xs
xsm
sm
md
lg

ถึงคราวอธิการ AIT รับกรรม ตั้งทีมสอบ “อาจารย์-นศ.” ถูกกลั่นแกล้ง!

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


วิกฤต AIT เริ่มคลาย Board of Trustees ฉีกคำสั่งอีรานดุสตั้งคณบดีเป็นรักษาการอธิการ เหตุผิดกฎ AIT พร้อมตั้ง ศ.ดร.วรศักดิ์ กนกนุกุลชัย รักษาการแทน เตรียมให้คณะกรรมการแสวงหาข้อเท็จจริงเข้าตรวจสอบให้ถูกต้อง เพื่อให้รัฐบาลยอมรับและดำเนินการลงสัตยาบรรณต่อไป อีกทั้งมีคำสั่งให้ 3 อาจารย์ที่ถูกกลั่นแกล้งกลับเข้าทำงานแล้ว ขณะที่ อีรานดุส เคราะห์ซ้ำกรรมซัด โดนสำนักงานแรงงานจังหวัดฟ้องดำเนินคดีฐานละเลยการทำตามกฎหมายแรงงานต่างด้าว

ความคืบหน้าปัญหาวิกฤต AIT (Asian Institute of Technology) หรือสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย หลังจากกระทรวงการต่างประเทศ ได้ตั้งคณะกรรมการแสวงหาข้อเท็จจริงเพื่อเข้าไปตรวจสอบข้อร้องเรียนทั้งจากคณาจารย์ ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน ที่ตั้งข้อสังเกตถึงความไม่โปร่งใสในการบริหารงานของอธิการบดี นายซาอิด อีรานดุส (Sahid Irandoust) และได้มีการสั่งพักงานอธิการบดี เพื่อเข้าไปสอบสวนปัญหาต่างๆ ใน AIT เป็นเวลา 1 เดือน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการแสวงหาข้อเท็จจริงนั้น

ล่าสุด ทางสถาบัน AIT ได้ตั้งศาสตราจารย์ ดร.วรศักดิ์ กนกนุกุลชัย ดำรงตำแหน่งรักษาการอธิการบดี แทนนายซาอิด อีรานดุส ชั่วคราวแล้ว และได้ทำการพิจารณากรณีอาจารย์ที่ได้ร้องเรียนกับกระทรวงต่างประเทศได้แก่  ม.ล.ฐนิสา ชุมพล, ศ.ดร.กาญจนา กาญจนสุต และ ศ.ดร.จายาน คูมาร์ เราเทรย์ ว่าถูกนายซาอิดใช้อำนาจไม่เป็นธรรมในการให้ออกจากงาน เพื่อหาข้อยุติที่เป็นธรรมในแต่ละกรณี ในบางกรณีมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวน เมื่อเสร็จสิ้นแล้วหากพบว่านายซาอิด อิรานดุสได้ทำการใช้อำนาจโดยมิชอบ อาจารย์ที่ถูกกลั่นแกล้งก็สามารถกลับไปทำงานได้ทันที

ทั้งนี้ เคราะห์ซ้ำกรรมซัด เมื่อนายซาอิด อีรานดุส เนื่องจากเป็นคนต่างชาตินั้น ไม่ได้ดำเนินการทำ work permit แต่ได้เข้าบริหารงาน AIT โดยใช้วีซ่านักท่องเที่ยวมาตลอด ตลอดจนไม่ได้สนับสนุนให้คนต่างชาติที่ทำงานใน AIT ทำ work permit ที่ถูกต้องตามกฎหมายแรงงานไทย ในพ.ร.บ.ทำงานคนต่างด้าว ขณะนี้ทางสำนักจัดหางานจังหวัดปทุมธานีได้แจ้งความ และทางตำรวจ สภ.คลองหลวงได้ออกหมายเรียกนายซาอิด อีรานดุส มารายงานตัวที่สถานีตำรวจภูธรคลองหลวงในวันที่ 18 ก.พ. เวลา 09.00 น.

