การยกระดับปัญหา 3 ชายแดนภาคใต้ขึ้นสู่โต๊ะเจรจาสันติภาพกับกลุ่มบีอาร์เอ็นของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ กำลังนำไปสู่การเจรจาข้อต่อรองแบ่งแยกดินแดนจัดตั้ง "รัฐปัตตานี" เพราะนั่นคือเป้าหมายสูงสุดของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบนับเนื่องมาแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน
ในการตอบคำถามผู้สื่อข่าวของ พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) บอกว่า การหารือกับกลุ่มบีอาร์เอ็นในวันที่ 28 มีนาคมนี้ ยังไปไม่ถึงข้อเสนอเรื่องรัฐปัตตานี เป็นเพียงการประเมินว่าฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบอาจหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาพูดคุย เมื่อกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบยื่นข้อเสนอมา หน่วยงานความมั่นคงต้องหารือก่อนและส่งให้ทางรัฐสภาพิจารณาต่อไป
แต่เท่านั้นก็เพียงพอและถือเป็นชัยชนะเบื้องต้นของผู้ก่อความไม่สงบแล้ว เพราะก่อนหน้านี้ข้อเรียกร้องเรื่อง "รัฐปัตตานี" ไม่เคยได้รับการหยิบยกขึ้นมาเจรจาอย่างเป็นทางการระหว่าง "รัฐไทย" กับผู้ก่อความไม่สงบที่ต้องการสถาปนา "รัฐปัตตานี" แต่อย่างใด
นี่จึงเป็นเหตุผลว่า เหตุใด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. จึงไม่เห็นด้วยกับการเจรจาสันติภาพกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะรู้ว่าถึงที่สุดแล้วการเจรจาจะนำพาไปสู่เรื่องใดและจะสร้างความยุ่งยากให้กับรัฐไทยเพียงใด เพราะการเปิดเจรจาเท่ากับการยกระดับปัญหาและดึงต่างประเทศเข้ามาเกี่ยวข้อง ขณะที่ที่ฝ่ายทหารยังเชื่อว่า หากลดเงื่อนไขความขัดแย้งลงได้ปัญหาก็น่าจะบรรเทาลงไป เหมือนกับเหตุการณ์ความไม่สงบที่เคยเกิดขึ้นเป็นระลอกๆ ในดินแดนปลายด้ามขวานแห่งนี้
ถึงแม้เรื่องนี้ว่า เลขาธิการสมช. จะยืนยันว่า จุดยืนของรัฐบาลไทยต่อข้อเสนอเรื่องรัฐปัตตานี จะยึดรัฐธรรมนูญเป็นหลักคือราชอาณาจักรไทยถือเป็นหนึ่งเดียวจะแบ่งแยกมิได้ก็ตาม แต่รัฐบาลไทยในยุคที่มีผู้นำประเทศชื่อนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่จะสร้างเรื่องให้เกิดความยุ่งยาก ยกระดับปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้กลายเป็นเรื่องระหว่างประเทศโดยมีมาเลเซียเป็นตัวกลางในการเจรจา และ พ.ต.ท.ทักษิณ ยังจะดึงอินโดนีเซียเข้ามาอีก เพราะเชื่อว่าประเทศทั้งสองเป็นแหล่งพำนักและแหล่งกบดานของแกนนำกลุ่มก่อความไม่สงบ
และเมื่อถึงขั้นนี้ ก็มีความเป็นไปได้ที่องค์กรระหว่างประเทศต่างๆ จะเข้ามาร่วมสังเกตการณ์ หรือแสดงบทบาทเข้ามาเป็นตัวกลางเจรจาเพิ่มอำนาจต่อรองให้ฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบมากขึ้นไปอีก
ขณะที่การพูดคุยในฝั่งรัฐไทยนั้น ไปไกลที่สุดก็เพียงเรื่องการจัดตั้งเขตปกครองพิเศษในรูปของ "นครปัตตานี" หรือ "มหานครปัตตานี" ซึ่งมีข้อเสนออยู่หลากหลายรูปแบบ แต่นาทีนี้ไม่ว่าจะเป็นการผลักดันจัดตั้ง "นครปัตตานี" หรือ "มหานครปัตตานี" ก็ย่อมเกี่ยวโยงและได้แรงหนุนเนื่องจากข้อเรียกร้องสุดโต่ง "รัฐปัตตานี" ของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบด้วยไม่มากก็น้อย
