แบงก์ใหญ่โดดแข่งดอกเบี้ยเงินฝาก กรุงไทยให้ 3.5% เท่ากับพันธบัตรรัฐบาล เร่งล็อกเงินฝากระยะยาว ทีมพันธบัตรหวั่นใจครั้งต่อไปขายลำบาก เกรงกระทบโปรเจกต์รัฐบาล เหตุคนเมินออมช่องทางอื่น นักเศรษฐศาสตร์ชี้คนกู้เหนื่อยดอกเบี้ยไม่ลง สวนทางค่าครองชีพ ส่งผลความสามารถในการชำระหนี้ ซ้ำเติมการฟื้นเศรษฐกิจ
ก้าวเข้าสู่ครึ่งหลังของปี 2556 ธนาคารพาณิชย์ทั้งขนาดใหญ่ กลางและเล็ก ยังเดินหน้าระดมเงินฝากกันอย่างต่อเนื่องจากครึ่งแรกของปี แม้ว่าในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 2556 ธนาคารแห่งประเทศไทยจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก 2.75% ลงมาเหลือ 2.50% และคงไว้ในการประชุมเมื่อ 10 กรกฎาคมที่ผ่านมา
ก่อนหน้านี้รัฐบาลได้กดดันให้ธนาคารแห่งประเทศไทยปรับลดอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากเม็ดเงินต่างชาติไหลเข้ามาในภูมิภาคเอเชียจำนวนมาก ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างรวดเร็ว เพื่อสกัดกั้นค่าเงินบาทและช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศไทย อันเนื่องจากเศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัว
ครั้งนี้มีธนาคารขนาดใหญ่โดดล่าเงินฝากทั้งธนาคารกรุงไทย ที่เสนอผลิตภัณฑ์เงินฝาก 29 เดือน ดอกเบี้ย 3.5% ธนาคารกสิกรไทยออกเงินฝาก 14 เดือน ดอกเบี้ย 3.2% ธนาคารไทยพาณิชย์ ออกเงินฝาก 15 เดือน ดอกเบี้ย 3.1% ส่วนธนาคารขนาดกลางอย่างธนชาตออกบัญชีเงินฝาก 15 เดือน ดอกเบี้ย 3.3% และธนาคารออมสินออกบัญชีเงินฝากเผื่อเรียก ไม่เสียภาษี ดอกเบี้ย 2.85%
ขณะที่ก่อนหน้านี้มีธนาคารหลายแห่งที่ออกโปรโมชันเงินฝากและครอบคลุมมาถึงช่วงปัจจุบัน อย่างเช่น ธนาคารอาคารสงเคราะห์ มีบัญชีเงินฝากประจำ 8 เดือน ดอกเบี้ยทันใจ 3.25% หมดเขต 9 สิงหาคมนี้ หรือธนาคารซีไอเอ็มบีไทย มีเงินฝากประจำ 5 เดือน ดอกเบี้ย 3% และเงินฝากประจำ 3.25% หมดเขตสิ้นปี 2556
สินเชื่อยังโต
“การระดมเงินฝากนั้นถือว่าเป็นความต่อเนื่องจากช่วงต้นปี แม้ว่าสภาพคล่องในระบบจะไม่ตึงมากนัก แต่ก็ไม่ได้ล้นจนเกินไป อีกทั้งการดึงเงินกลับของเม็ดเงินต่างชาติแม้จะไม่มีผลโดยตรง แต่ก็ทำให้กระทบบ้างในส่วนของไทย รวมไปถึงภาครัฐที่เตรียมระดมเงินเพื่อสร้างโครงการของรัฐบาล ขณะที่สินเชื่ออื่นๆ ยังเติบโตได้ ดังนั้นธนาคารจึงต้องเร่งล็อกเงินฝากไว้ก่อน เห็นได้จากโปรดักต์หลายตัวจะเน้นไปที่เงินฝากระยะยาว”
แหล่งข่าวจากวงการธนาคารกล่าวเพิ่มเติมว่า ตอนนี้คงหมดยุคดอกเบี้ยต่ำแล้ว แต่อาจจะยังไม่ใช่ขาขึ้นที่ชัดเจน ทั้งนี้คงต้องรอดูท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐฯ ว่าจะตัดสินใจเรื่องอัตราดอกเบี้ยอย่างไร
สอดคล้องกับนักวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาคที่ประเมินว่า ในช่วงที่ต่างชาติถอนเม็ดเงินออกไป ทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรของไทยปรับเพิ่มขึ้น ตอนนี้ได้ปรับลดลงมาในระดับหนึ่งแล้ว อีกทั้งการชะลอเรื่องมาตรการคิวอีของสหรัฐฯ มีความเป็นไปได้ว่าสหรัฐฯเองอาจมีการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น นอกจากนี้ภาครัฐยังมีแผนที่จะระดมเงินออมอย่างโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท และโครงการเมกะโปรเจกต์อีก 2.2 ล้านล้านบาท
