กรรมการสิทธิมนุษยชน เผยแก้ปัญหายางพารายืดเยื้อจนบานปลาย เป็นเรื่องของความไม่เป็นธรรม “อุ้มข้าวไม่อุ้มยาง” เดือดร้อนจริง แนะรัฐต้องลงมาแก้ปัญหา ด้านคนวงในรับเรื่องนี้ถูกมองว่าเป็นเรื่องการเมือง เหตุเป็นพื้นที่ประชาธิปัตย์ รัฐบาลเลยดึงเรื่อง หลังสกัดเหนือและอีสานได้สำเร็จ แถมงานนี้เป็นการวัดกำลังกันระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายค้าน วอนอย่าแบ่งแยกประชาชน ทบทวนนโยบายประชานิยม เน้นไปที่แก้ปัญหาที่ยั่งยืน
พัฒนาการของม็อบสวนยางที่ชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลลงมาแก้ปัญหายางพาราตกต่ำ เริ่มจากการปิดถนนที่อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช จนมีการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับผู้มาชุมนุมเมื่อวันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม 2556 หลังจากนั้นได้เพิ่มการปิดเส้นทางรถไฟ และกำหนดเส้นตายปิดประเทศในวันที่ 3 กันยายน
ในช่วงสุดสัปดาห์หลังเกิดเหตุการณ์ปะทะ มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคประชาธิปัตย์ลงไปในพื้นที่
ถัดมาวันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม รัฐบาลได้ส่งนายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ลงไปเจรจา แต่เป็นการเจรจากับกลุ่มเกษตรกรที่ อบต.นาหมอบุญ โดยอ้างราคารับซื้อยางแผ่นดิบที่ 80 บาทต่อกิโลกรัม ไม่ได้เจรจากับชาวสวนยางที่กำลังประท้วงอยู่ที่ต้องการที่ 100 บาท มติดังกล่าวจึงไม่สามารถทำให้การชุมนุมของชาวสวนยางยุติลง พร้อมตั้งข้อสังเกตว่าการชุมนุมครั้งนี้มีการเมืองของพรรคฝ่ายตรงข้ามเข้ามาสนับสนุน
ตามมาด้วยกระแสข่าวว่าจะมีการออกหมายจับ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ 2 คนคือ นายถาวร เสนเนียม ส.ส.สงขลา และนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง ฐานเป็นผู้สนับสนุนม็อบ แต่ตำรวจได้ออกมาปฏิเสธข่าวดังกล่าว
การชุมนุมของชาวสวนยางภาคใต้ ทำให้ชาวสวนยางในพื้นที่ต่างๆ รวมตัวกันทั้งภาคเหนือ อีสาน ภาคตะวันออก ที่จะเข้าร่วมชุมนุมพร้อมกันปิดประเทศในวันที่ 3 กันยายน
จากนั้นได้มีเหตุยิงกันตายในพื้นที่ชุมนุมที่นครศรีธรรมราช โดยการ์ดรายหนึ่งถูกยิงเสียชีวิตและมีผู้บาดเจ็บอีก 1 คน ทำให้บรรยากาศการชุมนุมยิ่งเคร่งเครียด ขณะเดียวกันภาครัฐก็ได้ดำเนินการหารือกับกลุ่มเกษตรกรต่างๆ โดยมีนายยุคล ลิ้มแหลมทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้เจรจา
ความสำเร็จของรัฐบาลคือทำให้ชาวสวนยางที่ภาคเหนือและอีสานพอใจกับราคาที่รัฐบาลเสนอให้ที่ 80 บาทพร้อมด้วยเงินค่าปุ๋ยอีกไร่ละ 1,260 บาท
เมื่อการรวมพลังปิดประเทศของชาวสวนยางทั่วประเทศถูกแยกออกไปให้เหลือเฉพาะพื้นที่ภาคใต้และภาคตะวันออก ย่อมทำให้แรงกดดันที่มีต่อรัฐบาลเริ่มลดลง ปล่อยให้ชาวสวนยางในภาคใต้ชุมนุมกันต่อไป
