รัฐบาลยิ่งลักษณ์จนแต้ม ค้างจ่ายค่าจำนำข้าวกว่า 4 เดือน พลาดตั้งแต่แนวคิดสวนตลาดโลก แถมไม่สามารถระบายข้าวออกไปได้ ทำให้เงินหมุนเวียนสะดุด “ธ.ก.ส.-ออมสิน” ไม่ร่วมสังฆกรรม กกต.โยนเรื่องกลับรัฐบาล นิพนธ์ วงศ์ตระหง่าน เผยต่อให้รัฐระบายข้าวในสต็อกหมดก็ไม่พอจ่ายชาวนา ชาวนาภาคกลางเตรียมปิดแยกนพวงศ์และถนนสายเอเชีย ด้านชาวนาพิจิตรแฉเสื้อแดงนำประท้วงเอง สุดทนแบกรับภาระทุกด้าน กระทบกันเป็นลูกโซ่ ร้านค้าเกษตรหนี้บาน รถเกี่ยวข้าวเลือกเฉพาะเงินสด ขณะที่ทำนารอบใหม่ยังมืดมน รับเข็ดแล้วประชานิยม เตรียมลงโทษไม่เลือกพรรคเพื่อไทย
การปิดถนนของชาวนาจังหวัดต่างๆ เพื่อทวงเงินจากรัฐบาลหลังจากที่นำข้าวที่ได้จากการทำนาเข้าโครงการรับจำนำข้าวตามนโยบายของรัฐบาล ที่ถือเป็นนโยบายหลักของการหาเสียงเมื่อปี 2554 จนพรรคเพื่อไทยได้เสียงข้างมากมาเป็นรัฐบาล แต่เป็นเวลากว่า 4 เดือนที่ชาวนาเหล่านั้นยังไม่ได้รับเงินจากรัฐบาล
ขณะที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ดำเนินการไต่สวนการทุจริตในโครงการนี้ และมีมติแจ้งข้อกล่าวหาแก่นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายภูมิ สาระผล อดีต รมช.พาณิชย์ และผู้ดำเนินการเจรจาทั้งสองฝ่าย รวมถึงผู้รับมอบอำนาจของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่เข้ามาเจรจาด้วย รวมจำนวน 15 ราย ขณะที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี ยังอยู่ในขั้นของการถูกตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน
หลายฝ่ายที่เฝ้ารอผลของ ป.ป.ช.ในคดีนี้ เพื่อหวังว่าคำตัดสินจะทำให้รัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ ก็ต้องรอคอยกันต่อไปเพราะในคดีนี้ยังเป็นเพียงขั้นตอนการแจ้งข้อกล่าวหายังไม่ได้เป็นการกล่าวโทษ และกรณีของยิ่งลักษณ์เป็นเพียงแค่ชั้นการไต่สวนเท่านั้น
ความล่าช้าในการหาเงินมาจ่ายให้กับชาวนา กลายเป็นการโยนความผิดพลาดของรัฐบาลในครั้งนี้ไปให้กับภาคส่วนต่างๆ อย่างเช่น นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่อ้างว่าความล่าช้าทั้งหมดเกิดจากคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ กปปส. เข้ามาปิดกระทรวงการคลัง และอ้างว่าอยู่ในขั้นตอนขออนุมัติจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
แต่เป็นที่ทราบกันดีว่าปัญหาทั้งหมดนี้เกิดจากการที่รัฐบาลไม่สามารถระบายข้าวในสต็อกได้ อีกทั้งการระบายข้าวที่ผ่านมาที่รัฐบาลมักจะอ้างอยู่เสมอว่าเป็นการขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (G to G) ซึ่งทาง ป.ป.ช.ได้ตรวจสอบแล้วในกรณีกับประเทศจีนนั้นไม่พบเรื่องการทำสัญญาและไม่มีการส่งข้าวออกจริง
อีกทั้งราคาข้าวที่รัฐบาลรับจำนำจากชาวนานั้นเป็นราคาที่สูงกว่าตลาดเกือบ 50% จึงทำให้ไม่มีผู้ซื้อรายใดอยากซื้อข้าวจากประเทศไทย เนื่องจากมีตัวเลือกอื่นทั้งข้าวจากอินเดียและเวียดนาม
ดังนั้นการระบายข้าวของรัฐบาลในโครงการรับจำนำข้าว จึงประสบปัญหา ทำให้ไม่มีเงินหมุนเวียนเข้ามาเพื่อดำเนินโครงการต่อได้ อีกทั้งยังมีกรอบการใช้เงินในโครงการนี้ไว้ที่ 5 แสนล้านบาท ภายใต้กรอบเงินกู้ 410,000 ล้านบาท และเงินทุน ธ.ก.ส. 90,000 ล้านบาท และให้นำเงินจากการระบายข้าวมาใช้หมุนเวียนในการจำนำข้าว
ด้วยฐานเสียงจากชาวนาจำนวนมาก จึงทำให้รัฐบาลต้องดิ้นรนทุกวิธีทางเพื่อหาเงินมาจ่ายให้กับชาวนา แต่เมื่อติดขัดที่เป็นรัฐบาลรักษาการไม่สามารถก่อหนี้ที่มีผลผูกพันกับรัฐบาลใหม่ได้ จึงโยนความติดขัดทั้งหมดไปให้กับภาคส่วนอื่น ๆ
“ชาวนาได้นำข้าวมาขายให้โครงการรับจำนำ ในปีการผลิต 2556/57 เป็นมูลค่าตามใบประทวนประมาณ 1.6 แสนล้านบาท ซึ่งได้รับเงินไปแล้ว 0.35 แสนล้านบาท เพราะฉะนั้น ชาวนาจึงยังไม่ได้รับเงินอีก 1.246 แสนล้านบาท” ข้อมูลจาก ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการกิตติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)
ปมปัญหาที่ติดขัดในเวลานี้คือความพยายามของรัฐบาลรักษาการที่จะดึงเอาเงินฝากและสภาพคล่องของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส.มาจ่ายให้กับชาวนาที่รัฐบาลค้างชำระอยู่ราว 1.3 แสนล้านบาท แต่การประชุมของคณะกรรมการธนาคารเมื่อ 21 มกราคม 2557 มีมติไม่อนุมัติตามสิ่งที่รัฐบาลต้องการ โดยเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องหาเงินมาเอง แต่ ธ.ก.ส. หาแนวทางบรรเทาความเดือดร้อนของชาวนา เบื้องต้นจะใช้แนวทางขยายเวลาการชำระหนี้ การผ่อนปรนดอกเบี้ยปรับร้อยละ 3 การให้เงินทุนหมุนเวียน