อะไรที่แรงผลักดันให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ เล่นกับไฟใต้โดยไม่กลัวว่าจะแผดเผาตัวเอง เบื้องหลังเรื่องนี้ นายถาวร เสนเนียม รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ออกมาแฉว่า ความเป็นมาเกิดจากการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้มอบหมายให้ พล.ท.ภราดร, พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก รองปลัดกระทรวงกลาโหม และพล.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ไปประสานล่วงหน้ากับทางการมาเลเซีย จากนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ จึงได้ประสานงานมายัง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ผู้เป็นน้องสาวให้เปิดไฟเขียวในเรื่องนี้ ซึ่งนายกฯ ก็ตอบตกลงทำตามคำสั่งพี่ชาย โดยการเดินทางไปมาเลเซียเพื่อพบปะผู้นำ ขณะที่หน่วยงานราชการไทยอย่างน้อย 2 หน่วยงานได้คัดค้านอย่างเต็มที่ที่ตนทราบคือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. และนายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ได้คัดค้านอย่างแข็งขันแต่ไม่สำเร็จ โดยระบุเหตุผลชัดเจนว่าเป็นการยกระดับ และเป็นการเปิดช่องให้มีการแทรกแซงรัฐไทย
นายถาวรกล่าวต่อว่า สิ่งที่ชัดเจนยิ่งขึ้นคือเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2556พล.ท.ภารดรได้ตอบคำถามสื่อชัดแล้วว่าที่สุดแล้วต้องมาคุยถึงเขตปกครองพิเศษ และในการพูดคุยในครั้งหน้าจะมีการพูดคุยเรื่องทรัพยากรในพื้นที่คือแก๊สและน้ำมันที่มีมาก ซึ่งมีอีกหลายหลุมที่อยู่ในพื้นที่ทับซ้อนไทย-มาเลเซีย ดังนั้นการที่ พ.ต.ท.ทักษิณไปเจรจาในครั้งนี้ล้วนทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัวและทางการเมืองของสองฝ่าย ในลักษณะทำนองเดียวกับที่เคยเอื้อประโยชน์ให้กับกัมพูชาในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลฝั่งอ่าวไทยกับผู้นำกัมพูชา ครั้งนี้ก็เอื้อประโยชน์ให้นายนาจิบ ราซัค ผู้นำมาเลเซียที่จะลงสมัครรับเลือกตั้ง เพราะพื้นที่ภาคเหนือของมาเลเซียนั้นพรรคอัมโนของนายราจิบไม่ได้รับความนิยม แต่หากมีการเจรจาแบ่งปันผลประโยชน์ก็จะได้รับความนิยม ที่สำคัญก็จะเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มทุนธุรกิจของ พ.ต.ท.ทักษิณเช่นเดียวกัน
“ผมเป็นห่วงว่า พ.ต.ท.ทักษิณ เคยตัดสินใจผิดพลาดโดยใช้นโยบายกำปั้นเหล็กจัดการกับโจรกระจอก ตอนนี้เกือบ 10 ปียังไม่จบ ครั้งนี้ก็จะผิดพลาดซ้ำในการตั้งเขตปกครองพิเศษตามที่พรรคเพื่อไทยเคยเสนอในนโยบายหาเสียงเมื่อปี 54 ผ่านนักการเมืองในพื้นที่ว่าจะสนับสนุนการตั้งนครรัฐปัตตานีให้ปกครองตัวเอง” รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เปิดประเด็น และเป็นเหตุให้พลพรรคเพื่อไทยและสาวกนายใหญ่ ดิ้นพล่านพากันออกมาโต้กลับ แก้ตัวกันวุ่นวาย
นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมายของพ.ต.ท.ทักษิณ ออกมาสวนด้วยมุขเดิมๆ ว่า สิ่งที่นายถาวร กล่าวหาพ.ต.ท.ทักษิณ สั่งให้เดินหน้ามหานครรัฐปัตตานี เพื่อหวังประโยชน์ในบ่อน้ำมันและแก๊สในอ่าวไทยเป็นเรื่องเท็จและเหลวไหลทั้งสิ้น สร้างวาทกรรมให้คนกลัวแนวคิดนี้ เพื่อหวังผลทางการเมืองและโยนให้เป็นความคิดของพ.ต.ท.ทักษิณ
