กลุ่มหมิ่นสถาบันปรับโฉมปราศรัยเปิดหน้าชน ผ่านรูปแบบทั้งงานอีเวนต์และการแสดง แถมขยายวงลงไปสู่นักศึกษามหาวิทยาลัย นักวิชาการ-นักกฎหมาย สบช่องโดดร่วมวง ราชนิกุลเหลืออดเดินหน้าเรียกร้องรัฐบาลเร่งดำเนินการ แต่ทุกอย่างเงียบสนิท ม.ล.สุทธิฉันท์ วรวุฒิ ชี้พวกหมิ่นมักใช้ช่องทางขอพระราชทานอภัยโทษ เพราะรู้ว่า “พระเจ้าแผ่นดิน จะไม่กล่าวโทษคนของท่าน” จึงกลายเป็นช่องว่างให้คนชั่ว เครือข่ายราษฎรอาสาฯ ยันการดำเนินคดีพวกหมิ่นเปลี่ยนเมื่อเปลี่ยนรัฐบาล DSI ไม่เคยรับเป็นคดีพิเศษ วงในเผยนักการเมืองยุคนี้กระทำการหมิ่นเหม่ต่อสถาบัน
ขบวนการหมิ่นสถาบันเบื้องสูงในปัจจุบัน แม้จะไม่รุนแรงหรือมีปริมาณมากเหมือนกับในช่วงที่มีการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง แต่ขบวนการเหล่านี้ก็ยังมีอยู่ เว็บไซต์หรือเฟซบุ๊กที่เคยโพสต์ข้อความ ภาพและเสียงที่ดูหมิ่นสถาบัน เมื่อเข้าตรวจสอบก็ยังมีให้พบเห็นอยู่ บางแห่งยุติการโพสต์แต่ก็ยังมี Page เหล่านี้อยู่ โดยที่บางรายได้มีการแจ้งไปที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศฯ (ICT) แต่ไม่ได้ถูกดำเนินการปิดเหมือนกับที่ฝ่ายรัฐบาลแถลงข่าว
การเกาะเกี่ยวกันระหว่างกลุ่มที่กระทำการหมิ่นสถาบันกับคนเสื้อแดงเป็นสิ่งที่ควบคู่กันมาโดยตลอด และคนที่กระทำการหมิ่นหลายคนยังมีตำแหน่งทางการเมืองในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ดังนั้นกระบวนการในการจัดการกับบุคคลเหล่านี้จึงเป็นเรื่องยาก แม้จะมีการยื่นเรื่องหรือเคลื่อนไหวเพื่อให้ดำเนินการทางกฎหมาย แต่ทุกอย่างก็เงียบหายไป ไม่ว่าจะเกิดจากการประวิงเวลาออกไป หาตัวผู้กระทำผิดไม่ได้หรือไม่มีหลักฐานเพียงพอ นี่กลายเป็นลูกเล่นที่ฝ่ายรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับคดีนี้ใช้อยู่กับบุคคลเหล่านี้
ปรากฏการณ์ของกลุ่มราชนิกุลที่เรียกตัวเองว่ากลุ่ม “รักราช” ที่เป็นการรวมตัวกันของราชสกุลและราชนิกุลต่างๆ ออกมาเคลื่อนไหวให้รัฐบาลดำเนินการตามกฎหมายกับบุคคลที่กระทำการหมิ่นสถาบัน นับเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในสังคมไทย
กลุ่มที่ทนไม่ไหวกับการหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ในครั้งนี้ นำโดย พลตรีหม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล ที่ออกมานำราชสกุลปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยความอัดอั้นตันใจเริ่มส่อเค้าความไม่พอใจตั้งแต่กฎหมายนิรโทษกรรมยังไม่เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร แม้ว่าทุกคนจะออกแรงคัดค้านกันแล้ว แต่รัฐบาลก็ยังดึงดันเข้าสภา จนผ่านมติทั้ง 3 วาระในคืนเดียว
“ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว มีกระแสต่อต้านและหลายฝ่ายไม่เห็นด้วย ซึ่งยังอยู่ในความเคลือบแคลงสงสัยของสังคม จึงเป็นการไม่เหมาะสมหากรัฐบาลจะนำกฎหมายที่มีมลทิน ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย”
จึงนำไปสู่การแถลงปกป้องสถาบัน เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยกลุ่มราชสกุล 53 สายและ 20 ราชนิกุล ได้นัดประชุมรวมดวงใจ ร่วมใจภักดิ์ หารือถึงสถานการณ์ที่มีหลายเหตุการณ์สร้างผลกระทบต่อสถาบันเบื้องสูง และมองว่า พ.ร.บ.นิรโทษกรรมนั้นเป็นกฎหมายมีมลทิน มิบังควรนำขึ้นทูลเกล้าฯ โดยมี พลตรีหม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล เป็นประธานการประชุม ขณะที่มีกลุ่มราชสกุลสายต่างๆ ร่วมลงทะเบียนประชุมประมาณ 60 คน ทั้งนี้ ในการประชุมดังกล่าวมีขึ้นเพื่อขอฉันทามติจากราชสกุลสายต่างๆ ในการเคลื่อนไหวปกป้องสถาบัน จนได้ข้อสรุปว่าราชสกุลต่างๆ พร้อมที่จะเคลื่อนไหวต่อสู้ ปกป้องพระเกียรติยศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสถาบัน
“ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่พวกเราลุกขึ้นมา เพราะไม่ไหวแล้วจริงๆ ซึ่งเราเองก็เคยแจ้งไปยังรัฐบาลแล้วถึงความไม่เหมาะสม และแสดงความไม่เห็นด้วยแล้วครั้งหนึ่ง แต่รัฐบาลก็ยังคงเดินหน้าไปไม่สนใจเรา” พลตรีหม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล กล่าว
ข้อเรียกร้องต่างๆ ของกลุ่มราชนิกุลเหล่านี้ที่เรียกร้องต่อรัฐบาล ดูเหมือนทุกอย่างเงียบหายไป หลังจากนั้นในวันที่ 23 พฤศจิกายน โดย พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และ พล.ต.ต.ศิริพงษ์ ติมุลา ผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ ปอท. ร่วมกันแถลงข่าวกรณีมีการกระทำที่อาจเข้าข่ายความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และมีการเผยแพร่ผ่านทางโซเชียลเน็ตเวิร์ก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ICT ยืนยันว่าเจ้าหน้าที่จะมีการดำเนินการตามกฎหมายอย่างเด็ดขาด และที่ผ่านมากระทรวงไอซีทีมีการดำเนินคดีและส่งฟ้องศาลดำเนินการปิดกั้นเว็บไซต์หมิ่นสถาบันฯ ไปแล้วกว่า 90,000 เว็บไซต์
นั่นเป็นเพียงการออกมาสยบสถานการณ์ หลังจากที่กลุ่มราชนิกุลออกมาเคลื่อนไหว แต่ในความเป็นจริงแล้วทั้งเว็บไซต์และเฟซบุ๊กที่หมิ่นสถาบันยังคงเข้าไปดูได้เหมือนเดิม อีกทั้งภายใต้เทคโนโลยีปัจจุบันโอกาสของการข้ามไปใช้ Line กลุ่มบนโทรศัพท์มือถือก็เป็นอีกเส้นทางหนึ่งที่ ICT ควรจะต้องเข้าไปดำเนินการตรวจสอบในเรื่องเหล่านี้ หากทาง ICT ดำเนินการอย่างจริงจังแล้วเชื่อว่ากระบวนการหมิ่นสถาบันย่อมต้องลดลง
ร้องอะไรไป “ยิ่งลักษณ์” เงียบ
ม.ล.สุทธิฉันท์ วรวุฒิ ตัวแทนราชนิกุล กล่าวว่า สิ่งที่ได้เรียกร้องต่อรัฐบาลไปทั้งหมด อย่างการขอให้รัฐบาลอย่าแต่งตั้งบุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง และเป็นอันตรายต่อสถาบันดำรงตำแหน่งทางการเมือง ขณะเดียวกันขอให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พิจารณาดำเนินการตรวจสอบและปิดสื่อ ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุชุมชน วิทยุโทรทัศน์ดาวเทียมให้เด็ดขาดกรณีที่เป็นอันตรายต่อสถาบัน ก็ไม่มีเสียงตอบรับจากท่านนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ไม่ตอบอะไรทั้งสิ้น
ทั้งนี้เนื่องจากสถาบันพระมหากษัตริย์มีนัยสำคัญ 3 ประการคือ นัยทางการเมือง คือความเชื่อความคิดและการดำเนินการที่มีผลต่อสังคมประเพณี นัยทางสังคม ในสังคมไทยสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นที่หล่อหลอมและเป็นศูนย์รวมใจของคนไทย และนัยทางวัฒนธรรมความเชื่อ สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพเทิดทูนของคนไทย
การออกมาเคลื่อนไหวของกลุ่มมีกรรมการของราชนิกุล 21 คน เป็นตัวแทนของสกุลต่างๆ กว่า 100 คนนั้น เราได้เขียนเหตุผลกันไว้ว่าราชสกุลต้องไม่โดนฟ้องกลับ และต้องการสื่อให้เห็นว่าพวกเราต้องการอะไร โดยการกระทำนั้นทำไปเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ ที่สำคัญคือเราไม่ได้อยากดัง แต่ขอพื้นที่ให้กับสถาบันที่ไม่สามารถออกมาเรียกร้องความเป็นธรรมได้ แต่การดำเนินการไปทั้งหมดกลายเป็นว่าไม่มีความหมายกับรัฐบาล
“เราเองก็ถูกประชาชนสอบถามว่า เมื่อประชาชนออกมาเคลื่อนไหวปกป้องสถาบัน ทำไมสายสกุลต่างๆ ถึงไม่ออกมา ก่อนหน้านี้ไม่ออกมา เพราะเราแบ่งหน้าที่กันทำในนามส่วนตัว แต่วันหนึ่งมาหลอมรวมกัน เราก็เป็นประชาชนคนหนึ่งเหมือนกัน ผมจะนิ่งดูดายได้อย่างไรในเมื่อประชาชนยังออกมาปกป้อง”