แม้ว่าเมื่อถึงวันที่ม็อบยื่นคำขาด 3 กันยายน รัฐบาลดูเหมือนพยายามหาทางเพื่อยุติปัญหา แต่จากมติคณะรัฐมนตรีในวันเดียวกัน มาตรการที่รัฐบาลจะช่วยเหลือกลับเหมือนเดิมทุกประการ โดยนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) มาเป็นผู้แถลง
หลังจากทราบผลว่าสิ่งที่เกษตรกรชาวสวนยางเรียกร้องต่อรัฐบาลนั้นไม่ได้ผล ในช่วงเย็นของวันเดียวกัน ชาวสวนยางในพื้นที่ภาคใต้จึงเริ่มปิดถนนกันในหลายจังหวัด กระจายไปในหลายพื้นที่ของจังหวัดนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี พัทลุง กระบี่และตรัง รวมถึงชาวสวนยางภาคตะวันออกที่จังหวัดระยอง
เมื่อข้อเรียกร้องของเกษตรกรชาวสวนยางถูกรัฐบาลยืดเรื่องออกไป รวมถึงการไม่ตอบสนองต่อทางออกในการแก้ปัญหา ทุกอย่างจึงเริ่มบานปลายออกไป เห็นได้จากการขยายพื้นที่การปิดถนนไปยังพื้นที่ต่างๆ นอกจากนี้เกษตรกรชาวสวนยางอีกส่วนหนึ่งยังคงรอผลการหารือระหว่างตัวแทนกับฝ่ายรัฐบาลที่เดินทางเข้ามาหารือกันที่กรุงเทพฯ หากไม่ได้ผลเป็นที่พอใจก็จะมีการปิดถนนในพื้นที่หลายจุดอย่างเช่นที่จังหวัดสงขลา เตรียมปิด 3 เส้นทางยุทธศาสตร์ คือ สะพานติณสูลานนท์ สี่แยกคูหา และสนามบิน
อย่ามองว่าเป็นเรื่องการเมือง
สำหรับปมปัญหาการชุมนุมของชาวสวนยางที่นครศรีธรรมราชนั้น นายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชน ได้ลงไปในพื้นที่การชุมนุมของม็อบสวนยาง โดยกล่าวว่า ที่เราลงไปในพื้นที่เนื่องจากมีคนร้องมาที่กรรมการสิทธิฯ ว่าการชุมนุมของชาวสวนยางถูกละเมิดสิทธิในการชุมนุม ดังนั้นจึงต้องลงไปดู เพื่อรับฟังความจริงจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากมีเรื่องของการสลายการชุมนุมเมื่อ 23 สิงหาคม
อย่างกรณีที่ตำรวจไม่รับแจ้งความหลังจากที่ชาวสวนยางที่ได้รับบาดเจ็บ ตรงนี้เราก็ต้องเรียกให้เข้ามารับทราบและต้องปฏิบัติตามหน้าที่รับแจ้งความ
หน้าที่ของเราไม่ใช่เขียนรายงานออกมา แต่เมื่อรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริงได้แล้วก็ส่งเรื่องไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการตามสิทธิของประชาชนที่มี หากไม่มีการดำเนินการก็จะแจ้งเรื่องไปยังหน่วยงานระดับสูงขึ้นไปจนถึงรัฐบาล ถ้ายังเพิกเฉยอยู่ก็จะรายงานเรื่องเหล่านี้ไปที่รัฐสภา
เท่าที่เราลงไปดูในพื้นที่เรื่องนี้เป็นปัญหาปากท้องของชาวสวนยาง ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ก็ไม่อยากให้นักการเมืองในพื้นที่เข้าไป เพราะเกรงว่าจะถูกโยงว่าเป็นเรื่องการเมือง แต่นักการเมืองก็พยายามจะเข้าไป จึงได้มีการขอร้องกัน
กรรมการสิทธิมนุษยชนได้สรุปถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับการชุมนุมของชาวสวนยางว่า เกิดขึ้นจาก 2 แนวทาง
แนวทางแรก เป็นการสะท้อนปัญหาความไม่เป็นธรรม มีลักษณะการเลือกปฏิบัติ รัฐมีโครงการรับจำนำข้าว แต่ยางไม่ได้รับความเป็นธรรม ขณะที่รัฐบาลกลับมองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องการเมือง เนื่องจากพื้นที่ภาคใต้เป็นฐานเสียงของพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้าม