นายนพดล จะพูดเพื่อให้นายใหญ่ยังดูดีอย่างไรก็ได้ แต่เรื่องราวทั้งหลายที่ถูกยกขึ้นมาเป็นข้อสังเกต หาก "ไม่มีมูลหมาไม่ขี้" ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพลังงานในพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา ที่ปรากฏหลักฐานให้เห็นว่านายใหญ่ของนายนพดล เกี่ยวข้องอย่างไร และเรื่องการเจรจากับกลุ่มบีอาร์เอ็น ซึ่งจะนำไปสู่การเจรจาการจัดตั้งรัฐปัตตานีของผู้ก่อความไม่สงบ หรือการจัดตั้งมหานครปัตตานี หรือนครปัตตานีของพรรคเพื่อไทย ก็มีความเป็นไปได้ที่จะตกลงเงื่อนไขแบ่งปันผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯ ได้ตั้งประเด็นข้อสังเกตเอาไว้ล่วงหน้า
หากไม่นับข้อเรียกร้อง "รัฐปัตตานี" ของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบแล้ว ในส่วนข้อเสนอรูปแบบการปกครองเฉพาะของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถือว่ามีมาอย่างต่อเนื่อง นับจากข้อเรียกร้อง 7 ประการของฮัจญีสุหลง อับดุลกอเดร์ โต๊ะมีนา ผู้นำศาสนาคนสำคัญของปัตตานี เมื่อ 60 ปีก่อน และหลังจากเหตุการณ์ความไม่สงบปะทุขึ้น เมื่อปี 2547 พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี ขณะนั้น ได้เสนอรูปแบบการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ "นครปัตตานี" หนึ่งในยุทธศาสตร์ดอกไม้หลากสี ต่อหน้าประชาชน ณ มัสยิดกรือเซะและวัดช้างไห้ เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2547 เพื่อเป็นแนวทางดับไฟใต้
ล่าสุด เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2556 นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊กว่า "แม้จะยังไม่ลงตัว แต่มีความเป็นไปได้สูงว่า พล.อ.ชวลิต จะกลับมาเป็นรองนายกฯ ในวัย 81 เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ดอกไม้หลากสี มหานครปัตตานี ให้เป็นจริง แรงหนุนส่วนหนึ่งเชื่อว่ามาจากแกนนำ BRN ที่เข้าร่วมกระบวนการพูดคุยสันติภาพ"
นอกจากนั้น ยังมีข้อเสนอแนวทางปรับโครงสร้างการบริหารปกครองส่วนท้องถิ่นเป็น “มณฑลเทศาภิบาล” ที่ นพ.ประเวศ วะสี เสนอต่อรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ แม้แต่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในปี 2551 ก็เคยเสนอแนวทางการจัดตั้งเขตปกครองพิเศษเช่นกัน
แต่ที่ประกาศตัวชัดเจนที่สุดของพรรคเพื่อไทยก็คือ เมื่อคราวเลือกตั้งใหญ่เมื่อปี 2554 พรรคเพื่อไทย ขึ้นป้ายใหญ่ทั่วเมืองชูนโยบาย "นครปัตตานี" โดยช่วงเวลานั้น นายอีรฟาน สุหลง ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย แถลงว่า "ประเด็นนโยบายมหานครปัตตานีนั้น แม้จะยาก แต่เราจะพยายามทำ โดยรวม 3 จังหวัด (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) เป็นนครปัตตานี โดยจะมีรูปแบบของการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 3 จังหวัด เปรียบเสมือนองค์การบริหารส่วนตำบลใหญ่ แต่องค์กรปกครองท้องถิ่นเดิม คือ อบต. อบจ.และเทศบาล ยังอยู่เหมือนเดิม"
ล่าสุด นายถาวร เสนเนียม ออกมาแฉกรณีที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) จัดทำร่างพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) จัดตั้งสถาบันส่งเสริมการฟื้นฟูชุมชนท้องถิ่นและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (องค์กรมหาชน) พ.ศ. ... ที่จะบังคับใช้ในจังหวัดนราธิวาส ยะลา ปัตตานี สตูล และสงขลา ในบางพื้นที่ว่า ไปสอดคล้องกับแนวคิดนครรัฐปัตตานีที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี อยู่เบื้องหลัง