เมื่อนักการเมืองที่มีตำแหน่ง เกิดการกระทำผิด พวกคุณต้องดูแล แต่กลับไม่ทำ เพิกเฉยและปฏิเสธที่จะดำเนินการตามกฎหมายกับพวกหมิ่นสถาบัน นี่กำลังทำลายสังคมและความเชื่อทางวัฒนธรรม จากนี้ไปเราจะใช้หลักการของทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ในหมู่ผู้จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ “หากแม้นมีภัยพาลมุ่งร้ายมิยอมผู้หมิ่นข่มเหง มิเกรงจะเป็นผู้ใดจะขอถวายชีวีมิหวาดหวั่น”
รู้ช่องขออภัยโทษ
ที่ผ่านมาเราได้ไปชี้แจงกับฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องตามเวทีต่างๆ ถึงจุดประสงค์ของเรา ชี้แจงแล้วทั้งสำนักราชเลขา ตำรวจ สภาความมั่นคงแห่งชาติ ทุกฝ่ายก็เข้าใจ ดังนั้นใครที่รักพระเจ้าแผ่นดิน รักสถาบันอย่ารักแต่ปาก ต้องออกมาปกป้อง
สำหรับรูปแบบของกลุ่มที่กระทำการหมิ่นสถาบันจะมี 3 รูปแบบกว้างๆ คือ 1.โฆษณาด้วยสื่อ วิทยุโทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต 2.ใช้การดำเนินการทางสังคม เช่น การกระซิบ หรือบอกต่อกันในลักษณะเขาว่า...หรือปล่อยข่าวลือต่างๆ และ 3.นักวิชาการ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง นักกฎหมาย พูดสอดคล้องกัน เช่น นักกฎหมายพูดว่า มาตรา 112 เป็นการนำมาใช้ทำลายกัน ส่วนนักวิชาการพูดว่า ต้องปฏิรูป ราชวงศ์ต้องปรับตัว หรือนักการเมืองพูดว่า โลกเปลี่ยนไปหรือจะล้างระบบนี้
ส่วนการดำเนินคดีตามกฎหมายนั้น เมืองไทยกฎหมายเป็นระบบกล่าวหา ต้องหาหลักฐาน หรือต้องเป็นผู้เสียหาย และที่ผ่านมากรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI ไม่มีการนำเอาคดีหมิ่นสถาบันมาเป็นคดีพิเศษในรัฐบาลยิ่งลักษณ์
ที่สำคัญคือคดีหมิ่นสถาบันก่อนหน้านี้ เมื่อถูกดำเนินคดีก็มักมีการขอพระราชทานอภัยโทษและก็ได้รับการพระราชทานเสมอ ทั้งนี้เป็นเพราะ “พระเจ้าแผ่นดิน จะไม่กล่าวโทษคนของท่าน” นี่จึงกลายเป็นช่องว่างที่คนชั่วรู้
รูปแบบหมิ่นเริ่มเปลี่ยน
นายบวร ยสินทร ตัวแทนเครือข่ายราษฎรอาสาปกป้อง 3 สถาบัน กล่าวว่า รูปแบบหมิ่นสถาบันเดินในแนวเดิมคือใช้ Social media ตรงนี้เราไม่ค่อยห่วงมาก เพราะมีทั้งพวกที่กระทำไปโดยคึกคะนอง เมื่อมีการแจ้งดำเนินการพวกนี้ก็จะหยุด อีกส่วนเป็นพวกมือปืนรับจ้าง ส่วนนี้เมื่อมีการแจ้งไปยัง ICT ก็จะเปลี่ยนไปที่ใหม่ แต่ในภาพรวมของส่วนนี้น้อยลง
แต่สิ่งที่เริ่มเปลี่ยนไปจากเดิมนั่นคือ เริ่มมีการเปิดหน้าผู้กระทำการหมิ่น มีการพูดกันอย่างเปิดเผยในที่สาธารณะ รวมไปถึงกลุ่มนักศึกษาในบางมหาวิทยาลัยที่แสดงตัวกันมากขึ้น
คนเหล่านี้ที่กล้าทำก็เพราะรู้มากว่าการกระทำอย่างนี้เมื่อถูกดำเนินคดีแล้วก็มีทางออก นั่นคือการขอพระราชทานอภัยโทษ พวกนี้จึงไม่กลัวและไม่เข็ดหลาบ
อย่างงานครบรอบ 40 ปี 14 ตุลาคมที่ผ่านมา ก็เปิดเผยตัว พูดส่อเสียด และดำเนินการผ่านการจัดงานอีเวนต์ต่างๆ คนเขียนบทก็ถูกยืมมือจากฝ่ายที่ต้องการหมิ่นสถาบัน คนแสดงก็แสดงด้วยความอหังกา เพื่อทำให้คนอื่นเห็นว่าสถาบันแตะต้องได้ ทำให้เห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดา เท่ากับเป็นการทำลายสถาบัน เราเกรงว่าเมื่อคนอื่นเห็นจะเกิดการทำตามหรือเลียนแบบ
ส่วนกลุ่มนักวิชาการอย่างนิติราษฎร์หรืออาจารย์ท่านอื่น อาศัยช่องทางที่เป็นนักวิชาการ รู้มาก และมีวิธีการที่แยบยลมากขึ้น บางครั้งก็เป็นการกระทำเพื่อหวังสร้างชื่อเสียง ใช้มิติทางการตลาดเข้ามาเพื่อแสดงให้คนอื่นเห็นว่าตัวเองแน่ กล้าแสดงความคิดเห็นในเรื่องเหล่านี้
อีกทั้งสื่อก็ให้โอกาสคนเหล่านี้มาแสดงความคิดเห็น อย่างช่อง 11 หรือไทยพีบีเอส โดยใช้ความเป็นนักวิชาการเข้ามา
เปลี่ยนรัฐบาลทุกอย่างเปลี่ยน
แม้ที่ผ่านมาจะมีกลุ่มราชนิกุลออกมาเรียกร้องกับรัฐบาลให้ดำเนินการกับผู้ที่กระทำการหมิ่นสถาบัน แต่รัฐบาลก็นิ่งเงียบ มีเพียงการแจ้งกลับมาว่า นายกฯ ส่งเรื่องไปให้ทีมงานตอบจดหมายหรือแจ้งมายังผู้ร้องว่าได้รับเรื่องแล้ว ส่งเรื่องให้หน่วยงานต่างๆ ดำเนินการตามกฎหมาย แต่ไม่ได้ตามผลว่าคืบหน้าไปอย่างไร
