มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ยื่นคำร้องขอให้ศาลกำหนดมาตรฐานหรือวิธีการใดๆเพื่อบรรเทาทุกข์เป็นการชั่วคราวก่อนพิพากษาคดีขึ้นค่าผ่านทางโทลล์เวย์ ดังนี้
ข้อ ๑. คดีนี้ผู้ฟ้องคดีทั้ง ๒๐ ได้ยื่นฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง ๔ ในฐานะร่วมกันกระทำการทางปกครอง ขึ้นราคาค่าผ่านทาง เอื้อประโยชน์ให้แก่เอกชน สร้างความเสียหายให้กับผู้ฟ้องคดีทั้ง ๒๐ ตลอดจนความเสียหายต่อรัฐและผลประโยชน์สาธารณะโดยรวม
การแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาสัมปทานฯทั้งสามฉบับ ได้ขยายอายุสัญญาสัมปทานฯจาก ๒๕ ปี เป็น ๔๕ ปี , ลดส่วนแบ่งรายได้ให้กับรัฐ , สละสิทธิส่วนแบ่งรายได้ระหว่างอนุสรณ์สถาน-รังสิต ตลอดอายุสัญญาสัมปทาน , สูญเสียงบประมาณหลายพันล้านบาทในการก่อสร้างทางยกระดับระหว่างอนุสรณ์สถาน-รังสิตและทางเชื่อมท่าอากาศยานนานาชาติกรุงเทพ ,
การคืนผลตอบแทนให้รัฐในระยะเวลา ๒๕ ปี ในราคาที่ต่ำมากเพียงประมาณวันละ ๒๒ บาท ขณะที่มีรายได้ ๔.๔ ล้านบาทต่อวัน และให้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในการขึ้นราคาโดยไม่ต้องขออนุญาตจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ปรากฏตามสัญญาสัมปทานแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๓/๒๕๕๐
“...ข้อ ๕ อัตราค่าผ่านทางที่เรียกเก็บจากยานพาหนะทุกประเภทให้เป็นไปตามตารางท้ายข้อนี้ และมีผลใช้บังคับได้ทันที โดยการปรับใช้อัตราค่าผ่านทางตามตารางนี้ ผู้รับสัมปทานไม่ต้องขออนุญาตจากกรมทางหลวงอีก แต่ผู้รับสัมปทานจะต้องแจ้งให้กรมทางหลวงทราบล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า ๓๐ (สามสิบ) วัน และให้ผู้รับสัมปทาน ประกาศและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบล่วงหน้าเป็นเวลาพอสมควร...”
เป็นเหตุให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง ๔ ประกาศการขึ้นค่าผ่านทางจากช่วงดินแดง-อนุสรณ์สถาน-รังสิต และรังสิต-อนุสรณ์สถาน-ดินแดง สำหรับรถประเภทที่ 1 (รถ ๔ ล้อ) จาก ๕๕ บาท เป็น ๘๕ บาท และรถประเภทที่ ๒ (รถมากกว่า ๔ ล้อ) จาก ๙๕ บาท เป็น ๑๒๕ บาท และจะขึ้นราคาอีก ๑๕ บาททุกๆ ๕ ปีตลอดอายุสัมปทาน
บริษัทฯได้กำไรจากการเอาเปรียบประชาชนผู้บริโภคอย่างร้ายแรง
เป็นเหตุให้ประชาชนผู้บริโภคจำเป็นต้องใช้เส้นทางจากดินแดง-รังสิต และรังสิต-ดินแดง ถูกเอาเปรียบไม่มีทางเลือกหรือมีทางเลือกที่สะดวกสบายหรือทางเลือกที่สามารถเทียบเคียงกันได้ในระดับเดียวกันในการใช้บริการได้จริง
ประชาชนจำต้องใช้การจราจรบนพื้นราบในถนนวิภาวดีรังสิต ทำให้การจราจรติดขัดบนถนนวิภาวดีรังสิตตลอดเส้นทางและถนนที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งยังเป็นภาวะวิกฤตปัญหาการจราจรต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ทำให้เกิดความเดือดร้อน สูญเสียทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม คุณภาพชีวิตและสุขภาพอนามัยของประชาชนผู้บริโภค อันเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากเป็นการออกคำสั่งทางปกครองที่ไม่เป็นไปตามกระบวนการและขั้นตอนตามตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙
โดยผู้ฟ้องคดีทั้ง ๒๐ ขอให้ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง ๔ และบริษัทฯ ระงับการขึ้นค่าผ่านทางราคาโหด ไม่สอดคล้องกับรายได้ของประชาชน และให้คิดอัตราค่าผ่านทางในอัตราเดิมก่อนประกาศขึ้นราคาเมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๒
