ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - 97 นักวิชาการจาก 12 มหาวิทยาลัยภาคใต้ ร่วมร่างจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี ขอให้ยกเลิกโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา และสร้างการพัฒนาที่เป็นสุขอย่างยั่งยืน พร้อมสนับสนุน “เดินเทใจให้เทพา..ไปหานายกฯ หยุดโรงฟ้าถ่านหินทำลายชุมชน”
วันนี้ (24 .พ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสังคมและองค์กรชุมชนภาคใต้ ได้ร่างจดหมายเปิดผนึก เรื่อง ขอให้ยกเลิกโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา สร้างการพัฒนาที่เป็นสุขอย่างยั่งยืน คืนประชาธิปไตย เร่งแก้ไขปัญหาประชาชน เพื่อให้นายกรัฐมนตรีได้รับทราบ โดยมีข้อความว่า
เรียน นายกรัฐมนตรี ตามที่จะมีการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ โดยมีเป้าหมายเพื่อประชุมคณะรัฐมนตรี และติดตามการปฏิบัติงานตามนโยบายและการพัฒนาขับเคลื่อนเศรษฐกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้โครงการสามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ในระหว่างวันที่ 27-28 พฤศจิกายน 2560 ณ จังหวัดปัตตานี และสงขลา นั้น
เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสังคมและองค์กรชุมชนภาคใต้ ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของนักวิชาการ นักวิจัยในมหาวิทยาลัยต่างๆ ของภาคใต้ ได้ติดตามนโยบาย ยุทธศาสตร์ และการดำเนินงานของรัฐบาลมาโดยตลอด มีความเห็นว่า นโยบายยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคใต้ ได้ให้ความสำคัญต่อการลงทุนทางภาคอุตสาหกรรม โครงข่ายคมนาคมและพลังงาน รวมถึงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค และนโยบายการพัฒนาต่างๆ ตามแนวทางตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาประเทศไทย 4.0 และประชารัฐ อาจส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนของกลุ่มคนต่างๆ ในภาคใต้ในระยาว ขณะที่ปัญหาเร่งด่วนเฉพาะหน้าที่เกี่ยวข้องต่อการดำรงชีวิตในประจำวันก็ไม่ได้การตอบสนองจากรัฐบาลแต่อย่างใด
ดังนั้น เพื่อให้การกำหนดนโยบาย ทิศทาง และยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคใต้ของรัฐบาลสอดคล้องต่อกระบวนทัศน์การพัฒนาที่เป็นมาตรฐานจริยธรรมสากล ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals : SDGs) ที่ประเทศไทย โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามในที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ไปพร้อมๆ กับการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน การตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน ด้วยกระบวนการ และวิธีการทางเมืองที่เป็นประชาธิปไตย
เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสังคมและองค์กรชุมชนภาคใต้ จึงขอเสนอแนะ ดังนี้
1.เร่งรัดการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของเกษตรกร อันเนื่องมาจากราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคายางพารา และราคาปาล์มน้ำมัน ซึ่งรัฐบาลยังไม่มีการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งในระยะสั้น และระยาว แสดงให้เห็นถึงการ “ไม่รู้สึกใส่ใจไยดีต่อชีวิต และปากท้องของเกษตรกร” ทั้งที่มีความพยายามในการแสดงความคิดเห็น หรือเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเครือข่ายเกษตรกร กลับถูกปิดกั้นจากหน่วยงานด้านความมั่นคง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาโดยตลอด จึงขอให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาของเกษตรกรอย่างจริงจัง โดยตระหนักว่าการแก้ไขปัญหาของเกษตรกรคือ วาระสำคัญของรัฐบาล ที่ต้องอาศัยพลังความร่วมมือ การระดมองค์ความรู้ และนับความรู้ของเกษตรกรเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการแก้ไขปัญหา
2.ในสถานการณ์เฉพาะหน้า ขอให้ “หยุดการดำเนินโยบายและโครงการ ในภาคใต้” ที่ส่งผลกระทบ
ด้านสิ่งแวดล้อม ละเมิดสิทธิมนุษยชน และหลักมนุษยธรรม ไม่ว่าจะเป็นโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหิน ที่มีรายงานวิจัยยืนยันถึงผลกระทบ และส่งผลเชื่อมโยงต่อการทำลายศักยภาพของภาคใต้อย่างชัดเจนแล้ว โครงการเวนคืนผืนป่าพร้อมทั้งกำหนดมาตรการความยั่งยืนให้เกษตรกรได้มีที่ดินเป็นปัจจัยการผลิต รวมทั้งปัญหาความรุนแรงจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างเร่งด่วน