"ถ้าเมื่อไรที่พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) พล.อ.นิพัฒน์ ทองเล็ก รองปลัดกระทรวงกลาโหม และพ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศอ.บต. รับงานมาจากพ.ต.ท.ทักษิณ ก็ต้องกลับไปถามประชาชนทั้ง 65 ล้านคนก่อนว่า การจัดตั้งเขตปกครองพิเศษนครรัฐปัตตานี ประชาชนเห็นด้วยหรือไม่ หรือนี่เป็นเพียงการไถ่บาปของคนที่ชื่อพ.ต.ท.ทักษิณ” นายถาวรกล่าว
ข้อเสนอการปกครองรูปแบบพิเศษ ยังมีความเคลื่อนไหวในภาคส่วนประชาสังคมที่ได้รับการสนับสนุนทางวิชาการจากสถาบันต่างๆ จัดเวทีรับฟังความเห็นของประชาชนกลุ่มต่างๆ และผลักดันออกมาเป็น "ปัตตานีมหานคร" ผ่านรายงานการวิจัยและร่างพระราชบัญญัติ
นพ.พลเดช ปิ่นประทีป ประธานคณะกรรมการจัดงานสมัชชาปฏิรูปเฉพาะประเด็น 3 จังหวัดชายแดนใต้ ได้สรุปข้อเสนอรูปแบบการกระจายอำนาจเพื่อแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้จากเวทีรับฟังความเห็นในช่วงปี 2554 - 2555 และจะรับฟังความเห็นในภาคอื่นๆ ในปี 2556 นี้ ว่ามีอยู่ 6 รูปแบบ คือ 1.รูปแบบศอ.บต. 2.รูปแบบทบวงบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ 3.สามนครสองชั้น โดยผู้ว่ามาจากการเลือกตั้งโดยตรง ยกเลิกราชการส่วนภูมิภาค ยกฐานะองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) คงเทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ไว้
4.สามนครหนึ่งชั้น โดยผู้ว่ามาจากการเลือกตั้งโดยตรง ยกเลิกราชการส่วนภูมิภาค เลิกเทศบาลและ อบต. 5. มหานครสองชั้น โดยรวมปัตตานี ยะลา นราธิวาสเข้าด้วยกัน มีผู้ว่ามาจากการเลือกตั้งโดยตรง ยกเลิกราชการส่วนภูมิภาค แต่คง อบจ. เทศบาล อบต.ไว้ และ 6.มหานครหนึ่งชั้น โดยรวมปัตตานี ยะลา นราธิวาสเข้าด้วยกัน มีผู้ว่ามาจากการเลือกตั้งโดยตรง ยกเลิกราชการส่วนภูมิภาค อบจ. เทศบาล และอบต.
ภาคประชาสังคม ยืนยันที่จะเดินหน้าผลักดันการปกครองรูปแบบพิเศษเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบภาคใต้ ถึงแม้ว่าฝ่ายทหาร โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบกและนักการเมืองบางส่วนแสดงความไม่เห็นด้วย โดยเชื่อว่าพื้นที่เริ่มมีอำนาจต่อรองสูงขึ้น
ขณะที่การเปิดโต๊ะเจรจายังมีข้อกังขาว่า รัฐบาลยิ่งลักษณ์ไปคุยถูกคนหรือไม่ ตัวจริงหรือตัวปลอม ทั้งยังมีอีกหลากหลายกลุ่มต้องการเข้ามาร่วมเจรจานั้นจะสามารถนำความสงบสุขมาสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้จริงหรือไม่ เพราะถึงเวลานี้เสียงปืนและเสียงระเบิดยังไม่เงียบลงแต่อย่างใด
ในส่วนความเห็นของฝ่ายรัฐไทยก็ยังไปกันคนละทิศละทาง แม้แต่ความเข้าใจในสาระสำคัญของเรื่อง "รัฐปัตตานี" "มหานครปัตตานี" หรือ "นครปัตตานี" และยังมี "นครรัฐปัตตานี" อีกด้วย
ไม่นับความไม่ไว้วางใจในผู้ที่อยู่เบื้องหลังของการเปิดเวทีเจรจาครั้งนี้ คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่มีคำถามว่า เปิดช่องเพิ่มอำนาจต่อรองให้ผู้ก่อความไม่สงบ เพื่อหวังแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นหลังการเจรจาหรือไม่?