เดิมถ้าเป็นเรื่องสถาบันจะมีคณะกรรมการพิจารณาในเรื่องเหล่านี้ เป็นทีมงานโดยเฉพาะของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อย่างในบางพื้นที่ โรงพักอาจวินิจฉัยไม่ได้ เลยต้องมีทีมงานนี้ ส่งเข้าส่วนกลางเพื่อให้ดำเนินการ อย่างตอนที่ DSI ยังทำงานได้ตามปกติ กรณี นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ก็มีทีมงานพิเศษเป็นผู้ให้คำแนะนำ นั่นอยู่ในช่วงรัฐบาลประชาธิปัตย์ แต่ตอนนี้เปลี่ยนไปแล้ว ไม่มีการนำเอาคดีเหล่านี้มาเป็นคดีพิเศษ ปล่อยให้เป็นคดีทั่วไปที่มีทั้งการดองเรื่อง เช่น ให้มีการสอบสวนเพิ่มเติม
แฝงในรูปอีเวนต์-นักวิชาการ
แหล่งข่าวจากทีมงานตรวจสอบการกระทำที่หมิ่นสถาบัน เปิดเผยว่า รูปแบบการหมิ่นสถาบันได้เปลี่ยนไปจากเดิมบ้าง โดยในส่วนของ Social media นั้นมีน้อยลง แต่ก็ยังมีให้เห็นอยู่ โดยที่เว็บไซต์หรือเฟซบุ๊กเหล่านี้ก็เคยมีการแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วก็ยังไม่ถูกดำเนินการปิดแต่อย่างใด
เราได้เห็นพัฒนาการของการหมิ่นสถาบันออกมาในรูปแบบของการแทรกตัวตามการจัดงานต่างๆ อย่างเช่น งานครบรอบ 40 ปี 14 ตุลาคม ภายในงานมีการแสดงละครเวทีหรืองิ้วที่มีเนื้อหาหมิ่นเหม่ต่อสถาบัน หรืองานชุมนุมของคนเสื้อแดงที่สนามราชมังคลากีฬาสถาน เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน นายเอกภพ เหลือรา หรือ “ตั้ง อาชีวะ”ที่ปราศรัยหมิ่นสถาบัน
กรณีแรกที่ธรรมศาสตร์มีการแจ้งความดำเนินคดีไปแล้ว ส่วนกรณีหลัง ตั้ง อาชีวะ ทางตำรวจได้ออกหมายจับ แต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้าของทั้ง 2 กรณี
ในทางปฏิบัติแล้วการดำเนินคดีกับผู้กระทำการหมิ่นสถาบันในยุคนี้ คงทำได้อย่างล่าช้า เนื่องจากสายสัมพันธ์ของผู้กระทำผิดกับฝ่ายรัฐบาลนั้นมีความใกล้ชิดกัน อีกทั้งกระบวนการยุติธรรมของไทยเฉพาะส่วนของตำรวจและอัยการค่อนข้างเป็นไปในแนวทางเดียวกับรัฐบาล มีการเลื่อนหรือยื้อคดีออกไป ส่วนผู้ที่ถูกดำเนินคดีก่อนหน้าก็มักได้รับคำแนะนำให้ขอยื่นเรื่องอภัยโทษ นี่จึงกลายเป็นปัญหาที่ผู้กระทำผิดในคดีเหล่านี้ไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย
นอกจากนี้ยังมีการกระทำที่เข้าข่ายหมิ่นหรือกระทบต่อสถาบันอีกรูปแบบหนึ่งคือ การดำเนินการในรูปของนักวิชาการบางกลุ่มและบางคน ที่ออกมาแสดงความเห็นในบางเรื่องที่หมิ่นเหม่ ทั้งในรูปแบบของการตั้งโต๊ะแถลงหรือการใช้โอกาสที่ให้สัมภาษณ์สื่อดังจากต่างประเทศ
รัฐบาลเล่นบทคาบลูกคาบดอก
ขณะเดียวกันก็ยังพบการดำเนินการของรัฐบาลชุดนี้ที่หมิ่นเหม่ต่อการกระทำที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท อย่างเช่นการนำการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาของสมาชิกวุฒิสภาขึ้นทูลเกล้า ทั้งที่เรื่องนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ และเมื่อมีคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญออกมาเมื่อ 20 พฤศจิกายน รัฐบาลก็ไม่ได้รีบดำเนินการเพื่อนำเอาร่างกฎหมายดังกล่าวที่ทูลเกล้ากลับลงมาในทันที แต่กลับขอพระราชทานคืนและทำหนังสือขอพระราชทานอภัยโทษในวันที่ 8 ธันวาคมช่วงค่ำ และรัฐบาลได้ประกาศยุบสภาในช่วงเช้าของวันที่ 9 ธันวาคม 2556
รวมถึงคนในพรรคเพื่อไทยแสดงอาการไม่ยอมรับคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ดำเนินการภายใต้พระปรมาภิไธย