แนวทางที่สอง คือเป็นปัญหาความเดือดร้อนจริงๆ ของเกษตรกร ที่เกิดขึ้นจากสภาพเศรษฐกิจ ซึ่งเรื่องนี้ภาคการเมืองต้องลงมาแก้ปัญหา ไม่ใช่อ้างเรื่องผลตอบแทนทางการตลาด เพราะหลายรัฐบาลที่ผ่านมามีการส่งเสริมให้มีการปลูกยางพาราทั่วประเทศ
สยบเหนือ-อีสานลดแรงกดดัน
ผู้สันทัดทางการเมืองให้ความเห็นว่า ถือว่าการที่ภาครัฐเจรจากับชาวสวนยางในภาคเหนือและอีสานเป็นผลสำเร็จ ถือว่าเป็นเรื่องของยุทธวิธีทางการเมือง เมื่อกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในภาคเหนือและอีสานถอนตัวจากการร่วมชุมนุมในครั้งนี้ ทำให้เหลือเพียงชาวสวนยางภาคใต้เท่านั้นที่ยังคงประท้วงอยู่ รวมถึงมีชาวสวนยางจากจังหวัดระยอง
ในพื้นที่ภาคใต้มีการปลูกยางพารากันมานาน และยางพาราถือเป็นอาชีพหลักของคนภาคใต้ คนส่วนใหญ่จึงอยู่กับพื้นที่ แตกต่างจากภาคเหนือและอีสาน ที่มีการขยายพื้นที่เพาะปลูกไปในช่วงหลัง ดังนั้นผู้ปลูกยางพาราในภาคอื่นจึงมีอาชีพอื่นๆ อยู่ด้วย เดิมอาจปลูกข้าว ทำสวน หรือมาทำงานในกรุงเทพฯ หรือพื้นที่ต่างๆ ยางจึงเป็นอาชีพเสริม แตกต่างจากพื้นที่ภาคใต้
อีกประการหนึ่งคือในภาคเหนือหรืออีสานถือว่าเป็นสวนยางที่เพิ่งเกิด บางแห่งอายุไม่ถึง 7 ปียังไม่สามารถกรีดยางได้ เมื่อได้รับทั้งราคารับซื้อที่ 80 บาท รวมทั้งค่าปุ๋ยอีก 1,260 บาทต่อไร่ บางแห่งยังกรีดไม่ได้ก็ได้ค่าปุ๋ยไป จึงทำให้กลุ่มนี้ยอมสลายตัว
หากกลับไปดูข้อเสนอของชาวสวนยางภาคใต้ที่เสนอให้รัฐรับซื้อในราคาที่สูง เช่น 100 บาทนั้น ทุกฝ่ายจะได้ประโยชน์ที่ครอบคลุมมากกว่า อีกทั้งบางรายไม่ใช่เจ้าของสวนยางเป็นเพียงลูกจ้างรับกรีด หากได้ราคาดี รายได้ของพวกเขาก็สูงขึ้นตามไปด้วย ส่วนพื้นที่ที่ยังไม่สามารถกรีดยางได้รัฐก็ไม่ต้องช่วย ถือว่าเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
ผิดที่รัฐบาล
เรื่องนี้อย่ามองว่าเป็นเรื่องการเมือง อย่างที่คนในรัฐบาลถูกปลุกว่าเป็นการเมืองของพรรคฝ่ายค้าน อย่างการมาของโทนี แบลร์ อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ ที่บอกว่า รากฐานที่ทำให้เกิดความปรองดอง คือการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ความไม่เป็นธรรม ความยากจน และต้องแก้ที่รากเหง้าด้วย
หากจะมองว่าเรื่องนี้ผิดที่ใคร คงต้องมองไปที่ฝ่ายการเมือง หากยังคิดเรื่องการแบ่งข้าง แบ่งฝ่าย ทำนโยบายประชานิยมเพื่อหวังผลเพียงแค่การเลือกตั้ง ไม่ได้เน้นแก้ปัญหาที่แท้จริง และชาวบ้านไม่ได้ประโยชน์จากประชานิยมทั้งหมด
ส่วนการที่รัฐบาลปล่อยให้การชุมนุมของชาวสวนยางภาคใต้ยืดเยื้อนั้น ด้านหนึ่งรัฐอาจมีข้อจำกัดเรื่องเงินที่จะนำมาใช้แก้ปัญหา หลังจากที่ต้องทุ่มเงินจำนวนมากไปกับโครงการรับจำนำข้าว หรือโครงการประชานิยมอื่นๆ
ความเป็นไปได้อีกประการหนึ่งคือ เป็นเรื่องของการต้องการวัดใจกันของฝ่ายการเมืองฝั่งรัฐบาล ที่มองว่าเบื้องหลังการเรียกร้องของชาวสวนยางเป็นเรื่องทางการเมือง
