นักเศรษฐศาสตร์เห็นพ้องถ้าชุมนุมยืดเยื้อเศรษฐกิจพินาศ จุฬาฯ เผยกำลังซื้อหายหลายแสนล้านทั้งจากเงินที่ติดค้างชาวนาและจากรถคันแรก แถมต้องดึงเอากำลังซื้อของแรงงานทรุดไปด้วยหากพ่อแม่ยังทำนา ขณะที่ผลจากการเป็นรัฐบาลรักษาการทำเอาบอร์ดบีโอไอค้างเติ่ง โครงการเกิน 200 ล้านบาทอนุมัติไม่ได้-การลงทุนไม่เกิด ซ้ำร้าย พ.ร.ก.ฉุกเฉินตัวการหลักไล่นักท่องเที่ยวต่างชาติ ชี้ธุรกิจภาคบริการและรายเล็กโดนก่อน อาจได้เห็นการลอยแพพนักงาน
ล่วงเลยมากว่า 3 เดือนของการชุมนุมของภาคประชาชนที่เริ่มต้นด้วยการต่อต้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม จนกลายมาเป็นการขับไล่รัฐบาล โค่นล้มระบอบทักษิณ พร้อมกับการปฎิรูปประเทศไทย ที่มีอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคประชาธิปไตยเป็นแกนนำ พร้อมด้วยเครือข่ายอื่นๆ ที่หลอมตัวกันเป็นคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.)
ไม่ว่าจะเป็นการนัดรวมตัวแสดงพลังของประชาชนนับล้านคน ก็ทำได้แค่เพียงทำให้รัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จากพรรคเพื่อไทยยุบสภา เมื่อ 9 ธันวาคม 2556 และเป็นรัฐบาลรักษาการ กุมความได้เปรียบ หรือปฏิบัติการปิดกรุงเทพฯ เมื่อ 13 มกราคม 2557 ก็ไม่สามารถทำให้รัฐบาลรักษาการชุดนี้พ้นจากอำนาจไปได้
ตามมาด้วยการสกัดกั้นเพื่อให้เกิดการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ก็ไม่สามารถหยุดยั้งความต้องการของรัฐบาลได้ แม้การเลือกตั้งในครั้งนี้จะยังคงมีปัญหาตามมาอีกมากมาย แต่ก็ยังไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบรรลุเป้าหมายของตนเองได้
สถานการณ์ที่ค้างคาอยู่ในลักษณะนี้คือรัฐบาลก็ยังคงเป็นรัฐบาลรักษาการต่อไป และฝ่ายผู้ชุมนุมก็ยังชุมนุมต่อต้านรัฐบาลทุกวันอย่างนี้ ทำให้หลายฝ่ายเริ่มเป็นห่วงสถานการณ์ว่า หากทุกอย่างยังยืดเยื้อในลักษณะนี้ต่อไปอีก 3 เดือน เศรษฐกิจของประเทศจะตกอยู่ในสภาวะวิกฤตมากยิ่งขึ้น
“หม่อมอุ๋ย-อานันท์”เห็นพ้องเศรษฐกิจแย่
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยและอดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ทำจดหมายเปิดผนึก เมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2557 เรียกร้องให้รัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ลาออก เนื่องจากไม่สามารถปฏิบัติงานต่างๆ ได้ และมีประชาชนจำนวนมากและองค์กรเอกชนที่สำคัญหมดความเชื่อถือและศรัทธาในรัฐบาล
พร้อมทั้งให้เหตุผลเพิ่มเติมว่า ในสถานการณ์ที่เหตุการณ์จะยืดเยื้อจนไม่มีกำหนดแน่ชัดเช่นนี้ หากรัฐบาลซึ่งถือได้ว่าเป็นรัฐบาลที่ล้มเหลวแล้ว เลือกที่จะเป็นรัฐบาลรักษาการต่อไป การประท้วงก็น่าจะรุนแรงขึ้นเนื่องจากประชาชนจำนวนมากไม่พอใจที่จะให้ท่านนายกฯ และรัฐบาลบริหารประเทศต่อไปอีก