แม้จะมีความพยายามไปขอใช้เงินจากธนาคารออมสิน แต่เมื่อมวลชนจากกลุ่ม กปปส.ได้ไปกดดันผู้บริหารของธนาคารก็ได้ข้อสรุปว่าธนาคารออมสินไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับโครงการรับจำนำข้าว เป็นอันว่า 2 ธนาคารของรัฐปฏิเสธที่จะเข้ามาจัดหาเงินให้กับรัฐบาล
เป้าสุดท้ายคือการขออนุมัติจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่จะกู้เงิน 1.3 แสนล้านบาทเพื่อนำมาชำระหนี้ให้กับชาวนา โดย กกต.มีมติเป็นเอกฉันท์ว่าการกู้เงินดังกล่าวไม่อยู่ในอำนาจที่ กกต.จะพิจารณาอนุมัติได้ เนื่องจากมองว่าเข้าข่ายข้อห้ามตามกฎหมายอย่างชัดเจนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 (3) ซึ่งไม่มีการบัญญัติว่า สามารถกระทำได้หากได้รับความเห็นชอบจาก กกต.เช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญมาตรา 181 (1) (2) หรือ (4) ซึ่งหากคณะรัฐมนตรีต้องการกู้เงินเพื่อนำไปใช้ในโครงการรับจำนำข้าวจริง ก็จะเป็นเรื่องที่คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาและรับผิดชอบต่อผลที่ตามมาเอง
เป็นอันว่าหนทางที่รัฐบาลรักษาการชุดของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะหาเงินมาชำระค่าข้าวที่ค้างจ่ายให้กับชาวนานั้นตีบตันไปทุกหนทาง
ขายข้าวหมดก็ยังไม่พอ
นายนิพนธ์ วงศ์ตระหง่าน อดีตนายกสมาคมโรงสีข้าวไทย ผู้เชี่ยวชาญเรื่องข้าว เมื่อรัฐบาลไม่มีเงินจ่ายค่าข้าวให้กับชาวนา งานนี้ชาวนาเจอปัญหาหนี้พอกขึ้นแน่นอน
รัฐบาลมีวงเงินเพื่อใช้ในโครงการรับจำนำข้าว 5 แสนล้านบาทตามกรอบ ที่ผ่านมาก็ขายข้าวในสถานะที่ขาดทุนอยู่แล้ว โดยข้าวเปลือกที่รับซื้อมาที่ 15,000 บาท ส่วนข้าวสาร 20,000 บาท แต่กลับขายไปที่ราคาต่ำกว่า 1 หมื่นบาท
หากดูจากตัวเลขโครงการรับจำนำในช่วง 2 ฤดูกาล มีข้าว 44 ล้านตัน เป็นข้าวสาร 27 ล้านตัน รัฐบาลบอกว่าเหลือ 8 ล้านตัน แสดงว่าขายไปได้แล้ว 19 ล้านตัน ขณะที่ราคาตลาดของข้าวสารอยู่ที่ประมาณ 12,000 บาท และราคาในตลาดโลกก็ลดลงเรื่อยๆ เมื่อรวมกับค่าบริหารโครงการต่างๆ รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ ถ้ารัฐบาลระบายส่วนที่เหลือออกไปได้ทั้งหมดก็ยังไม่มีเงินพอที่จะจ่ายให้กับชาวนา
สำหรับกรอบในการรับจำนำฤดูกาล 2556/57 นาปี 11 ล้านตัน มีการออกใบประทวนแล้ว 10 ล้านตัน กว่าจะสิ้นสุดโครงการเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งจะมีข้าวที่เข้ามาอีกจำนวนหนึ่ง เงินที่เตรียมไว้จะพอหรือไม่
ตอนนี้ชาวนาตายอย่างเดียว หากรัฐบาลรักษาการสามารถหาเงินมาจ่ายได้ ชาวนาเหล่านั้นก็ต้องไปจ่ายดอกเบี้ยที่กู้มาจากนอกระบบ เพราะความล่าใช้ในการจ่ายเงิน เมื่อคำนวณแล้วชาวนามีแต่ขาดทุน อีกทั้งการลดวงเงินรับจำนำไม่เกิน 350,000 บาทต่อครัวเรือนจากเดิม 500,000 บาท
ชาวนาที่ผลิตข้าวได้เกินกว่ากรอบที่รัฐบาลรับจำนำ ก็จะต้องไปขายข้าวนอกโครงการโดยจะมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อที่ประมาณ 8,500 บาทต่อเกวียน ซึ่งใกล้เคียงกับต้นทุนในการผลิต เรียกว่าแทบจะไม่มีกำไร ขณะที่ชาวนาก็ต้องกินต้องใช้ทุกวัน ดังนั้นจึงต้องพึ่งพาเงินกู้นอกระบบ
นอกจากนี้ผลกระทบที่จะตามมานั่นคือพวกร้านค้าต่างๆ ที่ชาวนาไปซื้อสินค้าในรูปแบบเงินเชื่อ โอกาสที่จะได้รับการชำระหนี้ก็ต้องถูกยืดออกไปด้วย หรืออาจมีข้อตกลงอื่น เช่น ขอให้ชาวนาใช้บัตรเครดิตชาวนากดเป็นเงินสดออกมาชำระหนี้ หรือใช้วิธีการรูดซื้อสินค้า แต่ไม่ได้รับสินค้า ไปเอายอดซื้อสินค้านั้นนำมาหักหนี้สินที่มีอยู่ หรือทำข้อตกลงกันที่จะให้มีการชำระเป็นข้าวเปลือกแทน
ภาคกลางปิดนพวงศ์-สายเอเชีย
นายพรม บุญมาช่วย ประธานสหกรณ์การเกษตรเมืองสุพรรณบุรี กล่าวว่า สำหรับชาวนาที่สุพรรณฯ ยังไม่มีการเคลื่อนไหวในเรื่องการประท้วง เนื่องจากต้องรอการหารือกับทางสมาคมชาวนาไทยก่อน โดยเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2557 ได้เดินทางไปหารือกับสภาทนายความ ซึ่งนายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ เปิดเผยว่า ชาวนาที่ได้รับใบประทวนจากการนำข้าวไปจำนำตามโครงการรับจำนำข้าว แต่ยังไม่ได้รับเงิน จนได้รับความเดือดร้อน มีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้น สามารถฟ้องร้องได้ตามกฎหมาย ทั้งคดีแพ่ง และอาญา
