ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ผู้เชี่ยวชาญยืนยันจระเข้ยะนุ้ย ไม่ใช่จระเข้ธรรมชาติ สังเกตจากพฤติกรรมพยายามว่ายเข้าหาฝั่งตลอด 12 วันที่ผ่านมา รอตรวจดีเอ็นเอ ขณะที่จังหวัดประกาศจัดการเด็ดขาดคนลักลอบเลี้ยง
เมื่อเวลา 09.00 น. วันนี้ (29 ก.ค.) ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเขต 5 (ภูเก็ต) นายนรภัทร ปลอดทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต พร้อมด้วย พล.ร.ท.สมนึก เปรมปราโมทย์ ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 นายโกวิทย์ เก้าเอี้ยน ประมงจังหวัดภูเก็ต และนายนิคม สุขสวัสดิ์ หัวหน้าชุดไกรทอง ลุ่มน้ำตาปี จากจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมกันแถลงข่าวหลังเจ้าหน้าที่ชุดไกรทองสามารถจับจระเข้ยะนุ้ย ออกจากทะเลได้สำเร็จ หลังจากติดตามจับกันมายาวนานกว่า 12 วัน
นายนรภัทร ปลอดทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เปิดเผยว่า ตามที่ได้มีผู้พบเห็นจระเข้ในทะเลภูเก็ต บริเวณหาดยะนุ้ย ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคมที่ผ่านมา ทางจังหวัดภูเก็ตได้ดำเนินการจัดตั้งชุดปฏิบัติการค้นหาจระเข้ พร้อมติดป้ายแจ้งเตือนประชาชน และจัดเจ้าหน้าลาดตระเวนรักษาความปลอดภัยให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว ตลอดเวลา 12 วันที่ผ่านมา ชุดปฏิบัติการค้นหาจระเข้ได้ดำเนินการค้นหาจระเข้อย่างต่อเนื่อง
จนเมื่อวันที่ 28 ก.ค.ที่ผ่านมา ทีมปฏิบัติการค้นหาจระเข้ เดินเท้ามาตลอดทั้งคืน ต่อเนื่องจนถึงช่วงเวลา 04.00 น.วันนี้ ที่บริเวณปลายแหลมเกาะกะทะ-หาดลายัน จนกระทั่งในเวลาประมาณ 04.00 น. (29 ก.ค.)ได้เห็นดวงตาของจระเข้อยู่ในทะเล ทีมปฏิบัติการจึงวางแผนจับโดยใช้อวนล้อม 2 ชั้น ล้อมวงใน วิ่งซิกแซ็กในร่องน้ำเพื่อจำกัดพื้นที่ให้จระเข้อยู่ในวงจำกัด หลังจากจระเข้ติดในอวนเรียบร้อยแล้ว ทีมไกรทองได้เข้าจับจระเข้ด้วยมือเปล่า ใช้เวลาประมาณ 15 นาที
เบื้องต้น เจ้าหน้าที่ได้ทำการวัดขนาดจระเข้ มีความยาว 2.50 เมตร น้ำหนักประมาณ 150 กิโลกรัม เป็นเพศเมีย ไม่มีไมโครชิปติดที่ลำตัว จึงสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นจระเข้ที่มีคนลักลอบเลี้ยง และไม่ได้จดแจ้งต่อทางสำนักงานประมงจังหวัดภูเก็ต
ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวเพิ่มเติมว่า จระเข้ตัวนี้ยืนยันได้ว่า น่าที่จะมาจากการเลี้ยง เนื่องจากพบตะไคร่น้ำบนหลังของจระเข้ ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกว่าน่าจะอยู่ในที่ที่มีน้ำขังเป็นเวลานาน รวมทั้งพฤติกรรมของจระเข้ที่พยายามว่ายเข้าหาฝั่งตลอดเวลา แต่ถ้าเป็นจระเข้ธรรมชาติจะไม่ว่ายน้ำเข้ามาในจุดที่มีคนอยู่อย่างเด็ดขาด