สถานการณ์เช่นนี้หากปล่อยไว้นานไป รังแต่จะทำให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศรุนแรงขึ้น ธุรกิจท่องเที่ยวจะซบเซาลงไปอีก การลงทุนในโครงการต่างๆ เพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจเกิดขึ้นไม่ได้เพราะประชาชนไม่ไว้ใจว่าจะไม่มีการโกงกิน
ความเชื่อมั่นของนักลงทุนเอกชนทั้งในประเทศและจากต่างประเทศจะตกต่ำลงจนถึงขั้นที่หยุดลงทุน เศรษฐกิจจะชะลอตัวลงเป็นอย่างมากจนอาจไม่ขยายตัวเลย อัตราการว่างงานที่เริ่มสูงขึ้นจะเพิ่มมากขึ้นไปอีก ที่สำคัญประชาชนจะรู้สึกสิ้นหวัง จนอาจเกิดความรุนแรงขึ้นมากกว่าที่ผ่านมาแล้วได้
แต่ถ้าท่านนายกฯ และรัฐบาลของท่านเห็นแก่ประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ ตัดสินใจลาออกจากการเป็นรัฐบาลรักษาการ ซึ่งสามารถทำได้ตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย เมื่อไม่สามารถบริหารประเทศให้ก้าวหน้าต่อไปได้ โดยรัฐธรรมนูญปัจจุบันมีช่องทางที่จะให้มีการแต่งตั้งคนกลางเข้ามาบริหารบ้านเมืองต่อไปได้ ผู้ประท้วงก็จะหยุดประท้วงทันที กิจการต่างๆ ในบ้านเมืองจะดำเนินได้ตามปกติทั้งงานของราชการและธุรกิจเอกชน
นับเป็นอีกแรงกดดันหนึ่งที่มีต่อรัฐบาลที่บุคคลที่มีความรู้ความสามารถนำเสนอทางออกให้กับรัฐบาล ด้วยเหตุการณ์ที่เป็นอยู่ในเวลานี้มีเศรษฐกิจของประเทศเป็นเดิมพัน
จากนั้นความห่วงใยต่อสถานการณ์ยังถูกตอกย้ำด้วยบุคคลสำคัญอย่างนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ระบุว่า รัฐบาลควรนำสิ่งที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายจำนำข้าวไปพิจารณา พร้อมทั้งเตือนว่า เศรษฐกิจอาจวิกฤตถึงขนาดทำให้ประเทศหายนะได้ภายในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า หากยังปล่อยให้วิกฤตการเมืองครั้งนี้ยืดเยื้อต่อไป
กำลังซื้อหาย รถคันแรก+ชาวนา
ภายใต้การต่อสู้กันในทางการเมือง ที่ต่างฝ่ายต่างใช้เวลาเป็นเครื่องมือที่ทำให้ฝ่ายตรงข้ามอ่อนแรงลง ที่มีเศรษฐกิจของประเทศเป็นเครื่องเดิมพัน แม้ว่าประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศจะไม่ต้องการให้รัฐบาลรักษาการของนางสาวยิ่งลักษณ์บริหารประเทศอีกต่อไป แต่รัฐบาลก็ยังคงใช้แนวทางการยื้อสถานการณ์ให้ยืดยาวออกไป ด้วยหวังว่าฝ่ายประชาชนที่ต่อต้านจะอ่อนแรงลงไปในที่สุด
ผศ.ดร.สมประวิณ มันประเสริฐ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า หากสถานการณ์ทางการเมืองที่เป็นอยู่เวลานี้ถูกปล่อยให้ยืดเยื้อออกไปอีก 3 เดือน เศรษฐกิจของประเทศไทยจะมีปัญหาแน่ ยิ่งนานยิ่งเสียหายมาก