โครงการรับจำนำข้าวฤดูกาลนี้เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 เฉพาะที่สุพรรณฯ ตอนนี้มียอดค้างจ่ายให้กับชาวนากว่า 2 พันล้านบาท ก่อนหน้านี้มีการจ่ายเงินค่าข้าวกันตามลำดับ ตอนนี้จ่ายถึงลำดับที่ประมาณ 1,400 ยังเหลืออีก 900-1,000 รายที่ยังไม่ได้ โดยมียอดที่ยังค้างจ่ายชาวนาอีกราว 2,000 ล้านบาท อย่างที่นครสวรรค์มียอดค้างจ่ายมากถึง 6-8 พันล้านบาท เมื่อรวมทั้งประเทศแล้ว ธ.ก.ส.ยังค้างจ่ายชาวนาอยู่ราว 150,000 ล้านบาท
ที่ผ่านมารัฐบาลกลัวปัญหาน้ำท่วมจึงเร่งระบายน้ำออกไปก่อน ทำให้ไม่มีน้ำสำหรับทำนา ชาวนาต้องเอาเครื่องสูบน้ำมาดึงน้ำเข้านากัน 4-5 ช่วง ทำให้ต้องใช้น้ำมันมาก เมื่อขายข้าวแล้วไม่ได้เงิน ก็ต้องไปหยิบยืมญาติพี่น้องหรือจากแหล่งอื่นๆ เพื่อมาจ่ายค่าปุ๋ย ค่ายา หนี้ที่มีกับสหกรณ์หรือกับ ธ.ก.ส.ก็ต้องยืดกันออกไป
ใครที่เป็นสมาชิกของสหกรณ์ก็ยังพอทน เพราะสหกรณ์ก็ต้องยอมช่วยเหลือชาวนา เช่นการเพิ่มเพดานกู้ คนที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสหกรณ์ก็ต้องเอาเงินเก็บที่มีอยู่มาใช้ก่อน หรือต้องไปกู้หนี้นอกระบบคิดดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อเดือน ใครที่เช่านาปลูกข้าวก็ต้องค้างค่าเช่า และอาจถูกปฏิเสธการเช่าจากเจ้าของที่ ปัญหาจากความล่าช้าในการจ่ายเงินจึงทำให้เกิดปัญหากันเป็นลูกโซ่
ประธานสหกรณ์การเกษตรเมืองสุพรรณบุรี กล่าวต่อว่า ระหว่างการเข้าร่วมโครงการรับจำนำของรัฐบาลที่ขายได้ในราคา 12,000-13,000 บาท เทียบกับขายให้โรงสีและรับเงินสดจะได้ที่ราคา 6,500 บาท ทุกคนก็ยังรอที่จะเข้าโครงการของรัฐบาลแม้ว่าจะได้เงินช้าหน่อย แต่ก็หวังว่าคงจะได้
กำหนดเดิมเท่าที่หารือกับเครือข่ายชาวนาภาคกลาง ถ้าในวันที่ 25 มกราคมนี้ยังไม่ได้รับเงินจากรัฐบาล ได้มีการหารือกันในเครือข่ายชาวนาแล้ว โดยชาวนาพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม จะมีการปิดถนนที่แยกนพวงศ์ ส่วนชาวนาในพื้นที่ปทุมธานี ชัยนาท สิงห์บุรี จะปิดถนนสายเอเชีย เพื่อแสดงออกถึงความไม่พอใจและเร่งให้ผู้นำรัฐบาลต้องตัดสินใจลงมาแก้ปัญหา
“ตอนนี้คงต้องหารือกับเครือข่ายอีกครั้งว่าจะดำเนินการอย่างไร หลังจากที่สภาทนายความแนะนำให้มีการฟ้องรัฐบาล”
ถามว่าเราเห็นใจรัฐบาลหรือไม่ ก็ตอบว่าเห็นใจ แต่ที่ทุกอย่างมันเจ๊ง ก็เพราะนโยบายของรัฐบาลเอง ไม่สามารถระบายข้าวออกไปได้ มีการทุจริตอย่างการขายข้าวแบบจีทูจีที่มีพ่อค้ารู้เห็นเป็นใจกัน และรู้สึกผิดหวังกับรัฐบาลเพราะไม่คิดว่าผลจะออกมาเป็นอย่างนี้ อีกทั้งนโยบายเหล่านี้คนที่ลงมาทำไม่เข้าใจกลไกของข้าว อย่างคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) และไม่เคยมีตัวแทนของชาวนาเข้าไปร่วมคณะทำงาน
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล ก็ทำให้กลับมาคิดถึงเรื่องนโยบายรับประกันราคาเหมือนกัน แต่แนวทางนี้ก็มีการทุจริตเช่นกัน ดังนั้นภาครัฐควรหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องต้นทุนการผลิต ปล่อยให้กลไกตลาดเดินไปตามปกติ และหาทางลดต้นทุนอย่างค่าเช่านา ค่าปุ๋ยหรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ ดีกว่า
ตอนนี้ชาวนาก็ต้องแก้ปัญหากันเอง ใครที่ต้องการใช้เงินก็เอาใบนัดรับเงินของ ธ.ก.ส.ไปเปลี่ยนเป็นเงินก่อน โดยอาจนำไปเป็นหลักฐานในการกู้เงินกับทางโรงสี ที่อาจจะคิดดอกเบี้ยร้อยละ 2-3 หรืออาจจะเลือกขายลดให้กับโรงสี
ภาระที่เพิ่มขึ้นจากการที่รัฐบาลยังไม่จ่ายเงินให้กับชาวนา อย่างร้านค้าปุ๋ยหรือยาฆ่าแมลงต่างๆ ตอนนี้ก็มีการทวงเงินจากชาวนากันแล้ว จากเดิมอาจจะคิดดอกเบี้ยร้อยละ 3 เมื่อเป็นอย่างนี้ก็จะมีการบวกดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอีก 4% กลายเป็นชาวนาต้องแบกรับดอกเบี้ยจากค่าปุ๋ย ค่ายาเป็น 7%
เราก็เข้าใจ ธ.ก.ส.เพราะเกรงจะมีปัญหาตามมา แต่รู้สึกโกรธรัฐบาลมากกว่าที่สัญญาแล้วทำไม่ได้ ทำให้ชาวนาต้องแบกรับค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และถ้าไม่ได้เงินจริงๆ ก็คงจะต้องขอข้าวคืนและเรียกร้องให้รัฐบาลลงมารับผิดชอบในเรื่องของดอกเบี้ยเพื่อชดเชยให้กับพวกเราด้วย
ล่าสุดชาวนามีการปิดถนนสายเอเชียแล้วที่กิโลเมตร 68-69 อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี
“พิจิตร” เสื้อแดงประท้วงเอง