การกระทำในลักษณะนี้ถือว่าเป็นการหมิ่นสถาบันเบื้องสูงอีกรูปแบบหนึ่ง ที่แม้จะไม่ใช่เป็นการหมิ่นสถาบันโดยตรง แต่การใช้ถ้อยคำหรือการกระทำที่หมิ่นเหม่ต่อการหมิ่นเบื้องสูง ที่ยากต่อการตีความเพื่อดำเนินคดี อีกทั้งทีมงานพิเศษที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเคยตั้งไว้สำหรับคดีหมิ่นเป็นกรณีเฉพาะเมื่อครั้งพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล ปัจจุบันทีมงานเหล่านี้สลายไปโดยปริยายในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ขบวนการหมิ่นสถาบันเบื้องสูงในปัจจุบัน แม้จะไม่รุนแรงหรือมีปริมาณมากเหมือนกับในช่วงที่มีการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง แต่ขบวนการเหล่านี้ก็ยังมีอยู่ เว็บไซต์หรือเฟซบุ๊กที่เคยโพสต์ข้อความ ภาพและเสียงที่ดูหมิ่นสถาบัน เมื่อเข้าตรวจสอบก็ยังมีให้พบเห็นอยู่ บางแห่งยุติการโพสต์แต่ก็ยังมี Page เหล่านี้อยู่ โดยที่บางรายได้มีการแจ้งไปที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศฯ (ICT) แต่ไม่ได้ถูกดำเนินการปิดเหมือนกับที่ฝ่ายรัฐบาลแถลงข่าว
การเกาะเกี่ยวกันระหว่างกลุ่มที่กระทำการหมิ่นสถาบันกับคนเสื้อแดงเป็นสิ่งที่ควบคู่กันมาโดยตลอด และคนที่กระทำการหมิ่นหลายคนยังมีตำแหน่งทางการเมืองในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ดังนั้นกระบวนการในการจัดการกับบุคคลเหล่านี้จึงเป็นเรื่องยาก แม้จะมีการยื่นเรื่องหรือเคลื่อนไหวเพื่อให้ดำเนินการทางกฎหมาย แต่ทุกอย่างก็เงียบหายไป ไม่ว่าจะเกิดจากการประวิงเวลาออกไป หาตัวผู้กระทำผิดไม่ได้หรือไม่มีหลักฐานเพียงพอ นี่กลายเป็นลูกเล่นที่ฝ่ายรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับคดีนี้ใช้อยู่กับบุคคลเหล่านี้
ปรากฏการณ์ของกลุ่มราชนิกุลที่เรียกตัวเองว่ากลุ่ม “รักราช” ที่เป็นการรวมตัวกันของราชสกุลและราชนิกุลต่างๆ ออกมาเคลื่อนไหวให้รัฐบาลดำเนินการตามกฎหมายกับบุคคลที่กระทำการหมิ่นสถาบัน นับเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในสังคมไทย
กลุ่มที่ทนไม่ไหวกับการหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ในครั้งนี้ นำโดย พลตรีหม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล ที่ออกมานำราชสกุลปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยความอัดอั้นตันใจเริ่มส่อเค้าความไม่พอใจตั้งแต่กฎหมายนิรโทษกรรมยังไม่เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร แม้ว่าทุกคนจะออกแรงคัดค้านกันแล้ว แต่รัฐบาลก็ยังดึงดันเข้าสภา จนผ่านมติทั้ง 3 วาระในคืนเดียว
“ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว มีกระแสต่อต้านและหลายฝ่ายไม่เห็นด้วย ซึ่งยังอยู่ในความเคลือบแคลงสงสัยของสังคม จึงเป็นการไม่เหมาะสมหากรัฐบาลจะนำกฎหมายที่มีมลทิน ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย”
จึงนำไปสู่การแถลงปกป้องสถาบัน เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยกลุ่มราชสกุล 53 สายและ 20 ราชนิกุล ได้นัดประชุมรวมดวงใจ ร่วมใจภักดิ์ หารือถึงสถานการณ์ที่มีหลายเหตุการณ์สร้างผลกระทบต่อสถาบันเบื้องสูง และมองว่า พ.ร.บ.นิรโทษกรรมนั้นเป็นกฎหมายมีมลทิน มิบังควรนำขึ้นทูลเกล้าฯ โดยมี พลตรีหม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล เป็นประธานการประชุม ขณะที่มีกลุ่มราชสกุลสายต่างๆ ร่วมลงทะเบียนประชุมประมาณ 60 คน ทั้งนี้ ในการประชุมดังกล่าวมีขึ้นเพื่อขอฉันทามติจากราชสกุลสายต่างๆ ในการเคลื่อนไหวปกป้องสถาบัน จนได้ข้อสรุปว่าราชสกุลต่างๆ พร้อมที่จะเคลื่อนไหวต่อสู้ ปกป้องพระเกียรติยศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสถาบัน
“ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่พวกเราลุกขึ้นมา เพราะไม่ไหวแล้วจริงๆ ซึ่งเราเองก็เคยแจ้งไปยังรัฐบาลแล้วถึงความไม่เหมาะสม และแสดงความไม่เห็นด้วยแล้วครั้งหนึ่ง แต่รัฐบาลก็ยังคงเดินหน้าไปไม่สนใจเรา” พลตรีหม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล กล่าว