ที่ชัดเจนที่สุดคือเรื่องของกำลังซื้อในประเทศที่หายไป อย่างกรณีของชาวนาที่ยังไม่ได้รับเงินจากการเข้าโครงการรับจำนำข้าว 1.3 แสนล้านบาท เม็ดเงินส่วนนี้ถือว่ามีมูลค่ามาก ชาวนากว่า 1 ล้านครอบครัวที่กำลังซื้อหายไปในทันที เงินจำนวนนี้จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้มาก ที่น่าเห็นใจคือรายได้ของชาวนาเหล่านี้ ค่าใช้จ่ายของพวกเขาส่วนใหญ่เป็นเรื่องของอาหาร จึงทำให้ชีวิตของพวกเขาลำบากมาก
เมื่อชาวนายังไม่ได้รับเงิน ตรงนี้ก็จะไปกระทบกับส่วนอื่น เช่น ลูกหลานของชาวนาที่เข้ามาทำงานตามโรงงานหรือทำงานรับเงินเดือน คนเหล่านี้เมื่อเห็นพ่อแม่ของตัวเองเดือดร้อนก็ต้องแบ่งปันเอารายได้ของตัวเองที่มีนำไปช่วยเหลือทางบ้าน
นั่นก็จะกลายเป็นการดึงเอากำลังซื้อของคนทั้ง 2 กลุ่มนี้หายไปพร้อมๆ กัน ยิ่งเมื่อรวมกับคนที่ใช้สิทธิในโครงการรถยนต์คันแรกอีก 1 ล้านรายที่กำลังซื้อของคนกลุ่มนี้หายไปก่อนหน้านี้ ยิ่งทำให้แรงซื้อภายในประเทศหายไปมาก
สำหรับด้านการลงทุนนั้นขณะนี้เกิดขึ้นแล้ว สินค้าหลายรายการขายไม่ออก จึงทำให้ไม่มีการลงทุนเพิ่ม โดยเฉพาะสินค้าที่เน้นตลาดในประเทศเป็นหลักจะได้รับผลกระทบ รวมไปถึงธุรกิจด้านขายปลีกอื่นๆ โดยรายที่มีสายป่านน้อยย่อมหลีกเลี่ยงไม่พ้น
ยิ่งยืดยิ่งแย่
ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์อีกรายกล่าวว่า หากสภาพการชุมนุมถูกลากออกไปอีก 3 เดือนทุกอย่างพังแน่ เริ่มที่การลงทุน ตอนนี้ทั้งจากต่างประเทศและในประเทศชะลอทั้งหมด อีกทั้งยังมีปัญหาเรื่องของบอร์ดคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ที่หมดวาระลง และยังไม่ได้รับการแต่งตั้ง เนื่องจากรัฐบาลชุดนี้เป็นรัฐบาลรักษาการ ทำให้ไม่สามารถอนุมัติโครงการต่างๆ ที่มีมูลค่าเกินกว่า 200 ล้านบาทได้ จึงทำให้การลงทุนในส่วนนี้ชะงัก รวมไปถึงตัวบรรยากาศการชุมนุมทำให้นักลงทุนกังวล
ถัดมาเป็นเรื่องของความมั่นใจของประชาชน ที่การบริโภคหรือการซื้อสินค้าต่างๆ น้อยลง เมื่อเป็นเช่นนี้ภาคการผลิตต่างๆ ก็ไม่ขยายกำลังการผลิตเพิ่ม หรือไม่ขยายงาน ไม่ลงทุนเพิ่ม สุดท้ายก็จะมีปัญหาในเรื่องการจ้างงาน แม้ว่าในการชุมนุมนั้นจะทำให้มีการจับจ่ายเพิ่มขึ้นในบริเวณโดยรอบ ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของอาหารและสินค้าที่ระลึกของการชุมนุม แต่ยังมีธุรกิจบางส่วนที่ไม่ได้รับผลบวกจากการชุมนุม เช่น ธุรกิจบริการต่างๆ รวมถึงโรงแรมที่พัก ที่ยอดลดลงไปมาก แรงงานในส่วนนี้จึงอยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยง ดังนั้นธุรกิจขนาดเล็กที่มีสภาพคล่องน้อยอาจจะประสบปัญหาได้
พ.ร.ก.ฉุกเฉินทุบหม้อข้าว