ชาวนาจากจังหวัดพิจิตรรายหนึ่งกล่าวว่า ตอนนี้ที่พิจิตร ชาวนาได้ไปปิดศาลากลางจังหวัดกันแล้ว ทั้งหมดเป็นเรื่องของความเดือดร้อน เพราะเกี่ยวข้าวเสร็จก็ส่งใบประทวนให้กับทาง ธ.ก.ส. ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน แต่เมื่อติดต่อขอรับเงินก็ถูกขอเลื่อนมาโดยตลอด
แม้ที่ผ่านมาจะมี ส.ส.ในพื้นที่จากพรรคเพื่อไทยมาขึ้นเวทีชี้แจงว่า รัฐบาลได้จ่ายค่าข้าวแล้ว แต่เป็นการจ่ายเพียงแค่ส่วนเดียว อย่างที่พิจิตรจ่ายไปได้แค่เพียงลำดับที่ 600 กว่า ยังเหลืออีก 3 พันกว่ารายที่ยังไม่ได้จ่ายให้กับชาวนา
ขณะที่ชาวนาที่ยังไม่ได้รับเงิน แต่ค่าปุ๋ย ค่ายา ที่เอามาจากร้านค้าซึ่งส่วนใหญ่เป็นเงินเชื่อ เอาสินค้ามาก่อนเมื่อได้รับเงินก็นำมาชำระ ที่ผ่านมาก็เป็นมาในลักษณะนี้ ค่ารถเกี่ยวข้าวตอนนี้ก็ยังไม่ได้จ่าย เจ้าของรถก็ไม่มีเงินเติมน้ำมัน บางรายเลือกที่จะหยุดให้บริการ หรือเลือกรับเฉพาะรายที่จ่ายเป็นเงินสด
ใครที่คิดจะทำนารอบใหม่ก็ทำไม่ได้ เพราะของเก่าก็ยังค้างอยู่ จะไปเอาของใหม่ร้านค้าก็ให้มาน้อยลงหรืออาจจะต้องยอมแบกดอกเบี้ย เลยทำให้ตอนนี้ทุกอย่างสะดุดไปหมด
อย่างตอนนี้ชาวนาก็เจอปัญหาเรื่องของหนี้เดิมที่รัฐบาลพักชำระหนี้ให้ในช่วงน้ำท่วม ซึ่งเป็นหนี้ที่ปลอดดอกเบี้ย เมื่อไปชำระเงินต้นก็ถูกคิดดอกเบี้ยอีก 7% โดย ธ.ก.ส.อ้างว่าต้องเรียกเก็บเพราะตอนนี้รัฐไม่มีเงิน
ตอนนี้เหมือนกับชาวนาติดกับดัก หากถอนการจำนำข้าวออกมาก็ต้องไปขายให้กับโรงสีเพื่อให้ได้เงินสดมาก็จะถูกกดราคามาอยู่ที่ 6-7 พันบาทต่อตัน เทียบกับราคาที่ได้จากรับจำนำ 11,000 บาท ซึ่งต่างกันเกือบครึ่ง ใครที่รอได้ก็รอ ถ้ารอไม่ได้ก็ต้องยอมขายให้กับโรงสี บางคนขายกันที่ตันละ 4,500 บาท สูงสุดไม่เกิน 6,500 บาท โดยที่รัฐบาลยังไม่มีมาตรการออกมาช่วยบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้น
อย่างข้าวรอบใหม่ตอนนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจน อาจจำเป็นต้องนำข้าวไปขายให้กับโรงสี เพราะถ้ามีการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ กว่าจะมีการรับรองผลรวมถึงกว่าจะดำเนินการจัดตั้งรัฐบาลได้ก็น่าจะเกินเดือนเมษายน ซึ่งผลผลิตส่วนใหญ่จะเก็บเกี่ยวกันในช่วงเดือนมีนาคม
"สภาพการณ์ในตอนนี้คนเสื้อแดงก็เริ่มประท้วงเองแล้ว เพราะเดือดร้อน ในพื้นที่คนเสื้อแดงกลับใจเยอะมาก พวกเขาไม่เอารัฐบาลแล้ว อย่างในพื้นที่มีร้านค้าของคนเสื้อแดงที่จำหน่ายวัสดุและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ขณะนี้ก็เริ่มมีปัญหาแล้ว เพราะมียอดค้างจ่ายค่าวัสดุและอุปกรณ์ทางการเกษตรแล้วเกือบ 3 ล้านบาท"
หรืออย่างร้านซ่อมรถเกี่ยวข้าว ขณะนี้ก็ไม่มีเงิน ที่ผ่านมาเจ้าของรถก็มาขอค้างค่าอะไหล่ที่นำมาซ่อมบำรุง รถเกี่ยวข้าว 30-40 คันที่มาซ่อมเปลี่ยนอะไหล่ ตอนนี้มียอดค้างจ่ายกว่า 10 ล้านบาท เพราะอะไหล่รถเกี่ยวข้าวมีราคาสูง
ร้านค้าขายไม่ดี อย่างร้านขายไก่ย่างก็ต้องลดจำนวนวัตถุดิบลง เพราะคนไม่มีกำลังซื้อ ใครที่ไม่สามารถประคองตัวได้ก็ต้องหันไปพึ่งหนี้นอกระบบ ส่วนใหญ่ก็ต้องยอมแบกดอกเบี้ยที่ 3-5% ต่อเดือน เพราะต้องกินต้องใช้ทุกวัน ลูกต้องไปโรงเรียน และถ้าสิ้นเดือนนี้รัฐบาลยังไม่จ่ายก็คงจะแย่ ตอนนี้ก็คิดถึงนโยบายประกันราคาเหมือนกัน
ส่วนชาวนาอีกรายกล่าวว่า เมื่อ 2 ปีก่อนเราดีใจที่มีโครงการรับจำนำข้าว เพราะทำให้ชาวนาลืมตาอ้าปากได้ ทำให้ชาวนาหลายรายซื้อรถยนต์ใหม่กันแทบทุกบ้าน บางรายก็ต่อเติมหรือขยายบ้าน เพราะมีรายได้จากการจำนำข้าว แต่วันนี้ทุกอย่างกลับด้าน และคนที่มีภาระผ่อนรถ ผ่อนบ้านเจ็บหนักแน่ สุดท้ายอาจจะต้องปล่อยให้ยึด ส่วนใครที่ใช้สิทธิตามโครงการรถยนต์คันแรก ที่ได้เงินคืนภาษีสรรพสามิตก็ต้องเตรียมเงินใช้คืนให้กับรัฐตามสัญญา
“ทุกอย่างเป็นความล้มเหลวของรัฐบาล คุยเกินตัว ไม่สามารถทำตามที่รับปากไว้ได้ ตอนนี้เข็ดแล้วกับนโยบายประชานิยม และต่อไปคงจะไม่เลือกพรรคเพื่อไทยอีก”
นี่คือผลลัพธ์ของนโยบายประชานิยมของรัฐบาล อย่างโครงการจำนำข้าว ที่ดึงเอาชาวนาให้มาเลือกพรรคเพื่อไทยจนเป็นรัฐบาลได้ วันนี้ทุกอย่างกำลังประสบปัญหาที่เกิดจากความผิดพลาดในการบริหารงานของรัฐบาลเอง แม้ชาวนาจะมีรายได้สูงขึ้นในช่วง 2 ปีแรกของโครงการ แต่ปีที่ 3 ทุกอย่างกลับสะดุดลง ผลกระทบที่ตามมากับชาวนา ทั้งการต้องแบกรับภาระที่สูงขึ้นจากการที่พวกเขาไม่ได้รับเงินจากการจำนำข้าว รวมไปถึงห่วงโซ่อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับชาวนา ล้วนได้รับผลกระทบตามกันถ้วนหน้า โดยที่รัฐบาลไม่ได้เข้ามารับผิดชอบกับความเสียหายที่เกิดขึ้นเลย
