตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่ออกโดยคณะรัฐมนตรี ได้เข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงการทำหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งและของเจ้าหน้าที่ กกต. โดยไม่ใช่เรื่องที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีหรือศูนย์รักษาความสงบ (ศรส.) จึงเป็นการเข้าไปก้าวก่ายหรือแทรกแซงการปฏิบัติราชการหรือการดำเนินงานในหน้าที่ประจำของข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ อันเป็นการกระทำต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญตามมาตรา 266 (1)
ประการที่ 3 คณะรัฐมนตรีได้มีมติออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินนั้น มีปัญหาความชอบด้วยกฎหมายซึ่งปรากฏตามคำพิพากษาของศาลแพ่ง จึงเป็นการดำเนินการที่ไม่เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ และจากการตรวจสอบพบว่าไม่ได้เป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการตามนโยบายที่ได้แถลงต่อรัฐบาล
เมื่อการกระทำผิดดังกล่าวเป็นการกระทำร่วมของรัฐมนตรีทุกคนในรัฐบาลนี้ จึงขอให้ศาลพิจารณาว่ารัฐมนตรีที่ร่วมอยู่ในรัฐบาลนี้ต้องสิ้นสุดลงด้วยการสิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรีเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182 วรรคหนึ่ง (7) หรือไม่
“หวังว่าศาลจะพิจารณาเพื่อให้เกิดความชัดเจน”
ก็เป็นอีกบทรุกไล่รัฐบาลรักษาการหนึ่งของกลุ่ม 40 ส.ว. ที่วันนี้ต้องเดินหน้าทำให้เกิดภาวะสุญญากาศให้ได้
ภาคธุรกิจเชื่อทุกอย่างจะดีขึ้น
ด้าน ดร.ธนิต โสรัตน์ รองประธานคณะทำงานเศรษฐกิจมหภาค สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า การประกาศกฎอัยการศึกของทหารหากจะมองว่ากระทบต่อเรื่องความเชื่อมั่นในภาคธุรกิจนั้น ต้องบอกว่าเรื่องความเชื่อมั่นอยู่ในจุดต่ำสุดแล้ว ที่ผ่านมาความขัดแย้งทางการเมืองได้ลากให้เศรษฐกิจตกต่ำลงไปด้วย สถานการณ์ที่เป็นอยู่ในเวลานี้ภาคธุรกิจก็คิดว่าจะต้องมีวันนี้หรือคล้ายกับอย่างนี้ เพราะประเทศเรามาถึงทางตันแล้ว การประกาศกฎอัยการศึกของทหารถือเป็นทางออกของประเทศ
ตามรายงานของสภาพัฒน์ก็ระบุว่า การลงทุนของภาคเอกชนติดลบ 5% ส่วนการลงทุนภาครัฐติดลบ 3% สอดคล้องกับรายงานของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่รายงานความเชื่อมั่นว่าต่ำที่สุดที่รอบ 56 เดือน สิ่งที่เป็นผลกระทบตามมาคือทางฟิทช์ เรทติ้งส์ สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ และสถาบันจัดอันดับขีดความสามารถทางการแข่งขันชั้นนำของโลก (International Institute for Management Development) หรือ IMD ก็ขู่ที่จะลดอันดับความน่าเชื่อถือของไทยลง
ส่วนการที่จะบอกว่าการประกาศกฎอัยการศึกในครั้งนี้ดีหรือไม่ รองประธานคณะทำงานเศรษฐกิจมหภาคกล่าวว่า ยังเร็วเกินไปที่จะบอกได้ว่าเป็นเรื่องที่ดีหรือไม่ เพราะต้องดูขอบเขตว่าการประกาศกฎอัยการศึกนั้นมีแค่ไหน ซึ่งเรายังไม่เห็น
สิ่งที่เราเห็นคือการประกาศกฎอัยการศึกนั้นจะทำให้ความรุนแรงไม่เกิดขึ้น ถือเป็นเรื่องดี ส่วนเรื่องของการหาตัวนายกรัฐมนตรีที่จะเข้ามาทำหน้าที่บริหารประเทศนั้น ต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง แต่อย่างน้อยกฎอัยการศึกก็จะทำให้คู่ขัดแย้งทั้ง 2 ฝ่ายหันหน้าเข้ามาพูดคุยกันได้มากขึ้น น่าจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้นกว่าเดิม
