ASTVผู้จัดการรายวัน – ศาลฎีกาฯ นัดตัดสินคดีทุจริตกล้ายางวันนี้ แฉพิรุธฮั้วประมูล เอื้อประโยชน์เอกชนตั้งแต่ต้นจนจบโครงการ เกษตรกรรอวันทุกข์ซ้ำคุณภาพกล้ายางไม่ดี ผลผลิตต่ำเกณฑ์
ประเด็นการฮั้วประมูลและการเอื้อประโยชน์ให้เอกชน โดยข้อมูลที่ “ผู้จัดการรายวัน” นำเสนอมาโดยตลอดได้ชี้ให้เห็นถึงข้อพิรุธตั้งแต่ต้นคือ หลังครม.อนุมัติโครงการ กรมวิชาการเกษตรดำเนินการอย่างเร่งรีบโดยไม่สนใจจะเตรียมความพร้อมของพันธุ์กล้ายางที่ต้องใช้มากถึง 90 ล้านต้น กล่าวคือ
1) มีการออกประกาศประกวดราคาจ้างเหมาผลิตต้นยางชำถุง หรือทีโออาร์ ลงวันที่ 19 มิ.ย. 2546 และเซ็นสัญญากับเอกชน เดือนพ.ย. ในปีเดียวกัน โดยกำหนดส่งมอบกล้ายาง ในปี 2547 ปีแรกของสัญญา รวม 4 งวด ในเดือน พ.ค. – ส.ค. จำนวน 18 ล้านต้น ทั้งที่เมล็ดยาง ซึ่งจะนำไปเพาะเป็นกล้ายางนั้นจะหล่นไปแล้วตั้งแต่กลางเดือนก.ค. – ส.ค. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ยังไม่มีการเซ็นสัญญาใดๆ เว้นเสียแต่ว่า กรมวิชาการฯ มีใบสั่งล่วงหน้าแล้วว่าจะให้บริษัทใดชนะประมูล
2) ทีโออาร์ ให้บริษัทเดียวรับเหมาไปทำ โดยกำหนดให้ผู้เข้าประมูลวางหลักทรัพย์ค้ำประกันสัญญาสูงถึง 72 ล้านบาท ซึ่งขัดกับสภาพความเป็นจริงของการผลิตกล้ายางที่ทำกันอยู่จะเป็นเกษตรกรรายย่อยรวมตัวกันเป็นสหกรณ์ ซึ่งไม่มีเงินทุนมากพอเข้าร่วมประมูลได้
3) ทีโออาร์ ระบุแต่เพียงว่า ผู้เข้าร่วมประมูลเป็นผู้มีอาชีพจำหน่ายพันธุ์พืชมาอย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 5 ปี โดยไม่กำหนดให้ชัดลงไปว่าผู้เสนอราคาต้องมีอาชีพในการผลิตและจำหน่ายพันธุ์ยาง ต้องมีแปลงกิ่งพันธุ์ยาง แปลงกล้ายางของตนเองด้วย ทั้งที่ต้องผลิตกล้ายางให้รัฐถึง 90 ล้านต้น
4) การกำหนดให้ส่งมอบยาง 4 งวด คือ พ.ค., มิ.ย., ก.ค และ ส.ค. ไม่สอดคล้องกับหลักวิชาการปลูกยางซึ่งต้องปลูกในช่วงต้นฤดูฝน คือ พ.ค., มิ.ย. ช้าสุดไม่เกิน ก.ค. เท่านั้น
5) กำหนดจ่ายเงินล่วงหน้าร้อยละ 15 ของราคาค่าจ้างทั้งหมด (1,400 ล้านบาท) เป็นเงิน 209 ล้านบาท แทนที่จะจ่ายล่วงหน้าของแต่ละปี โดยปีแรก จ่าย 43 ล้านจากค่าจ้าง 288 ล้านบาท ปีที่ 2 จ่าย 64.8 ล้านบาท จากค่าจ้าง 432 ล้านบาท และปีที่ 3 จ่าย 108 ล้านบาท จากค่าจ้าง 720 ล้านบาท เพราะหากเกิดปัญหายกเลิกสัญญาก่อนรัฐจะได้ไม่เสียหาย
6) การประกวดราคามีผู้สนใจเข้าเสนอ 5 ราย และผลสรุปของคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา มีบริษัทผ่านเข้าการพิจารณาเงื่อนไข จำนวน 3 ราย คือ บริษัทเอกเกษตร จำกัด เสนอราคา 1,476 ล้านบาท, บริษัทเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ เสนอราคา 1,435.50 ล้านบาท และบริษัทรีสอร์ทแลนด์ จำกัด เสนอราคา 1,512 ล้านบาท ซึ่งเป็นการเสนอราคาที่ใกล้เคียงกันมาก และใกล้เคียงราคากลางที่ตั้งไว้ 1,440 ล้านบาทมากเช่นกัน