3.ให้รัฐบาล “ทบทวนนโยบาย ทิศทาง และยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคใต้ทั้งระบบ” โดยจัดให้มีการ
ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment : SEA) ที่ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยบูรณาการมิติด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี การเปรียบเทียบทางเลือกที่เหมาะสม รวมถึงความเชื่อมโยงต่อโครงการอื่น ไม่ว่า โครงการตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาประเทศไทย 4.0 โครงการประชารัฐ และโครงการที่เกิดขึ้นจากการยกเว้นการบังคับใช้กฎหมาย และ/หรือการใช้กฎหมายพิเศษตามมาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว ด้วยหลักการ กระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนของสังคมโดยในชั้นต้นควรเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องต่อโครงการทั้งหมดที่จะช่วยให้มองเห็น “ภาพรวมการพัฒนา” แก่สาธารณะชนอย่างตรงไปตรงมา
4.ส่งเสริมและสนับสนุนวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อให้บรรลุ“ภาคใต้แห่งความสุข
อย่างยั่งยืน” ที่ให้ความสำคัญต่อการสร้างความมั่นคงในชีวิต แหล่งผลิตอาหาร การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น การสร้างนวัตกรรมพัฒนาเศรษฐกิจและการประกอบการฐานราก อันเป็นศักยภาพ ทุน ภูมิทัศน์วัฒนธรรมและการพัฒนาของภาคใต้ที่มีมาอย่างยาวนาน ทั้งนี้ ควรสร้าง/เปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมของประชาชน ประชาสังคมในการเข้ามากำหนดอนาคตภาคใต้อย่างทั่วถึง กว้างขวาง และครอบคลุม โดยเริ่มต้นจากการวางแผนร่วมอย่างเป็นระบบ ลดความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นในสังคม บนพื้นฐานของ “ความหลากหลายทางคุณค่าของพื้นที่”(Area-based Value Diversity)
5.ข้อเสนอในข้างต้นสัมพันธ์และโยงใยอย่างยิ่งยวดต่อ “ระบบการเมืองแบบเปิดที่เป็นประชาธิปไตย” ดังนั้น รัฐบาล และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ต้อง “คืนประชาธิปไตย ด้วยการเคารพอย่างมั่นคง จริงใจในโรดแมป (Road Map) การเลือกตั้ง ไม่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพ และการใช้อำนาจที่ทำให้ประชาชนหวาดกลัว”
รายชื่อนักวิชาการ เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสังคมและองค์กรชุมชนภาคใต้
1.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ ม.ทักษิณ
2.พรพันธุ์ เขมคุณาศัย ม.ทักษิณ
3.นิจนิรันดร์ อวะภาค ม.ทักษิณ
4.ปิยปาน อุปถัมภ์ ม.ทักษิณ
5.เสาวณีย์ แก้วจุลกาญจน์ ม.ทักษิณ
6.จันทราทิพย์ สุขุม ม.ทักษิณ
7.นฤมล ฐานิสโร ม.ทักษิณ
8.พรไทย ศิริสาธิตกิจ ม.ทักษิณ
9.พรชัย นาคสีทอง ม.ทักษิณ
10.มูหำหมัด สาแลบิง ม.ทักษิณ
11.ศุภการ สิริไพศาล ม.ทักษิณ
12.ฐากร สิทธิโชค ม.ทักษิณ
13.อดิศร ศักดิ์สูง ม.ทักษิณ
14.อุทัย เอกสะพัง ม.ทักษิณ
15.ชลลดา แสงมณี ศิริสาธิตกิจ ม.ทักษิณ
16.อนินทร์ พุฒิโชติ ม.ทักษิณ
17.ปรเมศวร์ กาแก้ว ม.ทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
18.บัณฑิต ทองสงฆ์ ม.ทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
19.ชนะ จันทร์ฉ่ำ ม.ทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
20.เทพรัตน์ จันทพันธ์ ม.ทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
21.วิชัย กาญจนสุวรรณ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
22.อภิชาติ จันทร์แดง ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
23.โชคชัย วงษ์ตานี ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
24.ธรรมศาสตร์ โสตถิพันธุ์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
25.เก็ตถวา บุญปราการ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
26.เจตน์สฤษฏิ์ สังขพันธ์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
รายชื่อนักวิชาการ เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสังคมและองค์กรชุมชนภาคใต้
27.ปัญญา เทพสิงห์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
28.วรรณะ หนูหมื่น ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
29.เอมอร เจียรมาศ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