สำหรับการจับจระเข้ตัวดังกล่าว ทางเจ้าหน้าที่ทุกหน่วยที่เกี่ยวข้องได้ร่วมมือกันอย่างเต็มที่ในการดำเนินการตลอดระยะเวลา 12 วันที่ผ่านมา เพราะตั้งใจที่จะจับออกจากทะเลให้ได้ และเป็นการดำเนินการอย่างละมุนละม่อม ทั้งคน ทั้งจระเข้จะต้องมีความปลอดภัยสูงสุด สำหรับจระเข้ตัวดังกล่าวหลังจากนี้จะต้องรอตรวจดีเอ็นเอว่าเป็นจระเข้สายพันธุ์อะไร มีแหล่งที่มาจากที่ไหน ซึ่งจากการตรวจฟาร์มเลี้ยงที่ได้รับอนุญาตถูกต้องไม่พบว่ามีจระเข้หลุดออกจากฟาร์มแต่อย่างใด
สำหรับมาตรการในการป้องกันเหตุการณ์ในครั้งนี้ จังหวัดได้มีการออกประกาศให้ผู้ที่ครอบครองจระเข้ไว้โดยไม่ได้ขอรับอนุญาตให้มาแจ้งจดทะเบียนให้ถูกต้องภายในวันที่ 10 ส.ค.นี้ โดยจังหวัดภูเก็ตมีผู้ขออนุญาตเลี้ยงจระเข้ที่ถูกต้องเพียง 5 รายเท่านั้น อย่างไรก็ตาม หลังจากครบกำหนด ทางจังหวัดจะใช้มาตรการที่ 2 โดยขอให้มีการแจ้งข่าวสาร หากพบเห็นผู้ใดมีการซื้ออาหารประเภทปลาสด หรือไก่เป็นจำนวนมากๆ เป็นประจำ โดยที่ไม่มีเหตุผล อย่างเช่นการนำไปประกอบอาหารให้มีการแจ้งเบาะแสเพื่อที่จะได้มีการเฝ้าระวัง โดยขณะนี้ได้มีการแจ้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้านให้มีการปูพรมสังเกตการณ์ว่าใครมีพฤติกรรมดังกล่าว ซึ่งจังหวัดได้ตั้งรางวัลให้แก่ผู้ที่แจ้งเบาะแส นอกจากนั้น ในกรณีการรับมือกับจระเข้ที่หลุดออกมานั้น ทางจังหวัดจะมีการพัฒนารูปแบบอุปกรณ์การล้อมจับให้ง่ายที่สุด โดยนำบทเรียนจาก 2 ครั้งที่ผ่านมา นำมาใช้ปรับปรุงแก้ไข
พร้อมกันนี้ จังหวัดได้มีการประสานงานกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้านให้ช่วยเฝ้าสังเกต บ้านไหนที่มีการล้อมรั้วมิดชิด หรือมีการซื้อไก่เป็นประจำเป็นปริมาณมากๆ ให้แจ้งมายังทางจังหวัด ทั้งนี้ ทางจังหวัดจะดำเนินการอย่างเข้มข้น โดยมีการให้รางวัลผู้พบเห็นด้วย ให้ผู้ที่ยังไม่ได้จดแจ้งมาแจ้งที่สำนักงานประมงจังหวัดภายในวันที่ 10 สิงหาคม 2561 นี้
สำหรับจระเข้ตัวนี้ชาวบ้านพบครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2561 ที่ผ่านมา บริเวณหาดยะนุ้ย จากนั้นเคลื่อนตัวไปยังหาดในหาน ต.ราไวย์ ก่อนจะไปที่หาดกะตะ หาดกะรน ตำบลกะรน อำเภอเมืองภูเก็ต กระทั่งวันที่ 23 ก.ค.ที่ผ่านมา พบไปคอยขึ้นเหนือน้ำบริเวณหาดไตรตรัง ตำบลป่าตอง อำเภอกะทู้
จนกระทั่งวันที่ 26 กรกฎาคม 2561 มีการพบร่องรอยจระเข้ขึ้นนอนบนชายหาดบางเทา ต.เชิงทะเล ทีมไล่ล่าจึงตั้งศูนย์ปฏิบัติการไล่ล่าที่อุทยานแห่งชาติหาดลายัน โดยมีการวางกรงใส่โครงไก่เพื่อเป็นเหยื่อล่อจระเข้ แต่ปรากฏว่าไม่เป็นผล ทีมปฏิบัติการจึงเน้นการค้นหาโดยใช้เรืออกค้นหา การเดินเท้าริมชายหาด และใช้โดรนบินสำรวจทางอากาศ จนกระทั่งจับได้ในเช้าวันนี้ 29 กรกฎาคม 2561
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนสิงหาคม 2560 ชาวบ้าน และนักท่องเที่ยวพบจระเข้กำลังว่ายน้ำอยู่ในทะเลบริเวณหาดเลพัง อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ซึ่งครั้งนี้ เจ้าหน้าที่ใช้เวลาในการติดตามจับได้ในเวลารวดเร็ว โดยตั้งชื่อว่า จระเข้เลพัง จากการตรวจดีเอ็นเอ พบว่า เลพัง เป็นจระเข้ลูกผสม ปัจจุบันทางกรมประมงนำไปฝากสวนสัตว์ภูเก็ตเลี้ยงไว้ที่สวนสัตว์บ้านป่าหลาย ต.ฉลอง อ.เมือง จ.ภูเก็ต