โดยในช่วงเช้าวันที่ 18 ก.พ. ทางสถานีตำรวจคลองหลวงได้ให้ข้อมูลกับผู้สื่อข่าว “ทีม Special Scoop หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน” ว่า นายซาอิด อีรานดุส ได้รับทราบการแจ้งข้อหา และทำการสอบปากคำเบื้องต้นแล้ว ระหว่างนี้ทางตำรวจจะมีการรวบรวมข้อมูลข้อเท็จจริง และจะมีการนัดนายซาอิดมารับทราบข้อกล่าวหาอีกประมาณ 1 เดือนข้างหน้า จากนั้นจะส่งเรื่องให้อัยการพิจารณาว่าจะสั่งฟ้อง หรือไม่ฟ้อง ซึ่งอัยการจะพิจารณาจากข้อมูลหลักฐานที่ทางตำรวจรวบรวมมาทั้งหมด

ขณะที่ ศ.ดร.วรศักดิ์ กนกนุกุลชัย รักษาการอธิการบดี AIT เปิดเผยว่า สถานการณ์ความคืบหน้าของการแก้ปัญหาวิกฤตของ AIT ขณะนี้ก็มีการกลับมาใช้กฎบัตรเก่าเมื่อปี 2510 ซึ่งทำให้สามารถแก้ปัญหาการที่ ก.พ.ไม่รับรองปริญญาบัตรกับนักศึกษาที่จบการศึกษาในปี 2555 ที่ผ่านมาได้ และสภามหาวิทยาลัย หรือ Board of Trustees ได้ประชุมและจัดตั้งคณะกรรมการแสวงหาข้อเท็จจริงแล้ว เพื่อมาตรวจสอบข้อเท็จจริงที่คณาจารย์ได้ยื่นร้องเรียนว่าผู้บริหาร AIT หรืออธิการบดี อีรานดุส มีปัญหาการบริหารการปกครอง AITไม่โปร่งใส ขาดธรรมาภิบาล และมีท่าทีร่วมมือกับบริษัทเอกชนในการบริหารงาน AIT

ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนของการตั้งคณะกรรมการแสวงหาข้อเท็จจริง 6 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการด้านกฎหมาย, คณะกรรมการทางบัญชี, คณะกรรมการทางการทูต และมีคณะกรรมการต่างชาติ 3 คน ซึ่งตอนนี้ได้มาแล้ว 2 คนคือ อินโดนีเซีย, ปากีสถาน และกำลังหากรรมการที่มาจากทางยุโรปอีก 1 คน เมื่อได้กรรมการครบแล้ว ก็จะมีการเข้ามาดำเนินการหาข้อเท็จจริง โดย Board of Trustees ได้ขอให้อธิการอีรานดุส ลาพักงานตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ.ที่ผ่านมาแล้ว เพื่อให้เจ้าหน้าที่ให้ความสะดวกในการเข้ามาตรวจสอบข้อเท็จจริงของคณะกรรมการแสวงหาความจริง

โดยในตอนแรก ทางอธิการบดีได้ตั้งคณบดีฯ ขึ้นมาเป็นรักษาการอธิการบดีแทนนั้น ปรากฏว่าเป็นเรื่องที่ผิดกฎระเบียบของ AIT เนื่องจากต้องให้รองอธิการบดีเป็นผู้รักษาการแทนเท่านั้น ดังนั้น Board of Trustees จึงยกเลิกดังกล่าว และตั้งตนมาเป็นรักษาการอธิการบดีแทน ซึ่งคงจะเป็นในระยะสั้นๆ เท่านั้น

อย่างไรก็ดี เมื่อมาเป็นรักษาการอธิการบดีแล้ว จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อศึกษาระเบียบของ AIT ในการพิจารณาว่าคณาจารย์ที่ไม่เห็นด้วยกับความคิดของอธิการบดีอีรานดุส และถูกอธิการบดีอีรานดุสไม่ต่อสัญญา หรือยกเลิกสัญญานั้น เป็นการกลั่นแกล้ง หรือทำไม่ถูกตามกฎระเบียบของ AIT หรือไม่ ถ้าไม่ถูกต้อง ระหว่างที่ตนเป็นรักษาการอธิการบดีก็จะทำเรื่องทั้งหมดให้ถูกต้องตามกฎระเบียบ AIT

“ปัญหาของ AIT ตั้งแต่นี้จะแก้แบบลูบหน้าปะจมูกไม่ได้ ทุกอย่างต้องถูกต้องตามระเบียบ เพราะว่าต่อไปจะเกี่ยวข้องกับการลงสัตยาบรรณกฎบัตรใหม่ และเพื่อให้รัฐบาลเข้ามาสนับสนุนช่วยเหลือ AIT เหมือนเดิม ถ้ารัฐบาลไม่ช่วย AIT จากนี้ไป AIT จะลำบากในเรื่องของงบประมาณที่จะนำมาใช้ฟื้นฟู AIT และบริหารงานต่อไป”