หนุน “อานันท์ ปันยารชุน” นั่งนายกฯ
แหล่งข่าวด้านความมั่นคงกล่าวว่า จุดจบของการต่อสู้ทางการเมืองเวลานี้ ไม่ใช่อยู่ที่ผู้ชุมนุมกลุ่มใดอีกต่อไปแล้ว แต่อยู่ที่ทหาร โดยเฉพาะอำนาจรัฏฐาธิปัตย์อยู่ในมือทหารอย่างสมบูรณ์
ขั้นตอนต่อจากนี้ไปคือการนำเสนอนายกฯ อย่างเร่งด่วน เพราะประเทศชาติจำเป็นต้องมีนายกฯ มาเดินหน้าบริหารประเทศ โดยคาดว่าทหารจะใช้เวทีวุฒิสภาในการนำเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีขึ้นโปรดเกล้าฯ ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาไม่นานนัก โดยชื่อของคนที่จะมาเป็นนายกฯ จะมีการหารือกัน 3 ฝ่าย คือ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายสุเทพ เทือกสุบรรณ และ ส.ว. แต่จะเป็นใครนั้นยังไม่ทราบ
“ตอนนี้ทหารเชิญข้าราชการมารายงานตัวทั้งหมดแล้ว การประกาศกฎอัยการศึกแม้ไม่ใช่การทำรัฐประหาร แต่ก็เป็นการทำรัฐประหารเรียบร้อยไปแล้ว ดังนั้นต่อจากนี้ไป การดำเนินการของวุฒิสภาจะง่ายขึ้น”
ทราบแต่ว่าชื่อของ นายอานันท์ ปันยารชุน นั้น เป็นชื่อผู้ใหญ่ที่หลายฝ่ายอยากให้มาเป็นนายกฯ แต่นายอานันท์อาจจะไม่อยากเข้ามารับตำแหน่งก็เป็นได้ ดังนั้นการเสนอชื่อนายกฯ จึงต้องรอข้อสรุปจากทั้ง 3 ฝ่าย
“คุณอานันท์มีคุณสมบัติที่เหมาะสม เพราะเราต้องการผู้นำที่มีความรู้ด้านเศรษฐกิจ และเป็นที่ยอมรับของต่างประเทศ ซึ่งเวลานี้มีการใช้ต่างชาติโจมตีที่กองทัพประกาศกฎอัยการศึกเพื่อแก้ไขปัญหาประเทศ การได้คุณอานันท์ จะช่วยทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศไทยดีขึ้น ซึ่งเราก็คาดหวังว่าคุณอานันท์จะยอมรับ”
ส่วนรัฐบาล ถ้าไม่หน้าด้านเวลานี้ต้องลาออกทั้งหมด!
“เป็นต่อไม่ได้แล้ว อำนาจก็ไม่มีอีกต่อไปแล้ว ต้องลาออก ถ้าไม่ลาออกก็หน้าด้าน แต่ทั้งหมดขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของ พ.ต.ท.ทักษิณคนเดียว จะอยู่หรือไป แต่ถ้าไม่ไปเขาคงหาทางกดดันให้ถึงที่สุด”
แต่เชื่อว่าทักษิณคงไม่ปฏิวัติซ้อน
“คงไม่ปฏิวัติซ้อน เพราะทหารจะประกาศกฎอัยการศึกต้องมีการเช็กกำลังกันเรียบร้อยแล้ว ทหารฝ่ายทักษิณมีกำลังไม่มากเท่ากองทัพที่คุมหน่วยรบอยู่ อยู่ที่ว่าจะเอาตำรวจมาสู้ทหารไหม แต่ดูแล้วคงไม่ให้ตำรวจสู้ทหาร”
อย่างไรก็ดี แหล่งข่าวทางทหารระบุว่า การที่กองทัพตัดสินใจประกาศกฎอัยการศึกครั้งนี้มีการประเมินกำลังแล้วว่า กลุ่ม นปช.คนเสื้อแดงไม่สามารถปลุกระดมพลได้เท่าปี 2553 จึงเชื่อว่ากำลังทหารสามารถจัดการได้ในทุกๆ พื้นที่ทั่วประเทศ และที่สำคัญเป็นวิธีการกดดันให้ ครม.ลาออก เพื่อให้วุฒิสภาเสนอนายกฯ คนกลางหรือรัฐบาลเฉพาะกิจผ่านช่องทางกองทัพที่ใช้อำนาจตามกฎอัยการศึก เพื่อเร่งปฏิรูปการเมือง หลังจากนั้นก็จัดให้มีการเลือกตั้งต่อไป
“พื้นที่จังหวัดใดที่เป็นพื้นที่เสี่ยงที่กลุ่มเสื้อแดงจะทำการป่วนได้ หากมีการใช้อาวุธ หรือใช้ความรุนแรงในพื้นที่ก็ให้ตำรวจจัดการก่อน และบางพื้นที่ที่มีหัวโจกหรือพวกฮาร์ดคอร์ ก็ให้ทหารเป็นผู้ไล่ล่าหัวโจกต่อไป”
แหล่งข่าวทางทหารบอกอีกว่า กระบวนการที่จัดเตรียมไว้ทั้งหมด หากรักษาการรัฐบาลยอมจำนนก็จะไม่เกิดความรุนแรง ดังนั้นทุกสถานการณ์จากนี้ไปจะเกิดเหตุรุนแรงหรือไม่จึงอยู่ที่รักษาการรัฐบาลหรือพรรคเพื่อไทย ว่าจะยอมจำนนหรือไม่เป็นหลัก แต่ยืนยันเป้าหมายหลักก็เพื่อแก้วิกฤตการเมืองที่เกิดขึ้น และคืนความสงบสุขให้ประชาชนต่อไป!