ในเรื่องนี้จึงอยากเรียนต่อรัฐบาลว่าอย่าแบ่งฝักแบ่งฝ่ายแยกพวกให้กับประชาชน แต่ต้องมองถึงแนวทางแก้ปัญหาของประชาชนโดยรวม ยิ่งถ้าเจอกระแสทั่วทั้งประเทศ รัฐไม่สามารถสกัดกั้นได้ และถ้าจัดการไม่ถูก ปัญหาก็จะตีกลับมาที่รัฐบาล
ปมปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบริหารจัดการของรัฐบาล ที่หลายนโยบายเริ่มส่งผลในเชิงลบกับรัฐบาลมากขึ้น อันเนื่องจากนโยบายประชานิยมที่ไม่สามารถแก้ปัญหาให้กับภาคประชาชนได้อย่างยั่งยืน กำลังจะกลายมาเป็นปมย้อนกลับมาเล่นงานรัฐบาลเอง ทั้งจากโครงการรับจำนำข้าวฤดูกาลใหม่ที่จำกัดวงเงินรับจำนำลง และลดราคารับจำนำข้าวนาปรังลงเหลือ 13,000 บาท โดยตัวแทนชาวนาเริ่มแสดงท่าทีไม่พอใจกับนโยบายดังกล่าว
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มเกษตรกรอื่นๆ ที่พร้อมจะชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่ำอย่างเช่นเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดและอื่นๆ รวมไปถึงปัญหาปากท้องของประชาชนทั่วประเทศที่รัฐบาลอนุญาตให้ปรับขึ้นราคาก๊าซ LPG ภาคครัวเรือน ค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นรวมถึงค่าทางด่วน
สภาพความเดือดร้อนของประชาชนทั่วประเทศ เมื่อบวกรวมกับกระแสความไม่พอใจการบริหารประเทศของกลุ่มกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ และการคัดค้านการแก้ร่างกฎหมายสำคัญต่างๆ ของพรรคประชาธิปัตย์ จะกลายเป็นตัวเร่งให้สถานการณ์ทางการเมืองของประเทศร้อนระอุมากขึ้น ส่วนจะถึงขั้นการออกมารวมตัวโค่นล้มรัฐบาลหรือไม่นั้น คงต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐบาลที่จะเข้ามาแก้ปัญหาหรือหยุดยั้งสถานการณ์
พัฒนาการของม็อบสวนยางที่ชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลลงมาแก้ปัญหายางพาราตกต่ำ เริ่มจากการปิดถนนที่อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช จนมีการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับผู้มาชุมนุมเมื่อวันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม 2556 หลังจากนั้นได้เพิ่มการปิดเส้นทางรถไฟ และกำหนดเส้นตายปิดประเทศในวันที่ 3 กันยายน
ในช่วงสุดสัปดาห์หลังเกิดเหตุการณ์ปะทะ มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคประชาธิปัตย์ลงไปในพื้นที่
ถัดมาวันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม รัฐบาลได้ส่งนายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ลงไปเจรจา แต่เป็นการเจรจากับกลุ่มเกษตรกรที่ อบต.นาหมอบุญ โดยอ้างราคารับซื้อยางแผ่นดิบที่ 80 บาทต่อกิโลกรัม ไม่ได้เจรจากับชาวสวนยางที่กำลังประท้วงอยู่ที่ต้องการที่ 100 บาท มติดังกล่าวจึงไม่สามารถทำให้การชุมนุมของชาวสวนยางยุติลง พร้อมตั้งข้อสังเกตว่าการชุมนุมครั้งนี้มีการเมืองของพรรคฝ่ายตรงข้ามเข้ามาสนับสนุน