ส่วนอีก 2 บริษัท ผิดเงื่อนไข และนำไปสู่การยื่นหนังสือร้องเรียนของทั้งสองบริษัท โดยกิจการร่วมค้าบริษัทสหชัยฯ ซึ่งถูกตีตกด้วยเหตุผลว่า มีพื้นที่แปลงต้นพันธุ์ยางไม่ครบ ร้องเรียนว่า คณะกรรมการตรวจสอบแปลงมิได้ไปตรวจสอบแปลงและนับต้นพันธุ์ยางของผู้เสนอราคาให้ครบทุกแปลงตามที่แจ้งไป จึงทำให้ข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อนและถูกตัดสิทธิ์
สำหรับกิจการร่วมค้าพัฒนายางไทย ถูกตีตกด้วยเหตุผลว่า ไม่ได้เป็นผู้ซื้อซองและไม่มีหนังสือรับรองการประกอบอาชีพมีผลงานการจำหน่ายพันธุ์พืชที่เป็นผลงานภายใต้สัญญาเดียวและทำมาแล้วไม่เกิน 5 ปี
7) สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้เข้าตรวจสอบการประมูลโครงการนี้ พบว่า บริษัทเจริญโภคภัณฑ์ , รีสอร์ทแลนด์ และเอกเจริญการเกษตร มีการถือหุ้นไขว้กันของกรรมการทั้ง 3 แห่ง ซึ่งตามเอกสารการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท พบว่า นายวรวิทย์ เจนธนากุล กรามการผู้มีอำนาจในบริษัทรีสอร์ทแลนด์ เป็นหนึ่งในกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทเจริญโภคภัณฑ์วิศวกรรม จำกัด ผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด และมีชื่อของนางนงนุช ภรณวิลัย กรรมการผู้มีอำนาจในบริษัทเอกเจริญการเกษตร เป็นหนึ่งในกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทโปรการเกษตร ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทรีสอร์ทแลนด์
8) กรมวิชาการเกษตร ได้ส่งหนังสือหารือสำนักงานอัยการสูงสุด เกี่ยวกับการถือหุ้นไขว้ของ 3 บริษัทดังกล่าวข้างต้นเมื่อวันที่ 13 ส.ค. 2546 และวันที่ 13 ต.ค. 2546 สำนักงานอัยการสูงสุด แจ้งว่า “การจ้างเหมาครั้งนี้เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2541 ข้อ 5 ข้อ 15 ตรนี และข้อ 15 เบญ”
หลังสำนักงานอัยการสูงสุด ตอบหนังสือหารือกลับมา กรมวิชาการเกษตร ก็ต่อรองราคากับบริษัทเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด ผู้เสนอราคาต่ำสุด เมื่อวันที่ 6 พ.ย. 2546 และราคาสุดท้ายที่บริษัทตกลงก็คือ ราคาต้นละ 15.53 บาท รวมเป็นเงิน 1,397.70 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าราคากลาง 42.30 ล้านบาท
ขณะที่ ทาง สตง. ได้ส่งรายงานการตรวจพบการถือหุ้นไขว้รูปแบบใหม่ ให้สำนักงานอัยการสูงสุดตีความใหม่อีกครั้ง และสำนักงานอัยการสูงสุด ลงความเห็นเมื่อวันที่ 11 ต.ค. 2546 ว่า การประมูลโครงการดังกล่าวเป็น "โมฆียะ"
ประเด็นการบริหารสัญญา กรมวิชาการเกษตรฯ มีการเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด ที่ชัดเจนก็คือ การรับมอบกล้ายางที่ไม่มีคุณภาพ เช่น ไม่มีรากแก้ว ขณะที่สัญญาระบุ ต้องมีรากแก้วไม่ต่ำกว่า 20 ซม.