อีกทั้งสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศไทยยังไม่ถึงขั้นต้องลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้น แนวโน้มของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงจึงเป็นไปได้น้อย ดังนั้นแบงก์พาณิชย์จึงต้องพยายามล็อกเงินฝากระยะยาวไว้ก่อน
นอกจากนี้ยังมีองค์ประกอบอื่นที่อาจจะทำให้สภาพคล่องเกิดการตึงตัวได้แม้จะไม่มากก็ตาม นั่นคือ ปัญหาที่เกิดขึ้นกับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น เพราะขณะนี้การระดมเงินผ่านสหกรณ์หลายแห่งเริ่มให้อัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าธนาคารพาณิชย์ ไม่ว่าจะเป็นการระดมเงินเพื่อประคองสถานการณ์หรือต้องการระดมเงินจริง ทำให้บางแห่งให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 4-5%
คนเมินพันธบัตร
ฝ่ายพันธบัตร ธนาครแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ยอมรับว่าธนาคารพาณิชย์หลายแห่งเสนออัตราดอกเบี้ย 3.5% เท่ากับพันธบัตรรัฐบาลอายุ 3 ปี ที่เปิดขายตั้งแต่ 9 พฤษภาคมที่ผ่านมาด้วยวงเงิน 4 พันล้านบาท ขณะนี้ยังจำหน่ายได้ไม่หมด แตกต่างจากความนิยมในพันธบัตรรัฐบาลที่ผ่านมา ที่ขายได้หมดในเวลารวดเร็ว
ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากประชาชนมีทางเลือกในการออมมากขึ้น ทั้งจากประกันชีวิต กองทุนรวม หรือแม้กระทั่งโปรโมชันของธนาคารพาณิชย์ อย่างเช่น เงินฝาก 29 เดือนของธนาคารกรุงไทย ที่ให้ดอกเบี้ยเท่ากับพันธบัตรชุดนี้ ระยะเวลาฝากสั้นกว่าและมีความคล่องตัวมากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับพันธบัตรที่ยังเหลืออยู่ที่จะหมดเขตการจำหน่ายในวันที่ 13 กันยายนนี้ คนที่จะซื้อพันธบัตรในช่วงนี้อาจจะได้ผลตอบแทนตามจำนวนเดือนที่ซื้อ เช่น ซื้อเดือนกรกฎาคม ดอกเบี้ยงวดแรกก็จะคิดให้ 4 เดือน งวดที่เหลือจะคิดตามปกติ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้คนเริ่มให้ความสนใจพันธบัตรน้อยลง
นี่คือสิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับรัฐบาล เพราะประชาชนมีทางเลือกในการออมมากขึ้นกว่าเดิม ธนาคารพาณิชย์เริ่มให้อัตราดอกเบี้ยเทียบเท่าพันธบัตรรัฐบาลหรือบางแห่งให้สูงกว่า อีกทั้งยังมีกฎหมายการคุ้มครองเงินฝากที่ 50 ล้านบาท หากพันธบัตรรุ่นต่อไปของรัฐใช้หลักเกณฑ์ดอกเบี้ยในตลาดแล้วบวก 15% สำหรับการหักภาษีแล้ว เชื่อว่าคงได้รับความสนใจจากประชาชนน้อย และจะกลายเป็นปัญหาสำหรับการระดมทุนของรัฐบาลที่จะนำไปใช้ในโครงการต่างๆ
เศรษฐกิจโตฝืด
นักเศรษฐศาสตร์มองปรากฏการณ์ของการเร่งระดมเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ในเวลานี้ว่า การชูดอกเบี้ยเงินฝากสูงก็เท่ากับโอกาสที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะลดลงก็ยากตามไปด้วย นั่นหมายถึงคนที่มีภาระผ่อนชำระระยะยาวอย่างเช่นบ้าน คงต้องรับภาระเดิมต่อไป ขณะที่ค่าครองชีพได้ปรับขึ้นจากนโยบายของรัฐบาล อาจจะทำให้บางรายมีปัญหาเรื่องความสามารถในการผ่อนชำระครั้งต่อไป