อย่างไรก็ดียังเหลือภาคการส่งออกที่ยังเดินหน้าต่อไปได้ เนื่องจากกำลังซื้อในต่างประเทศเริ่มฟื้นขึ้น แต่ก็จะเป็นเฉพาะสินค้าบางรายการเท่านั้น อีกด้านหนึ่งอย่างภาคการท่องเที่ยวที่สร้างรายได้ให้กับประเทศ ก็ต้องมาเผชิญในเรื่องของการประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ประกาศใช้เมื่อ 22 มกราคม 2557 ตรงนี้จะมีผลทำให้นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเดินทางมาประเทศไทยน้อยลง เห็นได้จากคำประกาศเตือนที่มีกว่า 46 ประเทศ
ทั้งนี้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มีผลทำให้บริษัททัวร์หรือบริษัทประกันต่างๆ ไม่ให้ความคุ้มครองกับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้ามา ดังนั้นจึงส่งผลต่อจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่อาจเปลี่ยนเป้าหมายในการเดินทางไปยังประเทศอื่น ตอนนี้หลายฝ่ายก็เรียกร้องให้มีการยกเลิก พ.ร.ก.นี้ เพราะสถานการณ์ไม่ได้รุนแรง การใช้แค่พระราชบัญญัติความมั่นคงก็เพียงพอ ซึ่งจะไม่กระทบด้านการท่องเที่ยว
ปัญหานี้ควรยุติให้ได้ภายในกลางปีนี้ ไม่เช่นนั้นสถานการณ์ทุกอย่างจะเริ่มแย่ลง กำลังซื้อคนในประเทศหายไปเพราะนโยบายของรัฐบาลทั้งเรื่องของรถคันแรก การค้างเงินจากการจำนำข้าวกับชาวนา บรรยากาศการชุมนุมทำให้หลายคนลดพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยลง ก็ทำให้ภาคธุรกิจอื่นๆ ได้รับผลกระทบตามไปด้วย ตอนนี้เริ่มมีสัญญาณของการผิดนัดชำระหนี้บ้างแล้ว รวมไปถึงสภาพหนี้โดยเฉพาะหนี้ภาคครัวเรือนในปีนี้เพิ่มขึ้นแน่นอน จากเดิมที่คาดว่าปลายปี 2556 น่าจะขยับขึ้นไปแตะเฉลี่ยครอบครัวละ 2 แสนบาท ดังนั้นในปี 2557 อาจจะเพิ่มขึ้นมาได้อีก 1-2 หมื่นบาทต่อครัวเรือน หรืออาจมากกว่านั้นหากทุกอย่างเลวร้ายลง
ดังนั้นหากวิกฤตการเมืองที่เกิดขึ้นยังไม่ได้ข้อยุติ สถานการณ์ทุกอย่างจะเลวร้ายลง และเราจะได้เห็นเศรษฐกิจดิ่งเหว การเลิกจ้างงาน หรือภาคแรงงานจะตกงานมากขึ้น ปัญหาสังคมต่างๆ จะเกิดขึ้นตามมา
ตรงนี้จึงเป็นที่มาของการเรียกร้อง ‘คนกลาง’ เพื่อเข้ามาแก้ไข หรือยุติปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ซึ่งหากแนวทาง ‘คนกลาง’ ไม่สามารถเป็นจริงได้ ประกอบกับรักษาการรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และฝ่ายความมั่นคงใช้วิธีการแก้ปัญหาด้วยความรุนแรงด้วยการสลายการชุมนุม ย่อมจะทำให้เศรษฐกิจของประเทศทรุดลงไปกว่าที่มีการคาดไว้เสียอีก!
ล่วงเลยมากว่า 3 เดือนของการชุมนุมของภาคประชาชนที่เริ่มต้นด้วยการต่อต้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม จนกลายมาเป็นการขับไล่รัฐบาล โค่นล้มระบอบทักษิณ พร้อมกับการปฎิรูปประเทศไทย ที่มีอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคประชาธิปไตยเป็นแกนนำ พร้อมด้วยเครือข่ายอื่นๆ ที่หลอมตัวกันเป็นคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.)