นอกจากนั้น กรมวิชาการเกษตรฯ ยังเปิดช่องให้ ซีพี ส่งมอบยางนอกฤดูกาลปลูก โดยขยายเวลาส่งมอบยางถึงเดือนก.ย. ซึ่งหมดฝนไปแล้วโดยอ้างว่าเกษตรกรต้องการและซีพี ไม่ขัดข้องที่จะส่งให้และพร้อมรับผิดชอบหากกล้ายางเสียหายล้มตาย ส่วนกรมวิชาการเกษตร ไม่ขอรับผิดชอบใดๆ เพราะเป็นความสมัครใจกันทั้งสองฝ่าย
ส่วนประเด็นเรื่องความเสียหายต่อรัฐและเกษตรกร จากรายงานการตรวจสอบของหลายหน่วยงาน รวมทั้งกระทรวงเกษตรฯ เอง เป็นที่ประจักษ์ว่าเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการที่รับมอบกล้ายางไม่ได้คุณภาพ ซึ่งจะสูญเสียโอกาส และค่าลงทุน ขณะที่เครือซีพี ส่งมอบกล้ายางในแต่ละงวดไม่ได้ตามกำหนดในสัญญาตั้งแต่ปีแรกจนถึงปีสุดท้าย
ทั้งนี้ ศูนย์ประเมินผลสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปรายงานผลการประเมินโครงการปลูกยางพาราเพื่อยกระดับรายได้และความมั่นคงให้เกษตรกรในแหล่งปลูกยางใหม่ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2547 – 2549) ว่า โครงการดังกล่าวตั้งเป้าหมายเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกยาง จำนวน 1 ล้านไร่ แต่การส่งมอบกล้ายางให้เกษตรกรเพาะปลูกได้จริงเพียง 776,405 ไร่ ต่ำกว่าเป้าที่วางไว้ 223,595 ไร่ โดยบริษัทคู่สัญญาจัดส่งกล้ายางให้ไม่ทันประมาณ 19 ล้านต้นจากทั้งหมด 90 ล้านต้น
หากนับรวมความเสียหายจากบริษัทที่ส่งมอบกล้ายางไม่ได้ตามเป้าแล้วหลายสิบล้านในแต่ละปี นับจากปี 2557 ซึ่งเป็นปีที่เปิดกรีดเป็นต้นไป เพราะรัฐควรจะมีรายได้จากสวนยาง 1 ล้านไร่ แต่เอาเข้าจริงทำได้ต่ำเป้าถึง 2 แสนไร่
จากการประเมินผล ยังพบว่า พื้นที่เพาะปลูกยาง จำนวน 776,405 ไร่ นั้น ปัจจุบันมีการระงับการดำเนินการไป จำนวน 8,689 ไร่ คงเหลือพื้นที่ปลูกยางจริงขณะนี้จำนวน 767,716 ไร่ เหตุผลที่ระงับการปลูกส่วนใหญ่ร้อยละ 26 มาจากปัญหาต้นยางที่ปลูกตายเป็นจำนวนมากเพราะอากาศแล้งจัด เกษตรกรจึงไม่ประสงค์จะปลูกใหม่เพราะเห็นว่าไม่คุ้มทุน
ศูนย์ประเมินผลฯ ระบุว่า ความขยันขันแข็งเอาใส่กล้ายาง แม้จะได้รับแจกต้นกล้าช่วงหน้าแล้ง เกษตรกรก็พากันหาน้ำมารดต้นกล้าทั้งสูบทั้งหาบน้ำจากแหล่งน้ำ ทำให้ภาพรวมโครงการที่ต้นยางมีอายุ 1 – 3 ปี มีอัตราการรอดอยู่ในเกณฑ์ดี เฉลี่ยร้อยละ 85% ขณะที่ต้นยางที่ตายมีสาเหตุจากสภาพอากาศแห้งแล้ง 62% และต้นยางเป็นโรค 22%
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าเกษตรกรจะใช้ความอดทนและพยายามเพื่อให้สวนยางรอด รวมทั้งการให้คำแนะนำของเจ้าหน้าที่สำนักงานกองทุนสงเคราะห์สวนยาง (ส.ก.ย.) แต่อัตราการเติบโตของสวนยางที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน โดยเฉพาะที่ปลูกในปีแรกต่ำกว่าเกณฑ์เกือบครึ่งต่อครึ่ง ส่วนปีที่สองเกินครึ่งเพียงเล็กน้อย