ข้อเรียกร้องต่างๆ ของกลุ่มราชนิกุลเหล่านี้ที่เรียกร้องต่อรัฐบาล ดูเหมือนทุกอย่างเงียบหายไป หลังจากนั้นในวันที่ 23 พฤศจิกายน โดย พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และ พล.ต.ต.ศิริพงษ์ ติมุลา ผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ ปอท. ร่วมกันแถลงข่าวกรณีมีการกระทำที่อาจเข้าข่ายความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และมีการเผยแพร่ผ่านทางโซเชียลเน็ตเวิร์ก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ICT ยืนยันว่าเจ้าหน้าที่จะมีการดำเนินการตามกฎหมายอย่างเด็ดขาด และที่ผ่านมากระทรวงไอซีทีมีการดำเนินคดีและส่งฟ้องศาลดำเนินการปิดกั้นเว็บไซต์หมิ่นสถาบันฯ ไปแล้วกว่า 90,000 เว็บไซต์
นั่นเป็นเพียงการออกมาสยบสถานการณ์ หลังจากที่กลุ่มราชนิกุลออกมาเคลื่อนไหว แต่ในความเป็นจริงแล้วทั้งเว็บไซต์และเฟซบุ๊กที่หมิ่นสถาบันยังคงเข้าไปดูได้เหมือนเดิม อีกทั้งภายใต้เทคโนโลยีปัจจุบันโอกาสของการข้ามไปใช้ Line กลุ่มบนโทรศัพท์มือถือก็เป็นอีกเส้นทางหนึ่งที่ ICT ควรจะต้องเข้าไปดำเนินการตรวจสอบในเรื่องเหล่านี้ หากทาง ICT ดำเนินการอย่างจริงจังแล้วเชื่อว่ากระบวนการหมิ่นสถาบันย่อมต้องลดลง
ร้องอะไรไป “ยิ่งลักษณ์” เงียบ
ม.ล.สุทธิฉันท์ วรวุฒิ ตัวแทนราชนิกุล กล่าวว่า สิ่งที่ได้เรียกร้องต่อรัฐบาลไปทั้งหมด อย่างการขอให้รัฐบาลอย่าแต่งตั้งบุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง และเป็นอันตรายต่อสถาบันดำรงตำแหน่งทางการเมือง ขณะเดียวกันขอให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พิจารณาดำเนินการตรวจสอบและปิดสื่อ ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุชุมชน วิทยุโทรทัศน์ดาวเทียมให้เด็ดขาดกรณีที่เป็นอันตรายต่อสถาบัน ก็ไม่มีเสียงตอบรับจากท่านนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ไม่ตอบอะไรทั้งสิ้น
ทั้งนี้เนื่องจากสถาบันพระมหากษัตริย์มีนัยสำคัญ 3 ประการคือ นัยทางการเมือง คือความเชื่อความคิดและการดำเนินการที่มีผลต่อสังคมประเพณี นัยทางสังคม ในสังคมไทยสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นที่หล่อหลอมและเป็นศูนย์รวมใจของคนไทย และนัยทางวัฒนธรรมความเชื่อ สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพเทิดทูนของคนไทย
การออกมาเคลื่อนไหวของกลุ่มมีกรรมการของราชนิกุล 21 คน เป็นตัวแทนของสกุลต่างๆ กว่า 100 คนนั้น เราได้เขียนเหตุผลกันไว้ว่าราชสกุลต้องไม่โดนฟ้องกลับ และต้องการสื่อให้เห็นว่าพวกเราต้องการอะไร โดยการกระทำนั้นทำไปเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ ที่สำคัญคือเราไม่ได้อยากดัง แต่ขอพื้นที่ให้กับสถาบันที่ไม่สามารถออกมาเรียกร้องความเป็นธรรมได้ แต่การดำเนินการไปทั้งหมดกลายเป็นว่าไม่มีความหมายกับรัฐบาล
“เราเองก็ถูกประชาชนสอบถามว่า เมื่อประชาชนออกมาเคลื่อนไหวปกป้องสถาบัน ทำไมสายสกุลต่างๆ ถึงไม่ออกมา ก่อนหน้านี้ไม่ออกมา เพราะเราแบ่งหน้าที่กันทำในนามส่วนตัว แต่วันหนึ่งมาหลอมรวมกัน เราก็เป็นประชาชนคนหนึ่งเหมือนกัน ผมจะนิ่งดูดายได้อย่างไรในเมื่อประชาชนยังออกมาปกป้อง”
เมื่อนักการเมืองที่มีตำแหน่ง เกิดการกระทำผิด พวกคุณต้องดูแล แต่กลับไม่ทำ เพิกเฉยและปฏิเสธที่จะดำเนินการตามกฎหมายกับพวกหมิ่นสถาบัน นี่กำลังทำลายสังคมและความเชื่อทางวัฒนธรรม จากนี้ไปเราจะใช้หลักการของทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ในหมู่ผู้จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ “หากแม้นมีภัยพาลมุ่งร้ายมิยอมผู้หมิ่นข่มเหง มิเกรงจะเป็นผู้ใดจะขอถวายชีวีมิหวาดหวั่น”