ดูท่าว่า การเจรจาคราวนี้สุดท้ายก็อาจเป็นปาหี่ที่ถูกจับได้ไล่ทัน ขัดแย้งกันเองทั้งสองฝ่าย จนต้องกลับไปตั้งหลักกันใหม่อีกเป็นแน่
ในการตอบคำถามผู้สื่อข่าวของ พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) บอกว่า การหารือกับกลุ่มบีอาร์เอ็นในวันที่ 28 มีนาคมนี้ ยังไปไม่ถึงข้อเสนอเรื่องรัฐปัตตานี เป็นเพียงการประเมินว่าฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบอาจหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาพูดคุย เมื่อกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบยื่นข้อเสนอมา หน่วยงานความมั่นคงต้องหารือก่อนและส่งให้ทางรัฐสภาพิจารณาต่อไป
แต่เท่านั้นก็เพียงพอและถือเป็นชัยชนะเบื้องต้นของผู้ก่อความไม่สงบแล้ว เพราะก่อนหน้านี้ข้อเรียกร้องเรื่อง "รัฐปัตตานี" ไม่เคยได้รับการหยิบยกขึ้นมาเจรจาอย่างเป็นทางการระหว่าง "รัฐไทย" กับผู้ก่อความไม่สงบที่ต้องการสถาปนา "รัฐปัตตานี" แต่อย่างใด
นี่จึงเป็นเหตุผลว่า เหตุใด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. จึงไม่เห็นด้วยกับการเจรจาสันติภาพกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะรู้ว่าถึงที่สุดแล้วการเจรจาจะนำพาไปสู่เรื่องใดและจะสร้างความยุ่งยากให้กับรัฐไทยเพียงใด เพราะการเปิดเจรจาเท่ากับการยกระดับปัญหาและดึงต่างประเทศเข้ามาเกี่ยวข้อง ขณะที่ที่ฝ่ายทหารยังเชื่อว่า หากลดเงื่อนไขความขัดแย้งลงได้ปัญหาก็น่าจะบรรเทาลงไป เหมือนกับเหตุการณ์ความไม่สงบที่เคยเกิดขึ้นเป็นระลอกๆ ในดินแดนปลายด้ามขวานแห่งนี้
ถึงแม้เรื่องนี้ว่า เลขาธิการสมช. จะยืนยันว่า จุดยืนของรัฐบาลไทยต่อข้อเสนอเรื่องรัฐปัตตานี จะยึดรัฐธรรมนูญเป็นหลักคือราชอาณาจักรไทยถือเป็นหนึ่งเดียวจะแบ่งแยกมิได้ก็ตาม แต่รัฐบาลไทยในยุคที่มีผู้นำประเทศชื่อนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่จะสร้างเรื่องให้เกิดความยุ่งยาก ยกระดับปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้กลายเป็นเรื่องระหว่างประเทศโดยมีมาเลเซียเป็นตัวกลางในการเจรจา และ พ.ต.ท.ทักษิณ ยังจะดึงอินโดนีเซียเข้ามาอีก เพราะเชื่อว่าประเทศทั้งสองเป็นแหล่งพำนักและแหล่งกบดานของแกนนำกลุ่มก่อความไม่สงบ
และเมื่อถึงขั้นนี้ ก็มีความเป็นไปได้ที่องค์กรระหว่างประเทศต่างๆ จะเข้ามาร่วมสังเกตการณ์ หรือแสดงบทบาทเข้ามาเป็นตัวกลางเจรจาเพิ่มอำนาจต่อรองให้ฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบมากขึ้นไปอีก
ขณะที่การพูดคุยในฝั่งรัฐไทยนั้น ไปไกลที่สุดก็เพียงเรื่องการจัดตั้งเขตปกครองพิเศษในรูปของ "นครปัตตานี" หรือ "มหานครปัตตานี" ซึ่งมีข้อเสนออยู่หลากหลายรูปแบบ แต่นาทีนี้ไม่ว่าจะเป็นการผลักดันจัดตั้ง "นครปัตตานี" หรือ "มหานครปัตตานี" ก็ย่อมเกี่ยวโยงและได้แรงหนุนเนื่องจากข้อเรียกร้องสุดโต่ง "รัฐปัตตานี" ของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบด้วยไม่มากก็น้อย