ทั้งนี้ สุดท้ายแล้วเรื่องราวจะเป็นอย่างไร ต้องรอคณะกรรมการแสวงหาข้อเท็จจริงสรุปผล ถ้าอธิการบดีไม่ผิด ก็สามารถกลับมาทำงานได้ แต่ถ้ามีความผิดก็จะเป็นเรื่องที่ Board of Trustees ตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรต่อไป

สำหรับเรื่อง Work permit นั้น ขณะนี้ชัดเจนแล้วว่า ทางเจ้าหน้าที่ต่างประเทศทุกคนที่ทำงานใน AIT จะต้องทำ Work permit ให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ.แรงงานต่างด้าว พ.ศ. 2521 ซึ่งรัฐบาลโดยกระทรวงแรงงานก็ได้อะลุ้มอล่วยให้ผู้บริหารกับพนักงาน AITมาโดยตลอด เพราะเป็นสถาบันการศึกษา ซึ่งจากนี้ไปจะต้องมีการดำเนินการเพื่อให้เจ้าหน้าที่ต่างชาติใน AIT กว่า 200 คน ได้ทำเอกสาร Work permit ให้ถูกต้องตามกฎหมายไทย เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศไทยด้วย ซึ่งเจ้าหน้าที่ชาวต่างประเทศใน AIT ไม่ต้องกังวลว่าจะถูกจับดำเนินคดี แต่ให้รอการประสานงานจัดทำเอกสาร Work permit ต่อไป

ส่วนปัญหาของอธิการบดีอีรานดุสนั้น เป็นเพราะมีการร้องเรียน และมีการพิจารณาแล้วว่าผิดกฎหมาย ทางสำนักงานแรงงานจังหวัดปทุมธานีจึงขอให้ส่งรายชื่อคณะทำงานคนต่างชาติทั้งหมด เพื่อดำเนินการทำ Work permit แต่อธิการอีรานดุสไม่ได้ทำตาม ดังนั้นจึงมีการฟ้องร้องดังกล่าว ซึ่งเรื่องนี้เป็นการร้องเรียนเกี่ยวกับความผิดของทางผู้บริหาร ก็ต้องรอการสอบสวนของทางเจ้าหน้าที่ว่าจะมีการตัดสินอย่างไร
ตัวแทนศิษย์ปัจจุบันยื่นหนังสือร้องเรียนกับกระทรวงการต่างประเทศ
ขณะที่ ศ.ดร.วรศักดิ์ กนกนุกุลชัย รักษาการอธิการบดี AIT เปิดเผยว่า สถานการณ์ความคืบหน้าของการแก้ปัญหาวิกฤตของ AIT ขณะนี้ก็มีการกลับมาใช้กฎบัตรเก่าเมื่อปี 2510 ซึ่งทำให้สามารถแก้ปัญหาการที่ ก.พ.ไม่รับรองปริญญาบัตรกับนักศึกษาที่จบการศึกษาในปี 2555 ที่ผ่านมาได้ และสภามหาวิทยาลัย หรือ Board of Trustees ได้ประชุมและจัดตั้งคณะกรรมการแสวงหาข้อเท็จจริงแล้ว เพื่อมาตรวจสอบข้อเท็จจริงที่คณาจารย์ได้ยื่นร้องเรียนว่าผู้บริหาร AIT หรืออธิการบดี อีรานดุส มีปัญหาการบริหารการปกครอง AITไม่โปร่งใส ขาดธรรมาภิบาล และมีท่าทีร่วมมือกับบริษัทเอกชนในการบริหารงาน AIT

ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนของการตั้งคณะกรรมการแสวงหาข้อเท็จจริง 6 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการด้านกฎหมาย, คณะกรรมการทางบัญชี, คณะกรรมการทางการทูต และมีคณะกรรมการต่างชาติ 3 คน ซึ่งตอนนี้ได้มาแล้ว 2 คนคือ อินโดนีเซีย, ปากีสถาน และกำลังหากรรมการที่มาจากทางยุโรปอีก 1 คน เมื่อได้กรรมการครบแล้ว ก็จะมีการเข้ามาดำเนินการหาข้อเท็จจริง โดย Board of Trustees ได้ขอให้อธิการอีรานดุส ลาพักงานตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ.ที่ผ่านมาแล้ว เพื่อให้เจ้าหน้าที่ให้ความสะดวกในการเข้ามาตรวจสอบข้อเท็จจริงของคณะกรรมการแสวงหาความจริง