ตามมาด้วยกระแสข่าวว่าจะมีการออกหมายจับ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ 2 คนคือ นายถาวร เสนเนียม ส.ส.สงขลา และนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง ฐานเป็นผู้สนับสนุนม็อบ แต่ตำรวจได้ออกมาปฏิเสธข่าวดังกล่าว
การชุมนุมของชาวสวนยางภาคใต้ ทำให้ชาวสวนยางในพื้นที่ต่างๆ รวมตัวกันทั้งภาคเหนือ อีสาน ภาคตะวันออก ที่จะเข้าร่วมชุมนุมพร้อมกันปิดประเทศในวันที่ 3 กันยายน
จากนั้นได้มีเหตุยิงกันตายในพื้นที่ชุมนุมที่นครศรีธรรมราช โดยการ์ดรายหนึ่งถูกยิงเสียชีวิตและมีผู้บาดเจ็บอีก 1 คน ทำให้บรรยากาศการชุมนุมยิ่งเคร่งเครียด ขณะเดียวกันภาครัฐก็ได้ดำเนินการหารือกับกลุ่มเกษตรกรต่างๆ โดยมีนายยุคล ลิ้มแหลมทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้เจรจา
ความสำเร็จของรัฐบาลคือทำให้ชาวสวนยางที่ภาคเหนือและอีสานพอใจกับราคาที่รัฐบาลเสนอให้ที่ 80 บาทพร้อมด้วยเงินค่าปุ๋ยอีกไร่ละ 1,260 บาท
เมื่อการรวมพลังปิดประเทศของชาวสวนยางทั่วประเทศถูกแยกออกไปให้เหลือเฉพาะพื้นที่ภาคใต้และภาคตะวันออก ย่อมทำให้แรงกดดันที่มีต่อรัฐบาลเริ่มลดลง ปล่อยให้ชาวสวนยางในภาคใต้ชุมนุมกันต่อไป
แม้ว่าเมื่อถึงวันที่ม็อบยื่นคำขาด 3 กันยายน รัฐบาลดูเหมือนพยายามหาทางเพื่อยุติปัญหา แต่จากมติคณะรัฐมนตรีในวันเดียวกัน มาตรการที่รัฐบาลจะช่วยเหลือกลับเหมือนเดิมทุกประการ โดยนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) มาเป็นผู้แถลง
หลังจากทราบผลว่าสิ่งที่เกษตรกรชาวสวนยางเรียกร้องต่อรัฐบาลนั้นไม่ได้ผล ในช่วงเย็นของวันเดียวกัน ชาวสวนยางในพื้นที่ภาคใต้จึงเริ่มปิดถนนกันในหลายจังหวัด กระจายไปในหลายพื้นที่ของจังหวัดนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี พัทลุง กระบี่และตรัง รวมถึงชาวสวนยางภาคตะวันออกที่จังหวัดระยอง
เมื่อข้อเรียกร้องของเกษตรกรชาวสวนยางถูกรัฐบาลยืดเรื่องออกไป รวมถึงการไม่ตอบสนองต่อทางออกในการแก้ปัญหา ทุกอย่างจึงเริ่มบานปลายออกไป เห็นได้จากการขยายพื้นที่การปิดถนนไปยังพื้นที่ต่างๆ นอกจากนี้เกษตรกรชาวสวนยางอีกส่วนหนึ่งยังคงรอผลการหารือระหว่างตัวแทนกับฝ่ายรัฐบาลที่เดินทางเข้ามาหารือกันที่กรุงเทพฯ หากไม่ได้ผลเป็นที่พอใจก็จะมีการปิดถนนในพื้นที่หลายจุดอย่างเช่นที่จังหวัดสงขลา เตรียมปิด 3 เส้นทางยุทธศาสตร์ คือ สะพานติณสูลานนท์ สี่แยกคูหา และสนามบิน
อย่ามองว่าเป็นเรื่องการเมือง
สำหรับปมปัญหาการชุมนุมของชาวสวนยางที่นครศรีธรรมราชนั้น นายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชน ได้ลงไปในพื้นที่การชุมนุมของม็อบสวนยาง โดยกล่าวว่า ที่เราลงไปในพื้นที่เนื่องจากมีคนร้องมาที่กรรมการสิทธิฯ ว่าการชุมนุมของชาวสวนยางถูกละเมิดสิทธิในการชุมนุม ดังนั้นจึงต้องลงไปดู เพื่อรับฟังความจริงจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากมีเรื่องของการสลายการชุมนุมเมื่อ 23 สิงหาคม
อย่างกรณีที่ตำรวจไม่รับแจ้งความหลังจากที่ชาวสวนยางที่ได้รับบาดเจ็บ ตรงนี้เราก็ต้องเรียกให้เข้ามารับทราบและต้องปฏิบัติตามหน้าที่รับแจ้งความ
หน้าที่ของเราไม่ใช่เขียนรายงานออกมา แต่เมื่อรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริงได้แล้วก็ส่งเรื่องไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการตามสิทธิของประชาชนที่มี หากไม่มีการดำเนินการก็จะแจ้งเรื่องไปยังหน่วยงานระดับสูงขึ้นไปจนถึงรัฐบาล ถ้ายังเพิกเฉยอยู่ก็จะรายงานเรื่องเหล่านี้ไปที่รัฐสภา
เท่าที่เราลงไปดูในพื้นที่เรื่องนี้เป็นปัญหาปากท้องของชาวสวนยาง ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ก็ไม่อยากให้นักการเมืองในพื้นที่เข้าไป เพราะเกรงว่าจะถูกโยงว่าเป็นเรื่องการเมือง แต่นักการเมืองก็พยายามจะเข้าไป จึงได้มีการขอร้องกัน
กรรมการสิทธิมนุษยชนได้สรุปถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับการชุมนุมของชาวสวนยางว่า เกิดขึ้นจาก 2 แนวทาง
แนวทางแรก เป็นการสะท้อนปัญหาความไม่เป็นธรรม มีลักษณะการเลือกปฏิบัติ รัฐมีโครงการรับจำนำข้าว แต่ยางไม่ได้รับความเป็นธรรม ขณะที่รัฐบาลกลับมองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องการเมือง เนื่องจากพื้นที่ภาคใต้เป็นฐานเสียงของพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้าม
แนวทางที่สอง คือเป็นปัญหาความเดือดร้อนจริงๆ ของเกษตรกร ที่เกิดขึ้นจากสภาพเศรษฐกิจ ซึ่งเรื่องนี้ภาคการเมืองต้องลงมาแก้ปัญหา ไม่ใช่อ้างเรื่องผลตอบแทนทางการตลาด เพราะหลายรัฐบาลที่ผ่านมามีการส่งเสริมให้มีการปลูกยางพาราทั่วประเทศ
สยบเหนือ-อีสานลดแรงกดดัน
ผู้สันทัดทางการเมืองให้ความเห็นว่า ถือว่าการที่ภาครัฐเจรจากับชาวสวนยางในภาคเหนือและอีสานเป็นผลสำเร็จ ถือว่าเป็นเรื่องของยุทธวิธีทางการเมือง เมื่อกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในภาคเหนือและอีสานถอนตัวจากการร่วมชุมนุมในครั้งนี้ ทำให้เหลือเพียงชาวสวนยางภาคใต้เท่านั้นที่ยังคงประท้วงอยู่ รวมถึงมีชาวสวนยางจากจังหวัดระยอง
ในพื้นที่ภาคใต้มีการปลูกยางพารากันมานาน และยางพาราถือเป็นอาชีพหลักของคนภาคใต้ คนส่วนใหญ่จึงอยู่กับพื้นที่ แตกต่างจากภาคเหนือและอีสาน ที่มีการขยายพื้นที่เพาะปลูกไปในช่วงหลัง ดังนั้นผู้ปลูกยางพาราในภาคอื่นจึงมีอาชีพอื่นๆ อยู่ด้วย เดิมอาจปลูกข้าว ทำสวน หรือมาทำงานในกรุงเทพฯ หรือพื้นที่ต่างๆ ยางจึงเป็นอาชีพเสริม แตกต่างจากพื้นที่ภาคใต้
อีกประการหนึ่งคือในภาคเหนือหรืออีสานถือว่าเป็นสวนยางที่เพิ่งเกิด บางแห่งอายุไม่ถึง 7 ปียังไม่สามารถกรีดยางได้ เมื่อได้รับทั้งราคารับซื้อที่ 80 บาท รวมทั้งค่าปุ๋ยอีก 1,260 บาทต่อไร่ บางแห่งยังกรีดไม่ได้ก็ได้ค่าปุ๋ยไป จึงทำให้กลุ่มนี้ยอมสลายตัว
หากกลับไปดูข้อเสนอของชาวสวนยางภาคใต้ที่เสนอให้รัฐรับซื้อในราคาที่สูง เช่น 100 บาทนั้น ทุกฝ่ายจะได้ประโยชน์ที่ครอบคลุมมากกว่า อีกทั้งบางรายไม่ใช่เจ้าของสวนยางเป็นเพียงลูกจ้างรับกรีด หากได้ราคาดี รายได้ของพวกเขาก็สูงขึ้นตามไปด้วย ส่วนพื้นที่ที่ยังไม่สามารถกรีดยางได้รัฐก็ไม่ต้องช่วย ถือว่าเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