วิกฤตการเมืองไทยที่เกิดขึ้นและมีการชุมนุมเรียกร้องของคู่ขัดแย้ง 2 ฝ่าย เป็นเวลากว่า 7 เดือนแล้วแต่ก็ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ แม้จะมีความพยายามจากหลายฝ่ายก็ตาม เนื่องเพราะฝ่ายหนึ่งต้องการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นหนทางเดียวที่จะกำจัดระบอบทักษิณที่ยึดกุมประเทศมาเป็นเวลายาวนานได้สำเร็จ แต่อีกฝ่ายต้องการเลือกตั้งโดยอ้างประชาธิปไตยคือการคืนอำนาจให้ประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้งเพื่อกลับเข้าสู่อำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด กำลังจะนำไปสู่จุดแตกหักและรุนแรงถึงขั้นจลาจลในเร็ววันนี้
ในที่สุดกองทัพบก โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ตัดสินใจประกาศกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร เพราะมองเห็นความจำเป็นเร่งด่วนจากสถานการณ์ผู้ชุมนุมประท้วงหลายกลุ่มในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เขตปริมณฑล ตลอดจนพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ และมีกลุ่มผู้ไม่หวังดีสร้างสถานการณ์ความรุนแรงด้วยการใช้อาวุธสงครามต่อประชาชน และสถานที่สำคัญอย่างกว้างขวาง เป็นผลให้ประชาชนผู้บริสุทธิ์เสียชีวิต ได้รับบาดเจ็บ และเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มจะก่อให้เกิดเหตุการณ์จลาจล อันกระทบต่อความมั่นคงของชาติและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนโดยรวม
ทั้งนี้ เพื่อให้การรักษาความสงบเรียบร้อยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นำความสงบสุขกลับคืนสู่ประชาชนทุกกลุ่มทุกฝ่ายโดยเร็ว จึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 2 และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พุทธศักราช 2457 ประกาศกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร มีผลตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เวลา 03.00 น. เป็นต้นไป
โดยขอให้ทุกพวกทุกฝ่ายนั้นหยุดการเคลื่อนไหว เพื่อเข้าสู่กระบวนการในการแก้ปัญหาของชาติอย่างยั่งยืนโดยเร็ว และมีการเชิญหัวหน้าส่วนราชการและหน่วยงานรัฐวิสาหกิจตั้งแต่ระดับอธิบดีหรือเทียบเท่าขึ้นไป ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้แทนองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ 2550 และผู้แทนสภาวิชาชีพสาขาต่างๆ ตลอดจนผู้แทนภาคประชาสังคม ที่มีที่ตั้งสำนักงานในพื้นที่ภาคกลางเข้าร่วมประชุม ณ สโมสรกองทัพบก ถ.วิภาวดีรังสิต เมื่อเวลา 14.00 น.ที่ผ่านมา
“วันนี้ทหารก็ทำงานไป ข้าราชการประจำก็มีหน้าที่ทำงานไป กองทัพมีแผนมีกระบวนการที่จะดำเนินการเป็นขั้นเป็นตอน เรามีอำนาจตามกฎอัยการศึกไม่งั้นใครจะฟังเรา มีสิทธิ์จะเรียกทุกกลุ่ม ทุกฝ่ายเพื่อหาข้อยุติ โดยจะเรียกคู่ขัดแย้งทั้งสองฝ่ายมาคุยกัน จะไม่ยอมให้นองเลือดในแผ่นดินไทยเด็ดขาด” พล.อ.ประยุทธ์ระบุ
จากนี้จึงเป็นการนับหนึ่งเดินหน้าเพื่อแก้ไขวิกฤตการเมืองครั้งนี้ เพื่อนำความสงบคืนสู่ประชาชนตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ ลั่นวาจาและเป็นเป้าหมายสำคัญในการประกาศกฎอัยการศึก
ขณะเดียวกัน ผู้เกี่ยวข้องได้แสดงทรรศนะในการประกาศกฎอัยการศึกครั้งนี้และมั่นใจว่าจะเลี่ยงเหตุจลาจลและทำให้ประเทศชาติดีขึ้น
กฎอัยการศึกเป็นบวกกับ กปปส.
นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา บอกว่า การประกาศกฎอัยการศึกครั้งนี้เป็นผลดีกับผู้ชุมนุม กปปส.
กล่าวคือ ทำให้ความเสี่ยงผู้ชุมนุมฝ่าย กปปส. ลดลง เพราะเมื่อทหารเข้ามาทำให้ตำรวจที่ ศอ.รส. เกณฑ์มาต้องกลับที่ตั้ง ทำให้ผู้ชุมนุมมีความเสี่ยงลดลง เท่ากับตอนนี้ฝ่ายผู้ชุมนุม กปปส.มีความปลอดภัยมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการลดความร้อนแรงของกลุ่มผู้ชุมนุมทั้ง 2 ฝ่ายลง โอกาสปะทะหรือสูญเสียเลือดเนื้อลดน้อยลง
ที่สำคัญคือ กฎอัยการศึก มีบทบาทสำคัญในการลดอำนาจฝ่ายรัฐบาลลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะใน 2 ประเด็นคือ
1. ทำให้เห็นว่าตัวของนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรีรักษาการ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี ไม่มีอำนาจใดๆ อีก โดยเฉพาะในตำแหน่ง ผอ.กอ.รมน. (กองกำลังรักษาความมั่นคงภายใน) ที่นายนิวัฒน์ธำรง ไม่สามารถทำงานเป็น ผอ.กอ.รมน. ได้ ดังนั้นคนที่คุม กอ.รมน. ตอนนี้เบ็ดเสร็จคือทหาร
2. ศอ.รส. ถูกยึดอำนาจไปแล้ว โดย ศอ.รส. ถือเป็นปัญหาอย่างมากกับกลุ่มผู้ชุมนุม กปปส.
“ศอ.รส. ทำให้เชื่อว่าเป็นหน่วยที่ตั้งขึ้นมาเพื่อสนับสนุนความรุนแรง ช่วยรัฐบาลที่ไม่สมประกอบให้มีอำนาจมาตลอด ดังนั้นเมื่อ ศอ.รส. ปิดฉาก รัฐบาลรักษาการก็หมดสภาพโดยสมบูรณ์ไปอีกหนึ่งหน่วยงาน”
ดังนั้น หลังประกาศกฎอัยการศึก อำนาจจึงอยู่ในมือทหารเต็มที่ แม้จะไม่ได้ทำรัฐประหารก็ตาม
“ต่อไปนี้ทหารจะเป็นตัวหลักในการหาทางออกให้ประเทศชาติ วุฒิสภาจะเป็นแค่ส่วนหนึ่ง อยู่ที่ทหารว่าจะใช้ช่องทางไหน” ส.ว.ไพบูลย์ กล่าว
อย่างไรก็ดี จากนี้ไปคาดว่ากองทัพจะเริ่มจากการควบคุมสภาพบ้านเมืองให้มีความสงบเรียบร้อยก่อน ไม่ผลีผลาม และกฎอัยการศึกได้ให้อำนาจทหารเต็มที่ ส่วนตำรวจก็ต้องออกไป จุดนี้ถือเป็นด้านดีกับประเทศชาติ เพราะเมื่อรัฐบาลได้ใช้ตำรวจในการปกป้องตัวเอง ซึ่งจากนี้ไป ไม่มีตำรวจอีกต่อไป และนายนิวัฒน์ธำรงก็ไม่ได้เป็น ผอ.กอ.รมน. ไม่มี ศอ.รส.แล้ว ส่งผลให้จากนี้ไปฝ่ายต่างๆ ทำงานได้เต็มที่
ส่วนขั้นตอนต่อไปคือการเสนอชื่อนายกฯ ซึ่งคาดว่าในระยะเวลาไม่นานนัก น่าจะมีการเสนอชื่อนายกฯ ขึ้นทูลเกล้าได้ โดยผู้เสนอชื่อนายกฯ ขึ้นไป จะเป็นฝ่ายใดเป็นผู้ดำเนินการ ขึ้นอยู่กับทหารตามกฎอัยการศึกเป็นผู้ชี้ขาด
ขณะเดียวกันผู้ที่จะทำหน้าที่นายกฯ ชั่วคราวหรือรัฐบาลเฉพาะกิจไม่ได้มีแค่ชื่อเดียว เพราะมีฝ่ายต่างๆ เสนอชื่อนายกฯ ที่หลากหลายเข้ามา และคาดว่าจะสรุปได้ในเวลาสุดท้าย
นายกฯชั่วคราวไม่ใช่ 2 บิ๊กทหาร “ประวิทย์-ประยุทธ์”