ไม่ว่าจะเป็นการนัดรวมตัวแสดงพลังของประชาชนนับล้านคน ก็ทำได้แค่เพียงทำให้รัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จากพรรคเพื่อไทยยุบสภา เมื่อ 9 ธันวาคม 2556 และเป็นรัฐบาลรักษาการ กุมความได้เปรียบ หรือปฏิบัติการปิดกรุงเทพฯ เมื่อ 13 มกราคม 2557 ก็ไม่สามารถทำให้รัฐบาลรักษาการชุดนี้พ้นจากอำนาจไปได้
ตามมาด้วยการสกัดกั้นเพื่อให้เกิดการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ก็ไม่สามารถหยุดยั้งความต้องการของรัฐบาลได้ แม้การเลือกตั้งในครั้งนี้จะยังคงมีปัญหาตามมาอีกมากมาย แต่ก็ยังไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบรรลุเป้าหมายของตนเองได้
สถานการณ์ที่ค้างคาอยู่ในลักษณะนี้คือรัฐบาลก็ยังคงเป็นรัฐบาลรักษาการต่อไป และฝ่ายผู้ชุมนุมก็ยังชุมนุมต่อต้านรัฐบาลทุกวันอย่างนี้ ทำให้หลายฝ่ายเริ่มเป็นห่วงสถานการณ์ว่า หากทุกอย่างยังยืดเยื้อในลักษณะนี้ต่อไปอีก 3 เดือน เศรษฐกิจของประเทศจะตกอยู่ในสภาวะวิกฤตมากยิ่งขึ้น
“หม่อมอุ๋ย-อานันท์”เห็นพ้องเศรษฐกิจแย่
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยและอดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ทำจดหมายเปิดผนึก เมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2557 เรียกร้องให้รัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ลาออก เนื่องจากไม่สามารถปฏิบัติงานต่างๆ ได้ และมีประชาชนจำนวนมากและองค์กรเอกชนที่สำคัญหมดความเชื่อถือและศรัทธาในรัฐบาล
พร้อมทั้งให้เหตุผลเพิ่มเติมว่า ในสถานการณ์ที่เหตุการณ์จะยืดเยื้อจนไม่มีกำหนดแน่ชัดเช่นนี้ หากรัฐบาลซึ่งถือได้ว่าเป็นรัฐบาลที่ล้มเหลวแล้ว เลือกที่จะเป็นรัฐบาลรักษาการต่อไป การประท้วงก็น่าจะรุนแรงขึ้นเนื่องจากประชาชนจำนวนมากไม่พอใจที่จะให้ท่านนายกฯ และรัฐบาลบริหารประเทศต่อไปอีก
สถานการณ์เช่นนี้หากปล่อยไว้นานไป รังแต่จะทำให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศรุนแรงขึ้น ธุรกิจท่องเที่ยวจะซบเซาลงไปอีก การลงทุนในโครงการต่างๆ เพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจเกิดขึ้นไม่ได้เพราะประชาชนไม่ไว้ใจว่าจะไม่มีการโกงกิน
ความเชื่อมั่นของนักลงทุนเอกชนทั้งในประเทศและจากต่างประเทศจะตกต่ำลงจนถึงขั้นที่หยุดลงทุน เศรษฐกิจจะชะลอตัวลงเป็นอย่างมากจนอาจไม่ขยายตัวเลย อัตราการว่างงานที่เริ่มสูงขึ้นจะเพิ่มมากขึ้นไปอีก ที่สำคัญประชาชนจะรู้สึกสิ้นหวัง จนอาจเกิดความรุนแรงขึ้นมากกว่าที่ผ่านมาแล้วได้
แต่ถ้าท่านนายกฯ และรัฐบาลของท่านเห็นแก่ประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ ตัดสินใจลาออกจากการเป็นรัฐบาลรักษาการ ซึ่งสามารถทำได้ตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย เมื่อไม่สามารถบริหารประเทศให้ก้าวหน้าต่อไปได้ โดยรัฐธรรมนูญปัจจุบันมีช่องทางที่จะให้มีการแต่งตั้งคนกลางเข้ามาบริหารบ้านเมืองต่อไปได้ ผู้ประท้วงก็จะหยุดประท้วงทันที กิจการต่างๆ ในบ้านเมืองจะดำเนินได้ตามปกติทั้งงานของราชการและธุรกิจเอกชน
นับเป็นอีกแรงกดดันหนึ่งที่มีต่อรัฐบาลที่บุคคลที่มีความรู้ความสามารถนำเสนอทางออกให้กับรัฐบาล ด้วยเหตุการณ์ที่เป็นอยู่ในเวลานี้มีเศรษฐกิจของประเทศเป็นเดิมพัน
