ASTVผู้จัดการรายวัน - ส.อ.ท.นัดถกนักลงทุนในพื้นที่มาบตาพุดด่วนสัปดาห์หน้าหาข้อสรุปร่วมเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจก่อนทำหนังสือถึงรัฐบาล หลังจากครม.มีมติส่งไม้ต่อให้ “กอร์ปศักดิ์” พิจารณาชะลอก่อสร้าง-ขยายลงทุนใหม่ วอนรัฐฟังความเห็นเอกชนลดเสียหายรุนแรง บิ๊กปตท.เชื่อมติครม.จะไม่ทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจชาติหยุดชะงักเพียงแต่ให้ชุมชนมีบทบาทมากขึ้น ภาคประชาชนหนุน จัดวางผังเมืองระยองใหม่แก้ปัญหาโรงงานรุกเข้าเขตชุมชน เผย 55 โครงการเสี่ยงสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม-สุขภาพที่ยังไม่ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 67
นายศุภชัย วัฒนางกูร ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า จากการประชุมร่วมกับผู้ประกอบการปิโตรเคมีเพื่อพิจารณาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากมติคณะรัฐมนตรีที่ให้มีการชะลอการขยายและก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมใหม่ในพื้นที่มาบตาพุด และบ้านฉาง ในระหว่างการทบทวนแผนพัฒนาในจังหวัดระยองตามที่คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.)เสนอนั้น ทางภาคเอกชนค่อนข้างเบาใจระดับหนึ่ง เนื่องจากครม.ได้มอบหมายให้นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติเข้ามาพิจารณาอีกครั้งในประเด็นที่ 1 และ 5 กล่าวคือ
ในประเด็นหัวข้อที่ 1 .ที่ให้ทบทวนการปรับแนวทางการพัฒนาจังหวัดระยอง ด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการจากทุกภาคส่วน เพื่อจัดทำผังเมืองรวมบริเวณอุตสาหกรรมหลัก และชุมชนในจังหวัดระยองฉบับใหม่ การจัดให้มีบริการทางสังคมอย่างเพียงพอ และ 5. ให้รัฐบาลจะชะลอการขยายและก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมใหม่ในพื้นที่มาบตาพุด และบ้านฉาง และในระหว่างการทบทวนแผนพัฒนาในจังหวัดระยอง ให้กำหนดแนวทางและกระบวนการตัดสินใจในการอนุมัติ อนุญาต และเห็นชอบการขยายโรงงานอุตสาหกรรมใหม่ ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน
เรื่องนี้ ส.อ.ท.จะมีการนัดประชุมเฉพาะเพื่อหารือร่วมกับผู้ประกอบการเอกชนในภาคอุตสาหกรรมอื่นๆทั้งโรงงานปิโตรเคมี โรงไฟฟ้า และอื่นๆที่อยู่ในพื้นที่ที่มาบตาพุดและบ้านฉางในสัปดาห์หน้า โดยมีนายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล รองประธานส.อ.ท.เป็นประธานส.อ.ท. เพื่อหาข้อสรุปถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากมีการชะลอการขยายหรือการก่อสร้างโรงงานในพื้นที่ดังกล่าวจริง ก่อนเสนอต่อนายกอปรศักดิ์ต่อไป
" เมื่ออ่านมติครม.แล้วพอรับได้ เบาใจระดับหนึ่ง เนื่องจากได้มอบหมายให้รองนายกฯมาดูประเด็นที่น่าจะส่งผลกระทบคือ ข้อ 1 และ 5 ส่วนข้อที่ 2-4 ผมก็เห็นด้วยที่หน่วยงานรัฐควรต้องเปิดเผยข้อมูล ผลกระทบทางสุขภาพจากอุตสาหกรรมในพื้นที่มาบตาพุด และจังหวัดระยอง เพื่อเผยแพร่วิธีป้องกันผลกระทบและบรรเทาอุบัติภัยสารเคมีได้อย่างทั่วถึง ซึ่งหากพบว่ายังไม่ดีพอก็จะได้มีการแก้ไข อย่างไรก็ตามหากภาครัฐจะตัดสินใจอะไร อยากให้มาถามภาคเอกชนด้วย เพื่อจะไม่ได้ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรง"นายศุภชัย กล่าว
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปตท.จะพิจารณาความชัดเจนของมติครม.ดังกล่าวก่อน ซึ่งขณะนี้ยังคลุมเคลือ แต่ในหลักการเชื่อว่าต้องการให้ชุมชนท้องถิ่นหรือจังหวัดเข้ามามีบทบาทในเรื่องนี้มากขึ้น โดยเข้ามามีส่วนร่วมพิจารณาว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ เพื่อไม่ให้กระทบต่อชุมชนแต่คงไม่ถึงขั้นให้มีการหยุดการลงทุน เนื่องจากประเทศยังต้องมีการพัฒนาเศรษฐกิจต่อไป
นายชายน้อย เผื่อนโกสุม กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากมติครม.ที่จะให้มีการชะลอการขยายและก่อสร้างโรงงานใหม่ในพื้นที่มาบตาพุดและบ้านฉางนั้น เชื่อว่าคงไม่ส่งผลกระทบต่อโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพโรงกลั่นน้ำมันตามมาตรฐานยูโร 4 เนื่องจากโครงการนี้บริษัทได้ผ่านความเห็นชอบด้านสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) และได้ทำข้อตกลงเบื้องต้นกับผู้รับเหมาก่อสร้างไว้แล้ว