งานนี้คงต้องวัดใจรัฐบาลรักษาการว่าจะกล้าลุยไฟหาทางกู้เงิน 1.3 แสนล้านบาทมาเพื่อจ่ายเงินค่าจำนำข้าวให้กับชาวนาเพื่อลดกระแสความไม่พอใจรัฐบาลนี้หรือไม่
การปิดถนนของชาวนาจังหวัดต่างๆ เพื่อทวงเงินจากรัฐบาลหลังจากที่นำข้าวที่ได้จากการทำนาเข้าโครงการรับจำนำข้าวตามนโยบายของรัฐบาล ที่ถือเป็นนโยบายหลักของการหาเสียงเมื่อปี 2554 จนพรรคเพื่อไทยได้เสียงข้างมากมาเป็นรัฐบาล แต่เป็นเวลากว่า 4 เดือนที่ชาวนาเหล่านั้นยังไม่ได้รับเงินจากรัฐบาล
ขณะที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ดำเนินการไต่สวนการทุจริตในโครงการนี้ และมีมติแจ้งข้อกล่าวหาแก่นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายภูมิ สาระผล อดีต รมช.พาณิชย์ และผู้ดำเนินการเจรจาทั้งสองฝ่าย รวมถึงผู้รับมอบอำนาจของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่เข้ามาเจรจาด้วย รวมจำนวน 15 ราย ขณะที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี ยังอยู่ในขั้นของการถูกตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน
หลายฝ่ายที่เฝ้ารอผลของ ป.ป.ช.ในคดีนี้ เพื่อหวังว่าคำตัดสินจะทำให้รัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ ก็ต้องรอคอยกันต่อไปเพราะในคดีนี้ยังเป็นเพียงขั้นตอนการแจ้งข้อกล่าวหายังไม่ได้เป็นการกล่าวโทษ และกรณีของยิ่งลักษณ์เป็นเพียงแค่ชั้นการไต่สวนเท่านั้น
ความล่าช้าในการหาเงินมาจ่ายให้กับชาวนา กลายเป็นการโยนความผิดพลาดของรัฐบาลในครั้งนี้ไปให้กับภาคส่วนต่างๆ อย่างเช่น นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่อ้างว่าความล่าช้าทั้งหมดเกิดจากคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ กปปส. เข้ามาปิดกระทรวงการคลัง และอ้างว่าอยู่ในขั้นตอนขออนุมัติจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
แต่เป็นที่ทราบกันดีว่าปัญหาทั้งหมดนี้เกิดจากการที่รัฐบาลไม่สามารถระบายข้าวในสต็อกได้ อีกทั้งการระบายข้าวที่ผ่านมาที่รัฐบาลมักจะอ้างอยู่เสมอว่าเป็นการขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (G to G) ซึ่งทาง ป.ป.ช.ได้ตรวจสอบแล้วในกรณีกับประเทศจีนนั้นไม่พบเรื่องการทำสัญญาและไม่มีการส่งข้าวออกจริง
อีกทั้งราคาข้าวที่รัฐบาลรับจำนำจากชาวนานั้นเป็นราคาที่สูงกว่าตลาดเกือบ 50% จึงทำให้ไม่มีผู้ซื้อรายใดอยากซื้อข้าวจากประเทศไทย เนื่องจากมีตัวเลือกอื่นทั้งข้าวจากอินเดียและเวียดนาม
ดังนั้นการระบายข้าวของรัฐบาลในโครงการรับจำนำข้าว จึงประสบปัญหา ทำให้ไม่มีเงินหมุนเวียนเข้ามาเพื่อดำเนินโครงการต่อได้ อีกทั้งยังมีกรอบการใช้เงินในโครงการนี้ไว้ที่ 5 แสนล้านบาท ภายใต้กรอบเงินกู้ 410,000 ล้านบาท และเงินทุน ธ.ก.ส. 90,000 ล้านบาท และให้นำเงินจากการระบายข้าวมาใช้หมุนเวียนในการจำนำข้าว
ด้วยฐานเสียงจากชาวนาจำนวนมาก จึงทำให้รัฐบาลต้องดิ้นรนทุกวิธีทางเพื่อหาเงินมาจ่ายให้กับชาวนา แต่เมื่อติดขัดที่เป็นรัฐบาลรักษาการไม่สามารถก่อหนี้ที่มีผลผูกพันกับรัฐบาลใหม่ได้ จึงโยนความติดขัดทั้งหมดไปให้กับภาคส่วนอื่น ๆ
“ชาวนาได้นำข้าวมาขายให้โครงการรับจำนำ ในปีการผลิต 2556/57 เป็นมูลค่าตามใบประทวนประมาณ 1.6 แสนล้านบาท ซึ่งได้รับเงินไปแล้ว 0.35 แสนล้านบาท เพราะฉะนั้น ชาวนาจึงยังไม่ได้รับเงินอีก 1.246 แสนล้านบาท” ข้อมูลจาก ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการกิตติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)
ปมปัญหาที่ติดขัดในเวลานี้คือความพยายามของรัฐบาลรักษาการที่จะดึงเอาเงินฝากและสภาพคล่องของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส.มาจ่ายให้กับชาวนาที่รัฐบาลค้างชำระอยู่ราว 1.3 แสนล้านบาท แต่การประชุมของคณะกรรมการธนาคารเมื่อ 21 มกราคม 2557 มีมติไม่อนุมัติตามสิ่งที่รัฐบาลต้องการ โดยเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องหาเงินมาเอง แต่ ธ.ก.ส. หาแนวทางบรรเทาความเดือดร้อนของชาวนา เบื้องต้นจะใช้แนวทางขยายเวลาการชำระหนี้ การผ่อนปรนดอกเบี้ยปรับร้อยละ 3 การให้เงินทุนหมุนเวียน
แม้จะมีความพยายามไปขอใช้เงินจากธนาคารออมสิน แต่เมื่อมวลชนจากกลุ่ม กปปส.ได้ไปกดดันผู้บริหารของธนาคารก็ได้ข้อสรุปว่าธนาคารออมสินไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับโครงการรับจำนำข้าว เป็นอันว่า 2 ธนาคารของรัฐปฏิเสธที่จะเข้ามาจัดหาเงินให้กับรัฐบาล