จากนั้นความห่วงใยต่อสถานการณ์ยังถูกตอกย้ำด้วยบุคคลสำคัญอย่างนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ระบุว่า รัฐบาลควรนำสิ่งที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายจำนำข้าวไปพิจารณา พร้อมทั้งเตือนว่า เศรษฐกิจอาจวิกฤตถึงขนาดทำให้ประเทศหายนะได้ภายในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า หากยังปล่อยให้วิกฤตการเมืองครั้งนี้ยืดเยื้อต่อไป
กำลังซื้อหาย รถคันแรก+ชาวนา
ภายใต้การต่อสู้กันในทางการเมือง ที่ต่างฝ่ายต่างใช้เวลาเป็นเครื่องมือที่ทำให้ฝ่ายตรงข้ามอ่อนแรงลง ที่มีเศรษฐกิจของประเทศเป็นเครื่องเดิมพัน แม้ว่าประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศจะไม่ต้องการให้รัฐบาลรักษาการของนางสาวยิ่งลักษณ์บริหารประเทศอีกต่อไป แต่รัฐบาลก็ยังคงใช้แนวทางการยื้อสถานการณ์ให้ยืดยาวออกไป ด้วยหวังว่าฝ่ายประชาชนที่ต่อต้านจะอ่อนแรงลงไปในที่สุด
ผศ.ดร.สมประวิณ มันประเสริฐ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า หากสถานการณ์ทางการเมืองที่เป็นอยู่เวลานี้ถูกปล่อยให้ยืดเยื้อออกไปอีก 3 เดือน เศรษฐกิจของประเทศไทยจะมีปัญหาแน่ ยิ่งนานยิ่งเสียหายมาก
ที่ชัดเจนที่สุดคือเรื่องของกำลังซื้อในประเทศที่หายไป อย่างกรณีของชาวนาที่ยังไม่ได้รับเงินจากการเข้าโครงการรับจำนำข้าว 1.3 แสนล้านบาท เม็ดเงินส่วนนี้ถือว่ามีมูลค่ามาก ชาวนากว่า 1 ล้านครอบครัวที่กำลังซื้อหายไปในทันที เงินจำนวนนี้จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้มาก ที่น่าเห็นใจคือรายได้ของชาวนาเหล่านี้ ค่าใช้จ่ายของพวกเขาส่วนใหญ่เป็นเรื่องของอาหาร จึงทำให้ชีวิตของพวกเขาลำบากมาก
เมื่อชาวนายังไม่ได้รับเงิน ตรงนี้ก็จะไปกระทบกับส่วนอื่น เช่น ลูกหลานของชาวนาที่เข้ามาทำงานตามโรงงานหรือทำงานรับเงินเดือน คนเหล่านี้เมื่อเห็นพ่อแม่ของตัวเองเดือดร้อนก็ต้องแบ่งปันเอารายได้ของตัวเองที่มีนำไปช่วยเหลือทางบ้าน
นั่นก็จะกลายเป็นการดึงเอากำลังซื้อของคนทั้ง 2 กลุ่มนี้หายไปพร้อมๆ กัน ยิ่งเมื่อรวมกับคนที่ใช้สิทธิในโครงการรถยนต์คันแรกอีก 1 ล้านรายที่กำลังซื้อของคนกลุ่มนี้หายไปก่อนหน้านี้ ยิ่งทำให้แรงซื้อภายในประเทศหายไปมาก
สำหรับด้านการลงทุนนั้นขณะนี้เกิดขึ้นแล้ว สินค้าหลายรายการขายไม่ออก จึงทำให้ไม่มีการลงทุนเพิ่ม โดยเฉพาะสินค้าที่เน้นตลาดในประเทศเป็นหลักจะได้รับผลกระทบ รวมไปถึงธุรกิจด้านขายปลีกอื่นๆ โดยรายที่มีสายป่านน้อยย่อมหลีกเลี่ยงไม่พ้น
ยิ่งยืดยิ่งแย่
ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์อีกรายกล่าวว่า หากสภาพการชุมนุมถูกลากออกไปอีก 3 เดือนทุกอย่างพังแน่ เริ่มที่การลงทุน ตอนนี้ทั้งจากต่างประเทศและในประเทศชะลอทั้งหมด อีกทั้งยังมีปัญหาเรื่องของบอร์ดคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ที่หมดวาระลง และยังไม่ได้รับการแต่งตั้ง เนื่องจากรัฐบาลชุดนี้เป็นรัฐบาลรักษาการ ทำให้ไม่สามารถอนุมัติโครงการต่างๆ ที่มีมูลค่าเกินกว่า 200 ล้านบาทได้ จึงทำให้การลงทุนในส่วนนี้ชะงัก รวมไปถึงตัวบรรยากาศการชุมนุมทำให้นักลงทุนกังวล