อะไรที่แรงผลักดันให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ เล่นกับไฟใต้โดยไม่กลัวว่าจะแผดเผาตัวเอง เบื้องหลังเรื่องนี้ นายถาวร เสนเนียม รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ออกมาแฉว่า ความเป็นมาเกิดจากการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้มอบหมายให้ พล.ท.ภราดร, พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก รองปลัดกระทรวงกลาโหม และพล.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ไปประสานล่วงหน้ากับทางการมาเลเซีย จากนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ จึงได้ประสานงานมายัง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ผู้เป็นน้องสาวให้เปิดไฟเขียวในเรื่องนี้ ซึ่งนายกฯ ก็ตอบตกลงทำตามคำสั่งพี่ชาย โดยการเดินทางไปมาเลเซียเพื่อพบปะผู้นำ ขณะที่หน่วยงานราชการไทยอย่างน้อย 2 หน่วยงานได้คัดค้านอย่างเต็มที่ที่ตนทราบคือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. และนายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ได้คัดค้านอย่างแข็งขันแต่ไม่สำเร็จ โดยระบุเหตุผลชัดเจนว่าเป็นการยกระดับ และเป็นการเปิดช่องให้มีการแทรกแซงรัฐไทย
นายถาวรกล่าวต่อว่า สิ่งที่ชัดเจนยิ่งขึ้นคือเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2556พล.ท.ภารดรได้ตอบคำถามสื่อชัดแล้วว่าที่สุดแล้วต้องมาคุยถึงเขตปกครองพิเศษ และในการพูดคุยในครั้งหน้าจะมีการพูดคุยเรื่องทรัพยากรในพื้นที่คือแก๊สและน้ำมันที่มีมาก ซึ่งมีอีกหลายหลุมที่อยู่ในพื้นที่ทับซ้อนไทย-มาเลเซีย ดังนั้นการที่ พ.ต.ท.ทักษิณไปเจรจาในครั้งนี้ล้วนทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัวและทางการเมืองของสองฝ่าย ในลักษณะทำนองเดียวกับที่เคยเอื้อประโยชน์ให้กับกัมพูชาในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลฝั่งอ่าวไทยกับผู้นำกัมพูชา ครั้งนี้ก็เอื้อประโยชน์ให้นายนาจิบ ราซัค ผู้นำมาเลเซียที่จะลงสมัครรับเลือกตั้ง เพราะพื้นที่ภาคเหนือของมาเลเซียนั้นพรรคอัมโนของนายราจิบไม่ได้รับความนิยม แต่หากมีการเจรจาแบ่งปันผลประโยชน์ก็จะได้รับความนิยม ที่สำคัญก็จะเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มทุนธุรกิจของ พ.ต.ท.ทักษิณเช่นเดียวกัน
“ผมเป็นห่วงว่า พ.ต.ท.ทักษิณ เคยตัดสินใจผิดพลาดโดยใช้นโยบายกำปั้นเหล็กจัดการกับโจรกระจอก ตอนนี้เกือบ 10 ปียังไม่จบ ครั้งนี้ก็จะผิดพลาดซ้ำในการตั้งเขตปกครองพิเศษตามที่พรรคเพื่อไทยเคยเสนอในนโยบายหาเสียงเมื่อปี 54 ผ่านนักการเมืองในพื้นที่ว่าจะสนับสนุนการตั้งนครรัฐปัตตานีให้ปกครองตัวเอง” รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เปิดประเด็น และเป็นเหตุให้พลพรรคเพื่อไทยและสาวกนายใหญ่ ดิ้นพล่านพากันออกมาโต้กลับ แก้ตัวกันวุ่นวาย
นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมายของพ.ต.ท.ทักษิณ ออกมาสวนด้วยมุขเดิมๆ ว่า สิ่งที่นายถาวร กล่าวหาพ.ต.ท.ทักษิณ สั่งให้เดินหน้ามหานครรัฐปัตตานี เพื่อหวังประโยชน์ในบ่อน้ำมันและแก๊สในอ่าวไทยเป็นเรื่องเท็จและเหลวไหลทั้งสิ้น สร้างวาทกรรมให้คนกลัวแนวคิดนี้ เพื่อหวังผลทางการเมืองและโยนให้เป็นความคิดของพ.ต.ท.ทักษิณ