อีกทั้งชื่อนายกฯ ที่ ส.ว. มีการเสนอนั้นไม่ใช่คนที่ชื่อนำหน้าด้วยตระกูล ป. ทั้ง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พี่ใหญ่แห่งบูรพาพยัคฆ์ และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่มีการกล่าวถึงนั้นไม่ใช่ทั้งคู่ และนับจากนี้ไม่ว่าจะเป็น ส.ว. หรือฝ่ายอื่น หรือภาคประชาชน ตอนนี้เริ่มเดินหน้าหาทางออกให้ประเทศได้เต็มที่
นอกจากนี้ ส.ว.ไพบูลย์ เตรียมเดินหน้ายื่นศาลรัฐธรรมนูญอีกครั้งหนึ่ง เพื่อฟ้องร้องคณะรัฐมนตรีทั้งคณะ ตามมาตรา 91 ประกอบมาตรา 182 วรรคสาม ว่าคณะรัฐมนตรีกระทำการต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 268 เป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีของรัฐมนตรีทั้งคณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182 (7)
ประเด็นหลักคือคณะรัฐมนตรีมีมติประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างร้ายแรง ก่อให้เกิดปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ สรุปได้ 3 ประการโดยสรุปดังนี้
ประการที่ 1 คณะรัฐมนตรีออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินนั้นเข้าข่ายเป็นการกระทำต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 181 (4) เพื่อให้เกิดประโยชน์กับพวกของตนและพรรคการเมืองที่ตนเองสังกัดอยู่ ในช่วงการดำเนินการจัดการการเลือกตั้ง ทำให้พรรคของตัวเองได้เปรียบในการเลือกตั้ง
ประการที่ 2 ศูนย์รักษาความสงบ (ศรส.) ที่ดำเนินการตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่ออกโดยคณะรัฐมนตรี ได้เข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงการทำหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งและของเจ้าหน้าที่ กกต. โดยไม่ใช่เรื่องที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีหรือศูนย์รักษาความสงบ (ศรส.) จึงเป็นการเข้าไปก้าวก่ายหรือแทรกแซงการปฏิบัติราชการหรือการดำเนินงานในหน้าที่ประจำของข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ อันเป็นการกระทำต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญตามมาตรา 266 (1)
ประการที่ 3 คณะรัฐมนตรีได้มีมติออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินนั้น มีปัญหาความชอบด้วยกฎหมายซึ่งปรากฏตามคำพิพากษาของศาลแพ่ง จึงเป็นการดำเนินการที่ไม่เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ และจากการตรวจสอบพบว่าไม่ได้เป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการตามนโยบายที่ได้แถลงต่อรัฐบาล
เมื่อการกระทำผิดดังกล่าวเป็นการกระทำร่วมของรัฐมนตรีทุกคนในรัฐบาลนี้ จึงขอให้ศาลพิจารณาว่ารัฐมนตรีที่ร่วมอยู่ในรัฐบาลนี้ต้องสิ้นสุดลงด้วยการสิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรีเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182 วรรคหนึ่ง (7) หรือไม่