เป้าสุดท้ายคือการขออนุมัติจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่จะกู้เงิน 1.3 แสนล้านบาทเพื่อนำมาชำระหนี้ให้กับชาวนา โดย กกต.มีมติเป็นเอกฉันท์ว่าการกู้เงินดังกล่าวไม่อยู่ในอำนาจที่ กกต.จะพิจารณาอนุมัติได้ เนื่องจากมองว่าเข้าข่ายข้อห้ามตามกฎหมายอย่างชัดเจนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 (3) ซึ่งไม่มีการบัญญัติว่า สามารถกระทำได้หากได้รับความเห็นชอบจาก กกต.เช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญมาตรา 181 (1) (2) หรือ (4) ซึ่งหากคณะรัฐมนตรีต้องการกู้เงินเพื่อนำไปใช้ในโครงการรับจำนำข้าวจริง ก็จะเป็นเรื่องที่คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาและรับผิดชอบต่อผลที่ตามมาเอง
เป็นอันว่าหนทางที่รัฐบาลรักษาการชุดของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะหาเงินมาชำระค่าข้าวที่ค้างจ่ายให้กับชาวนานั้นตีบตันไปทุกหนทาง
ขายข้าวหมดก็ยังไม่พอ
นายนิพนธ์ วงศ์ตระหง่าน อดีตนายกสมาคมโรงสีข้าวไทย ผู้เชี่ยวชาญเรื่องข้าว เมื่อรัฐบาลไม่มีเงินจ่ายค่าข้าวให้กับชาวนา งานนี้ชาวนาเจอปัญหาหนี้พอกขึ้นแน่นอน
รัฐบาลมีวงเงินเพื่อใช้ในโครงการรับจำนำข้าว 5 แสนล้านบาทตามกรอบ ที่ผ่านมาก็ขายข้าวในสถานะที่ขาดทุนอยู่แล้ว โดยข้าวเปลือกที่รับซื้อมาที่ 15,000 บาท ส่วนข้าวสาร 20,000 บาท แต่กลับขายไปที่ราคาต่ำกว่า 1 หมื่นบาท
หากดูจากตัวเลขโครงการรับจำนำในช่วง 2 ฤดูกาล มีข้าว 44 ล้านตัน เป็นข้าวสาร 27 ล้านตัน รัฐบาลบอกว่าเหลือ 8 ล้านตัน แสดงว่าขายไปได้แล้ว 19 ล้านตัน ขณะที่ราคาตลาดของข้าวสารอยู่ที่ประมาณ 12,000 บาท และราคาในตลาดโลกก็ลดลงเรื่อยๆ เมื่อรวมกับค่าบริหารโครงการต่างๆ รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ ถ้ารัฐบาลระบายส่วนที่เหลือออกไปได้ทั้งหมดก็ยังไม่มีเงินพอที่จะจ่ายให้กับชาวนา
สำหรับกรอบในการรับจำนำฤดูกาล 2556/57 นาปี 11 ล้านตัน มีการออกใบประทวนแล้ว 10 ล้านตัน กว่าจะสิ้นสุดโครงการเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งจะมีข้าวที่เข้ามาอีกจำนวนหนึ่ง เงินที่เตรียมไว้จะพอหรือไม่
ตอนนี้ชาวนาตายอย่างเดียว หากรัฐบาลรักษาการสามารถหาเงินมาจ่ายได้ ชาวนาเหล่านั้นก็ต้องไปจ่ายดอกเบี้ยที่กู้มาจากนอกระบบ เพราะความล่าใช้ในการจ่ายเงิน เมื่อคำนวณแล้วชาวนามีแต่ขาดทุน อีกทั้งการลดวงเงินรับจำนำไม่เกิน 350,000 บาทต่อครัวเรือนจากเดิม 500,000 บาท
ชาวนาที่ผลิตข้าวได้เกินกว่ากรอบที่รัฐบาลรับจำนำ ก็จะต้องไปขายข้าวนอกโครงการโดยจะมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อที่ประมาณ 8,500 บาทต่อเกวียน ซึ่งใกล้เคียงกับต้นทุนในการผลิต เรียกว่าแทบจะไม่มีกำไร ขณะที่ชาวนาก็ต้องกินต้องใช้ทุกวัน ดังนั้นจึงต้องพึ่งพาเงินกู้นอกระบบ
นอกจากนี้ผลกระทบที่จะตามมานั่นคือพวกร้านค้าต่างๆ ที่ชาวนาไปซื้อสินค้าในรูปแบบเงินเชื่อ โอกาสที่จะได้รับการชำระหนี้ก็ต้องถูกยืดออกไปด้วย หรืออาจมีข้อตกลงอื่น เช่น ขอให้ชาวนาใช้บัตรเครดิตชาวนากดเป็นเงินสดออกมาชำระหนี้ หรือใช้วิธีการรูดซื้อสินค้า แต่ไม่ได้รับสินค้า ไปเอายอดซื้อสินค้านั้นนำมาหักหนี้สินที่มีอยู่ หรือทำข้อตกลงกันที่จะให้มีการชำระเป็นข้าวเปลือกแทน
ภาคกลางปิดนพวงศ์-สายเอเชีย
นายพรม บุญมาช่วย ประธานสหกรณ์การเกษตรเมืองสุพรรณบุรี กล่าวว่า สำหรับชาวนาที่สุพรรณฯ ยังไม่มีการเคลื่อนไหวในเรื่องการประท้วง เนื่องจากต้องรอการหารือกับทางสมาคมชาวนาไทยก่อน โดยเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2557 ได้เดินทางไปหารือกับสภาทนายความ ซึ่งนายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ เปิดเผยว่า ชาวนาที่ได้รับใบประทวนจากการนำข้าวไปจำนำตามโครงการรับจำนำข้าว แต่ยังไม่ได้รับเงิน จนได้รับความเดือดร้อน มีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้น สามารถฟ้องร้องได้ตามกฎหมาย ทั้งคดีแพ่ง และอาญา
โครงการรับจำนำข้าวฤดูกาลนี้เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 เฉพาะที่สุพรรณฯ ตอนนี้มียอดค้างจ่ายให้กับชาวนากว่า 2 พันล้านบาท ก่อนหน้านี้มีการจ่ายเงินค่าข้าวกันตามลำดับ ตอนนี้จ่ายถึงลำดับที่ประมาณ 1,400 ยังเหลืออีก 900-1,000 รายที่ยังไม่ได้ โดยมียอดที่ยังค้างจ่ายชาวนาอีกราว 2,000 ล้านบาท อย่างที่นครสวรรค์มียอดค้างจ่ายมากถึง 6-8 พันล้านบาท เมื่อรวมทั้งประเทศแล้ว ธ.ก.ส.ยังค้างจ่ายชาวนาอยู่ราว 150,000 ล้านบาท