30.นันทรัฐ สุริโย ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
31.วีระศักดิ์ คงฤทธิ์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
32.อภิวัฒน์ อายุสุข ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
33.รพี พงษ์พานิช ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
34.ณัฐยา ยวงใย ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
35.สมพร ช่วยอารีย์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
36.เกื้อ ฤทธิบูรณ์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
37.สุภาพร ฝั่งชลจิตต์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
38.สายฝน สิทธิมงคล ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
39.ศุภกาญจน์. บัวทิพย์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
40.สุไรนี สายนุ้ย ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
41.อรชา รักดี ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
42.สุรวุฒน์ ช่อไม้ทอง ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
43.ถาวรินทร รักษ์บำรุง ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
44.นุกูล รัตนดากุล ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
45.สิทธิศักดิ์ จันทรัตน์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
46.วลัยลักษณ์ จ่างกมล ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
47.ภีรกาญจน์ ไค่นุ่นนา ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
48.กรวิทย์ เกาะกลาง ม.แม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร
49.ชุมพล แก้วสม ม.แม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร
50.อนิรุต หนูปลอด ม.แม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร
51.เกียรติขจร ไชยรัตน์ ม.ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช
52.สนธยา ปานแก้ว ม.ราชภัฏภูเก็ต
รายชื่อนักวิชาการ เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสังคมและองค์กรชุมชนภาคใต้
53.เนานิรันดร์ อวะภาค ม.ราชภัฏภูเก็ต
54.อับดุลรอซะ วรรณอาลี ม.ราชภัฏยะลา
55.วัชระ ศิลปเสวตร์ ม.พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร
56.กฤษณะ ทองแก้ว ม.ราชภัฏสุราษฎร์ธานี
57.ณัฐกานต์ แน่พิมาย ม.ราชภัฏสุราษฎร์ธานี
58.ธวัช บุญนวล ม.ราชภัฏสุราษฎร์ธานี
59.พลกฤต แสงอาวุธ ม.ราชภัฏสุราษฎร์ธานี
60.กิตติพิชญ์ โสภา ม.ราชภัฏสุราษฎร์ธานี
61.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ม.ราชภัฏสุราษฎร์ธานี
62.บูฆอรี ยีหมะ ม.ราชภัฎสงขลา
63.ชาญวิทย์ จันทร์อินทร์ ม.ราชภัฎสงขลา
64.ไชยา เกษารัตน์ ม.ราชภัฎสงขลา
65.กรีฑา แก้วคงธรรม ม.ราชภัฎนครศรีธรรมราช
66.จัตุรัส กีรติวุฒิพงศ์ ม.ราชภัฎนครศรีธรรมราช
67.ปริทรรศ หุตางกูร ม.ราชภัฎนครศรีธรรมราช
68.บุญยิ่ง ประทุม ม.ราชภัฎนครศรีธรรมราช
69.สืบพล จินดาพล ม.ราชภัฎนครศรีธรรมราช
70.นฤมล ขุนวีช่วย ม.ราชภัฎนครศรีธรรมราช
71.มานะ ขุนวีช่วย ม.ราชภัฎนครศรีธรรมราช
72.เชษฐา มุหะหมัด ม.ราชภัฎนครศรีธรรมราช
73.วิชิต จรุงสุจริตกุล ม.ราชภัฎนครศรีธรรมราช
74.ส.ศิริชัย นาคอุดม ม.ราชภัฎนครศรีธรรมราช
75.ทยา เตชะเสน์ ม.ราชภัฎนครศรีธรรมราช
76.มลิมาศ จริยพงศ์ ม.ราชภัฎนครศรีธรรมราช
77.ฐิรวุฒิ เสนาคำ ม.วลัยลักษณ์
78.ฟารีดา หมัดเหล็ม ม.วลัยลักษณ์
รายชื่อนักวิชาการ เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสังคมและองค์กรชุมชนภาคใต้
79.วิทยา อาภรณ์ ม.วลัยลักษณ์
80.ปิยชาติ สึงตี ม.วลัยลักษณ์
81.จิตประพัฒน์ สายโสภา ม.วลัยลักษณ์
82.ธนิต สมพงศ์ ม.วลัยลักษณ์
83.พรเพ็ญ ประกอบกิจ วิทยาลัยชุมชนสงขลา
84.ภาวดี ฉัตรจินดา วิทยาลัยชุมชนสงขลา
85.อทิมาพร ทองอ่อน วิทยาลัยชุมชนสงขลา
86.บุญเลิศ จันทระ สถาบันทักษิณคดีศึกษา
87.ธีระ จันทิปะ สถาบันทักษิณคดีศึกษา
88.กามารุดดีน อิสายะ ม.ทักษิณ
89.ศันสนีย์ จันทร์อานุภาพ ม.ทักษิณ
90.ประภาศ ปานเจี้ยง นักวิชาการอิสระ
91.เพ็ญประไพ ภู่ทอง นักวิชาการอิสระ
92.กอแก้ว วงษ์พันธุ์ นักวิชาการอิสระ
93.ณัฐวุฒิ โชติการ นักวิชาการอิสระ
94.จิราภรณ์ เรืองยิ่ง นักวิชาการอิสระ
95.จรูญ หยูทอง นักวิชาการอิสระ
96.ปารพ์พิรัชย์ จันเทศ ม.ราชภัฏสงขลา
97.เดโช แขน้ำแก้ว ม.ราชภัฏนครศรีธรรมราช