“หวังว่าศาลจะพิจารณาเพื่อให้เกิดความชัดเจน”
ก็เป็นอีกบทรุกไล่รัฐบาลรักษาการหนึ่งของกลุ่ม 40 ส.ว. ที่วันนี้ต้องเดินหน้าทำให้เกิดภาวะสุญญากาศให้ได้
ภาคธุรกิจเชื่อทุกอย่างจะดีขึ้น
ด้าน ดร.ธนิต โสรัตน์ รองประธานคณะทำงานเศรษฐกิจมหภาค สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า การประกาศกฎอัยการศึกของทหารหากจะมองว่ากระทบต่อเรื่องความเชื่อมั่นในภาคธุรกิจนั้น ต้องบอกว่าเรื่องความเชื่อมั่นอยู่ในจุดต่ำสุดแล้ว ที่ผ่านมาความขัดแย้งทางการเมืองได้ลากให้เศรษฐกิจตกต่ำลงไปด้วย สถานการณ์ที่เป็นอยู่ในเวลานี้ภาคธุรกิจก็คิดว่าจะต้องมีวันนี้หรือคล้ายกับอย่างนี้ เพราะประเทศเรามาถึงทางตันแล้ว การประกาศกฎอัยการศึกของทหารถือเป็นทางออกของประเทศ
ตามรายงานของสภาพัฒน์ก็ระบุว่า การลงทุนของภาคเอกชนติดลบ 5% ส่วนการลงทุนภาครัฐติดลบ 3% สอดคล้องกับรายงานของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่รายงานความเชื่อมั่นว่าต่ำที่สุดที่รอบ 56 เดือน สิ่งที่เป็นผลกระทบตามมาคือทางฟิทช์ เรทติ้งส์ สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ และสถาบันจัดอันดับขีดความสามารถทางการแข่งขันชั้นนำของโลก (International Institute for Management Development) หรือ IMD ก็ขู่ที่จะลดอันดับความน่าเชื่อถือของไทยลง
ส่วนการที่จะบอกว่าการประกาศกฎอัยการศึกในครั้งนี้ดีหรือไม่ รองประธานคณะทำงานเศรษฐกิจมหภาคกล่าวว่า ยังเร็วเกินไปที่จะบอกได้ว่าเป็นเรื่องที่ดีหรือไม่ เพราะต้องดูขอบเขตว่าการประกาศกฎอัยการศึกนั้นมีแค่ไหน ซึ่งเรายังไม่เห็น
สิ่งที่เราเห็นคือการประกาศกฎอัยการศึกนั้นจะทำให้ความรุนแรงไม่เกิดขึ้น ถือเป็นเรื่องดี ส่วนเรื่องของการหาตัวนายกรัฐมนตรีที่จะเข้ามาทำหน้าที่บริหารประเทศนั้น ต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง แต่อย่างน้อยกฎอัยการศึกก็จะทำให้คู่ขัดแย้งทั้ง 2 ฝ่ายหันหน้าเข้ามาพูดคุยกันได้มากขึ้น น่าจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้นกว่าเดิม
หนุน “อานันท์ ปันยารชุน” นั่งนายกฯ
แหล่งข่าวด้านความมั่นคงกล่าวว่า จุดจบของการต่อสู้ทางการเมืองเวลานี้ ไม่ใช่อยู่ที่ผู้ชุมนุมกลุ่มใดอีกต่อไปแล้ว แต่อยู่ที่ทหาร โดยเฉพาะอำนาจรัฏฐาธิปัตย์อยู่ในมือทหารอย่างสมบูรณ์
ขั้นตอนต่อจากนี้ไปคือการนำเสนอนายกฯ อย่างเร่งด่วน เพราะประเทศชาติจำเป็นต้องมีนายกฯ มาเดินหน้าบริหารประเทศ โดยคาดว่าทหารจะใช้เวทีวุฒิสภาในการนำเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีขึ้นโปรดเกล้าฯ ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาไม่นานนัก โดยชื่อของคนที่จะมาเป็นนายกฯ จะมีการหารือกัน 3 ฝ่าย คือ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายสุเทพ เทือกสุบรรณ และ ส.ว. แต่จะเป็นใครนั้นยังไม่ทราบ
“ตอนนี้ทหารเชิญข้าราชการมารายงานตัวทั้งหมดแล้ว การประกาศกฎอัยการศึกแม้ไม่ใช่การทำรัฐประหาร แต่ก็เป็นการทำรัฐประหารเรียบร้อยไปแล้ว ดังนั้นต่อจากนี้ไป การดำเนินการของวุฒิสภาจะง่ายขึ้น”
ทราบแต่ว่าชื่อของ นายอานันท์ ปันยารชุน นั้น เป็นชื่อผู้ใหญ่ที่หลายฝ่ายอยากให้มาเป็นนายกฯ แต่นายอานันท์อาจจะไม่อยากเข้ามารับตำแหน่งก็เป็นได้ ดังนั้นการเสนอชื่อนายกฯ จึงต้องรอข้อสรุปจากทั้ง 3 ฝ่าย
“คุณอานันท์มีคุณสมบัติที่เหมาะสม เพราะเราต้องการผู้นำที่มีความรู้ด้านเศรษฐกิจ และเป็นที่ยอมรับของต่างประเทศ ซึ่งเวลานี้มีการใช้ต่างชาติโจมตีที่กองทัพประกาศกฎอัยการศึกเพื่อแก้ไขปัญหาประเทศ การได้คุณอานันท์ จะช่วยทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศไทยดีขึ้น ซึ่งเราก็คาดหวังว่าคุณอานันท์จะยอมรับ”
ส่วนรัฐบาล ถ้าไม่หน้าด้านเวลานี้ต้องลาออกทั้งหมด!
“เป็นต่อไม่ได้แล้ว อำนาจก็ไม่มีอีกต่อไปแล้ว ต้องลาออก ถ้าไม่ลาออกก็หน้าด้าน แต่ทั้งหมดขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของ พ.ต.ท.ทักษิณคนเดียว จะอยู่หรือไป แต่ถ้าไม่ไปเขาคงหาทางกดดันให้ถึงที่สุด”
แต่เชื่อว่าทักษิณคงไม่ปฏิวัติซ้อน
“คงไม่ปฏิวัติซ้อน เพราะทหารจะประกาศกฎอัยการศึกต้องมีการเช็กกำลังกันเรียบร้อยแล้ว ทหารฝ่ายทักษิณมีกำลังไม่มากเท่ากองทัพที่คุมหน่วยรบอยู่ อยู่ที่ว่าจะเอาตำรวจมาสู้ทหารไหม แต่ดูแล้วคงไม่ให้ตำรวจสู้ทหาร”
อย่างไรก็ดี แหล่งข่าวทางทหารระบุว่า การที่กองทัพตัดสินใจประกาศกฎอัยการศึกครั้งนี้มีการประเมินกำลังแล้วว่า กลุ่ม นปช.คนเสื้อแดงไม่สามารถปลุกระดมพลได้เท่าปี 2553 จึงเชื่อว่ากำลังทหารสามารถจัดการได้ในทุกๆ พื้นที่ทั่วประเทศ และที่สำคัญเป็นวิธีการกดดันให้ ครม.ลาออก เพื่อให้วุฒิสภาเสนอนายกฯ คนกลางหรือรัฐบาลเฉพาะกิจผ่านช่องทางกองทัพที่ใช้อำนาจตามกฎอัยการศึก เพื่อเร่งปฏิรูปการเมือง หลังจากนั้นก็จัดให้มีการเลือกตั้งต่อไป
“พื้นที่จังหวัดใดที่เป็นพื้นที่เสี่ยงที่กลุ่มเสื้อแดงจะทำการป่วนได้ หากมีการใช้อาวุธ หรือใช้ความรุนแรงในพื้นที่ก็ให้ตำรวจจัดการก่อน และบางพื้นที่ที่มีหัวโจกหรือพวกฮาร์ดคอร์ ก็ให้ทหารเป็นผู้ไล่ล่าหัวโจกต่อไป”
แหล่งข่าวทางทหารบอกอีกว่า กระบวนการที่จัดเตรียมไว้ทั้งหมด หากรักษาการรัฐบาลยอมจำนนก็จะไม่เกิดความรุนแรง ดังนั้นทุกสถานการณ์จากนี้ไปจะเกิดเหตุรุนแรงหรือไม่จึงอยู่ที่รักษาการรัฐบาลหรือพรรคเพื่อไทย ว่าจะยอมจำนนหรือไม่เป็นหลัก แต่ยืนยันเป้าหมายหลักก็เพื่อแก้วิกฤตการเมืองที่เกิดขึ้น และคืนความสงบสุขให้ประชาชนต่อไป!