ที่ผ่านมารัฐบาลกลัวปัญหาน้ำท่วมจึงเร่งระบายน้ำออกไปก่อน ทำให้ไม่มีน้ำสำหรับทำนา ชาวนาต้องเอาเครื่องสูบน้ำมาดึงน้ำเข้านากัน 4-5 ช่วง ทำให้ต้องใช้น้ำมันมาก เมื่อขายข้าวแล้วไม่ได้เงิน ก็ต้องไปหยิบยืมญาติพี่น้องหรือจากแหล่งอื่นๆ เพื่อมาจ่ายค่าปุ๋ย ค่ายา หนี้ที่มีกับสหกรณ์หรือกับ ธ.ก.ส.ก็ต้องยืดกันออกไป
ใครที่เป็นสมาชิกของสหกรณ์ก็ยังพอทน เพราะสหกรณ์ก็ต้องยอมช่วยเหลือชาวนา เช่นการเพิ่มเพดานกู้ คนที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสหกรณ์ก็ต้องเอาเงินเก็บที่มีอยู่มาใช้ก่อน หรือต้องไปกู้หนี้นอกระบบคิดดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อเดือน ใครที่เช่านาปลูกข้าวก็ต้องค้างค่าเช่า และอาจถูกปฏิเสธการเช่าจากเจ้าของที่ ปัญหาจากความล่าช้าในการจ่ายเงินจึงทำให้เกิดปัญหากันเป็นลูกโซ่
ประธานสหกรณ์การเกษตรเมืองสุพรรณบุรี กล่าวต่อว่า ระหว่างการเข้าร่วมโครงการรับจำนำของรัฐบาลที่ขายได้ในราคา 12,000-13,000 บาท เทียบกับขายให้โรงสีและรับเงินสดจะได้ที่ราคา 6,500 บาท ทุกคนก็ยังรอที่จะเข้าโครงการของรัฐบาลแม้ว่าจะได้เงินช้าหน่อย แต่ก็หวังว่าคงจะได้
กำหนดเดิมเท่าที่หารือกับเครือข่ายชาวนาภาคกลาง ถ้าในวันที่ 25 มกราคมนี้ยังไม่ได้รับเงินจากรัฐบาล ได้มีการหารือกันในเครือข่ายชาวนาแล้ว โดยชาวนาพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม จะมีการปิดถนนที่แยกนพวงศ์ ส่วนชาวนาในพื้นที่ปทุมธานี ชัยนาท สิงห์บุรี จะปิดถนนสายเอเชีย เพื่อแสดงออกถึงความไม่พอใจและเร่งให้ผู้นำรัฐบาลต้องตัดสินใจลงมาแก้ปัญหา
“ตอนนี้คงต้องหารือกับเครือข่ายอีกครั้งว่าจะดำเนินการอย่างไร หลังจากที่สภาทนายความแนะนำให้มีการฟ้องรัฐบาล”
ถามว่าเราเห็นใจรัฐบาลหรือไม่ ก็ตอบว่าเห็นใจ แต่ที่ทุกอย่างมันเจ๊ง ก็เพราะนโยบายของรัฐบาลเอง ไม่สามารถระบายข้าวออกไปได้ มีการทุจริตอย่างการขายข้าวแบบจีทูจีที่มีพ่อค้ารู้เห็นเป็นใจกัน และรู้สึกผิดหวังกับรัฐบาลเพราะไม่คิดว่าผลจะออกมาเป็นอย่างนี้ อีกทั้งนโยบายเหล่านี้คนที่ลงมาทำไม่เข้าใจกลไกของข้าว อย่างคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) และไม่เคยมีตัวแทนของชาวนาเข้าไปร่วมคณะทำงาน
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล ก็ทำให้กลับมาคิดถึงเรื่องนโยบายรับประกันราคาเหมือนกัน แต่แนวทางนี้ก็มีการทุจริตเช่นกัน ดังนั้นภาครัฐควรหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องต้นทุนการผลิต ปล่อยให้กลไกตลาดเดินไปตามปกติ และหาทางลดต้นทุนอย่างค่าเช่านา ค่าปุ๋ยหรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ ดีกว่า
ตอนนี้ชาวนาก็ต้องแก้ปัญหากันเอง ใครที่ต้องการใช้เงินก็เอาใบนัดรับเงินของ ธ.ก.ส.ไปเปลี่ยนเป็นเงินก่อน โดยอาจนำไปเป็นหลักฐานในการกู้เงินกับทางโรงสี ที่อาจจะคิดดอกเบี้ยร้อยละ 2-3 หรืออาจจะเลือกขายลดให้กับโรงสี
ภาระที่เพิ่มขึ้นจากการที่รัฐบาลยังไม่จ่ายเงินให้กับชาวนา อย่างร้านค้าปุ๋ยหรือยาฆ่าแมลงต่างๆ ตอนนี้ก็มีการทวงเงินจากชาวนากันแล้ว จากเดิมอาจจะคิดดอกเบี้ยร้อยละ 3 เมื่อเป็นอย่างนี้ก็จะมีการบวกดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอีก 4% กลายเป็นชาวนาต้องแบกรับดอกเบี้ยจากค่าปุ๋ย ค่ายาเป็น 7%
เราก็เข้าใจ ธ.ก.ส.เพราะเกรงจะมีปัญหาตามมา แต่รู้สึกโกรธรัฐบาลมากกว่าที่สัญญาแล้วทำไม่ได้ ทำให้ชาวนาต้องแบกรับค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และถ้าไม่ได้เงินจริงๆ ก็คงจะต้องขอข้าวคืนและเรียกร้องให้รัฐบาลลงมารับผิดชอบในเรื่องของดอกเบี้ยเพื่อชดเชยให้กับพวกเราด้วย
ล่าสุดชาวนามีการปิดถนนสายเอเชียแล้วที่กิโลเมตร 68-69 อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี
“พิจิตร” เสื้อแดงประท้วงเอง
ชาวนาจากจังหวัดพิจิตรรายหนึ่งกล่าวว่า ตอนนี้ที่พิจิตร ชาวนาได้ไปปิดศาลากลางจังหวัดกันแล้ว ทั้งหมดเป็นเรื่องของความเดือดร้อน เพราะเกี่ยวข้าวเสร็จก็ส่งใบประทวนให้กับทาง ธ.ก.ส. ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน แต่เมื่อติดต่อขอรับเงินก็ถูกขอเลื่อนมาโดยตลอด