ผิดที่รัฐบาล
เรื่องนี้อย่ามองว่าเป็นเรื่องการเมือง อย่างที่คนในรัฐบาลถูกปลุกว่าเป็นการเมืองของพรรคฝ่ายค้าน อย่างการมาของโทนี แบลร์ อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ ที่บอกว่า รากฐานที่ทำให้เกิดความปรองดอง คือการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ความไม่เป็นธรรม ความยากจน และต้องแก้ที่รากเหง้าด้วย
หากจะมองว่าเรื่องนี้ผิดที่ใคร คงต้องมองไปที่ฝ่ายการเมือง หากยังคิดเรื่องการแบ่งข้าง แบ่งฝ่าย ทำนโยบายประชานิยมเพื่อหวังผลเพียงแค่การเลือกตั้ง ไม่ได้เน้นแก้ปัญหาที่แท้จริง และชาวบ้านไม่ได้ประโยชน์จากประชานิยมทั้งหมด
ส่วนการที่รัฐบาลปล่อยให้การชุมนุมของชาวสวนยางภาคใต้ยืดเยื้อนั้น ด้านหนึ่งรัฐอาจมีข้อจำกัดเรื่องเงินที่จะนำมาใช้แก้ปัญหา หลังจากที่ต้องทุ่มเงินจำนวนมากไปกับโครงการรับจำนำข้าว หรือโครงการประชานิยมอื่นๆ
ความเป็นไปได้อีกประการหนึ่งคือ เป็นเรื่องของการต้องการวัดใจกันของฝ่ายการเมืองฝั่งรัฐบาล ที่มองว่าเบื้องหลังการเรียกร้องของชาวสวนยางเป็นเรื่องทางการเมือง
ในเรื่องนี้จึงอยากเรียนต่อรัฐบาลว่าอย่าแบ่งฝักแบ่งฝ่ายแยกพวกให้กับประชาชน แต่ต้องมองถึงแนวทางแก้ปัญหาของประชาชนโดยรวม ยิ่งถ้าเจอกระแสทั่วทั้งประเทศ รัฐไม่สามารถสกัดกั้นได้ และถ้าจัดการไม่ถูก ปัญหาก็จะตีกลับมาที่รัฐบาล
ปมปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบริหารจัดการของรัฐบาล ที่หลายนโยบายเริ่มส่งผลในเชิงลบกับรัฐบาลมากขึ้น อันเนื่องจากนโยบายประชานิยมที่ไม่สามารถแก้ปัญหาให้กับภาคประชาชนได้อย่างยั่งยืน กำลังจะกลายมาเป็นปมย้อนกลับมาเล่นงานรัฐบาลเอง ทั้งจากโครงการรับจำนำข้าวฤดูกาลใหม่ที่จำกัดวงเงินรับจำนำลง และลดราคารับจำนำข้าวนาปรังลงเหลือ 13,000 บาท โดยตัวแทนชาวนาเริ่มแสดงท่าทีไม่พอใจกับนโยบายดังกล่าว
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มเกษตรกรอื่นๆ ที่พร้อมจะชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่ำอย่างเช่นเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดและอื่นๆ รวมไปถึงปัญหาปากท้องของประชาชนทั่วประเทศที่รัฐบาลอนุญาตให้ปรับขึ้นราคาก๊าซ LPG ภาคครัวเรือน ค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นรวมถึงค่าทางด่วน
สภาพความเดือดร้อนของประชาชนทั่วประเทศ เมื่อบวกรวมกับกระแสความไม่พอใจการบริหารประเทศของกลุ่มกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ และการคัดค้านการแก้ร่างกฎหมายสำคัญต่างๆ ของพรรคประชาธิปัตย์ จะกลายเป็นตัวเร่งให้สถานการณ์ทางการเมืองของประเทศร้อนระอุมากขึ้น ส่วนจะถึงขั้นการออกมารวมตัวโค่นล้มรัฐบาลหรือไม่นั้น คงต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐบาลที่จะเข้ามาแก้ปัญหาหรือหยุดยั้งสถานการณ์