ด้วยสภาพของอัตราดอกเบี้ยเช่นนี้จะกดดันต่อภาคเศรษฐกิจในหลายส่วน ซึ่งสวนทางกับความต้องการของรัฐบาลที่อยากเห็นอัตราดอกเบี้ยในประเทศลดลง กำลังซื้อของคนในประเทศที่หดตัวลงอย่างรวดเร็ว หลังจากหมดมาตรการกระตุ้นอย่างรถยนต์คันแรก ภาคการส่งออกที่มีปัญหาทั้งจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้ายังไม่ฟื้นตัว หรือภาครัฐกลายเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่แทนเอกชน ทำให้ทุกอย่างเริ่มสะดุดลง
นอกจากนี้ดอกเบี้ยเงินกู้ที่ยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่ค่าครองชีพหลายตัวปรับสูงขึ้น จากค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ราคาก๊าซหุงต้มที่จะปรับขึ้น ทำให้ราคาสินค้าหลายรายการเพิ่มขึ้น ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เพราะไม่สามารถกระตุ้นกำลังซื้อของคนได้ อีกทั้งหลายรายยังมีปัญหาเรื่องของการขอสินเชื่อไม่ผ่านมากขึ้น
สอดคล้องกับการปรับประมาณการของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ หรือจีดีพี ของประเทศปี 2556 จาก 5.1% เหลือเพียง 4.2% พร้อมด้วยท่าทีที่ประเมินว่าอัตราดังกล่าวไม่ถือว่าต่ำเกินไปเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาคนี้ เท่ากับเป็นการปิดประตูของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งต่อๆ ไป
ทิศทางดอกเบี้ยตอนนี้คงต้องไปมองที่สหรัฐฯ ว่าจะมีท่าทีอย่างไร หากสหรัฐฯ เริ่มปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น อัตราดอกเบี้ยในประเทศไทยก็มีแนวโน้มที่จะปรับเพิ่มขึ้นตามสหรัฐฯ หากเป็นเช่นนั้นก็จะเป็นการซ้ำเติมเศรษฐกิจของประเทศมากยิ่งขึ้น
ก้าวเข้าสู่ครึ่งหลังของปี 2556 ธนาคารพาณิชย์ทั้งขนาดใหญ่ กลางและเล็ก ยังเดินหน้าระดมเงินฝากกันอย่างต่อเนื่องจากครึ่งแรกของปี แม้ว่าในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 2556 ธนาคารแห่งประเทศไทยจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก 2.75% ลงมาเหลือ 2.50% และคงไว้ในการประชุมเมื่อ 10 กรกฎาคมที่ผ่านมา
ก่อนหน้านี้รัฐบาลได้กดดันให้ธนาคารแห่งประเทศไทยปรับลดอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากเม็ดเงินต่างชาติไหลเข้ามาในภูมิภาคเอเชียจำนวนมาก ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างรวดเร็ว เพื่อสกัดกั้นค่าเงินบาทและช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศไทย อันเนื่องจากเศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัว
ครั้งนี้มีธนาคารขนาดใหญ่โดดล่าเงินฝากทั้งธนาคารกรุงไทย ที่เสนอผลิตภัณฑ์เงินฝาก 29 เดือน ดอกเบี้ย 3.5% ธนาคารกสิกรไทยออกเงินฝาก 14 เดือน ดอกเบี้ย 3.2% ธนาคารไทยพาณิชย์ ออกเงินฝาก 15 เดือน ดอกเบี้ย 3.1% ส่วนธนาคารขนาดกลางอย่างธนชาตออกบัญชีเงินฝาก 15 เดือน ดอกเบี้ย 3.3% และธนาคารออมสินออกบัญชีเงินฝากเผื่อเรียก ไม่เสียภาษี ดอกเบี้ย 2.85%