ผลการประเมินโครงการฯ ในส่วนความพึงพอใจของเกษตรกร มีข้อเสนอแนะควรปรับปรุงด้านการจัดหาต้นยางชำถุงให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นทั้งในด้านระยะเวลา จำนวน และคุณภาพของกล้ายางที่ได้รับมอบ
ประเด็นการฮั้วประมูลและการเอื้อประโยชน์ให้เอกชน โดยข้อมูลที่ “ผู้จัดการรายวัน” นำเสนอมาโดยตลอดได้ชี้ให้เห็นถึงข้อพิรุธตั้งแต่ต้นคือ หลังครม.อนุมัติโครงการ กรมวิชาการเกษตรดำเนินการอย่างเร่งรีบโดยไม่สนใจจะเตรียมความพร้อมของพันธุ์กล้ายางที่ต้องใช้มากถึง 90 ล้านต้น กล่าวคือ
1) มีการออกประกาศประกวดราคาจ้างเหมาผลิตต้นยางชำถุง หรือทีโออาร์ ลงวันที่ 19 มิ.ย. 2546 และเซ็นสัญญากับเอกชน เดือนพ.ย. ในปีเดียวกัน โดยกำหนดส่งมอบกล้ายาง ในปี 2547 ปีแรกของสัญญา รวม 4 งวด ในเดือน พ.ค. – ส.ค. จำนวน 18 ล้านต้น ทั้งที่เมล็ดยาง ซึ่งจะนำไปเพาะเป็นกล้ายางนั้นจะหล่นไปแล้วตั้งแต่กลางเดือนก.ค. – ส.ค. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ยังไม่มีการเซ็นสัญญาใดๆ เว้นเสียแต่ว่า กรมวิชาการฯ มีใบสั่งล่วงหน้าแล้วว่าจะให้บริษัทใดชนะประมูล
2) ทีโออาร์ ให้บริษัทเดียวรับเหมาไปทำ โดยกำหนดให้ผู้เข้าประมูลวางหลักทรัพย์ค้ำประกันสัญญาสูงถึง 72 ล้านบาท ซึ่งขัดกับสภาพความเป็นจริงของการผลิตกล้ายางที่ทำกันอยู่จะเป็นเกษตรกรรายย่อยรวมตัวกันเป็นสหกรณ์ ซึ่งไม่มีเงินทุนมากพอเข้าร่วมประมูลได้
3) ทีโออาร์ ระบุแต่เพียงว่า ผู้เข้าร่วมประมูลเป็นผู้มีอาชีพจำหน่ายพันธุ์พืชมาอย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 5 ปี โดยไม่กำหนดให้ชัดลงไปว่าผู้เสนอราคาต้องมีอาชีพในการผลิตและจำหน่ายพันธุ์ยาง ต้องมีแปลงกิ่งพันธุ์ยาง แปลงกล้ายางของตนเองด้วย ทั้งที่ต้องผลิตกล้ายางให้รัฐถึง 90 ล้านต้น
4) การกำหนดให้ส่งมอบยาง 4 งวด คือ พ.ค., มิ.ย., ก.ค และ ส.ค. ไม่สอดคล้องกับหลักวิชาการปลูกยางซึ่งต้องปลูกในช่วงต้นฤดูฝน คือ พ.ค., มิ.ย. ช้าสุดไม่เกิน ก.ค. เท่านั้น
5) กำหนดจ่ายเงินล่วงหน้าร้อยละ 15 ของราคาค่าจ้างทั้งหมด (1,400 ล้านบาท) เป็นเงิน 209 ล้านบาท แทนที่จะจ่ายล่วงหน้าของแต่ละปี โดยปีแรก จ่าย 43 ล้านจากค่าจ้าง 288 ล้านบาท ปีที่ 2 จ่าย 64.8 ล้านบาท จากค่าจ้าง 432 ล้านบาท และปีที่ 3 จ่าย 108 ล้านบาท จากค่าจ้าง 720 ล้านบาท เพราะหากเกิดปัญหายกเลิกสัญญาก่อนรัฐจะได้ไม่เสียหาย
6) การประกวดราคามีผู้สนใจเข้าเสนอ 5 ราย และผลสรุปของคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา มีบริษัทผ่านเข้าการพิจารณาเงื่อนไข จำนวน 3 ราย คือ บริษัทเอกเกษตร จำกัด เสนอราคา 1,476 ล้านบาท, บริษัทเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ เสนอราคา 1,435.50 ล้านบาท และบริษัทรีสอร์ทแลนด์ จำกัด เสนอราคา 1,512 ล้านบาท ซึ่งเป็นการเสนอราคาที่ใกล้เคียงกันมาก และใกล้เคียงราคากลางที่ตั้งไว้ 1,440 ล้านบาทมากเช่นกัน