โดยในตอนแรก ทางอธิการบดีได้ตั้งคณบดีฯ ขึ้นมาเป็นรักษาการอธิการบดีแทนนั้น ปรากฏว่าเป็นเรื่องที่ผิดกฎระเบียบของ AIT เนื่องจากต้องให้รองอธิการบดีเป็นผู้รักษาการแทนเท่านั้น ดังนั้น Board of Trustees จึงยกเลิกดังกล่าว และตั้งตนมาเป็นรักษาการอธิการบดีแทน ซึ่งคงจะเป็นในระยะสั้นๆ เท่านั้น

อย่างไรก็ดี เมื่อมาเป็นรักษาการอธิการบดีแล้ว จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อศึกษาระเบียบของ AIT ในการพิจารณาว่าคณาจารย์ที่ไม่เห็นด้วยกับความคิดของอธิการบดีอีรานดุส และถูกอธิการบดีอีรานดุสไม่ต่อสัญญา หรือยกเลิกสัญญานั้น เป็นการกลั่นแกล้ง หรือทำไม่ถูกตามกฎระเบียบของ AIT หรือไม่ ถ้าไม่ถูกต้อง ระหว่างที่ตนเป็นรักษาการอธิการบดีก็จะทำเรื่องทั้งหมดให้ถูกต้องตามกฎระเบียบ AIT

“ปัญหาของ AIT ตั้งแต่นี้จะแก้แบบลูบหน้าปะจมูกไม่ได้ ทุกอย่างต้องถูกต้องตามระเบียบ เพราะว่าต่อไปจะเกี่ยวข้องกับการลงสัตยาบรรณกฎบัตรใหม่ และเพื่อให้รัฐบาลเข้ามาสนับสนุนช่วยเหลือ AIT เหมือนเดิม ถ้ารัฐบาลไม่ช่วย AIT จากนี้ไป AIT จะลำบากในเรื่องของงบประมาณที่จะนำมาใช้ฟื้นฟู AIT และบริหารงานต่อไป”

ทั้งนี้ สุดท้ายแล้วเรื่องราวจะเป็นอย่างไร ต้องรอคณะกรรมการแสวงหาข้อเท็จจริงสรุปผล ถ้าอธิการบดีไม่ผิด ก็สามารถกลับมาทำงานได้ แต่ถ้ามีความผิดก็จะเป็นเรื่องที่ Board of Trustees ตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรต่อไป

สำหรับเรื่อง Work permit นั้น ขณะนี้ชัดเจนแล้วว่า ทางเจ้าหน้าที่ต่างประเทศทุกคนที่ทำงานใน AIT จะต้องทำ Work permit ให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ.แรงงานต่างด้าว พ.ศ. 2521 ซึ่งรัฐบาลโดยกระทรวงแรงงานก็ได้อะลุ้มอล่วยให้ผู้บริหารกับพนักงาน AITมาโดยตลอด เพราะเป็นสถาบันการศึกษา ซึ่งจากนี้ไปจะต้องมีการดำเนินการเพื่อให้เจ้าหน้าที่ต่างชาติใน AIT กว่า 200 คน ได้ทำเอกสาร Work permit ให้ถูกต้องตามกฎหมายไทย เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศไทยด้วย ซึ่งเจ้าหน้าที่ชาวต่างประเทศใน AIT ไม่ต้องกังวลว่าจะถูกจับดำเนินคดี แต่ให้รอการประสานงานจัดทำเอกสาร Work permit ต่อไป

ส่วนปัญหาของอธิการบดีอีรานดุสนั้น เป็นเพราะมีการร้องเรียน และมีการพิจารณาแล้วว่าผิดกฎหมาย ทางสำนักงานแรงงานจังหวัดปทุมธานีจึงขอให้ส่งรายชื่อคณะทำงานคนต่างชาติทั้งหมด เพื่อดำเนินการทำ Work permit แต่อธิการอีรานดุสไม่ได้ทำตาม ดังนั้นจึงมีการฟ้องร้องดังกล่าว ซึ่งเรื่องนี้เป็นการร้องเรียนเกี่ยวกับความผิดของทางผู้บริหาร ก็ต้องรอการสอบสวนของทางเจ้าหน้าที่ว่าจะมีการตัดสินอย่างไร

กำลังโหลดความคิดเห็น