ASTVผู้จัดการรายวัน - กระทรวงการต่างประเทศ ชี้ชัดกัมพูชาขีดเส้นแผนที่ทางทะเลกินถึงพื้นที่ฝ่ายไทยตัดกึ่งกลางเกาะกูดเป็นการลากเส้นที่ผิดหลักกฎหมายระหว่างประเทศร้อยเปอร์เซนต์ ย้ำเป็นภารกิจสำคัญที่ต้องเคลียร์ให้ได้อันดับแรก พร้อมขอกรอบการเจรจาปักปันเขตแดนทางทะเลจากรัฐสภาก่อน ส่วนการอนุญาตสำรวจขุดเจาะปิโตรเลียมต่างฝ่ายต่างให้สัมปทาน แต่ทั้งสองฝ่ายจะยังลงมือทำอะไรไม่ได้ทั้งสิ้นจนกว่าจะตกลงกันได้ก่อน
วานนี้ (4 ส.ค.) นายกษิต ภิรมย์ รมว.กระทรวงการต่างประเทศ ได้มอบหมายให้นายวศิน ธีรเวชญาณ ประธานคณะอนุกรรมาธิการร่วมด้านเทคนิคการปักปันเขตแดนทางทะเลไทย-กัมพูชา สรุปเรื่องพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา แก่สื่อมวลชนประจำกระทรวง
นายวศิน กล่าวว่า ทั้งไทยและกัมพูชาต่างอ้างสิทธิเหนือพื้นที่เขตทับซ้อน ซึ่งเป็นสิทธิตามกฎหมายระหว่างประเทศที่จะอ้างสิทธิได้ หลังจากนั้นทั้งสองฝ่ายต่างได้ประกาศให้สัมปทานสำรวจขุดเจาะปิโตรเลียมในเขตทับซ้อนดังกล่าวเต็มหมดแล้ว
อย่างไรก็ตาม การให้สัมปทานฯ ของรัฐบาลทั้งสองประเทศเป็นเรื่องที่ใครจะให้ก็ให้ไป แต่ทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถทำอะไรได้ทั้งสิ้นจนกว่าจะตกลงกันได้ ซึ่งถือเป็นหลักสำคัญที่สุด สำหรับพื้นที่ให้สัมปทานนั้นเป็นพื้นที่เก่าทั้งหมด ซึ่งมีระยะเวลาสัมปทาน ถ้าหมดเวลาก็ต้องต่อใหม่ ส่วนข้อมูลว่าได้ให้สัมปทานแก่บริษัทใดบ้างนั้นต้องสอบถามไปยังกระทรวงพลังงาน
นายวศิน กล่าวว่าถึงการตกลงปักปันเขตแดนและแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างไทย-กัมพูชาบริเวณพื้นที่ทับซ้อนฯ ว่า ยังบอกไม่ได้ว่าจะใช้เวลานานเท่าไหร่ เพราะต่างฝ่ายต่างรักษาผลประโยชน์ของตัวเองอย่างเต็มที่ ถ้าฝ่ายไทยเสนอไปแล้วฝ่ายกัมพูชาไม่เห็นด้วย หรือกัมพูชาเสนอมาแล้วฝ่ายไทยไม่เห็นด้วย ก็คือตกลงกันไม่ได้ ต้องหาทางที่จะตกลงกันให้ได้ หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยินยอม ก็จะต้องประนีประนอมกัน จึงบอกได้ยากว่าเมื่อไหร่จะตกลงกันได้ โดยเฉพาะเรื่องเขตแดนเป็นเรื่องอ่อนไหว แต่ละฝ่ายก็ต้องทำอย่างระมัดระวังอย่างที่สุด