นายนพดล จะพูดเพื่อให้นายใหญ่ยังดูดีอย่างไรก็ได้ แต่เรื่องราวทั้งหลายที่ถูกยกขึ้นมาเป็นข้อสังเกต หาก "ไม่มีมูลหมาไม่ขี้" ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพลังงานในพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา ที่ปรากฏหลักฐานให้เห็นว่านายใหญ่ของนายนพดล เกี่ยวข้องอย่างไร และเรื่องการเจรจากับกลุ่มบีอาร์เอ็น ซึ่งจะนำไปสู่การเจรจาการจัดตั้งรัฐปัตตานีของผู้ก่อความไม่สงบ หรือการจัดตั้งมหานครปัตตานี หรือนครปัตตานีของพรรคเพื่อไทย ก็มีความเป็นไปได้ที่จะตกลงเงื่อนไขแบ่งปันผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯ ได้ตั้งประเด็นข้อสังเกตเอาไว้ล่วงหน้า
หากไม่นับข้อเรียกร้อง "รัฐปัตตานี" ของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบแล้ว ในส่วนข้อเสนอรูปแบบการปกครองเฉพาะของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถือว่ามีมาอย่างต่อเนื่อง นับจากข้อเรียกร้อง 7 ประการของฮัจญีสุหลง อับดุลกอเดร์ โต๊ะมีนา ผู้นำศาสนาคนสำคัญของปัตตานี เมื่อ 60 ปีก่อน และหลังจากเหตุการณ์ความไม่สงบปะทุขึ้น เมื่อปี 2547 พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี ขณะนั้น ได้เสนอรูปแบบการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ "นครปัตตานี" หนึ่งในยุทธศาสตร์ดอกไม้หลากสี ต่อหน้าประชาชน ณ มัสยิดกรือเซะและวัดช้างไห้ เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2547 เพื่อเป็นแนวทางดับไฟใต้
ล่าสุด เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2556 นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊กว่า "แม้จะยังไม่ลงตัว แต่มีความเป็นไปได้สูงว่า พล.อ.ชวลิต จะกลับมาเป็นรองนายกฯ ในวัย 81 เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ดอกไม้หลากสี มหานครปัตตานี ให้เป็นจริง แรงหนุนส่วนหนึ่งเชื่อว่ามาจากแกนนำ BRN ที่เข้าร่วมกระบวนการพูดคุยสันติภาพ"
นอกจากนั้น ยังมีข้อเสนอแนวทางปรับโครงสร้างการบริหารปกครองส่วนท้องถิ่นเป็น “มณฑลเทศาภิบาล” ที่ นพ.ประเวศ วะสี เสนอต่อรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ แม้แต่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในปี 2551 ก็เคยเสนอแนวทางการจัดตั้งเขตปกครองพิเศษเช่นกัน
แต่ที่ประกาศตัวชัดเจนที่สุดของพรรคเพื่อไทยก็คือ เมื่อคราวเลือกตั้งใหญ่เมื่อปี 2554 พรรคเพื่อไทย ขึ้นป้ายใหญ่ทั่วเมืองชูนโยบาย "นครปัตตานี" โดยช่วงเวลานั้น นายอีรฟาน สุหลง ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย แถลงว่า "ประเด็นนโยบายมหานครปัตตานีนั้น แม้จะยาก แต่เราจะพยายามทำ โดยรวม 3 จังหวัด (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) เป็นนครปัตตานี โดยจะมีรูปแบบของการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 3 จังหวัด เปรียบเสมือนองค์การบริหารส่วนตำบลใหญ่ แต่องค์กรปกครองท้องถิ่นเดิม คือ อบต. อบจ.และเทศบาล ยังอยู่เหมือนเดิม"
ล่าสุด นายถาวร เสนเนียม ออกมาแฉกรณีที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) จัดทำร่างพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) จัดตั้งสถาบันส่งเสริมการฟื้นฟูชุมชนท้องถิ่นและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (องค์กรมหาชน) พ.ศ. ... ที่จะบังคับใช้ในจังหวัดนราธิวาส ยะลา ปัตตานี สตูล และสงขลา ในบางพื้นที่ว่า ไปสอดคล้องกับแนวคิดนครรัฐปัตตานีที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี อยู่เบื้องหลัง