เมื่อเวลา 09.00 น. วันนี้ (29 ก.ค.) ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเขต 5 (ภูเก็ต) นายนรภัทร ปลอดทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต พร้อมด้วย พล.ร.ท.สมนึก เปรมปราโมทย์ ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 นายโกวิทย์ เก้าเอี้ยน ประมงจังหวัดภูเก็ต และนายนิคม สุขสวัสดิ์ หัวหน้าชุดไกรทอง ลุ่มน้ำตาปี จากจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมกันแถลงข่าวหลังเจ้าหน้าที่ชุดไกรทองสามารถจับจระเข้ยะนุ้ย ออกจากทะเลได้สำเร็จ หลังจากติดตามจับกันมายาวนานกว่า 12 วัน
นายนรภัทร ปลอดทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เปิดเผยว่า ตามที่ได้มีผู้พบเห็นจระเข้ในทะเลภูเก็ต บริเวณหาดยะนุ้ย ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคมที่ผ่านมา ทางจังหวัดภูเก็ตได้ดำเนินการจัดตั้งชุดปฏิบัติการค้นหาจระเข้ พร้อมติดป้ายแจ้งเตือนประชาชน และจัดเจ้าหน้าลาดตระเวนรักษาความปลอดภัยให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว ตลอดเวลา 12 วันที่ผ่านมา ชุดปฏิบัติการค้นหาจระเข้ได้ดำเนินการค้นหาจระเข้อย่างต่อเนื่อง
จนเมื่อวันที่ 28 ก.ค.ที่ผ่านมา ทีมปฏิบัติการค้นหาจระเข้ เดินเท้ามาตลอดทั้งคืน ต่อเนื่องจนถึงช่วงเวลา 04.00 น.วันนี้ ที่บริเวณปลายแหลมเกาะกะทะ-หาดลายัน จนกระทั่งในเวลาประมาณ 04.00 น. (29 ก.ค.)ได้เห็นดวงตาของจระเข้อยู่ในทะเล ทีมปฏิบัติการจึงวางแผนจับโดยใช้อวนล้อม 2 ชั้น ล้อมวงใน วิ่งซิกแซ็กในร่องน้ำเพื่อจำกัดพื้นที่ให้จระเข้อยู่ในวงจำกัด หลังจากจระเข้ติดในอวนเรียบร้อยแล้ว ทีมไกรทองได้เข้าจับจระเข้ด้วยมือเปล่า ใช้เวลาประมาณ 15 นาที
เบื้องต้น เจ้าหน้าที่ได้ทำการวัดขนาดจระเข้ มีความยาว 2.50 เมตร น้ำหนักประมาณ 150 กิโลกรัม เป็นเพศเมีย ไม่มีไมโครชิปติดที่ลำตัว จึงสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นจระเข้ที่มีคนลักลอบเลี้ยง และไม่ได้จดแจ้งต่อทางสำนักงานประมงจังหวัดภูเก็ต
ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวเพิ่มเติมว่า จระเข้ตัวนี้ยืนยันได้ว่า น่าที่จะมาจากการเลี้ยง เนื่องจากพบตะไคร่น้ำบนหลังของจระเข้ ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกว่าน่าจะอยู่ในที่ที่มีน้ำขังเป็นเวลานาน รวมทั้งพฤติกรรมของจระเข้ที่พยายามว่ายเข้าหาฝั่งตลอดเวลา แต่ถ้าเป็นจระเข้ธรรมชาติจะไม่ว่ายน้ำเข้ามาในจุดที่มีคนอยู่อย่างเด็ดขาด
สำหรับการจับจระเข้ตัวดังกล่าว ทางเจ้าหน้าที่ทุกหน่วยที่เกี่ยวข้องได้ร่วมมือกันอย่างเต็มที่ในการดำเนินการตลอดระยะเวลา 12 วันที่ผ่านมา เพราะตั้งใจที่จะจับออกจากทะเลให้ได้ และเป็นการดำเนินการอย่างละมุนละม่อม ทั้งคน ทั้งจระเข้จะต้องมีความปลอดภัยสูงสุด สำหรับจระเข้ตัวดังกล่าวหลังจากนี้จะต้องรอตรวจดีเอ็นเอว่าเป็นจระเข้สายพันธุ์อะไร มีแหล่งที่มาจากที่ไหน ซึ่งจากการตรวจฟาร์มเลี้ยงที่ได้รับอนุญาตถูกต้องไม่พบว่ามีจระเข้หลุดออกจากฟาร์มแต่อย่างใด
สำหรับมาตรการในการป้องกันเหตุการณ์ในครั้งนี้ จังหวัดได้มีการออกประกาศให้ผู้ที่ครอบครองจระเข้ไว้โดยไม่ได้ขอรับอนุญาตให้มาแจ้งจดทะเบียนให้ถูกต้องภายในวันที่ 10 ส.ค.นี้ โดยจังหวัดภูเก็ตมีผู้ขออนุญาตเลี้ยงจระเข้ที่ถูกต้องเพียง 5 รายเท่านั้น อย่างไรก็ตาม หลังจากครบกำหนด ทางจังหวัดจะใช้มาตรการที่ 2 โดยขอให้มีการแจ้งข่าวสาร หากพบเห็นผู้ใดมีการซื้ออาหารประเภทปลาสด หรือไก่เป็นจำนวนมากๆ เป็นประจำ โดยที่ไม่มีเหตุผล อย่างเช่นการนำไปประกอบอาหารให้มีการแจ้งเบาะแสเพื่อที่จะได้มีการเฝ้าระวัง โดยขณะนี้ได้มีการแจ้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้านให้มีการปูพรมสังเกตการณ์ว่าใครมีพฤติกรรมดังกล่าว ซึ่งจังหวัดได้ตั้งรางวัลให้แก่ผู้ที่แจ้งเบาะแส นอกจากนั้น ในกรณีการรับมือกับจระเข้ที่หลุดออกมานั้น ทางจังหวัดจะมีการพัฒนารูปแบบอุปกรณ์การล้อมจับให้ง่ายที่สุด โดยนำบทเรียนจาก 2 ครั้งที่ผ่านมา นำมาใช้ปรับปรุงแก้ไข
พร้อมกันนี้ จังหวัดได้มีการประสานงานกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้านให้ช่วยเฝ้าสังเกต บ้านไหนที่มีการล้อมรั้วมิดชิด หรือมีการซื้อไก่เป็นประจำเป็นปริมาณมากๆ ให้แจ้งมายังทางจังหวัด ทั้งนี้ ทางจังหวัดจะดำเนินการอย่างเข้มข้น โดยมีการให้รางวัลผู้พบเห็นด้วย ให้ผู้ที่ยังไม่ได้จดแจ้งมาแจ้งที่สำนักงานประมงจังหวัดภายในวันที่ 10 สิงหาคม 2561 นี้
สำหรับจระเข้ตัวนี้ชาวบ้านพบครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2561 ที่ผ่านมา บริเวณหาดยะนุ้ย จากนั้นเคลื่อนตัวไปยังหาดในหาน ต.ราไวย์ ก่อนจะไปที่หาดกะตะ หาดกะรน ตำบลกะรน อำเภอเมืองภูเก็ต กระทั่งวันที่ 23 ก.ค.ที่ผ่านมา พบไปคอยขึ้นเหนือน้ำบริเวณหาดไตรตรัง ตำบลป่าตอง อำเภอกะทู้
จนกระทั่งวันที่ 26 กรกฎาคม 2561 มีการพบร่องรอยจระเข้ขึ้นนอนบนชายหาดบางเทา ต.เชิงทะเล ทีมไล่ล่าจึงตั้งศูนย์ปฏิบัติการไล่ล่าที่อุทยานแห่งชาติหาดลายัน โดยมีการวางกรงใส่โครงไก่เพื่อเป็นเหยื่อล่อจระเข้ แต่ปรากฏว่าไม่เป็นผล ทีมปฏิบัติการจึงเน้นการค้นหาโดยใช้เรืออกค้นหา การเดินเท้าริมชายหาด และใช้โดรนบินสำรวจทางอากาศ จนกระทั่งจับได้ในเช้าวันนี้ 29 กรกฎาคม 2561
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนสิงหาคม 2560 ชาวบ้าน และนักท่องเที่ยวพบจระเข้กำลังว่ายน้ำอยู่ในทะเลบริเวณหาดเลพัง อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ซึ่งครั้งนี้ เจ้าหน้าที่ใช้เวลาในการติดตามจับได้ในเวลารวดเร็ว โดยตั้งชื่อว่า จระเข้เลพัง จากการตรวจดีเอ็นเอ พบว่า เลพัง เป็นจระเข้ลูกผสม ปัจจุบันทางกรมประมงนำไปฝากสวนสัตว์ภูเก็ตเลี้ยงไว้ที่สวนสัตว์บ้านป่าหลาย ต.ฉลอง อ.เมือง จ.ภูเก็ต