ถัดมาเป็นเรื่องของความมั่นใจของประชาชน ที่การบริโภคหรือการซื้อสินค้าต่างๆ น้อยลง เมื่อเป็นเช่นนี้ภาคการผลิตต่างๆ ก็ไม่ขยายกำลังการผลิตเพิ่ม หรือไม่ขยายงาน ไม่ลงทุนเพิ่ม สุดท้ายก็จะมีปัญหาในเรื่องการจ้างงาน แม้ว่าในการชุมนุมนั้นจะทำให้มีการจับจ่ายเพิ่มขึ้นในบริเวณโดยรอบ ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของอาหารและสินค้าที่ระลึกของการชุมนุม แต่ยังมีธุรกิจบางส่วนที่ไม่ได้รับผลบวกจากการชุมนุม เช่น ธุรกิจบริการต่างๆ รวมถึงโรงแรมที่พัก ที่ยอดลดลงไปมาก แรงงานในส่วนนี้จึงอยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยง ดังนั้นธุรกิจขนาดเล็กที่มีสภาพคล่องน้อยอาจจะประสบปัญหาได้
พ.ร.ก.ฉุกเฉินทุบหม้อข้าว
อย่างไรก็ดียังเหลือภาคการส่งออกที่ยังเดินหน้าต่อไปได้ เนื่องจากกำลังซื้อในต่างประเทศเริ่มฟื้นขึ้น แต่ก็จะเป็นเฉพาะสินค้าบางรายการเท่านั้น อีกด้านหนึ่งอย่างภาคการท่องเที่ยวที่สร้างรายได้ให้กับประเทศ ก็ต้องมาเผชิญในเรื่องของการประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ประกาศใช้เมื่อ 22 มกราคม 2557 ตรงนี้จะมีผลทำให้นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเดินทางมาประเทศไทยน้อยลง เห็นได้จากคำประกาศเตือนที่มีกว่า 46 ประเทศ
ทั้งนี้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มีผลทำให้บริษัททัวร์หรือบริษัทประกันต่างๆ ไม่ให้ความคุ้มครองกับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้ามา ดังนั้นจึงส่งผลต่อจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่อาจเปลี่ยนเป้าหมายในการเดินทางไปยังประเทศอื่น ตอนนี้หลายฝ่ายก็เรียกร้องให้มีการยกเลิก พ.ร.ก.นี้ เพราะสถานการณ์ไม่ได้รุนแรง การใช้แค่พระราชบัญญัติความมั่นคงก็เพียงพอ ซึ่งจะไม่กระทบด้านการท่องเที่ยว
ปัญหานี้ควรยุติให้ได้ภายในกลางปีนี้ ไม่เช่นนั้นสถานการณ์ทุกอย่างจะเริ่มแย่ลง กำลังซื้อคนในประเทศหายไปเพราะนโยบายของรัฐบาลทั้งเรื่องของรถคันแรก การค้างเงินจากการจำนำข้าวกับชาวนา บรรยากาศการชุมนุมทำให้หลายคนลดพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยลง ก็ทำให้ภาคธุรกิจอื่นๆ ได้รับผลกระทบตามไปด้วย ตอนนี้เริ่มมีสัญญาณของการผิดนัดชำระหนี้บ้างแล้ว รวมไปถึงสภาพหนี้โดยเฉพาะหนี้ภาคครัวเรือนในปีนี้เพิ่มขึ้นแน่นอน จากเดิมที่คาดว่าปลายปี 2556 น่าจะขยับขึ้นไปแตะเฉลี่ยครอบครัวละ 2 แสนบาท ดังนั้นในปี 2557 อาจจะเพิ่มขึ้นมาได้อีก 1-2 หมื่นบาทต่อครัวเรือน หรืออาจมากกว่านั้นหากทุกอย่างเลวร้ายลง
ดังนั้นหากวิกฤตการเมืองที่เกิดขึ้นยังไม่ได้ข้อยุติ สถานการณ์ทุกอย่างจะเลวร้ายลง และเราจะได้เห็นเศรษฐกิจดิ่งเหว การเลิกจ้างงาน หรือภาคแรงงานจะตกงานมากขึ้น ปัญหาสังคมต่างๆ จะเกิดขึ้นตามมา
ตรงนี้จึงเป็นที่มาของการเรียกร้อง ‘คนกลาง’ เพื่อเข้ามาแก้ไข หรือยุติปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ซึ่งหากแนวทาง ‘คนกลาง’ ไม่สามารถเป็นจริงได้ ประกอบกับรักษาการรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และฝ่ายความมั่นคงใช้วิธีการแก้ปัญหาด้วยความรุนแรงด้วยการสลายการชุมนุม ย่อมจะทำให้เศรษฐกิจของประเทศทรุดลงไปกว่าที่มีการคาดไว้เสียอีก!