"ถ้าเมื่อไรที่พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) พล.อ.นิพัฒน์ ทองเล็ก รองปลัดกระทรวงกลาโหม และพ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศอ.บต. รับงานมาจากพ.ต.ท.ทักษิณ ก็ต้องกลับไปถามประชาชนทั้ง 65 ล้านคนก่อนว่า การจัดตั้งเขตปกครองพิเศษนครรัฐปัตตานี ประชาชนเห็นด้วยหรือไม่ หรือนี่เป็นเพียงการไถ่บาปของคนที่ชื่อพ.ต.ท.ทักษิณ” นายถาวรกล่าว
ข้อเสนอการปกครองรูปแบบพิเศษ ยังมีความเคลื่อนไหวในภาคส่วนประชาสังคมที่ได้รับการสนับสนุนทางวิชาการจากสถาบันต่างๆ จัดเวทีรับฟังความเห็นของประชาชนกลุ่มต่างๆ และผลักดันออกมาเป็น "ปัตตานีมหานคร" ผ่านรายงานการวิจัยและร่างพระราชบัญญัติ
นพ.พลเดช ปิ่นประทีป ประธานคณะกรรมการจัดงานสมัชชาปฏิรูปเฉพาะประเด็น 3 จังหวัดชายแดนใต้ ได้สรุปข้อเสนอรูปแบบการกระจายอำนาจเพื่อแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้จากเวทีรับฟังความเห็นในช่วงปี 2554 - 2555 และจะรับฟังความเห็นในภาคอื่นๆ ในปี 2556 นี้ ว่ามีอยู่ 6 รูปแบบ คือ 1.รูปแบบศอ.บต. 2.รูปแบบทบวงบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ 3.สามนครสองชั้น โดยผู้ว่ามาจากการเลือกตั้งโดยตรง ยกเลิกราชการส่วนภูมิภาค ยกฐานะองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) คงเทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ไว้
4.สามนครหนึ่งชั้น โดยผู้ว่ามาจากการเลือกตั้งโดยตรง ยกเลิกราชการส่วนภูมิภาค เลิกเทศบาลและ อบต. 5. มหานครสองชั้น โดยรวมปัตตานี ยะลา นราธิวาสเข้าด้วยกัน มีผู้ว่ามาจากการเลือกตั้งโดยตรง ยกเลิกราชการส่วนภูมิภาค แต่คง อบจ. เทศบาล อบต.ไว้ และ 6.มหานครหนึ่งชั้น โดยรวมปัตตานี ยะลา นราธิวาสเข้าด้วยกัน มีผู้ว่ามาจากการเลือกตั้งโดยตรง ยกเลิกราชการส่วนภูมิภาค อบจ. เทศบาล และอบต.
ภาคประชาสังคม ยืนยันที่จะเดินหน้าผลักดันการปกครองรูปแบบพิเศษเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบภาคใต้ ถึงแม้ว่าฝ่ายทหาร โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบกและนักการเมืองบางส่วนแสดงความไม่เห็นด้วย โดยเชื่อว่าพื้นที่เริ่มมีอำนาจต่อรองสูงขึ้น
ขณะที่การเปิดโต๊ะเจรจายังมีข้อกังขาว่า รัฐบาลยิ่งลักษณ์ไปคุยถูกคนหรือไม่ ตัวจริงหรือตัวปลอม ทั้งยังมีอีกหลากหลายกลุ่มต้องการเข้ามาร่วมเจรจานั้นจะสามารถนำความสงบสุขมาสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้จริงหรือไม่ เพราะถึงเวลานี้เสียงปืนและเสียงระเบิดยังไม่เงียบลงแต่อย่างใด
ในส่วนความเห็นของฝ่ายรัฐไทยก็ยังไปกันคนละทิศละทาง แม้แต่ความเข้าใจในสาระสำคัญของเรื่อง "รัฐปัตตานี" "มหานครปัตตานี" หรือ "นครปัตตานี" และยังมี "นครรัฐปัตตานี" อีกด้วย
ไม่นับความไม่ไว้วางใจในผู้ที่อยู่เบื้องหลังของการเปิดเวทีเจรจาครั้งนี้ คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่มีคำถามว่า เปิดช่องเพิ่มอำนาจต่อรองให้ผู้ก่อความไม่สงบ เพื่อหวังแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นหลังการเจรจาหรือไม่?
ดูท่าว่า การเจรจาคราวนี้สุดท้ายก็อาจเป็นปาหี่ที่ถูกจับได้ไล่ทัน ขัดแย้งกันเองทั้งสองฝ่าย จนต้องกลับไปตั้งหลักกันใหม่อีกเป็นแน่