นายวศินกล่าวถึงสถานะของเรื่องนี้ว่า หลังจากได้มีการทำข้อบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (MOU) ว่าด้วยการอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน เมื่อปี 2544 แล้วก็มีการประชุมประปราย เพื่อเสนอท่าทีเพื่อคุยกัน ให้ทราบว่าท่าทีแต่ละฝ่ายเป็นอย่างไร แต่ก็ยังไม่มีข้อสรุปอะไรขอย้ำว่ายังไม่มีข้อสรุปอะไร เพราะยังไม่เป็นที่พอใจ ซึ่งฝ่ายไทยยังไม่พอใจข้อเสนอของกัมพูชา ส่วนกัมพูชาก็ยังไม่พอใจข้อเสนอของไทย ฉะนั้น ยังไม่ได้มีการตกลงอะไรกันแม้แต่น้อย
กรณีที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ไปเจรจากับกัมพูชานั้น นายวศิน กล่าวว่า ตนไม่ทราบเรื่องเนื่องจากหลังจากนายสุเทพ ไปกัมพูชา ก็ไม่ได้ติดต่อกับตน
ส่วนที่มีการตั้งข้อสังเกตว่านายสุเทพ ไปเจรจากัมกัมพูชา จะมีการแบ่งผลประโยชน์ของฝ่ายการเมืองหรือไม่ นายวศิน กล่าวว่า เรื่องการปักปันเขตแดนอย่างระมัดระวังและอาศัยกฎหมายระหว่างประเทศที่อธิบายได้เพื่อไม่ให้เกิดข้อครหาขึ้นมา แต่ถ้าหากมีอะไรที่อธิบายไม่ได้ก็เป็นเรื่องน่ากลัว
นายวศิน กล่าวว่า ตนเพิ่งได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะอนุกรรมาธิการร่วมด้านเทคนิคการปักปันเขตแดนทางทะเล ยังไม่ได้เข้าไปทำงานจริงๆ ซึ่งการจะทำงานตรงนี้ต้องขอกรอบการเจรจารัฐสภาก่อน และตอนนี้อยู่ในระหว่างการขอกรอบจากรัฐสภา
ประเด็นที่น่าหนักใจในการเข้ามารับผิดชอบเรื่องนี้นั้น นายวศิน กล่าวว่า ความจริงไม่มีประเด็นที่น่าหนักใจ แต่เป็นเรื่องที่ต้องทำด้วยความระมัดระวังและต้องมีหลักอ้างอิงทางวิชาการสามารถที่จะอธิบายได้ว่าทำไมถึงรับและไม่รับข้อใด
ส่วนกรณีที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ระบุว่า กัมพูชาขีดเส้นแผนที่กินถึงพื้นที่ฝ่ายไทย นายวศิน กล่าวว่า ต่างฝ่ายต่างก็อ้างเต็มที่ แต่ก่อนที่จะแบ่งพื้นที่เขตทับซ้อนทางทะเลฯ คงต้องคุยเรื่องขอบเขตก่อนว่าเขามีพื้นฐานทางกฎหมายในการอ้างเส้นนี้อย่างไรบ้าง ถ้ารับไม่ได้ต้องปรับใหม่ ต้องคุยกัน เพราะยังไม่สามารถอ้างเป็นสิทธิได้ เนื่องจากบันทึกความเข้าใจร่วมกันให้ทำความตกลงกันก่อน ฉะนั้นเราต้องตกลงกันอีกที เราตกลงได้หรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
สำหรับข้อกังวลว่าไทยจะเสียดินแดนในส่วนเกาะกูด จากการอ้างเส้นเขตแดนโดยกัมพูชานั้น นายวศิน กล่าวว่า ตามความตกลงมีความชัดเจนมากว่าเกาะกูดเป็นของไทย แต่การลากเส้นเขตแดนของกัมพูชาที่ลากมาตัดกึ่งกลางเกาะกูดแล้วเว้นเกาะกูดไว้ เป็นการลากเส้นที่ผิดหลักกฎหมายระหว่างประเทศร้อยเปอร์เซ็นต์ ฝ่ายเราก็ต้องเคลียร์ประเด็นเรื่องเกาะกูดให้ได้
"สาเหตุที่เราแบ่งเป็น 2 เซคชั่น ก็เพราะเราต้องเคลียร์ประเด็นเรื่องเกาะกูดให้ได้ เพราะเป็นการลากเส้นที่ผิดหลักกฎหมายระหว่างประเทศร้อยเปอร์เซ็นต์ คิดว่าน่าจะสามารถเคลียร์ได้ เพราะค่อนข้างชัดเจนในประเด็นเรื่องกฎหมายระหว่างประเทศ"
นายวศิน กล่าวด้วยว่า เมื่อสองฝ่ายต่างอ้างสิทธิเหนือดินแดนและในระหว่างที่พิพาทกันอยู่ หากเขามาทำอะไรในเขตที่เรามีสิทธิ เราก็สามารถที่จะดำเนินการตามที่เราเห็นสมควรได้ อย่างไรก็ตาม จนถึงบัดนี้ ยังไม่มีใครเข้าไปทำอะไรในบริเวณนั้น เพราะต่างคนต่างเข้าใจในหลักปฏิบัตินี้ตรงกัน เราต้องเจรจาแบ่งเขตก่อนที่จะทำ JDA
อนึ่ง สมเด็จฯ ฮุนเซน นายกรัฐมนตรี เพิ่งอนุญาตให้กลุ่มบริษัทน้ำมันฝรั่งเศส “โตตาล ออยล์” เข้าสำรวจแหล่งก๊าซฯและน้ำมันในอ่าวไทยบริเวณพื้นที่ทับซ้อนซึ่งฝ่ายไทยและกัมพูชาต่างอ้างสิทธิ์ เมื่อวันที่ 14 ก.ค. 2552 ที่ผ่านมา ในระหว่างการเยือนประเทศฝรั่งเศส
ขณะที่ นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการนายกษิต ภิรมย์ ระบุว่า ทั้งไทยและกัมพูชาต่างฝ่ายต่างให้สิทธิสัมปทานฯ เหนือพื้นที่ทับซ้อนฯ โดยฝ่ายไทยให้สัมปทาน 11 ราย ส่วนกัมพูชา 6 ราย
ส่วนประเด็นการปักปันเขตแดนทางทะเลนั้น นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกกลุ่มพันธมิตรฯ แถลงเมื่อวันที่ 29 ก.ค.ที่ผ่านมาว่า เอกสารแนบท้ายใน MOU เมื่อปี 2544 ซึ่งเป็นแผนที่ทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชา พื้นที่ส่วนที่ 1 เป็นฝั่งกัมพูชาเขียนขึ้นเองไม่มีมาตรฐานใดๆ รองรับ ผิดหลักสากลทั่วไป ประเทศไทยใช้หลักเส้นมัธยะ ตามหลักสากล ขีดเส้นออกมาจากหลักที่ 73 พบว่า เส้นดังกล่าวมีการละเมิดอธิปไตยของไทย คือ เกาะกูด พื้นที่เกาะกูดต้องมีพื้นที่ทางทะเลล้อมรอบเป็นดินแดนของไทย อย่างน้อย 12 ไมล์ทะเล แต่ทางกัมพูชาไม่มีข้อสนใจในเรื่องนี้
ในแถลงการณ์ร่วม และบันทึกข้อตกลงในเดือนมิ.ย. 2544 พบว่า เนื่องจากมีข้อพิพาทดังกล่าว ทำให้มีข้อตกลงว่า พื้นที่พิพาทด้านบน เหนือกว่า 11 องศาเหนือ ไม่มีการตกลงในเรื่องอธิปไตย แต่ให้มาบันทึกความเข้าใจในเรื่องผลประโยชน์ พื้นที่ใต้ 11 องศาเหนือ ที่เส้นละติจูด 11 องศาเหนือ ลงมาข้างล่าง เป็นพื้นที่ที่ตกลงจะแบ่งผลประโยชน์กัน ผลปรากฎว่า วันนี้ได้มีการยึดพื้นที่ดังกล่าวนั้นจากพื้นที่ที่ควรจะเป็นของไทย กลับกลายเป็นพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ตั้งแต่ปี 2544 ผลประโยชน์ตรงนี้ มีมูลค่านับ 4 ล้านล้านบาท
วานนี้ (4 ส.ค.) นายกษิต ภิรมย์ รมว.กระทรวงการต่างประเทศ ได้มอบหมายให้นายวศิน ธีรเวชญาณ ประธานคณะอนุกรรมาธิการร่วมด้านเทคนิคการปักปันเขตแดนทางทะเลไทย-กัมพูชา สรุปเรื่องพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา แก่สื่อมวลชนประจำกระทรวง
นายวศิน กล่าวว่า ทั้งไทยและกัมพูชาต่างอ้างสิทธิเหนือพื้นที่เขตทับซ้อน ซึ่งเป็นสิทธิตามกฎหมายระหว่างประเทศที่จะอ้างสิทธิได้ หลังจากนั้นทั้งสองฝ่ายต่างได้ประกาศให้สัมปทานสำรวจขุดเจาะปิโตรเลียมในเขตทับซ้อนดังกล่าวเต็มหมดแล้ว
อย่างไรก็ตาม การให้สัมปทานฯ ของรัฐบาลทั้งสองประเทศเป็นเรื่องที่ใครจะให้ก็ให้ไป แต่ทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถทำอะไรได้ทั้งสิ้นจนกว่าจะตกลงกันได้ ซึ่งถือเป็นหลักสำคัญที่สุด สำหรับพื้นที่ให้สัมปทานนั้นเป็นพื้นที่เก่าทั้งหมด ซึ่งมีระยะเวลาสัมปทาน ถ้าหมดเวลาก็ต้องต่อใหม่ ส่วนข้อมูลว่าได้ให้สัมปทานแก่บริษัทใดบ้างนั้นต้องสอบถามไปยังกระทรวงพลังงาน
นายวศิน กล่าวว่าถึงการตกลงปักปันเขตแดนและแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างไทย-กัมพูชาบริเวณพื้นที่ทับซ้อนฯ ว่า ยังบอกไม่ได้ว่าจะใช้เวลานานเท่าไหร่ เพราะต่างฝ่ายต่างรักษาผลประโยชน์ของตัวเองอย่างเต็มที่ ถ้าฝ่ายไทยเสนอไปแล้วฝ่ายกัมพูชาไม่เห็นด้วย หรือกัมพูชาเสนอมาแล้วฝ่ายไทยไม่เห็นด้วย ก็คือตกลงกันไม่ได้ ต้องหาทางที่จะตกลงกันให้ได้ หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยินยอม ก็จะต้องประนีประนอมกัน จึงบอกได้ยากว่าเมื่อไหร่จะตกลงกันได้ โดยเฉพาะเรื่องเขตแดนเป็นเรื่องอ่อนไหว แต่ละฝ่ายก็ต้องทำอย่างระมัดระวังอย่างที่สุด
นายวศินกล่าวถึงสถานะของเรื่องนี้ว่า หลังจากได้มีการทำข้อบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (MOU) ว่าด้วยการอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน เมื่อปี 2544 แล้วก็มีการประชุมประปราย เพื่อเสนอท่าทีเพื่อคุยกัน ให้ทราบว่าท่าทีแต่ละฝ่ายเป็นอย่างไร แต่ก็ยังไม่มีข้อสรุปอะไรขอย้ำว่ายังไม่มีข้อสรุปอะไร เพราะยังไม่เป็นที่พอใจ ซึ่งฝ่ายไทยยังไม่พอใจข้อเสนอของกัมพูชา ส่วนกัมพูชาก็ยังไม่พอใจข้อเสนอของไทย ฉะนั้น ยังไม่ได้มีการตกลงอะไรกันแม้แต่น้อย
กรณีที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ไปเจรจากับกัมพูชานั้น นายวศิน กล่าวว่า ตนไม่ทราบเรื่องเนื่องจากหลังจากนายสุเทพ ไปกัมพูชา ก็ไม่ได้ติดต่อกับตน
ส่วนที่มีการตั้งข้อสังเกตว่านายสุเทพ ไปเจรจากัมกัมพูชา จะมีการแบ่งผลประโยชน์ของฝ่ายการเมืองหรือไม่ นายวศิน กล่าวว่า เรื่องการปักปันเขตแดนอย่างระมัดระวังและอาศัยกฎหมายระหว่างประเทศที่อธิบายได้เพื่อไม่ให้เกิดข้อครหาขึ้นมา แต่ถ้าหากมีอะไรที่อธิบายไม่ได้ก็เป็นเรื่องน่ากลัว
นายวศิน กล่าวว่า ตนเพิ่งได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะอนุกรรมาธิการร่วมด้านเทคนิคการปักปันเขตแดนทางทะเล ยังไม่ได้เข้าไปทำงานจริงๆ ซึ่งการจะทำงานตรงนี้ต้องขอกรอบการเจรจารัฐสภาก่อน และตอนนี้อยู่ในระหว่างการขอกรอบจากรัฐสภา
ประเด็นที่น่าหนักใจในการเข้ามารับผิดชอบเรื่องนี้นั้น นายวศิน กล่าวว่า ความจริงไม่มีประเด็นที่น่าหนักใจ แต่เป็นเรื่องที่ต้องทำด้วยความระมัดระวังและต้องมีหลักอ้างอิงทางวิชาการสามารถที่จะอธิบายได้ว่าทำไมถึงรับและไม่รับข้อใด
ส่วนกรณีที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ระบุว่า กัมพูชาขีดเส้นแผนที่กินถึงพื้นที่ฝ่ายไทย นายวศิน กล่าวว่า ต่างฝ่ายต่างก็อ้างเต็มที่ แต่ก่อนที่จะแบ่งพื้นที่เขตทับซ้อนทางทะเลฯ คงต้องคุยเรื่องขอบเขตก่อนว่าเขามีพื้นฐานทางกฎหมายในการอ้างเส้นนี้อย่างไรบ้าง ถ้ารับไม่ได้ต้องปรับใหม่ ต้องคุยกัน เพราะยังไม่สามารถอ้างเป็นสิทธิได้ เนื่องจากบันทึกความเข้าใจร่วมกันให้ทำความตกลงกันก่อน ฉะนั้นเราต้องตกลงกันอีกที เราตกลงได้หรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
สำหรับข้อกังวลว่าไทยจะเสียดินแดนในส่วนเกาะกูด จากการอ้างเส้นเขตแดนโดยกัมพูชานั้น นายวศิน กล่าวว่า ตามความตกลงมีความชัดเจนมากว่าเกาะกูดเป็นของไทย แต่การลากเส้นเขตแดนของกัมพูชาที่ลากมาตัดกึ่งกลางเกาะกูดแล้วเว้นเกาะกูดไว้ เป็นการลากเส้นที่ผิดหลักกฎหมายระหว่างประเทศร้อยเปอร์เซ็นต์ ฝ่ายเราก็ต้องเคลียร์ประเด็นเรื่องเกาะกูดให้ได้
"สาเหตุที่เราแบ่งเป็น 2 เซคชั่น ก็เพราะเราต้องเคลียร์ประเด็นเรื่องเกาะกูดให้ได้ เพราะเป็นการลากเส้นที่ผิดหลักกฎหมายระหว่างประเทศร้อยเปอร์เซ็นต์ คิดว่าน่าจะสามารถเคลียร์ได้ เพราะค่อนข้างชัดเจนในประเด็นเรื่องกฎหมายระหว่างประเทศ"
นายวศิน กล่าวด้วยว่า เมื่อสองฝ่ายต่างอ้างสิทธิเหนือดินแดนและในระหว่างที่พิพาทกันอยู่ หากเขามาทำอะไรในเขตที่เรามีสิทธิ เราก็สามารถที่จะดำเนินการตามที่เราเห็นสมควรได้ อย่างไรก็ตาม จนถึงบัดนี้ ยังไม่มีใครเข้าไปทำอะไรในบริเวณนั้น เพราะต่างคนต่างเข้าใจในหลักปฏิบัตินี้ตรงกัน เราต้องเจรจาแบ่งเขตก่อนที่จะทำ JDA
อนึ่ง สมเด็จฯ ฮุนเซน นายกรัฐมนตรี เพิ่งอนุญาตให้กลุ่มบริษัทน้ำมันฝรั่งเศส “โตตาล ออยล์” เข้าสำรวจแหล่งก๊าซฯและน้ำมันในอ่าวไทยบริเวณพื้นที่ทับซ้อนซึ่งฝ่ายไทยและกัมพูชาต่างอ้างสิทธิ์ เมื่อวันที่ 14 ก.ค. 2552 ที่ผ่านมา ในระหว่างการเยือนประเทศฝรั่งเศส
ขณะที่ นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการนายกษิต ภิรมย์ ระบุว่า ทั้งไทยและกัมพูชาต่างฝ่ายต่างให้สิทธิสัมปทานฯ เหนือพื้นที่ทับซ้อนฯ โดยฝ่ายไทยให้สัมปทาน 11 ราย ส่วนกัมพูชา 6 ราย
ส่วนประเด็นการปักปันเขตแดนทางทะเลนั้น นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกกลุ่มพันธมิตรฯ แถลงเมื่อวันที่ 29 ก.ค.ที่ผ่านมาว่า เอกสารแนบท้ายใน MOU เมื่อปี 2544 ซึ่งเป็นแผนที่ทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชา พื้นที่ส่วนที่ 1 เป็นฝั่งกัมพูชาเขียนขึ้นเองไม่มีมาตรฐานใดๆ รองรับ ผิดหลักสากลทั่วไป ประเทศไทยใช้หลักเส้นมัธยะ ตามหลักสากล ขีดเส้นออกมาจากหลักที่ 73 พบว่า เส้นดังกล่าวมีการละเมิดอธิปไตยของไทย คือ เกาะกูด พื้นที่เกาะกูดต้องมีพื้นที่ทางทะเลล้อมรอบเป็นดินแดนของไทย อย่างน้อย 12 ไมล์ทะเล แต่ทางกัมพูชาไม่มีข้อสนใจในเรื่องนี้
ในแถลงการณ์ร่วม และบันทึกข้อตกลงในเดือนมิ.ย. 2544 พบว่า เนื่องจากมีข้อพิพาทดังกล่าว ทำให้มีข้อตกลงว่า พื้นที่พิพาทด้านบน เหนือกว่า 11 องศาเหนือ ไม่มีการตกลงในเรื่องอธิปไตย แต่ให้มาบันทึกความเข้าใจในเรื่องผลประโยชน์ พื้นที่ใต้ 11 องศาเหนือ ที่เส้นละติจูด 11 องศาเหนือ ลงมาข้างล่าง เป็นพื้นที่ที่ตกลงจะแบ่งผลประโยชน์กัน ผลปรากฎว่า วันนี้ได้มีการยึดพื้นที่ดังกล่าวนั้นจากพื้นที่ที่ควรจะเป็นของไทย กลับกลายเป็นพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ตั้งแต่ปี 2544 ผลประโยชน์ตรงนี้ มีมูลค่านับ 4 ล้านล้านบาท