รู้ช่องขออภัยโทษ
ที่ผ่านมาเราได้ไปชี้แจงกับฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องตามเวทีต่างๆ ถึงจุดประสงค์ของเรา ชี้แจงแล้วทั้งสำนักราชเลขา ตำรวจ สภาความมั่นคงแห่งชาติ ทุกฝ่ายก็เข้าใจ ดังนั้นใครที่รักพระเจ้าแผ่นดิน รักสถาบันอย่ารักแต่ปาก ต้องออกมาปกป้อง
สำหรับรูปแบบของกลุ่มที่กระทำการหมิ่นสถาบันจะมี 3 รูปแบบกว้างๆ คือ 1.โฆษณาด้วยสื่อ วิทยุโทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต 2.ใช้การดำเนินการทางสังคม เช่น การกระซิบ หรือบอกต่อกันในลักษณะเขาว่า...หรือปล่อยข่าวลือต่างๆ และ 3.นักวิชาการ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง นักกฎหมาย พูดสอดคล้องกัน เช่น นักกฎหมายพูดว่า มาตรา 112 เป็นการนำมาใช้ทำลายกัน ส่วนนักวิชาการพูดว่า ต้องปฏิรูป ราชวงศ์ต้องปรับตัว หรือนักการเมืองพูดว่า โลกเปลี่ยนไปหรือจะล้างระบบนี้
ส่วนการดำเนินคดีตามกฎหมายนั้น เมืองไทยกฎหมายเป็นระบบกล่าวหา ต้องหาหลักฐาน หรือต้องเป็นผู้เสียหาย และที่ผ่านมากรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI ไม่มีการนำเอาคดีหมิ่นสถาบันมาเป็นคดีพิเศษในรัฐบาลยิ่งลักษณ์
ที่สำคัญคือคดีหมิ่นสถาบันก่อนหน้านี้ เมื่อถูกดำเนินคดีก็มักมีการขอพระราชทานอภัยโทษและก็ได้รับการพระราชทานเสมอ ทั้งนี้เป็นเพราะ “พระเจ้าแผ่นดิน จะไม่กล่าวโทษคนของท่าน” นี่จึงกลายเป็นช่องว่างที่คนชั่วรู้
รูปแบบหมิ่นเริ่มเปลี่ยน
นายบวร ยสินทร ตัวแทนเครือข่ายราษฎรอาสาปกป้อง 3 สถาบัน กล่าวว่า รูปแบบหมิ่นสถาบันเดินในแนวเดิมคือใช้ Social media ตรงนี้เราไม่ค่อยห่วงมาก เพราะมีทั้งพวกที่กระทำไปโดยคึกคะนอง เมื่อมีการแจ้งดำเนินการพวกนี้ก็จะหยุด อีกส่วนเป็นพวกมือปืนรับจ้าง ส่วนนี้เมื่อมีการแจ้งไปยัง ICT ก็จะเปลี่ยนไปที่ใหม่ แต่ในภาพรวมของส่วนนี้น้อยลง
แต่สิ่งที่เริ่มเปลี่ยนไปจากเดิมนั่นคือ เริ่มมีการเปิดหน้าผู้กระทำการหมิ่น มีการพูดกันอย่างเปิดเผยในที่สาธารณะ รวมไปถึงกลุ่มนักศึกษาในบางมหาวิทยาลัยที่แสดงตัวกันมากขึ้น
คนเหล่านี้ที่กล้าทำก็เพราะรู้มากว่าการกระทำอย่างนี้เมื่อถูกดำเนินคดีแล้วก็มีทางออก นั่นคือการขอพระราชทานอภัยโทษ พวกนี้จึงไม่กลัวและไม่เข็ดหลาบ
อย่างงานครบรอบ 40 ปี 14 ตุลาคมที่ผ่านมา ก็เปิดเผยตัว พูดส่อเสียด และดำเนินการผ่านการจัดงานอีเวนต์ต่างๆ คนเขียนบทก็ถูกยืมมือจากฝ่ายที่ต้องการหมิ่นสถาบัน คนแสดงก็แสดงด้วยความอหังกา เพื่อทำให้คนอื่นเห็นว่าสถาบันแตะต้องได้ ทำให้เห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดา เท่ากับเป็นการทำลายสถาบัน เราเกรงว่าเมื่อคนอื่นเห็นจะเกิดการทำตามหรือเลียนแบบ
ส่วนกลุ่มนักวิชาการอย่างนิติราษฎร์หรืออาจารย์ท่านอื่น อาศัยช่องทางที่เป็นนักวิชาการ รู้มาก และมีวิธีการที่แยบยลมากขึ้น บางครั้งก็เป็นการกระทำเพื่อหวังสร้างชื่อเสียง ใช้มิติทางการตลาดเข้ามาเพื่อแสดงให้คนอื่นเห็นว่าตัวเองแน่ กล้าแสดงความคิดเห็นในเรื่องเหล่านี้
อีกทั้งสื่อก็ให้โอกาสคนเหล่านี้มาแสดงความคิดเห็น อย่างช่อง 11 หรือไทยพีบีเอส โดยใช้ความเป็นนักวิชาการเข้ามา
เปลี่ยนรัฐบาลทุกอย่างเปลี่ยน
แม้ที่ผ่านมาจะมีกลุ่มราชนิกุลออกมาเรียกร้องกับรัฐบาลให้ดำเนินการกับผู้ที่กระทำการหมิ่นสถาบัน แต่รัฐบาลก็นิ่งเงียบ มีเพียงการแจ้งกลับมาว่า นายกฯ ส่งเรื่องไปให้ทีมงานตอบจดหมายหรือแจ้งมายังผู้ร้องว่าได้รับเรื่องแล้ว ส่งเรื่องให้หน่วยงานต่างๆ ดำเนินการตามกฎหมาย แต่ไม่ได้ตามผลว่าคืบหน้าไปอย่างไร