ขณะที่ก่อนหน้านี้มีธนาคารหลายแห่งที่ออกโปรโมชันเงินฝากและครอบคลุมมาถึงช่วงปัจจุบัน อย่างเช่น ธนาคารอาคารสงเคราะห์ มีบัญชีเงินฝากประจำ 8 เดือน ดอกเบี้ยทันใจ 3.25% หมดเขต 9 สิงหาคมนี้ หรือธนาคารซีไอเอ็มบีไทย มีเงินฝากประจำ 5 เดือน ดอกเบี้ย 3% และเงินฝากประจำ 3.25% หมดเขตสิ้นปี 2556
สินเชื่อยังโต
“การระดมเงินฝากนั้นถือว่าเป็นความต่อเนื่องจากช่วงต้นปี แม้ว่าสภาพคล่องในระบบจะไม่ตึงมากนัก แต่ก็ไม่ได้ล้นจนเกินไป อีกทั้งการดึงเงินกลับของเม็ดเงินต่างชาติแม้จะไม่มีผลโดยตรง แต่ก็ทำให้กระทบบ้างในส่วนของไทย รวมไปถึงภาครัฐที่เตรียมระดมเงินเพื่อสร้างโครงการของรัฐบาล ขณะที่สินเชื่ออื่นๆ ยังเติบโตได้ ดังนั้นธนาคารจึงต้องเร่งล็อกเงินฝากไว้ก่อน เห็นได้จากโปรดักต์หลายตัวจะเน้นไปที่เงินฝากระยะยาว”
แหล่งข่าวจากวงการธนาคารกล่าวเพิ่มเติมว่า ตอนนี้คงหมดยุคดอกเบี้ยต่ำแล้ว แต่อาจจะยังไม่ใช่ขาขึ้นที่ชัดเจน ทั้งนี้คงต้องรอดูท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐฯ ว่าจะตัดสินใจเรื่องอัตราดอกเบี้ยอย่างไร
สอดคล้องกับนักวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาคที่ประเมินว่า ในช่วงที่ต่างชาติถอนเม็ดเงินออกไป ทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรของไทยปรับเพิ่มขึ้น ตอนนี้ได้ปรับลดลงมาในระดับหนึ่งแล้ว อีกทั้งการชะลอเรื่องมาตรการคิวอีของสหรัฐฯ มีความเป็นไปได้ว่าสหรัฐฯเองอาจมีการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น นอกจากนี้ภาครัฐยังมีแผนที่จะระดมเงินออมอย่างโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท และโครงการเมกะโปรเจกต์อีก 2.2 ล้านล้านบาท
อีกทั้งสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศไทยยังไม่ถึงขั้นต้องลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้น แนวโน้มของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงจึงเป็นไปได้น้อย ดังนั้นแบงก์พาณิชย์จึงต้องพยายามล็อกเงินฝากระยะยาวไว้ก่อน
นอกจากนี้ยังมีองค์ประกอบอื่นที่อาจจะทำให้สภาพคล่องเกิดการตึงตัวได้แม้จะไม่มากก็ตาม นั่นคือ ปัญหาที่เกิดขึ้นกับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น เพราะขณะนี้การระดมเงินผ่านสหกรณ์หลายแห่งเริ่มให้อัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าธนาคารพาณิชย์ ไม่ว่าจะเป็นการระดมเงินเพื่อประคองสถานการณ์หรือต้องการระดมเงินจริง ทำให้บางแห่งให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 4-5%
คนเมินพันธบัตร
ฝ่ายพันธบัตร ธนาครแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ยอมรับว่าธนาคารพาณิชย์หลายแห่งเสนออัตราดอกเบี้ย 3.5% เท่ากับพันธบัตรรัฐบาลอายุ 3 ปี ที่เปิดขายตั้งแต่ 9 พฤษภาคมที่ผ่านมาด้วยวงเงิน 4 พันล้านบาท ขณะนี้ยังจำหน่ายได้ไม่หมด แตกต่างจากความนิยมในพันธบัตรรัฐบาลที่ผ่านมา ที่ขายได้หมดในเวลารวดเร็ว
ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากประชาชนมีทางเลือกในการออมมากขึ้น ทั้งจากประกันชีวิต กองทุนรวม หรือแม้กระทั่งโปรโมชันของธนาคารพาณิชย์ อย่างเช่น เงินฝาก 29 เดือนของธนาคารกรุงไทย ที่ให้ดอกเบี้ยเท่ากับพันธบัตรชุดนี้ ระยะเวลาฝากสั้นกว่าและมีความคล่องตัวมากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับพันธบัตรที่ยังเหลืออยู่ที่จะหมดเขตการจำหน่ายในวันที่ 13 กันยายนนี้ คนที่จะซื้อพันธบัตรในช่วงนี้อาจจะได้ผลตอบแทนตามจำนวนเดือนที่ซื้อ เช่น ซื้อเดือนกรกฎาคม ดอกเบี้ยงวดแรกก็จะคิดให้ 4 เดือน งวดที่เหลือจะคิดตามปกติ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้คนเริ่มให้ความสนใจพันธบัตรน้อยลง
นี่คือสิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับรัฐบาล เพราะประชาชนมีทางเลือกในการออมมากขึ้นกว่าเดิม ธนาคารพาณิชย์เริ่มให้อัตราดอกเบี้ยเทียบเท่าพันธบัตรรัฐบาลหรือบางแห่งให้สูงกว่า อีกทั้งยังมีกฎหมายการคุ้มครองเงินฝากที่ 50 ล้านบาท หากพันธบัตรรุ่นต่อไปของรัฐใช้หลักเกณฑ์ดอกเบี้ยในตลาดแล้วบวก 15% สำหรับการหักภาษีแล้ว เชื่อว่าคงได้รับความสนใจจากประชาชนน้อย และจะกลายเป็นปัญหาสำหรับการระดมทุนของรัฐบาลที่จะนำไปใช้ในโครงการต่างๆ
เศรษฐกิจโตฝืด
นักเศรษฐศาสตร์มองปรากฏการณ์ของการเร่งระดมเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ในเวลานี้ว่า การชูดอกเบี้ยเงินฝากสูงก็เท่ากับโอกาสที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะลดลงก็ยากตามไปด้วย นั่นหมายถึงคนที่มีภาระผ่อนชำระระยะยาวอย่างเช่นบ้าน คงต้องรับภาระเดิมต่อไป ขณะที่ค่าครองชีพได้ปรับขึ้นจากนโยบายของรัฐบาล อาจจะทำให้บางรายมีปัญหาเรื่องความสามารถในการผ่อนชำระครั้งต่อไป
ด้วยสภาพของอัตราดอกเบี้ยเช่นนี้จะกดดันต่อภาคเศรษฐกิจในหลายส่วน ซึ่งสวนทางกับความต้องการของรัฐบาลที่อยากเห็นอัตราดอกเบี้ยในประเทศลดลง กำลังซื้อของคนในประเทศที่หดตัวลงอย่างรวดเร็ว หลังจากหมดมาตรการกระตุ้นอย่างรถยนต์คันแรก ภาคการส่งออกที่มีปัญหาทั้งจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้ายังไม่ฟื้นตัว หรือภาครัฐกลายเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่แทนเอกชน ทำให้ทุกอย่างเริ่มสะดุดลง
นอกจากนี้ดอกเบี้ยเงินกู้ที่ยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่ค่าครองชีพหลายตัวปรับสูงขึ้น จากค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ราคาก๊าซหุงต้มที่จะปรับขึ้น ทำให้ราคาสินค้าหลายรายการเพิ่มขึ้น ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เพราะไม่สามารถกระตุ้นกำลังซื้อของคนได้ อีกทั้งหลายรายยังมีปัญหาเรื่องของการขอสินเชื่อไม่ผ่านมากขึ้น
สอดคล้องกับการปรับประมาณการของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ หรือจีดีพี ของประเทศปี 2556 จาก 5.1% เหลือเพียง 4.2% พร้อมด้วยท่าทีที่ประเมินว่าอัตราดังกล่าวไม่ถือว่าต่ำเกินไปเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาคนี้ เท่ากับเป็นการปิดประตูของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งต่อๆ ไป
ทิศทางดอกเบี้ยตอนนี้คงต้องไปมองที่สหรัฐฯ ว่าจะมีท่าทีอย่างไร หากสหรัฐฯ เริ่มปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น อัตราดอกเบี้ยในประเทศไทยก็มีแนวโน้มที่จะปรับเพิ่มขึ้นตามสหรัฐฯ หากเป็นเช่นนั้นก็จะเป็นการซ้ำเติมเศรษฐกิจของประเทศมากยิ่งขึ้น