คดีของผู้ฟ้องคดีทั้ง ๒๐ จึงมีมูลที่จะฟ้องร้องและชนะคดีได้
ข้อ ๒. การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง ๔ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ฟ้องคดีทั้ง ๒๐ ต่อรัฐและประชาชนผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง เพราะผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง ๔ ได้ขึ้นราคาค่าผ่านทางไปแล้วตั้งแต่วันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๒ หากศาลพิพากษาให้ระงับการขึ้นราคา จะเป็นการยากที่จะเรียกให้บริษัทฯและผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง ๔ คืนเงินค่าผ่านทางที่เรียกเก็บไปโดยมิชอบแก่ประชาชนผู้บริโภค เพื่อชดเชยเยียวยาความเสียหายของประชาชนผู้บริโภคตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๖๑
และการขึ้นราคาครั้งนี้ทำให้บริษัทฯ ได้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่เป็นการลงทุนจากส่วนต่อขยายช่วงอนุสรณ์สถาน-รังสิต ซึ่งเป็นการลงทุนโดยรัฐ อันเป็นประโยชน์มิควรได้อย่างน้อยวันละ ๔๐๐,๐๐๐ บาท หากรอให้มีคำพิพากษาจะทำให้ผู้ฟ้องคดีทั้ง ๒๐ รัฐและสาธารณชนเสียหาย จนยากจะเยียวยา
ฉะนั้นผู้ฟ้องคดีทั้ง ๒๐ จึงขอศาลได้โปรดสั่งให้มีการบรรเทาทุกข์ชั่วคราว โดยมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง ๔ ระงับการขึ้นราคาค่าผ่านทาง โดยให้คงคิดราคาเดิมก่อนประกาศขึ้นราคาเมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๒ ไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา
ข้อ ๑. คดีนี้ผู้ฟ้องคดีทั้ง ๒๐ ได้ยื่นฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง ๔ ในฐานะร่วมกันกระทำการทางปกครอง ขึ้นราคาค่าผ่านทาง เอื้อประโยชน์ให้แก่เอกชน สร้างความเสียหายให้กับผู้ฟ้องคดีทั้ง ๒๐ ตลอดจนความเสียหายต่อรัฐและผลประโยชน์สาธารณะโดยรวม
การแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาสัมปทานฯทั้งสามฉบับ ได้ขยายอายุสัญญาสัมปทานฯจาก ๒๕ ปี เป็น ๔๕ ปี , ลดส่วนแบ่งรายได้ให้กับรัฐ , สละสิทธิส่วนแบ่งรายได้ระหว่างอนุสรณ์สถาน-รังสิต ตลอดอายุสัญญาสัมปทาน , สูญเสียงบประมาณหลายพันล้านบาทในการก่อสร้างทางยกระดับระหว่างอนุสรณ์สถาน-รังสิตและทางเชื่อมท่าอากาศยานนานาชาติกรุงเทพ ,
การคืนผลตอบแทนให้รัฐในระยะเวลา ๒๕ ปี ในราคาที่ต่ำมากเพียงประมาณวันละ ๒๒ บาท ขณะที่มีรายได้ ๔.๔ ล้านบาทต่อวัน และให้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในการขึ้นราคาโดยไม่ต้องขออนุญาตจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ปรากฏตามสัญญาสัมปทานแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๓/๒๕๕๐
“...ข้อ ๕ อัตราค่าผ่านทางที่เรียกเก็บจากยานพาหนะทุกประเภทให้เป็นไปตามตารางท้ายข้อนี้ และมีผลใช้บังคับได้ทันที โดยการปรับใช้อัตราค่าผ่านทางตามตารางนี้ ผู้รับสัมปทานไม่ต้องขออนุญาตจากกรมทางหลวงอีก แต่ผู้รับสัมปทานจะต้องแจ้งให้กรมทางหลวงทราบล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า ๓๐ (สามสิบ) วัน และให้ผู้รับสัมปทาน ประกาศและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบล่วงหน้าเป็นเวลาพอสมควร...”