โดยก่อนหน้านี้ บริษัทฯได้พยายามเจรจากับกระทรวงพลังงานเพื่อขอเลื่อนการบังคับใช้ยูโร 4 ออกไปก่อนจากเดิมที่กำหนดบังคับใช้ในต้นปี 2555 แต่ก็ไม่ได้รับการตอบสนอง เชื่อว่าหากรัฐยังยืนยันที่จะผลักดันนโยบายนี้ตามกำหนดเดิม ก็ต้องช่วยเคลียร์เรื่องข้อบังคับการชะลอการขยายหรือก่อสร้างโรงงานใหม่ในพื้นที่มาบตาพุดด้วยซึ่งเป็นประเด็นที่ขัดกันเองของหน่วยงานรัฐอีกทั้ง โครงการดังกล่าวจะส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากจะผลิตน้ำมันที่ซัลเฟอร์ต่ำลงจากเดิม 350 พีพีเอ็มเหลือเพียง 50 พีพีเอ็ม จึงมองว่าเป็นโครงการที่ควรได้รับการสนับสนุนมากกว่า
อย่างไรก็ตาม โครงการลงทุนปรับปรุงประสิทธิภาพโรงกลั่นน้ำมันตามยูโร 4 นี้ บริษัทฯจะใช้เงินลงทุนไม่เกิน 240 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจากับผู้รับเหมาก่อสร้างเพื่อขอให้ปรับลดราคาก่อสร้างลง
***หนุนสร้างกลไกตรวจสอบ
นายศุภกิจ นันทะวรการ นักวิจัยมูลนิธินโยบายสุขภาวะ ซึ่งศึกษาและติดตามผลกระทบจากอุตสาหกรรมในพื้นที่มาบตาพุดมาอย่างต่อเนื่อง เปิดเผยว่า มติครม.ที่อนุมัติข้อเสนอทางนโยบายเรื่องผลกระทบจากอุตสาหกรรมในพื้นที่มาบตาพุดและจังหวัดระยอง ที่ให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเปิดเผยข้อมูลผลกระทบทางสุขภาพจากอุตสาหกรรม รวมทั้งเผยแพร่วิธีป้องกันผลกระทบและสร้างเสริมสุขภาพในภาวะมลพิษให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึงโดยเร็วและต่อเนื่องนั้น ขณะนี้มีข้อมูลสำคัญที่ประชาชนจำเป็นต้องรู้แต่ยังไม่เปิดเผยหรือยังไม่มีการเผยแพร่ เช่น
ความเสี่ยงและผลกระทบจำนวนมากที่ใช้อยู่ในโรงงานและวิธีป้องกันสุขภาพ, มาตรการป้องกันและติดตามตรวจสอบตามรายงานอีไอเอที่เห็นชอบแล้วของโครงการต่างๆ, ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ จากการลักลอบทิ้งขยะอุตสาหกรรม และวิธีป้องกันสุขภาพ, โรงงานใหม่ที่ได้รับอนุญาตแล้ว และที่กำลังพิจารณาให้อนุญาต, ปัญหาทางสังคม (เช่น ความปลอดภัย อาชญากรรม ยาเสพติด อุบัติเหตุ พื้นที่เสี่ยง ฯลฯ), ปัญหาเด็กและเยาวชน การตรวจวิเคราะห์โรคและความเจ็บป่วย จากสิ่งแวดล้อม และจากสภาพสังคม และวิธีป้องกันและสร้างเสริมสุขภาพในภาวะมลพิษ
ส่วนมติครม.ที่ให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนและกฎการปฏิบัติการสำหรับป้องกันและบรรเทาอุบัติภัยจากอุตสาหกรรม และการจัดทำแผนป้องกันและบรรเทาอุบัติภัยสารเคมีระดับจังหวัดโดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรและประชาชนในพื้นที่ เป็นที่ชัดเจนว่า เวลานี้อุบัติภัยสารเคมี เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่มีการจัดตั้งนิคมฯ ทั้งในโรงงานและระหว่างการขนส่ง โดยในคำพิพากษาเมื่อวันที่ 3 มี.ค.2552 ชี้ว่า ช่วงเดือน พ.ย.2550 – พ.ย.2551 เกิดอุบัติภัยทั้งในและนอกนิคมฯ รวม 5 ครั้ง ก่อความเสียหายต่อทรัพย์สินและประชาชนได้รับบาดเจ็บ
นายศุภกิจ กล่าวว่า ที่ผ่านมาเน้นการซ้อมแผนบรรเทาอุบัติภัยเฉพาะในเขตโรงงาน แต่การซ้อมแผนกับชาวบ้านที่อยู่โดยรอบไม่เพียงพอ และเมื่อเกิดอุบัติภัยแล้ว ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างทันท่วงที โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปัจจุบันมีโรงงานใหม่ที่กำลังทดลองเดินเครื่อง ซึ่งมีความเสี่ยงอุบัติภัยอย่างสูงแต่ไม่มีการเตรียมพร้อมแต่อย่างใด
ส่วนมติที่ให้ คสช. พิจารณาสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพกลไกกลางในการดำเนินงานและความเข้มแข็งของภาคประชาชน เช่น การจัดตั้งกลไกผู้ตรวจการป้องกันและแก้ไขผลประทบทางสุขภาพ จัดตั้งศูนย์สิ่งแวดล้อมและสุขภาพนั้น เมื่อมีการจุดประเด็นในสังคม ภาครัฐและราชการก็ให้ความสนใจ แต่เมื่อเวลาผ่านไปการดำเนินงานหลายส่วนก็เงียบหาย การแก้ไขปัญหาไม่ลุล่วง
นายศุภกิจ เสนอว่า ควรมีกลไกผู้ตรวจการฯ ที่เป็นองค์กรกลาง หรือเป็นองค์กรกึ่งตุลาการ ที่ได้รับการยอมรับจากภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องโดยเป็นองค์กรที่มีความเป็นอิสระ ทำหน้าที่ด้านการวิเคราะห์ ตรวจสอบ และเปิดเผยข้อมูลกับประชาชน มีอำนาจตรวจสอบและถ่วงดุลหน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐที่รับผิดชอบแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการพัฒนาอุตสาหกรรม ให้ข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อให้การแก้ไขปัญหามีประสิทธิภาพ ทันท่วงที มีความต่อเนื่อง และครอบคลุมทุกประเด็นปัญหา และเพื่อสนับสนุนการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี รวมทั้ง การพัฒนาและจัดตั้งศูนย์ข้อมูลสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของภาคประชาชน
***ผังเมืองระยองวิกฤตหนัก
สำหรับข้อเสนอที่ให้รัฐบาลทบทวนและปรับแนวทางการพัฒนาจังหวัดระยอง โดยจัดตั้งคณะกรรมการจากทุกภาคส่วนและจัดทำผังเมืองรวมบริเวณอุตสาหกรรมหลักและชุมชนจังหวัดระยองฉบับใหม่ จัดมีระบบและกลไกการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางสังคม ฯลฯ นั้น
นายศุภกิจ กล่าวว่า ผังเมืองที่มาบตาพุดและบ้านฉาง เป็นปัญหาขั้นวิกฤต เนื่องจากประกาศพื้นที่อุตสาหกรรม (สีม่วง) ทับพื้นที่ชุมชนที่อยู่มาแต่เดิม จึงไม่มีพื้นที่สีเขียวเป็นกันชนระหว่างอุตสาหกรรม กับ ชุมชน จนมีการย้ายโรงเรียนมาบตาพุดฯ ในช่วงปี 2541 และย้ายโรงพยาบาลมาบตาพุดในปี 2550
ปัจจุบันนี้ โรงงานใหม่ ได้ขยายไปถึงชุมชนหนองแฟบ ด้านตะวันตกของนิคมมาบตาพุด จนโรงงานขนาดใหญ่ที่ก่อสร้างใกล้แล้วเสร็จอยู่ติดกับชุมชนแล้ว เช่นเดียวกับชุมชนเนินกระปรอก ในเขตอำเภอบ้านฉางที่โรงงานใหม่ขนาดใหญ่ ขยายไปจนอยู่ใกล้กับชุมชนแล้ว โดยผังเมืองมาบตาพุดและบ้านฉางหมดอายุแล้ว อยู่ในช่วงต่ออายุการบังคับใช้ 2 ปี กำลังดำเนินการวางและจัดทำผังเมืองอยู่ จึงเป็นโอกาสดี และต้องดำเนินการให้เสร็จและพิจารณาบังคับใช้โดยคณะกรรมการผังเมืองแห่งชาติ ภายในประมาณ พ.ค.2553
ส่วนบริการทางสังคมที่เป็นความจำเป็นขั้นพื้นฐาน จนถึงปัจจุบันนี้ ชาวบ้านในหลายชุมชนที่มาบตาพุด ยังไม่มีน้ำประปาเข้าถึง จึงต้องซื้อน้ำใช้ เป็นภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนมาหลายปี และต้องใช้น้ำบ่อตื้น ซึ่งมีงานวิจัยพบว่า บ่อน้ำตื้น 79 บ่อในชุมชนรอบมาบตาพุด มีการปนเปื้อนโลหะหนักเกินค่ามาตรฐานของไทยทุกบ่อ
*** 55 โครงการเสี่ยงชะลอลงทุน
นายศุภกิจ ยังกล่าวว่า มติที่ขอให้รัฐบาลชะลอการขยายและก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมใหม่ในพื้นที่มาบตาพุดและบ้านฉาง ในระหว่างการทบทวนและปรับแนวทางการพัฒนาจังหวัดระยอง โดยให้มีการกำหนดแนวทางและกระบวนการตัดสินใจในการให้อนุมัติ/อนุญาต/ให้ความเห็นชอบการขยายโรงงานอุตสาหกรรมใหม่ ให้เป็นไปตามมาตรา 67 ของรัฐธรรมนูญฯ นั้น ที่ประชุมให้นำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาอุตสากรรมแห่งชาติ ซึ่งมี นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งโครงการใหม่ที่กำลังก่อสร้างและกำลังขออนุญาต มีประมาณ 55 โครงการ ซึ่งมีความเสี่ยงในการเกิดผลกระทบต่างๆ ยังไม่ได้ดำเนินการตามมาตรา 67 รัฐธรรมนูญ 2550
“หากพิจารณามติครม.ที่ออกมา จะเห็นว่ามติไม่ได้ให้ชะลอการขยายหรือก่อสร้าง เพราะเปิดช่องให้นำเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมฯ ก่อน ซึ่งเข้าใจว่าคณะกรรมการชุดนี้จะไปดูในรายละเอียดว่า โครงการไหนจะต้องแก้ไขปรับปรุงอะไร แก้ไขจุดไหน เพื่อให้ถูกต้อง” นายศุภกิจ กล่าว
***ทนายเตรียมถกยื่นคัดค้านอุทธรณ์
นายสุรชัย ตรงงาม ทนายความผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีมาบตาพุด เปิดเผยว่า ได้รับสำเนาคำยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลปกครองระยอง ตามที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ได้ยื่นอุทธรณ์ไปเมื่อวันที่ 2 เม.ย.ที่ผ่านมา เมื่อพิจารณาคำยื่นอุทธรณ์แล้ว พบว่า คำอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้อง และกลับคำพิพากษาของศาลปกครองระยอง ซึ่งเป็นการปฏิเสธที่จะประกาศเขตควบคุมมลพิษ ตามคำสั่งของศาลปกครองระยอง ซึ่งขัดแย้งกับการที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ออกมายืนยันก่อนหน้านี้
พร้อมกับตั้งข้อสังเกตถึงเนื้อหาในคำอุทธรณ์ ที่มีความพยายามปกป้องอุตสาหกรรม ด้วยการพยายามปฏิเสธว่า ปัญหามลพิษไม่ได้เกิดจากการพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งทีมทนายความ เตรียมประชุมหารือถึงการยื่นคัดค้าน โดยประเด็นสำคัญที่จะชี้แจงศาลก็คือ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีประกาศให้มาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษไปแล้ว ตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 พ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการยอมรับว่า มีปัญหามลพิษในพื้นที่เกิดขึ้นจริง จึงไม่มีเหตุอันควรที่จะต้องยื่นอุทธรณ์
//////////////////////
โครงการขยายลงทุนในพื้นที่มาบตาพุด 35 โครงการ
1. โครงการโรงแยกคอนเดนเสท (นิคมฯมาบตาพุด) เจ้าของบ. เคมีภัณฑ์ซิเมนต์ไทย จก.
2. โครงการศูนย์สาธารณูปการส่วนกลาง แห่งที่ 2 (โรงไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ) ต.มาบตาพุด บ. พีทีที ยูทิลิตี้ จก.
3. โครงการขยายกำลังการผลิตโพลีคาร์บอเนตของโรงงานที่ 2 (นิคมฯผาแดง) บ. ไทยโพลีคาร์บอเนต จก.
4. โครงการโรงงานผลิตอีพอกซี่ เรซิน (ส่วนขยาย) (นิคมมาบตาพุด) บ. อดิตยา เบอร์ล่า เคมีคัลส์ (ประเทศไทย)
5. โครงการโรงงานพีวีซี (ส่วนขยาย) ต.มาบตาพุด บ. เอเพ็ค ปิโตรเคมิคอล จก.
6. โครงการขยายกำลังการผลิตโพลิเอททีลีน (นิคมมาบตาพุด) บ. สยาม โพลิเอททีลีน จก.
7. โครงการโรงงานเหล็กโครงสร้างรูปพรรณและเข็มพีด เหล็กกล้ารีดร้อน (นิคมเหมราชตะวันออก) บ. สยามยามาโตะ จก.
8. โครงการโรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่ 6 ต.มาบตาพุด บ. ปตท. จก.
9. โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมและไอน้ำ 90.2 เมกกะวัตต์ ก๊าซธรรมชาติ (นิคมเอเชีย) บ. โกลว์ พลังงาน จก.
10. โครงการโรงงานผลิตผลพลาสติกพีวีซี (ส่วนขยาย) (นิคมมาบตาพุด) บ. วีนิไทย จก.
11. โครงการโรงงานผลิตสารเอทานอลเอมีน (นิคมเหมราชตะวันออก) บ. ไทยเอทานอลเอมีน จก.
12. โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน 700 เมกกะวัตต์ (นิคมมาบตาพุด) บ. โกลว์ เอสพีพี 3 จก.
13. โครงการโรงงานผลิตสารอะคริโลไนไตรท์และสารเมทิลเมตะคริเลต (นิคมเหมราชตะวันออก) บ. พีทีที อาซาฮี เคมิคอล จก.
14. โครงการโรงงานผลิตสารโพรพิลีนออกไซด์ และสารโพรพิลีนไกลคอล (นิคมเอเชีย) บ. เอ็มทีพี เอชพีพีโอ แมนูแฟคเจอริ่ง จก.
15. โครงการขยายกำลังการผลิตฟอร์มัลดีไฮด์และยูเรียฟอร์มัลดีไฮด์ (นิคมเหมราชตะวันออก) บ. วนชัย เคมีคอล อินดัสทรี่ส์ จก.
16. โครงการโรงงานผลิตเอทธิลีนออกไซด์และเอทธิลีนไกลคอล (ส่วนขยาย) (นิคมเหมราชตะวันออก) บ. ทีโอซี ไกลคอล จก.
17. โครงการขยายกำลังการผลิตโรงงานผลิตคลอร์-แอลคาไล (นิคมตะวันออก) บ. ไทยอาซาฮี เคมีภัณฑ์ จก.
18. โครงการส่วนขยายหน่วยการผลิตเม็ดพลาสติก (เขตประกอบการ สยามอีสเทิร์นฯ) บ. โพลีเพล็กซ์ (ประเทศไทย) จก.
19. โครงการโรงงานผลิตอีทอกซีเลท (นิคมตะวันออก) บ. ไทย อีทอกซีเลท จก.
20. โครงการโรงงานผลิตสารโอเลฟินส์และสารอะโรเมติกส์ (ส่วนขยาย) (นิคมมาบตาพุด) บ. ระยองโอเลฟินส์ จก.
21. โครงการอีเทนแครกเกอร์ (นิคมผาแดง) บ. พีทีที โพลีเอทิลีน จก.
22. โครงการโรงงานผลิตสารโพรพิลีน (นิคมตะวันออก) บ. พีทีที โพลีเอทิลีน จก.
23. โครงการขยายกำลังการผลิตโพลีเอททิลีน (นิคมมาบตาพุด) บ. สยามโพลีเอททิลีน จก.
24. โครงการแอลดีพีอี (นิคมผาแดง) บ. พีทีที โพลีเอททิลีน จก.
25. โครงการโพลีโพรพิลีน (นิคมมาบตาพุด) บ. ปตท. จก.
26. โครงการขยายกำลังการผลิตโรงงานผลิตคลอ-อัลคาลีและอีพิคลอโรไฮดริน (นิคมตะวันออก) บ. ไทยออแกนิกเคมีคัลส์ จก.
27. โครงการขยายกำลังการผลิตโพลีคาร์บอเนตของโรงงานที่ 1 และ 2 (นิคมมาบตาพุด) บ. ไบเออร์ไทย จก.
28. โครงการปรับปรุงและขยายกำลังการผลิตโรงงานผลิตโพลีอะซีทัล (นิคมผาแดง) บ. ไทยโพลีอะซีทัล จก.
29. โครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำทิ้ง จากระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลาง เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ (นิคมตะวันออก) บ. อีสเทิร์น อินดัสเตรียลเอสเตท จก. และบ.เหมราช วอเตอร์ จก.
30. โครงการโรงแยกก๊าซอีเทน (การปรับปรุงกระบวนการผลิตโรงแยกก๊าซหน่วยที่ 2 และ 3) ต.มาบตาพุด บ. ปตท. จก.
31. โครงการก่อสร้างโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกโพลีเอทิลีนฯ (นิคมมาบตาพุด) บ. ปตท. เคมิคอล จก.
32. โครงการนิคมตะวันออก ส่วนขยาย เขตเทศบาลมาบตาพุด กนอ. ร่วมกับ บ. อีสเทิร์นอินดัสเตรียลเอสเตท จก.
33. โครงการปรับปรุงกระบวนการผลิตโรงงานอะโรมาติกส์ หน่วยที่ 2 เขตประกอบการอาร์ ไอ แอล
ต.มาบตาพุด บ. อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จก.
34. โครงการโรงงานผลิตยูเรียฟอร์มอลดีไฮด์เรซิน (นิคมฯอาร์ ไอ แอล) บ. สตาร์พลัส เคมีคอล จก.
35. โครงการแอลแอลดีพีอี (นิคมผาแดง) บ. พีทีที โพลีเอทิลีน จก.
นายศุภชัย วัฒนางกูร ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า จากการประชุมร่วมกับผู้ประกอบการปิโตรเคมีเพื่อพิจารณาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากมติคณะรัฐมนตรีที่ให้มีการชะลอการขยายและก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมใหม่ในพื้นที่มาบตาพุด และบ้านฉาง ในระหว่างการทบทวนแผนพัฒนาในจังหวัดระยองตามที่คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.)เสนอนั้น ทางภาคเอกชนค่อนข้างเบาใจระดับหนึ่ง เนื่องจากครม.ได้มอบหมายให้นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติเข้ามาพิจารณาอีกครั้งในประเด็นที่ 1 และ 5 กล่าวคือ
ในประเด็นหัวข้อที่ 1 .ที่ให้ทบทวนการปรับแนวทางการพัฒนาจังหวัดระยอง ด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการจากทุกภาคส่วน เพื่อจัดทำผังเมืองรวมบริเวณอุตสาหกรรมหลัก และชุมชนในจังหวัดระยองฉบับใหม่ การจัดให้มีบริการทางสังคมอย่างเพียงพอ และ 5. ให้รัฐบาลจะชะลอการขยายและก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมใหม่ในพื้นที่มาบตาพุด และบ้านฉาง และในระหว่างการทบทวนแผนพัฒนาในจังหวัดระยอง ให้กำหนดแนวทางและกระบวนการตัดสินใจในการอนุมัติ อนุญาต และเห็นชอบการขยายโรงงานอุตสาหกรรมใหม่ ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน
เรื่องนี้ ส.อ.ท.จะมีการนัดประชุมเฉพาะเพื่อหารือร่วมกับผู้ประกอบการเอกชนในภาคอุตสาหกรรมอื่นๆทั้งโรงงานปิโตรเคมี โรงไฟฟ้า และอื่นๆที่อยู่ในพื้นที่ที่มาบตาพุดและบ้านฉางในสัปดาห์หน้า โดยมีนายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล รองประธานส.อ.ท.เป็นประธานส.อ.ท. เพื่อหาข้อสรุปถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากมีการชะลอการขยายหรือการก่อสร้างโรงงานในพื้นที่ดังกล่าวจริง ก่อนเสนอต่อนายกอปรศักดิ์ต่อไป
" เมื่ออ่านมติครม.แล้วพอรับได้ เบาใจระดับหนึ่ง เนื่องจากได้มอบหมายให้รองนายกฯมาดูประเด็นที่น่าจะส่งผลกระทบคือ ข้อ 1 และ 5 ส่วนข้อที่ 2-4 ผมก็เห็นด้วยที่หน่วยงานรัฐควรต้องเปิดเผยข้อมูล ผลกระทบทางสุขภาพจากอุตสาหกรรมในพื้นที่มาบตาพุด และจังหวัดระยอง เพื่อเผยแพร่วิธีป้องกันผลกระทบและบรรเทาอุบัติภัยสารเคมีได้อย่างทั่วถึง ซึ่งหากพบว่ายังไม่ดีพอก็จะได้มีการแก้ไข อย่างไรก็ตามหากภาครัฐจะตัดสินใจอะไร อยากให้มาถามภาคเอกชนด้วย เพื่อจะไม่ได้ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรง"นายศุภชัย กล่าว
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปตท.จะพิจารณาความชัดเจนของมติครม.ดังกล่าวก่อน ซึ่งขณะนี้ยังคลุมเคลือ แต่ในหลักการเชื่อว่าต้องการให้ชุมชนท้องถิ่นหรือจังหวัดเข้ามามีบทบาทในเรื่องนี้มากขึ้น โดยเข้ามามีส่วนร่วมพิจารณาว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ เพื่อไม่ให้กระทบต่อชุมชนแต่คงไม่ถึงขั้นให้มีการหยุดการลงทุน เนื่องจากประเทศยังต้องมีการพัฒนาเศรษฐกิจต่อไป
นายชายน้อย เผื่อนโกสุม กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากมติครม.ที่จะให้มีการชะลอการขยายและก่อสร้างโรงงานใหม่ในพื้นที่มาบตาพุดและบ้านฉางนั้น เชื่อว่าคงไม่ส่งผลกระทบต่อโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพโรงกลั่นน้ำมันตามมาตรฐานยูโร 4 เนื่องจากโครงการนี้บริษัทได้ผ่านความเห็นชอบด้านสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) และได้ทำข้อตกลงเบื้องต้นกับผู้รับเหมาก่อสร้างไว้แล้ว
โดยก่อนหน้านี้ บริษัทฯได้พยายามเจรจากับกระทรวงพลังงานเพื่อขอเลื่อนการบังคับใช้ยูโร 4 ออกไปก่อนจากเดิมที่กำหนดบังคับใช้ในต้นปี 2555 แต่ก็ไม่ได้รับการตอบสนอง เชื่อว่าหากรัฐยังยืนยันที่จะผลักดันนโยบายนี้ตามกำหนดเดิม ก็ต้องช่วยเคลียร์เรื่องข้อบังคับการชะลอการขยายหรือก่อสร้างโรงงานใหม่ในพื้นที่มาบตาพุดด้วยซึ่งเป็นประเด็นที่ขัดกันเองของหน่วยงานรัฐอีกทั้ง โครงการดังกล่าวจะส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากจะผลิตน้ำมันที่ซัลเฟอร์ต่ำลงจากเดิม 350 พีพีเอ็มเหลือเพียง 50 พีพีเอ็ม จึงมองว่าเป็นโครงการที่ควรได้รับการสนับสนุนมากกว่า
อย่างไรก็ตาม โครงการลงทุนปรับปรุงประสิทธิภาพโรงกลั่นน้ำมันตามยูโร 4 นี้ บริษัทฯจะใช้เงินลงทุนไม่เกิน 240 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจากับผู้รับเหมาก่อสร้างเพื่อขอให้ปรับลดราคาก่อสร้างลง
***หนุนสร้างกลไกตรวจสอบ
นายศุภกิจ นันทะวรการ นักวิจัยมูลนิธินโยบายสุขภาวะ ซึ่งศึกษาและติดตามผลกระทบจากอุตสาหกรรมในพื้นที่มาบตาพุดมาอย่างต่อเนื่อง เปิดเผยว่า มติครม.ที่อนุมัติข้อเสนอทางนโยบายเรื่องผลกระทบจากอุตสาหกรรมในพื้นที่มาบตาพุดและจังหวัดระยอง ที่ให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเปิดเผยข้อมูลผลกระทบทางสุขภาพจากอุตสาหกรรม รวมทั้งเผยแพร่วิธีป้องกันผลกระทบและสร้างเสริมสุขภาพในภาวะมลพิษให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึงโดยเร็วและต่อเนื่องนั้น ขณะนี้มีข้อมูลสำคัญที่ประชาชนจำเป็นต้องรู้แต่ยังไม่เปิดเผยหรือยังไม่มีการเผยแพร่ เช่น
ความเสี่ยงและผลกระทบจำนวนมากที่ใช้อยู่ในโรงงานและวิธีป้องกันสุขภาพ, มาตรการป้องกันและติดตามตรวจสอบตามรายงานอีไอเอที่เห็นชอบแล้วของโครงการต่างๆ, ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ จากการลักลอบทิ้งขยะอุตสาหกรรม และวิธีป้องกันสุขภาพ, โรงงานใหม่ที่ได้รับอนุญาตแล้ว และที่กำลังพิจารณาให้อนุญาต, ปัญหาทางสังคม (เช่น ความปลอดภัย อาชญากรรม ยาเสพติด อุบัติเหตุ พื้นที่เสี่ยง ฯลฯ), ปัญหาเด็กและเยาวชน การตรวจวิเคราะห์โรคและความเจ็บป่วย จากสิ่งแวดล้อม และจากสภาพสังคม และวิธีป้องกันและสร้างเสริมสุขภาพในภาวะมลพิษ
ส่วนมติครม.ที่ให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนและกฎการปฏิบัติการสำหรับป้องกันและบรรเทาอุบัติภัยจากอุตสาหกรรม และการจัดทำแผนป้องกันและบรรเทาอุบัติภัยสารเคมีระดับจังหวัดโดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรและประชาชนในพื้นที่ เป็นที่ชัดเจนว่า เวลานี้อุบัติภัยสารเคมี เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่มีการจัดตั้งนิคมฯ ทั้งในโรงงานและระหว่างการขนส่ง โดยในคำพิพากษาเมื่อวันที่ 3 มี.ค.2552 ชี้ว่า ช่วงเดือน พ.ย.2550 – พ.ย.2551 เกิดอุบัติภัยทั้งในและนอกนิคมฯ รวม 5 ครั้ง ก่อความเสียหายต่อทรัพย์สินและประชาชนได้รับบาดเจ็บ
นายศุภกิจ กล่าวว่า ที่ผ่านมาเน้นการซ้อมแผนบรรเทาอุบัติภัยเฉพาะในเขตโรงงาน แต่การซ้อมแผนกับชาวบ้านที่อยู่โดยรอบไม่เพียงพอ และเมื่อเกิดอุบัติภัยแล้ว ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างทันท่วงที โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปัจจุบันมีโรงงานใหม่ที่กำลังทดลองเดินเครื่อง ซึ่งมีความเสี่ยงอุบัติภัยอย่างสูงแต่ไม่มีการเตรียมพร้อมแต่อย่างใด
ส่วนมติที่ให้ คสช. พิจารณาสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพกลไกกลางในการดำเนินงานและความเข้มแข็งของภาคประชาชน เช่น การจัดตั้งกลไกผู้ตรวจการป้องกันและแก้ไขผลประทบทางสุขภาพ จัดตั้งศูนย์สิ่งแวดล้อมและสุขภาพนั้น เมื่อมีการจุดประเด็นในสังคม ภาครัฐและราชการก็ให้ความสนใจ แต่เมื่อเวลาผ่านไปการดำเนินงานหลายส่วนก็เงียบหาย การแก้ไขปัญหาไม่ลุล่วง
นายศุภกิจ เสนอว่า ควรมีกลไกผู้ตรวจการฯ ที่เป็นองค์กรกลาง หรือเป็นองค์กรกึ่งตุลาการ ที่ได้รับการยอมรับจากภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องโดยเป็นองค์กรที่มีความเป็นอิสระ ทำหน้าที่ด้านการวิเคราะห์ ตรวจสอบ และเปิดเผยข้อมูลกับประชาชน มีอำนาจตรวจสอบและถ่วงดุลหน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐที่รับผิดชอบแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการพัฒนาอุตสาหกรรม ให้ข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อให้การแก้ไขปัญหามีประสิทธิภาพ ทันท่วงที มีความต่อเนื่อง และครอบคลุมทุกประเด็นปัญหา และเพื่อสนับสนุนการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี รวมทั้ง การพัฒนาและจัดตั้งศูนย์ข้อมูลสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของภาคประชาชน
***ผังเมืองระยองวิกฤตหนัก
สำหรับข้อเสนอที่ให้รัฐบาลทบทวนและปรับแนวทางการพัฒนาจังหวัดระยอง โดยจัดตั้งคณะกรรมการจากทุกภาคส่วนและจัดทำผังเมืองรวมบริเวณอุตสาหกรรมหลักและชุมชนจังหวัดระยองฉบับใหม่ จัดมีระบบและกลไกการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางสังคม ฯลฯ นั้น
นายศุภกิจ กล่าวว่า ผังเมืองที่มาบตาพุดและบ้านฉาง เป็นปัญหาขั้นวิกฤต เนื่องจากประกาศพื้นที่อุตสาหกรรม (สีม่วง) ทับพื้นที่ชุมชนที่อยู่มาแต่เดิม จึงไม่มีพื้นที่สีเขียวเป็นกันชนระหว่างอุตสาหกรรม กับ ชุมชน จนมีการย้ายโรงเรียนมาบตาพุดฯ ในช่วงปี 2541 และย้ายโรงพยาบาลมาบตาพุดในปี 2550
ปัจจุบันนี้ โรงงานใหม่ ได้ขยายไปถึงชุมชนหนองแฟบ ด้านตะวันตกของนิคมมาบตาพุด จนโรงงานขนาดใหญ่ที่ก่อสร้างใกล้แล้วเสร็จอยู่ติดกับชุมชนแล้ว เช่นเดียวกับชุมชนเนินกระปรอก ในเขตอำเภอบ้านฉางที่โรงงานใหม่ขนาดใหญ่ ขยายไปจนอยู่ใกล้กับชุมชนแล้ว โดยผังเมืองมาบตาพุดและบ้านฉางหมดอายุแล้ว อยู่ในช่วงต่ออายุการบังคับใช้ 2 ปี กำลังดำเนินการวางและจัดทำผังเมืองอยู่ จึงเป็นโอกาสดี และต้องดำเนินการให้เสร็จและพิจารณาบังคับใช้โดยคณะกรรมการผังเมืองแห่งชาติ ภายในประมาณ พ.ค.2553
ส่วนบริการทางสังคมที่เป็นความจำเป็นขั้นพื้นฐาน จนถึงปัจจุบันนี้ ชาวบ้านในหลายชุมชนที่มาบตาพุด ยังไม่มีน้ำประปาเข้าถึง จึงต้องซื้อน้ำใช้ เป็นภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนมาหลายปี และต้องใช้น้ำบ่อตื้น ซึ่งมีงานวิจัยพบว่า บ่อน้ำตื้น 79 บ่อในชุมชนรอบมาบตาพุด มีการปนเปื้อนโลหะหนักเกินค่ามาตรฐานของไทยทุกบ่อ
*** 55 โครงการเสี่ยงชะลอลงทุน
นายศุภกิจ ยังกล่าวว่า มติที่ขอให้รัฐบาลชะลอการขยายและก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมใหม่ในพื้นที่มาบตาพุดและบ้านฉาง ในระหว่างการทบทวนและปรับแนวทางการพัฒนาจังหวัดระยอง โดยให้มีการกำหนดแนวทางและกระบวนการตัดสินใจในการให้อนุมัติ/อนุญาต/ให้ความเห็นชอบการขยายโรงงานอุตสาหกรรมใหม่ ให้เป็นไปตามมาตรา 67 ของรัฐธรรมนูญฯ นั้น ที่ประชุมให้นำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาอุตสากรรมแห่งชาติ ซึ่งมี นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งโครงการใหม่ที่กำลังก่อสร้างและกำลังขออนุญาต มีประมาณ 55 โครงการ ซึ่งมีความเสี่ยงในการเกิดผลกระทบต่างๆ ยังไม่ได้ดำเนินการตามมาตรา 67 รัฐธรรมนูญ 2550
“หากพิจารณามติครม.ที่ออกมา จะเห็นว่ามติไม่ได้ให้ชะลอการขยายหรือก่อสร้าง เพราะเปิดช่องให้นำเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมฯ ก่อน ซึ่งเข้าใจว่าคณะกรรมการชุดนี้จะไปดูในรายละเอียดว่า โครงการไหนจะต้องแก้ไขปรับปรุงอะไร แก้ไขจุดไหน เพื่อให้ถูกต้อง” นายศุภกิจ กล่าว
***ทนายเตรียมถกยื่นคัดค้านอุทธรณ์
นายสุรชัย ตรงงาม ทนายความผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีมาบตาพุด เปิดเผยว่า ได้รับสำเนาคำยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลปกครองระยอง ตามที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ได้ยื่นอุทธรณ์ไปเมื่อวันที่ 2 เม.ย.ที่ผ่านมา เมื่อพิจารณาคำยื่นอุทธรณ์แล้ว พบว่า คำอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้อง และกลับคำพิพากษาของศาลปกครองระยอง ซึ่งเป็นการปฏิเสธที่จะประกาศเขตควบคุมมลพิษ ตามคำสั่งของศาลปกครองระยอง ซึ่งขัดแย้งกับการที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ออกมายืนยันก่อนหน้านี้
พร้อมกับตั้งข้อสังเกตถึงเนื้อหาในคำอุทธรณ์ ที่มีความพยายามปกป้องอุตสาหกรรม ด้วยการพยายามปฏิเสธว่า ปัญหามลพิษไม่ได้เกิดจากการพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งทีมทนายความ เตรียมประชุมหารือถึงการยื่นคัดค้าน โดยประเด็นสำคัญที่จะชี้แจงศาลก็คือ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีประกาศให้มาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษไปแล้ว ตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 พ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการยอมรับว่า มีปัญหามลพิษในพื้นที่เกิดขึ้นจริง จึงไม่มีเหตุอันควรที่จะต้องยื่นอุทธรณ์
//////////////////////
โครงการขยายลงทุนในพื้นที่มาบตาพุด 35 โครงการ
1. โครงการโรงแยกคอนเดนเสท (นิคมฯมาบตาพุด) เจ้าของบ. เคมีภัณฑ์ซิเมนต์ไทย จก.
2. โครงการศูนย์สาธารณูปการส่วนกลาง แห่งที่ 2 (โรงไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ) ต.มาบตาพุด บ. พีทีที ยูทิลิตี้ จก.
3. โครงการขยายกำลังการผลิตโพลีคาร์บอเนตของโรงงานที่ 2 (นิคมฯผาแดง) บ. ไทยโพลีคาร์บอเนต จก.
4. โครงการโรงงานผลิตอีพอกซี่ เรซิน (ส่วนขยาย) (นิคมมาบตาพุด) บ. อดิตยา เบอร์ล่า เคมีคัลส์ (ประเทศไทย)
5. โครงการโรงงานพีวีซี (ส่วนขยาย) ต.มาบตาพุด บ. เอเพ็ค ปิโตรเคมิคอล จก.
6. โครงการขยายกำลังการผลิตโพลิเอททีลีน (นิคมมาบตาพุด) บ. สยาม โพลิเอททีลีน จก.
7. โครงการโรงงานเหล็กโครงสร้างรูปพรรณและเข็มพีด เหล็กกล้ารีดร้อน (นิคมเหมราชตะวันออก) บ. สยามยามาโตะ จก.
8. โครงการโรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่ 6 ต.มาบตาพุด บ. ปตท. จก.
9. โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมและไอน้ำ 90.2 เมกกะวัตต์ ก๊าซธรรมชาติ (นิคมเอเชีย) บ. โกลว์ พลังงาน จก.
10. โครงการโรงงานผลิตผลพลาสติกพีวีซี (ส่วนขยาย) (นิคมมาบตาพุด) บ. วีนิไทย จก.
11. โครงการโรงงานผลิตสารเอทานอลเอมีน (นิคมเหมราชตะวันออก) บ. ไทยเอทานอลเอมีน จก.
12. โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน 700 เมกกะวัตต์ (นิคมมาบตาพุด) บ. โกลว์ เอสพีพี 3 จก.
13. โครงการโรงงานผลิตสารอะคริโลไนไตรท์และสารเมทิลเมตะคริเลต (นิคมเหมราชตะวันออก) บ. พีทีที อาซาฮี เคมิคอล จก.
14. โครงการโรงงานผลิตสารโพรพิลีนออกไซด์ และสารโพรพิลีนไกลคอล (นิคมเอเชีย) บ. เอ็มทีพี เอชพีพีโอ แมนูแฟคเจอริ่ง จก.
15. โครงการขยายกำลังการผลิตฟอร์มัลดีไฮด์และยูเรียฟอร์มัลดีไฮด์ (นิคมเหมราชตะวันออก) บ. วนชัย เคมีคอล อินดัสทรี่ส์ จก.
16. โครงการโรงงานผลิตเอทธิลีนออกไซด์และเอทธิลีนไกลคอล (ส่วนขยาย) (นิคมเหมราชตะวันออก) บ. ทีโอซี ไกลคอล จก.
17. โครงการขยายกำลังการผลิตโรงงานผลิตคลอร์-แอลคาไล (นิคมตะวันออก) บ. ไทยอาซาฮี เคมีภัณฑ์ จก.
18. โครงการส่วนขยายหน่วยการผลิตเม็ดพลาสติก (เขตประกอบการ สยามอีสเทิร์นฯ) บ. โพลีเพล็กซ์ (ประเทศไทย) จก.
19. โครงการโรงงานผลิตอีทอกซีเลท (นิคมตะวันออก) บ. ไทย อีทอกซีเลท จก.
20. โครงการโรงงานผลิตสารโอเลฟินส์และสารอะโรเมติกส์ (ส่วนขยาย) (นิคมมาบตาพุด) บ. ระยองโอเลฟินส์ จก.
21. โครงการอีเทนแครกเกอร์ (นิคมผาแดง) บ. พีทีที โพลีเอทิลีน จก.
22. โครงการโรงงานผลิตสารโพรพิลีน (นิคมตะวันออก) บ. พีทีที โพลีเอทิลีน จก.
23. โครงการขยายกำลังการผลิตโพลีเอททิลีน (นิคมมาบตาพุด) บ. สยามโพลีเอททิลีน จก.
24. โครงการแอลดีพีอี (นิคมผาแดง) บ. พีทีที โพลีเอททิลีน จก.
25. โครงการโพลีโพรพิลีน (นิคมมาบตาพุด) บ. ปตท. จก.
26. โครงการขยายกำลังการผลิตโรงงานผลิตคลอ-อัลคาลีและอีพิคลอโรไฮดริน (นิคมตะวันออก) บ. ไทยออแกนิกเคมีคัลส์ จก.
27. โครงการขยายกำลังการผลิตโพลีคาร์บอเนตของโรงงานที่ 1 และ 2 (นิคมมาบตาพุด) บ. ไบเออร์ไทย จก.
28. โครงการปรับปรุงและขยายกำลังการผลิตโรงงานผลิตโพลีอะซีทัล (นิคมผาแดง) บ. ไทยโพลีอะซีทัล จก.
29. โครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำทิ้ง จากระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลาง เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ (นิคมตะวันออก) บ. อีสเทิร์น อินดัสเตรียลเอสเตท จก. และบ.เหมราช วอเตอร์ จก.
30. โครงการโรงแยกก๊าซอีเทน (การปรับปรุงกระบวนการผลิตโรงแยกก๊าซหน่วยที่ 2 และ 3) ต.มาบตาพุด บ. ปตท. จก.
31. โครงการก่อสร้างโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกโพลีเอทิลีนฯ (นิคมมาบตาพุด) บ. ปตท. เคมิคอล จก.
32. โครงการนิคมตะวันออก ส่วนขยาย เขตเทศบาลมาบตาพุด กนอ. ร่วมกับ บ. อีสเทิร์นอินดัสเตรียลเอสเตท จก.
33. โครงการปรับปรุงกระบวนการผลิตโรงงานอะโรมาติกส์ หน่วยที่ 2 เขตประกอบการอาร์ ไอ แอล
ต.มาบตาพุด บ. อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จก.
34. โครงการโรงงานผลิตยูเรียฟอร์มอลดีไฮด์เรซิน (นิคมฯอาร์ ไอ แอล) บ. สตาร์พลัส เคมีคอล จก.
35. โครงการแอลแอลดีพีอี (นิคมผาแดง) บ. พีทีที โพลีเอทิลีน จก.