ส่วนอีก 2 บริษัท ผิดเงื่อนไข และนำไปสู่การยื่นหนังสือร้องเรียนของทั้งสองบริษัท โดยกิจการร่วมค้าบริษัทสหชัยฯ ซึ่งถูกตีตกด้วยเหตุผลว่า มีพื้นที่แปลงต้นพันธุ์ยางไม่ครบ ร้องเรียนว่า คณะกรรมการตรวจสอบแปลงมิได้ไปตรวจสอบแปลงและนับต้นพันธุ์ยางของผู้เสนอราคาให้ครบทุกแปลงตามที่แจ้งไป จึงทำให้ข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อนและถูกตัดสิทธิ์
สำหรับกิจการร่วมค้าพัฒนายางไทย ถูกตีตกด้วยเหตุผลว่า ไม่ได้เป็นผู้ซื้อซองและไม่มีหนังสือรับรองการประกอบอาชีพมีผลงานการจำหน่ายพันธุ์พืชที่เป็นผลงานภายใต้สัญญาเดียวและทำมาแล้วไม่เกิน 5 ปี
7) สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้เข้าตรวจสอบการประมูลโครงการนี้ พบว่า บริษัทเจริญโภคภัณฑ์ , รีสอร์ทแลนด์ และเอกเจริญการเกษตร มีการถือหุ้นไขว้กันของกรรมการทั้ง 3 แห่ง ซึ่งตามเอกสารการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท พบว่า นายวรวิทย์ เจนธนากุล กรามการผู้มีอำนาจในบริษัทรีสอร์ทแลนด์ เป็นหนึ่งในกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทเจริญโภคภัณฑ์วิศวกรรม จำกัด ผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด และมีชื่อของนางนงนุช ภรณวิลัย กรรมการผู้มีอำนาจในบริษัทเอกเจริญการเกษตร เป็นหนึ่งในกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทโปรการเกษตร ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทรีสอร์ทแลนด์
8) กรมวิชาการเกษตร ได้ส่งหนังสือหารือสำนักงานอัยการสูงสุด เกี่ยวกับการถือหุ้นไขว้ของ 3 บริษัทดังกล่าวข้างต้นเมื่อวันที่ 13 ส.ค. 2546 และวันที่ 13 ต.ค. 2546 สำนักงานอัยการสูงสุด แจ้งว่า “การจ้างเหมาครั้งนี้เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2541 ข้อ 5 ข้อ 15 ตรนี และข้อ 15 เบญ”
หลังสำนักงานอัยการสูงสุด ตอบหนังสือหารือกลับมา กรมวิชาการเกษตร ก็ต่อรองราคากับบริษัทเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด ผู้เสนอราคาต่ำสุด เมื่อวันที่ 6 พ.ย. 2546 และราคาสุดท้ายที่บริษัทตกลงก็คือ ราคาต้นละ 15.53 บาท รวมเป็นเงิน 1,397.70 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าราคากลาง 42.30 ล้านบาท
ขณะที่ ทาง สตง. ได้ส่งรายงานการตรวจพบการถือหุ้นไขว้รูปแบบใหม่ ให้สำนักงานอัยการสูงสุดตีความใหม่อีกครั้ง และสำนักงานอัยการสูงสุด ลงความเห็นเมื่อวันที่ 11 ต.ค. 2546 ว่า การประมูลโครงการดังกล่าวเป็น "โมฆียะ"
ประเด็นการบริหารสัญญา กรมวิชาการเกษตรฯ มีการเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด ที่ชัดเจนก็คือ การรับมอบกล้ายางที่ไม่มีคุณภาพ เช่น ไม่มีรากแก้ว ขณะที่สัญญาระบุ ต้องมีรากแก้วไม่ต่ำกว่า 20 ซม.