เป็นเหตุให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง ๔ ประกาศการขึ้นค่าผ่านทางจากช่วงดินแดง-อนุสรณ์สถาน-รังสิต และรังสิต-อนุสรณ์สถาน-ดินแดง สำหรับรถประเภทที่ 1 (รถ ๔ ล้อ) จาก ๕๕ บาท เป็น ๘๕ บาท และรถประเภทที่ ๒ (รถมากกว่า ๔ ล้อ) จาก ๙๕ บาท เป็น ๑๒๕ บาท และจะขึ้นราคาอีก ๑๕ บาททุกๆ ๕ ปีตลอดอายุสัมปทาน
บริษัทฯได้กำไรจากการเอาเปรียบประชาชนผู้บริโภคอย่างร้ายแรง
เป็นเหตุให้ประชาชนผู้บริโภคจำเป็นต้องใช้เส้นทางจากดินแดง-รังสิต และรังสิต-ดินแดง ถูกเอาเปรียบไม่มีทางเลือกหรือมีทางเลือกที่สะดวกสบายหรือทางเลือกที่สามารถเทียบเคียงกันได้ในระดับเดียวกันในการใช้บริการได้จริง
ประชาชนจำต้องใช้การจราจรบนพื้นราบในถนนวิภาวดีรังสิต ทำให้การจราจรติดขัดบนถนนวิภาวดีรังสิตตลอดเส้นทางและถนนที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งยังเป็นภาวะวิกฤตปัญหาการจราจรต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ทำให้เกิดความเดือดร้อน สูญเสียทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม คุณภาพชีวิตและสุขภาพอนามัยของประชาชนผู้บริโภค อันเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากเป็นการออกคำสั่งทางปกครองที่ไม่เป็นไปตามกระบวนการและขั้นตอนตามตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙
โดยผู้ฟ้องคดีทั้ง ๒๐ ขอให้ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง ๔ และบริษัทฯ ระงับการขึ้นค่าผ่านทางราคาโหด ไม่สอดคล้องกับรายได้ของประชาชน และให้คิดอัตราค่าผ่านทางในอัตราเดิมก่อนประกาศขึ้นราคาเมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๒
คดีของผู้ฟ้องคดีทั้ง ๒๐ จึงมีมูลที่จะฟ้องร้องและชนะคดีได้
ข้อ ๒. การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง ๔ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ฟ้องคดีทั้ง ๒๐ ต่อรัฐและประชาชนผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง เพราะผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง ๔ ได้ขึ้นราคาค่าผ่านทางไปแล้วตั้งแต่วันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๒ หากศาลพิพากษาให้ระงับการขึ้นราคา จะเป็นการยากที่จะเรียกให้บริษัทฯและผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง ๔ คืนเงินค่าผ่านทางที่เรียกเก็บไปโดยมิชอบแก่ประชาชนผู้บริโภค เพื่อชดเชยเยียวยาความเสียหายของประชาชนผู้บริโภคตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๖๑
และการขึ้นราคาครั้งนี้ทำให้บริษัทฯ ได้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่เป็นการลงทุนจากส่วนต่อขยายช่วงอนุสรณ์สถาน-รังสิต ซึ่งเป็นการลงทุนโดยรัฐ อันเป็นประโยชน์มิควรได้อย่างน้อยวันละ ๔๐๐,๐๐๐ บาท หากรอให้มีคำพิพากษาจะทำให้ผู้ฟ้องคดีทั้ง ๒๐ รัฐและสาธารณชนเสียหาย จนยากจะเยียวยา
ฉะนั้นผู้ฟ้องคดีทั้ง ๒๐ จึงขอศาลได้โปรดสั่งให้มีการบรรเทาทุกข์ชั่วคราว โดยมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง ๔ ระงับการขึ้นราคาค่าผ่านทาง โดยให้คงคิดราคาเดิมก่อนประกาศขึ้นราคาเมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๒ ไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา