ASTVผู้จัดการรายวัน - องค์กรผู้บริโภค 302 องค์กรทั่วประเทศเรียกร้องรัฐบาลให้เร่งผลักดันองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และเป็นผู้นำการคุ้มครองผู้บริโภคในระดับอาเซียน พร้อมเรียกร้องให้ กสท บังคับทางปกครองกับช่อง 3, 5 และ 9 ให้แพร่ภาพโดยไม่เลือกปฏิบัติต่อทุกคน
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค ผู้จัดการและกรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยว่า เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศ 302 องค์กรได้ร่วมกันออกแถลงการณ์ โดยเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งผลักดันองค์กรอิสระเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและเรียกร้องให้ กสท บังคับฟรีทีวี 3, 5 และ 9 แพร่ภาพฟุตบอลยูโร
เลขาธิการสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคกล่าวว่า จากการให้สัมภาษณ์ของนายกรัฐมนตรีที่จะผลักดันให้ประชาคมอาเซียน (AEC) เป็นวาระแห่งชาติ โดยมีการตั้งเป้าหมาย 4 ด้าน คือ 1) ประเทศไทยจะเป็นตลาดอาเซียนบนฐานการผลิตเดียวกันของประเทศสมาชิก 2) การให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจแบบเสมอภาค เช่นเรื่องภาษีจะต้องมีการปรับตัวและศึกษาเพื่อให้เกิดความเสมอภาคในการดำเนินธุรกิจ 3) ความร่วมมือเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันเพื่อเพิ่มผลผลิตของอาเซียน 4) การใช้ฐานของอาเซียนทำงานร่วมกับเวทีเศรษฐกิจโลก
เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคจำนวน 302 องค์กรที่มาร่วมสัมมนาองค์กรผู้บริโภคเพื่อคัดเลือกคณะกรรมการองค์กรอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชนในวันที่ 12 มิถุนายน 2555 ณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลเป็นผู้นำระดับอาเซียนในการคุ้มครองผู้บริโภค โดยเร่งรัดและสนับสนุนในฐานะรัฐบาลเสียงข้างมากให้มีการพิจารณาเพื่อเร่งผ่าน (ร่าง) พระราชบัญญัติองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ที่รอการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในวาระที่ 3 หลังจากผ่านวุฒิสภาตั้งแต่วันที่ 31 มกราคมที่ผ่านมา เพื่อเป็นหลักประกันแก่ผู้บริโภคไทย และเป็นแบบอย่างเชิงสัญลักษณ์ของความเป็นผู้นำในประเทศต่างๆ ในประชาคมอาเซียนและในระดับนานาชาติต่อไป เพราะที่ผ่านมาอาเซียนได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในระดับอาเซียน ซึ่งประเทศไทยสามารถเป็นผู้นำในด้านนี้ได้เป็นอย่างดี
การคุ้มครองผู้บริโภคมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ที่เห็นได้อย่างชัดเจนในปัจจุบัน กรณีรูปธรรมปัญหาการเข้าไม่ถึงการแพร่ภาพและการกระจายเสียงกรณีการถ่ายทอดฟุตบอลยูโร พร้อมเรียกร้องรูปธรรมให้รัฐบาล และคณะกรรมการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท) สนับสนุนการดำเนินการ ดังนี้
1. ต้องเร่งผลักดันให้มีองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค เพราะรัฐบาลได้เดินหน้าสนับสนุนให้มีการพิจารณาต่อเนื่องแล้ว และผ่านการพิจารณาของวุฒิสภาเมื่อวันที่ 31 มกราคมไปแล้ว เหลือเพียงการพิจารณาวาระที่ 3 ในขั้นสุดท้ายของกฎหมายเท่านั้น เพราะหากมีองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคในปัจจุบัน ผู้บริโภคคนเล็กคนน้อยที่จอทีวีมีป้ายขอโทษคงทำได้ลำบาก เพราะอย่างน้อยน่าจะขอให้อัยการช่วยฟ้องคดีบริษัทและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแทนผู้บริโภคได้อย่างเต็มที่ สามารถปกป้องผู้บริโภคคนเล็กคนน้อยที่ต้องจ่าย 200 บาทซื้อหนวดกุ้งโดยไม่มีเหตุผลในปัจจุบัน
2. เรียกร้อง กสท ให้มีคำสั่งทางปกครองกับช่อง 3, 5 และ 9 เนื่องจากการให้ลิขสิทธิ์ถ่ายทอดฟุตบอลยูโรมีเงื่อนไขของยูฟ่าว่าต้องถ่ายทอดผ่านระบบฟรีทีวี ดังนั้นถือเป็นบริการสาธารณะปกติ แต่เมื่อให้ถ่ายทอดทางช่อง 3, 5 และ 9 สถานีโทรทัศน์เหล่านี้ซึ่งเป็นผู้รับใบอนุญาตให้บริการสาธารณะ กลับพบว่ามีการออกอากาศสองรูปแบบในปัจจุบัน คือ มีรายการฟุตบอล และมีการขึ้นคำขออภัยซึ่งเท่ากับว่าสถานีเหล่านี้หยุดให้บริการสาธารณะ
ดังนั้น กสท ต้องมีคำสั่งบังคับทางปกครองในฐานะผู้รับใบอนุญาตบริการสาธารณะที่หยุดให้บริการในปัจจุบันเช่นเดียวกับบริษัท TRUE หรือหากจะเข้มงวดจริงก็ต้องยกเลิกให้ใบอนุญาตบริการสาธารณะ เพราะปฏิบัติขัดต่อแผนแม่บทการเข้าถึงการกระจายเสียงและการแพร่ภาพสาธารณะ เนื่องจากแผนแม่บทเรื่องการเข้าถึงของ กสทช.ไม่ได้จำกัดเฉพาะวิธีหนวดกุ้งหรือภาคพื้นดิน แต่จะเป็นวิธีการแบบไหนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นเคเบิล หรือดาวเทียม
โดยพบว่าในปัจจุบันผู้บริโภคจำนวน 20 ล้านครัวเรือน มีเพียงร้อยละ 25 เท่านั้นที่ใช้ระบบหนวดกุ้ง เสาอากาศหรือภาคพื้นดิน และมีสูงถึงร้อยละ 75 เป็นผู้บริโภคที่ใช้เคเบิลและดาวเทียมเป็นเครื่องมือในการเข้าถึง FREE TV อาจจะเนื่องจากหลายเหตุผล เช่น ไม่สามารถรับสัญญาณจากหนวดกุ้งหรือเสาอากาศได้ อาศัยในอาคารสูงหรือคอนโดมิเนียม หรือบ้านเรือนปกติแต่ถูกอาคารสูงแวดล้อมจนรับสัญญาณไม่ได้ หรือมีความชอบทางการเมืองที่แตกต่างกัน ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้ช่วยสถานีโทรทัศน์ 3, 5, 9 ให้บริการสาธารณะและส่งสัญญาณออกอากาศมาเป็นเวลานาน โดยโทรทัศน์ประเภทบริการสาธารณะหรือ FREE TV แทบจะไม่มีแผนขยายพื้นที่ในการส่งสัญญาณภาคพื้นดินในปัจจุบัน
3. ดำเนินการลงโทษ และเปรียบเทียบปรับบริษัทแกรมมี่ในฐานะผู้ได้ลิขสิทธิ์ในปัจจุบันที่ได้ประโยชน์มากมาย ทั้งการประชาสัมพันธ์ช่องของตนเอง การขายกล่อง การขายโฆษณา การมีพันธมิตรธุรกิจด้านนี้ แต่ดำเนินการผูกขาดในการให้บริการ และที่สำคัญบริษัทแกรมมี่ไม่สนใจผู้บริโภคที่เผอิญไปเป็นลูกค้าของคู่แข่งทางการค้าของตนเอง และต้องบอกว่าเรื่องค่าตอบแทนลิขสิทธิ์เป็นเรื่องที่มีความสำคัญน้อยในทางธุรกิจครั้งนี้ แต่สิ่งที่สำคัญคือการรับรู้ถึงความมีตัวตนของช่องแกรมมี่ เป้าหมายการขายโฆษณา ซึ่งแกรมมี่ควรเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ใช่เอาทุกอย่าง ไม่ใช่บอกว่าขณะนี้กฎหมายไม่ได้ห้าม
แต่ถึงอย่างไรก็ตามองค์กรผู้บริโภคก็มีจุดยืนว่า การคุ้มครองผลประโยชน์ลิขสิทธิ์เอกชนต้องไม่เกินเลยผลประโยชน์สาธารณะที่ไม่ได้ดูฟุตบอลในครั้งนี้ จะมาอ้างเพียงว่าใครอยากดูก็ให้ไปซื้อจานของตนเอง (แกรมมี่) หรือไม่ก็สามารถซื้อหนวดกุ้งมาติดชั่วคราว อันละประมาณ 200 บาท แต่ 200 บาทเมื่อเทียบกับจำนวนครัวเรือนที่ไม่น้อยกว่า 10 ล้านครัวเรือนก็สูงถึง 2,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ แกรมมี่ยังออกอากาศของตนเองด้วยช่องทางผ่านดาวเทียม เพราะลูกค้าต้องใช้กล่องรับสัญญาณเช่นเดียวกันกับเจ้าอื่น ดังนั้นในทางเทคนิคไม่ควรเถียงกันว่า จะจัดการให้จานดาวเทียมต่างๆ จำกัดการแพร่ภาพและกระจายเสียงอยู่เฉพาะในเมืองไทย ซึ่งเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ในทางเทคนิคเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่แกรมมี่เลือกที่จะให้ใครเข้ามาใช้บริการหรือเป็นพันธมิตรได้บ้าง
การผูกขาดการให้บริการของแกรมมี่
“กสท จะอ้างว่าไม่ใช่ผู้รับใบอนุญาต เลยจัดการไม่ได้คงไม่ถูกต้อง หรือคงไม่เพียงพอหากดำเนินการเพียงการขึ้นบัญชีดำ หากมาขอใบอนุญาตสถานีโทรทัศน์ในอนาคต แต่ต้องจัดการปัญหาการผูกขาดในการให้บริการ (เถื่อน) ครั้งนี้ด้วย เพราะให้บริการเถื่อนโดยไม่ต้องขออนุญาตแล้วยังใช้โอกาสผูกขาดอีก ขัดต่อกฎหมาย และที่สำคัญจะเป็นเยี่ยงอย่างให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจอื่นๆ หากอีกสองปีใครได้รับอนุญาตเป็นผู้แพร่ภาพและกระจายเสียงฟุตบอลโลกเราคงต้องซื้อกล่องใหม่กันอีก โดยไม่สนใจผู้บริโภค แล้วผู้บริโภคไทยต้องมีกล่องกี่ประเภทถึงจะเข้าถึงการแพร่ภาพและการกระจายเสียง”
4. ขอให้ กสท สนับสนุนการดำเนินการฟ้องคดีกับ TRUE เพราะค่าปรับทางปกครองตามกฎหมายที่ต่ำมากเกินไปในปัจจุบัน ควรต้องสนับสนุนให้เกิดการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น เนื่องจากการให้บริการของ TRUE มีการให้สัญญากับลูกค้าหรือผู้บริโภคว่าสามารถดู FREE TV หรือดูฟุตบอลยูโรได้ และสมาชิก TRUE บางส่วนมีการเก็บค่าสมาชิกรายเดือนกับลูกค้า ก็ควรรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดจากการให้สัญญากับลูกค้าหรือผู้บริโภคแล้วไม่ทำตามคำสัญญา
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค ผู้จัดการและกรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยว่า เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศ 302 องค์กรได้ร่วมกันออกแถลงการณ์ โดยเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งผลักดันองค์กรอิสระเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและเรียกร้องให้ กสท บังคับฟรีทีวี 3, 5 และ 9 แพร่ภาพฟุตบอลยูโร
เลขาธิการสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคกล่าวว่า จากการให้สัมภาษณ์ของนายกรัฐมนตรีที่จะผลักดันให้ประชาคมอาเซียน (AEC) เป็นวาระแห่งชาติ โดยมีการตั้งเป้าหมาย 4 ด้าน คือ 1) ประเทศไทยจะเป็นตลาดอาเซียนบนฐานการผลิตเดียวกันของประเทศสมาชิก 2) การให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจแบบเสมอภาค เช่นเรื่องภาษีจะต้องมีการปรับตัวและศึกษาเพื่อให้เกิดความเสมอภาคในการดำเนินธุรกิจ 3) ความร่วมมือเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันเพื่อเพิ่มผลผลิตของอาเซียน 4) การใช้ฐานของอาเซียนทำงานร่วมกับเวทีเศรษฐกิจโลก
เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคจำนวน 302 องค์กรที่มาร่วมสัมมนาองค์กรผู้บริโภคเพื่อคัดเลือกคณะกรรมการองค์กรอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชนในวันที่ 12 มิถุนายน 2555 ณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลเป็นผู้นำระดับอาเซียนในการคุ้มครองผู้บริโภค โดยเร่งรัดและสนับสนุนในฐานะรัฐบาลเสียงข้างมากให้มีการพิจารณาเพื่อเร่งผ่าน (ร่าง) พระราชบัญญัติองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ที่รอการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในวาระที่ 3 หลังจากผ่านวุฒิสภาตั้งแต่วันที่ 31 มกราคมที่ผ่านมา เพื่อเป็นหลักประกันแก่ผู้บริโภคไทย และเป็นแบบอย่างเชิงสัญลักษณ์ของความเป็นผู้นำในประเทศต่างๆ ในประชาคมอาเซียนและในระดับนานาชาติต่อไป เพราะที่ผ่านมาอาเซียนได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในระดับอาเซียน ซึ่งประเทศไทยสามารถเป็นผู้นำในด้านนี้ได้เป็นอย่างดี
การคุ้มครองผู้บริโภคมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ที่เห็นได้อย่างชัดเจนในปัจจุบัน กรณีรูปธรรมปัญหาการเข้าไม่ถึงการแพร่ภาพและการกระจายเสียงกรณีการถ่ายทอดฟุตบอลยูโร พร้อมเรียกร้องรูปธรรมให้รัฐบาล และคณะกรรมการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท) สนับสนุนการดำเนินการ ดังนี้
1. ต้องเร่งผลักดันให้มีองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค เพราะรัฐบาลได้เดินหน้าสนับสนุนให้มีการพิจารณาต่อเนื่องแล้ว และผ่านการพิจารณาของวุฒิสภาเมื่อวันที่ 31 มกราคมไปแล้ว เหลือเพียงการพิจารณาวาระที่ 3 ในขั้นสุดท้ายของกฎหมายเท่านั้น เพราะหากมีองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคในปัจจุบัน ผู้บริโภคคนเล็กคนน้อยที่จอทีวีมีป้ายขอโทษคงทำได้ลำบาก เพราะอย่างน้อยน่าจะขอให้อัยการช่วยฟ้องคดีบริษัทและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแทนผู้บริโภคได้อย่างเต็มที่ สามารถปกป้องผู้บริโภคคนเล็กคนน้อยที่ต้องจ่าย 200 บาทซื้อหนวดกุ้งโดยไม่มีเหตุผลในปัจจุบัน
2. เรียกร้อง กสท ให้มีคำสั่งทางปกครองกับช่อง 3, 5 และ 9 เนื่องจากการให้ลิขสิทธิ์ถ่ายทอดฟุตบอลยูโรมีเงื่อนไขของยูฟ่าว่าต้องถ่ายทอดผ่านระบบฟรีทีวี ดังนั้นถือเป็นบริการสาธารณะปกติ แต่เมื่อให้ถ่ายทอดทางช่อง 3, 5 และ 9 สถานีโทรทัศน์เหล่านี้ซึ่งเป็นผู้รับใบอนุญาตให้บริการสาธารณะ กลับพบว่ามีการออกอากาศสองรูปแบบในปัจจุบัน คือ มีรายการฟุตบอล และมีการขึ้นคำขออภัยซึ่งเท่ากับว่าสถานีเหล่านี้หยุดให้บริการสาธารณะ
ดังนั้น กสท ต้องมีคำสั่งบังคับทางปกครองในฐานะผู้รับใบอนุญาตบริการสาธารณะที่หยุดให้บริการในปัจจุบันเช่นเดียวกับบริษัท TRUE หรือหากจะเข้มงวดจริงก็ต้องยกเลิกให้ใบอนุญาตบริการสาธารณะ เพราะปฏิบัติขัดต่อแผนแม่บทการเข้าถึงการกระจายเสียงและการแพร่ภาพสาธารณะ เนื่องจากแผนแม่บทเรื่องการเข้าถึงของ กสทช.ไม่ได้จำกัดเฉพาะวิธีหนวดกุ้งหรือภาคพื้นดิน แต่จะเป็นวิธีการแบบไหนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นเคเบิล หรือดาวเทียม
โดยพบว่าในปัจจุบันผู้บริโภคจำนวน 20 ล้านครัวเรือน มีเพียงร้อยละ 25 เท่านั้นที่ใช้ระบบหนวดกุ้ง เสาอากาศหรือภาคพื้นดิน และมีสูงถึงร้อยละ 75 เป็นผู้บริโภคที่ใช้เคเบิลและดาวเทียมเป็นเครื่องมือในการเข้าถึง FREE TV อาจจะเนื่องจากหลายเหตุผล เช่น ไม่สามารถรับสัญญาณจากหนวดกุ้งหรือเสาอากาศได้ อาศัยในอาคารสูงหรือคอนโดมิเนียม หรือบ้านเรือนปกติแต่ถูกอาคารสูงแวดล้อมจนรับสัญญาณไม่ได้ หรือมีความชอบทางการเมืองที่แตกต่างกัน ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้ช่วยสถานีโทรทัศน์ 3, 5, 9 ให้บริการสาธารณะและส่งสัญญาณออกอากาศมาเป็นเวลานาน โดยโทรทัศน์ประเภทบริการสาธารณะหรือ FREE TV แทบจะไม่มีแผนขยายพื้นที่ในการส่งสัญญาณภาคพื้นดินในปัจจุบัน
3. ดำเนินการลงโทษ และเปรียบเทียบปรับบริษัทแกรมมี่ในฐานะผู้ได้ลิขสิทธิ์ในปัจจุบันที่ได้ประโยชน์มากมาย ทั้งการประชาสัมพันธ์ช่องของตนเอง การขายกล่อง การขายโฆษณา การมีพันธมิตรธุรกิจด้านนี้ แต่ดำเนินการผูกขาดในการให้บริการ และที่สำคัญบริษัทแกรมมี่ไม่สนใจผู้บริโภคที่เผอิญไปเป็นลูกค้าของคู่แข่งทางการค้าของตนเอง และต้องบอกว่าเรื่องค่าตอบแทนลิขสิทธิ์เป็นเรื่องที่มีความสำคัญน้อยในทางธุรกิจครั้งนี้ แต่สิ่งที่สำคัญคือการรับรู้ถึงความมีตัวตนของช่องแกรมมี่ เป้าหมายการขายโฆษณา ซึ่งแกรมมี่ควรเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ใช่เอาทุกอย่าง ไม่ใช่บอกว่าขณะนี้กฎหมายไม่ได้ห้าม
แต่ถึงอย่างไรก็ตามองค์กรผู้บริโภคก็มีจุดยืนว่า การคุ้มครองผลประโยชน์ลิขสิทธิ์เอกชนต้องไม่เกินเลยผลประโยชน์สาธารณะที่ไม่ได้ดูฟุตบอลในครั้งนี้ จะมาอ้างเพียงว่าใครอยากดูก็ให้ไปซื้อจานของตนเอง (แกรมมี่) หรือไม่ก็สามารถซื้อหนวดกุ้งมาติดชั่วคราว อันละประมาณ 200 บาท แต่ 200 บาทเมื่อเทียบกับจำนวนครัวเรือนที่ไม่น้อยกว่า 10 ล้านครัวเรือนก็สูงถึง 2,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ แกรมมี่ยังออกอากาศของตนเองด้วยช่องทางผ่านดาวเทียม เพราะลูกค้าต้องใช้กล่องรับสัญญาณเช่นเดียวกันกับเจ้าอื่น ดังนั้นในทางเทคนิคไม่ควรเถียงกันว่า จะจัดการให้จานดาวเทียมต่างๆ จำกัดการแพร่ภาพและกระจายเสียงอยู่เฉพาะในเมืองไทย ซึ่งเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ในทางเทคนิคเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่แกรมมี่เลือกที่จะให้ใครเข้ามาใช้บริการหรือเป็นพันธมิตรได้บ้าง
การผูกขาดการให้บริการของแกรมมี่
“กสท จะอ้างว่าไม่ใช่ผู้รับใบอนุญาต เลยจัดการไม่ได้คงไม่ถูกต้อง หรือคงไม่เพียงพอหากดำเนินการเพียงการขึ้นบัญชีดำ หากมาขอใบอนุญาตสถานีโทรทัศน์ในอนาคต แต่ต้องจัดการปัญหาการผูกขาดในการให้บริการ (เถื่อน) ครั้งนี้ด้วย เพราะให้บริการเถื่อนโดยไม่ต้องขออนุญาตแล้วยังใช้โอกาสผูกขาดอีก ขัดต่อกฎหมาย และที่สำคัญจะเป็นเยี่ยงอย่างให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจอื่นๆ หากอีกสองปีใครได้รับอนุญาตเป็นผู้แพร่ภาพและกระจายเสียงฟุตบอลโลกเราคงต้องซื้อกล่องใหม่กันอีก โดยไม่สนใจผู้บริโภค แล้วผู้บริโภคไทยต้องมีกล่องกี่ประเภทถึงจะเข้าถึงการแพร่ภาพและการกระจายเสียง”
4. ขอให้ กสท สนับสนุนการดำเนินการฟ้องคดีกับ TRUE เพราะค่าปรับทางปกครองตามกฎหมายที่ต่ำมากเกินไปในปัจจุบัน ควรต้องสนับสนุนให้เกิดการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น เนื่องจากการให้บริการของ TRUE มีการให้สัญญากับลูกค้าหรือผู้บริโภคว่าสามารถดู FREE TV หรือดูฟุตบอลยูโรได้ และสมาชิก TRUE บางส่วนมีการเก็บค่าสมาชิกรายเดือนกับลูกค้า ก็ควรรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดจากการให้สัญญากับลูกค้าหรือผู้บริโภคแล้วไม่ทำตามคำสัญญา