แม้ที่ผ่านมาจะมี ส.ส.ในพื้นที่จากพรรคเพื่อไทยมาขึ้นเวทีชี้แจงว่า รัฐบาลได้จ่ายค่าข้าวแล้ว แต่เป็นการจ่ายเพียงแค่ส่วนเดียว อย่างที่พิจิตรจ่ายไปได้แค่เพียงลำดับที่ 600 กว่า ยังเหลืออีก 3 พันกว่ารายที่ยังไม่ได้จ่ายให้กับชาวนา
ขณะที่ชาวนาที่ยังไม่ได้รับเงิน แต่ค่าปุ๋ย ค่ายา ที่เอามาจากร้านค้าซึ่งส่วนใหญ่เป็นเงินเชื่อ เอาสินค้ามาก่อนเมื่อได้รับเงินก็นำมาชำระ ที่ผ่านมาก็เป็นมาในลักษณะนี้ ค่ารถเกี่ยวข้าวตอนนี้ก็ยังไม่ได้จ่าย เจ้าของรถก็ไม่มีเงินเติมน้ำมัน บางรายเลือกที่จะหยุดให้บริการ หรือเลือกรับเฉพาะรายที่จ่ายเป็นเงินสด
ใครที่คิดจะทำนารอบใหม่ก็ทำไม่ได้ เพราะของเก่าก็ยังค้างอยู่ จะไปเอาของใหม่ร้านค้าก็ให้มาน้อยลงหรืออาจจะต้องยอมแบกดอกเบี้ย เลยทำให้ตอนนี้ทุกอย่างสะดุดไปหมด
อย่างตอนนี้ชาวนาก็เจอปัญหาเรื่องของหนี้เดิมที่รัฐบาลพักชำระหนี้ให้ในช่วงน้ำท่วม ซึ่งเป็นหนี้ที่ปลอดดอกเบี้ย เมื่อไปชำระเงินต้นก็ถูกคิดดอกเบี้ยอีก 7% โดย ธ.ก.ส.อ้างว่าต้องเรียกเก็บเพราะตอนนี้รัฐไม่มีเงิน
ตอนนี้เหมือนกับชาวนาติดกับดัก หากถอนการจำนำข้าวออกมาก็ต้องไปขายให้กับโรงสีเพื่อให้ได้เงินสดมาก็จะถูกกดราคามาอยู่ที่ 6-7 พันบาทต่อตัน เทียบกับราคาที่ได้จากรับจำนำ 11,000 บาท ซึ่งต่างกันเกือบครึ่ง ใครที่รอได้ก็รอ ถ้ารอไม่ได้ก็ต้องยอมขายให้กับโรงสี บางคนขายกันที่ตันละ 4,500 บาท สูงสุดไม่เกิน 6,500 บาท โดยที่รัฐบาลยังไม่มีมาตรการออกมาช่วยบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้น
อย่างข้าวรอบใหม่ตอนนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจน อาจจำเป็นต้องนำข้าวไปขายให้กับโรงสี เพราะถ้ามีการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ กว่าจะมีการรับรองผลรวมถึงกว่าจะดำเนินการจัดตั้งรัฐบาลได้ก็น่าจะเกินเดือนเมษายน ซึ่งผลผลิตส่วนใหญ่จะเก็บเกี่ยวกันในช่วงเดือนมีนาคม
"สภาพการณ์ในตอนนี้คนเสื้อแดงก็เริ่มประท้วงเองแล้ว เพราะเดือดร้อน ในพื้นที่คนเสื้อแดงกลับใจเยอะมาก พวกเขาไม่เอารัฐบาลแล้ว อย่างในพื้นที่มีร้านค้าของคนเสื้อแดงที่จำหน่ายวัสดุและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ขณะนี้ก็เริ่มมีปัญหาแล้ว เพราะมียอดค้างจ่ายค่าวัสดุและอุปกรณ์ทางการเกษตรแล้วเกือบ 3 ล้านบาท"
หรืออย่างร้านซ่อมรถเกี่ยวข้าว ขณะนี้ก็ไม่มีเงิน ที่ผ่านมาเจ้าของรถก็มาขอค้างค่าอะไหล่ที่นำมาซ่อมบำรุง รถเกี่ยวข้าว 30-40 คันที่มาซ่อมเปลี่ยนอะไหล่ ตอนนี้มียอดค้างจ่ายกว่า 10 ล้านบาท เพราะอะไหล่รถเกี่ยวข้าวมีราคาสูง
ร้านค้าขายไม่ดี อย่างร้านขายไก่ย่างก็ต้องลดจำนวนวัตถุดิบลง เพราะคนไม่มีกำลังซื้อ ใครที่ไม่สามารถประคองตัวได้ก็ต้องหันไปพึ่งหนี้นอกระบบ ส่วนใหญ่ก็ต้องยอมแบกดอกเบี้ยที่ 3-5% ต่อเดือน เพราะต้องกินต้องใช้ทุกวัน ลูกต้องไปโรงเรียน และถ้าสิ้นเดือนนี้รัฐบาลยังไม่จ่ายก็คงจะแย่ ตอนนี้ก็คิดถึงนโยบายประกันราคาเหมือนกัน
ส่วนชาวนาอีกรายกล่าวว่า เมื่อ 2 ปีก่อนเราดีใจที่มีโครงการรับจำนำข้าว เพราะทำให้ชาวนาลืมตาอ้าปากได้ ทำให้ชาวนาหลายรายซื้อรถยนต์ใหม่กันแทบทุกบ้าน บางรายก็ต่อเติมหรือขยายบ้าน เพราะมีรายได้จากการจำนำข้าว แต่วันนี้ทุกอย่างกลับด้าน และคนที่มีภาระผ่อนรถ ผ่อนบ้านเจ็บหนักแน่ สุดท้ายอาจจะต้องปล่อยให้ยึด ส่วนใครที่ใช้สิทธิตามโครงการรถยนต์คันแรก ที่ได้เงินคืนภาษีสรรพสามิตก็ต้องเตรียมเงินใช้คืนให้กับรัฐตามสัญญา
“ทุกอย่างเป็นความล้มเหลวของรัฐบาล คุยเกินตัว ไม่สามารถทำตามที่รับปากไว้ได้ ตอนนี้เข็ดแล้วกับนโยบายประชานิยม และต่อไปคงจะไม่เลือกพรรคเพื่อไทยอีก”
นี่คือผลลัพธ์ของนโยบายประชานิยมของรัฐบาล อย่างโครงการจำนำข้าว ที่ดึงเอาชาวนาให้มาเลือกพรรคเพื่อไทยจนเป็นรัฐบาลได้ วันนี้ทุกอย่างกำลังประสบปัญหาที่เกิดจากความผิดพลาดในการบริหารงานของรัฐบาลเอง แม้ชาวนาจะมีรายได้สูงขึ้นในช่วง 2 ปีแรกของโครงการ แต่ปีที่ 3 ทุกอย่างกลับสะดุดลง ผลกระทบที่ตามมากับชาวนา ทั้งการต้องแบกรับภาระที่สูงขึ้นจากการที่พวกเขาไม่ได้รับเงินจากการจำนำข้าว รวมไปถึงห่วงโซ่อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับชาวนา ล้วนได้รับผลกระทบตามกันถ้วนหน้า โดยที่รัฐบาลไม่ได้เข้ามารับผิดชอบกับความเสียหายที่เกิดขึ้นเลย
งานนี้คงต้องวัดใจรัฐบาลรักษาการว่าจะกล้าลุยไฟหาทางกู้เงิน 1.3 แสนล้านบาทมาเพื่อจ่ายเงินค่าจำนำข้าวให้กับชาวนาเพื่อลดกระแสความไม่พอใจรัฐบาลนี้หรือไม่