นอกจากนั้น กรมวิชาการเกษตรฯ ยังเปิดช่องให้ ซีพี ส่งมอบยางนอกฤดูกาลปลูก โดยขยายเวลาส่งมอบยางถึงเดือนก.ย. ซึ่งหมดฝนไปแล้วโดยอ้างว่าเกษตรกรต้องการและซีพี ไม่ขัดข้องที่จะส่งให้และพร้อมรับผิดชอบหากกล้ายางเสียหายล้มตาย ส่วนกรมวิชาการเกษตร ไม่ขอรับผิดชอบใดๆ เพราะเป็นความสมัครใจกันทั้งสองฝ่าย
ส่วนประเด็นเรื่องความเสียหายต่อรัฐและเกษตรกร จากรายงานการตรวจสอบของหลายหน่วยงาน รวมทั้งกระทรวงเกษตรฯ เอง เป็นที่ประจักษ์ว่าเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการที่รับมอบกล้ายางไม่ได้คุณภาพ ซึ่งจะสูญเสียโอกาส และค่าลงทุน ขณะที่เครือซีพี ส่งมอบกล้ายางในแต่ละงวดไม่ได้ตามกำหนดในสัญญาตั้งแต่ปีแรกจนถึงปีสุดท้าย
ทั้งนี้ ศูนย์ประเมินผลสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปรายงานผลการประเมินโครงการปลูกยางพาราเพื่อยกระดับรายได้และความมั่นคงให้เกษตรกรในแหล่งปลูกยางใหม่ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2547 – 2549) ว่า โครงการดังกล่าวตั้งเป้าหมายเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกยาง จำนวน 1 ล้านไร่ แต่การส่งมอบกล้ายางให้เกษตรกรเพาะปลูกได้จริงเพียง 776,405 ไร่ ต่ำกว่าเป้าที่วางไว้ 223,595 ไร่ โดยบริษัทคู่สัญญาจัดส่งกล้ายางให้ไม่ทันประมาณ 19 ล้านต้นจากทั้งหมด 90 ล้านต้น
หากนับรวมความเสียหายจากบริษัทที่ส่งมอบกล้ายางไม่ได้ตามเป้าแล้วหลายสิบล้านในแต่ละปี นับจากปี 2557 ซึ่งเป็นปีที่เปิดกรีดเป็นต้นไป เพราะรัฐควรจะมีรายได้จากสวนยาง 1 ล้านไร่ แต่เอาเข้าจริงทำได้ต่ำเป้าถึง 2 แสนไร่
จากการประเมินผล ยังพบว่า พื้นที่เพาะปลูกยาง จำนวน 776,405 ไร่ นั้น ปัจจุบันมีการระงับการดำเนินการไป จำนวน 8,689 ไร่ คงเหลือพื้นที่ปลูกยางจริงขณะนี้จำนวน 767,716 ไร่ เหตุผลที่ระงับการปลูกส่วนใหญ่ร้อยละ 26 มาจากปัญหาต้นยางที่ปลูกตายเป็นจำนวนมากเพราะอากาศแล้งจัด เกษตรกรจึงไม่ประสงค์จะปลูกใหม่เพราะเห็นว่าไม่คุ้มทุน
ศูนย์ประเมินผลฯ ระบุว่า ความขยันขันแข็งเอาใส่กล้ายาง แม้จะได้รับแจกต้นกล้าช่วงหน้าแล้ง เกษตรกรก็พากันหาน้ำมารดต้นกล้าทั้งสูบทั้งหาบน้ำจากแหล่งน้ำ ทำให้ภาพรวมโครงการที่ต้นยางมีอายุ 1 – 3 ปี มีอัตราการรอดอยู่ในเกณฑ์ดี เฉลี่ยร้อยละ 85% ขณะที่ต้นยางที่ตายมีสาเหตุจากสภาพอากาศแห้งแล้ง 62% และต้นยางเป็นโรค 22%
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าเกษตรกรจะใช้ความอดทนและพยายามเพื่อให้สวนยางรอด รวมทั้งการให้คำแนะนำของเจ้าหน้าที่สำนักงานกองทุนสงเคราะห์สวนยาง (ส.ก.ย.) แต่อัตราการเติบโตของสวนยางที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน โดยเฉพาะที่ปลูกในปีแรกต่ำกว่าเกณฑ์เกือบครึ่งต่อครึ่ง ส่วนปีที่สองเกินครึ่งเพียงเล็กน้อย
ผลการประเมินโครงการฯ ในส่วนความพึงพอใจของเกษตรกร มีข้อเสนอแนะควรปรับปรุงด้านการจัดหาต้นยางชำถุงให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นทั้งในด้านระยะเวลา จำนวน และคุณภาพของกล้ายางที่ได้รับมอบ