เดิมถ้าเป็นเรื่องสถาบันจะมีคณะกรรมการพิจารณาในเรื่องเหล่านี้ เป็นทีมงานโดยเฉพาะของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อย่างในบางพื้นที่ โรงพักอาจวินิจฉัยไม่ได้ เลยต้องมีทีมงานนี้ ส่งเข้าส่วนกลางเพื่อให้ดำเนินการ อย่างตอนที่ DSI ยังทำงานได้ตามปกติ กรณี นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ก็มีทีมงานพิเศษเป็นผู้ให้คำแนะนำ นั่นอยู่ในช่วงรัฐบาลประชาธิปัตย์ แต่ตอนนี้เปลี่ยนไปแล้ว ไม่มีการนำเอาคดีเหล่านี้มาเป็นคดีพิเศษ ปล่อยให้เป็นคดีทั่วไปที่มีทั้งการดองเรื่อง เช่น ให้มีการสอบสวนเพิ่มเติม
แฝงในรูปอีเวนต์-นักวิชาการ
แหล่งข่าวจากทีมงานตรวจสอบการกระทำที่หมิ่นสถาบัน เปิดเผยว่า รูปแบบการหมิ่นสถาบันได้เปลี่ยนไปจากเดิมบ้าง โดยในส่วนของ Social media นั้นมีน้อยลง แต่ก็ยังมีให้เห็นอยู่ โดยที่เว็บไซต์หรือเฟซบุ๊กเหล่านี้ก็เคยมีการแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วก็ยังไม่ถูกดำเนินการปิดแต่อย่างใด
เราได้เห็นพัฒนาการของการหมิ่นสถาบันออกมาในรูปแบบของการแทรกตัวตามการจัดงานต่างๆ อย่างเช่น งานครบรอบ 40 ปี 14 ตุลาคม ภายในงานมีการแสดงละครเวทีหรืองิ้วที่มีเนื้อหาหมิ่นเหม่ต่อสถาบัน หรืองานชุมนุมของคนเสื้อแดงที่สนามราชมังคลากีฬาสถาน เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน นายเอกภพ เหลือรา หรือ “ตั้ง อาชีวะ”ที่ปราศรัยหมิ่นสถาบัน
กรณีแรกที่ธรรมศาสตร์มีการแจ้งความดำเนินคดีไปแล้ว ส่วนกรณีหลัง ตั้ง อาชีวะ ทางตำรวจได้ออกหมายจับ แต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้าของทั้ง 2 กรณี
ในทางปฏิบัติแล้วการดำเนินคดีกับผู้กระทำการหมิ่นสถาบันในยุคนี้ คงทำได้อย่างล่าช้า เนื่องจากสายสัมพันธ์ของผู้กระทำผิดกับฝ่ายรัฐบาลนั้นมีความใกล้ชิดกัน อีกทั้งกระบวนการยุติธรรมของไทยเฉพาะส่วนของตำรวจและอัยการค่อนข้างเป็นไปในแนวทางเดียวกับรัฐบาล มีการเลื่อนหรือยื้อคดีออกไป ส่วนผู้ที่ถูกดำเนินคดีก่อนหน้าก็มักได้รับคำแนะนำให้ขอยื่นเรื่องอภัยโทษ นี่จึงกลายเป็นปัญหาที่ผู้กระทำผิดในคดีเหล่านี้ไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย
นอกจากนี้ยังมีการกระทำที่เข้าข่ายหมิ่นหรือกระทบต่อสถาบันอีกรูปแบบหนึ่งคือ การดำเนินการในรูปของนักวิชาการบางกลุ่มและบางคน ที่ออกมาแสดงความเห็นในบางเรื่องที่หมิ่นเหม่ ทั้งในรูปแบบของการตั้งโต๊ะแถลงหรือการใช้โอกาสที่ให้สัมภาษณ์สื่อดังจากต่างประเทศ
รัฐบาลเล่นบทคาบลูกคาบดอก
ขณะเดียวกันก็ยังพบการดำเนินการของรัฐบาลชุดนี้ที่หมิ่นเหม่ต่อการกระทำที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท อย่างเช่นการนำการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาของสมาชิกวุฒิสภาขึ้นทูลเกล้า ทั้งที่เรื่องนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ และเมื่อมีคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญออกมาเมื่อ 20 พฤศจิกายน รัฐบาลก็ไม่ได้รีบดำเนินการเพื่อนำเอาร่างกฎหมายดังกล่าวที่ทูลเกล้ากลับลงมาในทันที แต่กลับขอพระราชทานคืนและทำหนังสือขอพระราชทานอภัยโทษในวันที่ 8 ธันวาคมช่วงค่ำ และรัฐบาลได้ประกาศยุบสภาในช่วงเช้าของวันที่ 9 ธันวาคม 2556
รวมถึงคนในพรรคเพื่อไทยแสดงอาการไม่ยอมรับคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ดำเนินการภายใต้พระปรมาภิไธย
การกระทำในลักษณะนี้ถือว่าเป็นการหมิ่นสถาบันเบื้องสูงอีกรูปแบบหนึ่ง ที่แม้จะไม่ใช่เป็นการหมิ่นสถาบันโดยตรง แต่การใช้ถ้อยคำหรือการกระทำที่หมิ่นเหม่ต่อการหมิ่นเบื้องสูง ที่ยากต่อการตีความเพื่อดำเนินคดี อีกทั้งทีมงานพิเศษที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเคยตั้งไว้สำหรับคดีหมิ่นเป็นกรณีเฉพาะเมื่อครั้งพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล ปัจจุบันทีมงานเหล่านี้สลายไปโดยปริยายในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร