ศูนย์ข่าวภูเก็ต - 33 ปี กับการรอคอยเอาที่หลวง 178 ไร่ มูลค่านับหมื่นล้านบาทคืน ริมหาดลายัน-เลพัง ต.เชิงทะเล จ.ภูเก็ต หลังเอกชนฟ้องรัฐ อ้างที่ดินมีเอกสารสิทธิครอบครอง แต่สุดท้ายที่ดินก็ต้องกลับมาเป็นของคนส่วนรวม หลังศาลตัดสินเป็นที่ดินที่สาธารณะ ผู้ครอบครองต้องออกพ้นพื้นที่
จากกรณีผู้พิพากษาอ่านคำพิพากษาฎีกา คดีเอกชนฟ้องรัฐ ระหว่าง นางอรพรรณ พลอยเพชร กับพวกโจทก์ ฟ้องกรมที่ดิน จังหวัดภูเก็ต นายอำเภอถลาง หัวหน้าสำนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ต เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ตส่วนแยกถลาง องค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเล ร่วมกันเป็นจำเลย 1-5 เมื่อปี พ.ศ.2549 โดยศาลพิพากษาให้โจทก์ที่ 1-5 ประกอบด้วย นางสดใส องค์ศรีตระกูล นายพิทักษ์ บุญพจนสุนทร นายสวัสดิ์ ทองไพยุทธ นางอรพรรณ พลอยเพชร ออกจากพื้นที่ชายหาดลายัน-เลพัง พร้อมบริวาร และให้ยกโจทก์ที่ 6 โดยให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8
สำหรับที่ดินแปลงดังกล่าวมีการต่อสู้กันมายาวนานกว่า 30 ปี แต่เป็นการต่อสู้กันในชั้นศาลนานถึง 11 ปี แต่หลังจากศาลตัดสิน และพิพากษาให้ที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นที่ดินสาธารณะ และให้ผู้บุกรุกออกพ้นพื้นที่ก็ได้สร้างความดีใจให้แก่ประชาชนชาวจังหวัดภูเก็ตเป็นอย่างมาก เนื่องจากมองว่าที่ดินมูลค่านับหมื่นล้านบาท ไม่ควรที่จะตกลงไปอยู่ในมือของใครคนใดคนหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ควรที่จะเป็นที่ดินที่ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ โดยที่ดินแปลงนี้เป็นที่ดินติดชายทะเล มีความยาวต่อเนื่องกันมากกว่า 3 กิโลเมตร ปัจจุบัน มีการก่อสร้างทั้งร้านอาหาร และสถานที่ให้บริการทางด้านการท่องเที่ยว โดยมีผู้บุกรุกอยู่จำนวนหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม หลังจากศาลตัดสินให้รัฐชนะคดี พ.ต.ท.มนตรี บุณยโยธิน ผู้อำนวยการสำนักคดีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กระทรวงยุติธรรม ได้ประชุมร่วมกับ นายมาแอน สำราญ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเล เจ้าหน้าที่ป่าไม้ เจ้าหน้าที่จากอำเภอถลาง เจ้าหน้าที่ที่ดิน เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เชิงทะเล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดแนวทางในการบริหารจัดการที่ดินแปลงดังกล่าวทันที เพื่อให้ผู้บุกรุกออกจากพื้นที่และนำที่ดินกลับมาเป็นของรัฐเพื่อให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน
พ.ต.ท.มนตรี กล่าวว่า กรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้รับคดีบุกรุกที่ดินรัฐในพื้นที่ชายหาดทะเลที่ต่อเนื่องจากที่ดินเดิม รอยต่อที่ศาลทุจริตพิพากษาจำคุกผู้ต้องหารายสำคัญไปเมื่อเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา โดยกรมสอบสวนได้รับคดีการบุกรุกที่ดินรัฐบริเวณนี้ไว้เป็นคดีพิเศษ โดยขณะนี้ศาลฎีกาได้พิพากษาไปแล้ว 2 คดี คดีแรกเมื่อปี 2558 เป็นคำพิพากษาฎีกาที่ 6251/2558 โดยพิพากษาให้บริษัทเจ้าพญาแลนด์ ออกจากพื้นที่ดินที่เป็นของรัฐ โดยที่ดินดังกล่าวติดกับที่ดินแปลงที่ศาลฎีกาอ่านคำพิพากษา เมื่อวันที่ 1 พ.ย.2560 คือ ฎีกาที่ 4537-4543/2560 ซึ่งคำพิพากษาชัด ว่าที่ดินทั้งหมดทั้ง 178 ไร่ เป็นที่ดินรัฐ และเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วว่า มูลค่าที่ดินในบริเวณนี้หากสามารถออกเป็นเอกสารสิทธิได้ มูลค่าสูงถึงไร่ละประมาณ 70 ล้านบาท จำนวนพื้นที่ที่โจทก์พร้อมรัฐนั้น 178 ไร่ ร่วมเป็นมูลค่ามหาศาลสูงถึงกว่า 12,000 ล้านบาท
สำหรับที่ดินแปลงนี้จากการศึกษาข้อมูล ทราบว่า มีการต่อสู้กันยาวนานถึง 33 ปี ระหว่างรัฐกับเอกชน เป็นการต่อสู้จากการที่เอกชนเอาที่ดินไปออกเอกสารสิทธิ จนกระทั่งกรมที่ดิน มีการเพิกถอนไปเมื่อประมาณปี 2527 จังหวัดภูเก็ต โดยนายอำเภอถลาง จึงได้เสนอให้มีการขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่สงวนหวงห้ามให้ประชาชนได้ใช้ร่วมกัน ตามมติคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ และเป็นไปตามพระราชบัญญัติที่ดิน มาตรา 20 เมื่อปี 2544 หลังจากมีการประกาศก็มีเอกชน จำนวน 9 ราย ยื่นคัดค้าน แต่มีการฟ้องศาล จำนวน 6 ราย ส่วนอีก 3 ราย ไม่มีการดำเนินการ ซึ่งถือว่าเป็นการต่อสู้ที่ยาวนานมาก แต่สุดท้ายความยุติธรรมก็เกิดขึ้น เมื่อคำพิพากษาฎีกาพิพากษาให้ที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นที่ดินสาธารณะ ผู้บุกรุกทั้งหมดจะต้องออกจากพื้นที่ ซึ่งจะต้องมีการดำเนินการตามขั้นตอน จะมีการปิดประกาศให้ชัดเจนเพื่อบังคับคดีต่อผู้ที่อยู่ และใช้ประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว เพื่อให้ออกจากพื้นที่
ส่วนการดำเนินการหลังจากนี้ เมื่อดีเอสไอรับเป็นคดีพิเศษ ในการดำเนินการทางดีเอสไอก็จะเป็นผู้ดำเนินการ โดยเฉพาะในส่วนของรายที่มีการบุกรุกอยู่เดิม รวมทั้งรายที่เข้ามาใหม่แต่มีคนเดิมอยู่เบื้องหลัง ทางดีเอสไอ ก็จะต้องเข้ามาตรวจสอบทำประวัติ หากถึงเวลายังไม่ยอมออกจากพื้นที่ก็จะขอศาลอนุมัติหมายจับเพื่อดำเนินการจับกุม และดำเนินคดี ซึ่งจะนำตัวไปดำเนินคดีที่กรุงเทพฯ และคัดค้านการประกันตัวทุกราย ส่วนกรณีที่มีรายใหม่เข้ามาบุกรุกทางพื้นที่ ทั้งปกครอง ตำรวจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินคดีในข้อหาบุกรุกที่ดินสาธารณะได้เลย เพราะที่ดินดังกล่าวเป็นที่ชัดเจนแล้วว่า เป็นที่ดินที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน
ขณะที่ นายมาแอน สำราญ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเล กล่าวว่า ที่ดิน 178 ไร่ เป็นที่ดินติดชายหาดลายัน ไปจนถึงเลพัง ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร ปัจจุบัน ยังมีคนบุกรุกเข้าไปทำประโยชน์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1.บุกรุกประกอบการทางด้านการท่องเที่ยว 2.ใช้ นอมินีเข้ามาแสดงการครอบครอง 3.กลุ่มบุกรุกเดิมที่มี จำนวน 9 ราย และ 6 ราย แสดงตัวคัดค้าน และมีการฟ้องร้อง อบต. จังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่วนกรณีมีการอ้างเอกสารสิทธิ น.ส.3 ก. ครอบครองนั้น ทางกรมที่ดิน ตั้งกรรมการขึ้นมาพิจารณาและมีการเพิกถอนเมื่อปี พ.ศ.2527
และต่อมา จังหวัดภูเก็ต โดยเจ้าพนักงานที่ดินสาขาถลาง ได้ขอขึ้นทะเบียนพื้นที่ชายหาดลายัน-เลพัง หมู่ที่ 4 และ 6 ต่อเนื่องกัน ต.เชิงทะเล อ.ถลาง จ.ภูเก็ต เนื้อที่ 178 ไร่ เป็นพื้นที่สงวนหวงห้ามให้ประชาชนได้ใช้ร่วมกัน ตามมติคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ และเป็นไปตามพระราชบัญญัติที่ดิน มาตรา 20 เมื่อ ปี 2544 หลังจากนั้น ก็มีการฟ้องร้องทางจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ก็จะต้องมีการปักป้ายเพื่อแจ้งให้ผู้บุกรุกออกจากพื้นที่ และนำที่ดินดังกล่าวมาให้ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน
ด้าน นายยงยุทธ กาญจนานุรักษ์ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ต สาขาถลาง กล่าวว่า การดำเนินการขึ้นทะเบียนในที่ดินแปลงนี้ยังไม่จบ ในขั้นตอนต่อไปจะต้องให้ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เสนอเรื่องต่อคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ อนุมัติให้เป็นที่ดินรัฐ และประกาศในราชกิจจานุเบกษา หลังจากนั้น จึงจะสามารถขึ้นเป็นที่ดินหนังสือสำคัญที่หลวง หรือ นสล.ได้
ขณะที่ พ.ต.ท.ประวุธ วงศ์สีนิล รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ กล่าวว่า ดีเอสไอดำเนินการต่อเนื่องมาจากการดำเนินคดีต่อผู้บุกรุกที่ดินในอุทยานแห่งชาติสิรินาถ เนื่องจากการสอบสวนดำเนินคดีต่อผู้กระทำความผิดเป็นฐานเดียวกันพฤติกรรมเดียวกันแต่พื้นที่อยู่นอกอุทยาน และพยานหลักฐานที่สอบสวนพบก็ต่อเนื่องกัน และเป็นที่ดินงอกในอดีตเป็นที่ทะเลมาก่อน มีสภาพสวยงาม เหมาะเป็นที่ท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว และประชาชนทั่วไปอย่างมาก แต่ไม่ควรเป็นที่ดินของเอกชนเพียงเก้ารายสิบราย แต่ควรจะเป็นที่ดินของประชาชนทั้งประเทศ จึงเสนอให้การบุกรุกที่ดินแปลงนี้เป็นคดีพิเศษ
สำหรับการบุกรุกที่ดินของรัฐถ้าทำสำเร็จก็จะเกิดความเสียหายต่อรัฐมาก เนื่องจากมูลค่าที่ดินสูงมาก และสภาพที่ดินมีทิวทัศน์ที่สวยงาม หากสามารถรักษาไว้ได้ก็จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของนักท่องเที่ยว และประชาชนอีกแห่งหนึ่ง ที่สำคัญที่ดินบริเวณนี้ควรเป็นของคนไทยทุกคนไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง
ด้าน นายนรภัทร ปลอดทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า หลังจากที่ภาครัฐชนะคดีดังกล่าวและได้คืนที่ดิน จำนวน 178 ไร่ กลับมาเป็นที่ดินของรัฐ และเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ ซึ่งในส่วนของการบริหารพื้นที่สาธารณะ เป็นหน้าที่ของฝ่ายปกครอง และท้องถิ่นในการบูรณาการดูแลรักษา ไม่ให้ผู้ใดนำไปใช้ประโยชน์ส่วนตัวต่อไป โดยจังหวัดได้ดำเนินการจัดตั้งคณะทำงานขึ้นมา 1 ชุด แบ่งหน้าที่การทำงานเป็นฝ่าย ประกอบด้วย คณะทำงานฝ่ายรังวัดสอบเขตที่ดิน การปักปันแนวเขต และคณะทำงานพิจารณากำหนดพื้นที่ในการใช้ประโยชน์สาธารณะ ซึ่งจะเร่งดำเนินการโดยเร็วที่สุด และจะต้องยึดหลักให้เป็นพื้นที่สาธารณะที่ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ เป็นที่พักผ่อน เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ โดยไม่มีใครเข้ามาแอบอ้างเป็นเจ้าของ เนื่องจากปัจจุบันในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต มีพื้นที่ชายหาดหลายแห่งที่ประชาชนไม่สามารถเข้าไปใช้พื้นที่ได้ ดังนั้น พื้นที่แห่งนี้จะต้องเป็นทางเลือกใหม่ให้แก่ประชาชน
ส่วนกรณีการดำเนินการต่อผู้บุกรุกที่ยังไม่ออกจากพื้นที่ ทางจังหวัดจะดำเนินการโดยใช้อำนาจทางกฎหมาย และอำนาจจากศาล มาใช้ในการดำเนินการ โดยจะประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนที่บุกรุกได้เข้าใจสถานะว่า พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่สาธารณะ การบุกรุกถือเป็นความผิดทางกฎหมาย ทั้งนี้ การเป็นพื้นที่สาธารณะ ประชาชน หรือกลุ่มบุคคลจะไม่มีสิทธิครอบครอง หรือเข้ามาทำประโยชน์ใดๆ ได้
กว่าจะได้ที่ดินมูลค่านับหมื่นล้านกลับมาเป็นของรัฐ ต้องใช้ทั้งความพยายาม และการยึดมั่นที่จะรักษาผลประโยชน์ของชาติ โดยเฉพาะคดีเอกชนบุกรุกหาดเลพัง เนื้อที่ 178 ไร่ ต้องใช้เวลาว่าคดี 11 ปี ซึ่งคดีนี้ นายบัณฑูร ทองตัน ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีแรงงานภาค 8 ผู้ว่าคดี พร้อมทีมงานได้ต่อสู้กันมาอย่างเต็มที่ ทั้งๆ ที่ภาครัฐ และข้าราชการที่ถูกฟ้องร้องปล่อยให้ล่วงเลยระยะเวลาคำให้การแก้คดี จนศาลมีคำสั่งขาดนัดยื่นคำให้การแล้ว แต่ทีมอัยการได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลไถ่สวน และมีคำสั่งอุทธรณ์ให้ยื่นคำให้การแก้คดีจนเป็นผลสำเร็จ และฟ้องแย้งให้โจทก์ออกไปจากที่ครอบครองอยู่ ซึ่งคดีนี้มีการใช้หลักนิติวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วย โดยการอ่านแปลภาพถ่ายทางอากาศพิสูจน์ได้ว่า เมื่อปี 2510 บริเวณที่พิพาทเป็นชายทะเลที่น้ำท่วมถึง การที่โจทก์อ้างว่า มีการทำประโยชน์ก่อนประมวลกฎหมายที่ดินบังคับใช้จึงเป็นไปไม่ได้
จากกรณีผู้พิพากษาอ่านคำพิพากษาฎีกา คดีเอกชนฟ้องรัฐ ระหว่าง นางอรพรรณ พลอยเพชร กับพวกโจทก์ ฟ้องกรมที่ดิน จังหวัดภูเก็ต นายอำเภอถลาง หัวหน้าสำนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ต เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ตส่วนแยกถลาง องค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเล ร่วมกันเป็นจำเลย 1-5 เมื่อปี พ.ศ.2549 โดยศาลพิพากษาให้โจทก์ที่ 1-5 ประกอบด้วย นางสดใส องค์ศรีตระกูล นายพิทักษ์ บุญพจนสุนทร นายสวัสดิ์ ทองไพยุทธ นางอรพรรณ พลอยเพชร ออกจากพื้นที่ชายหาดลายัน-เลพัง พร้อมบริวาร และให้ยกโจทก์ที่ 6 โดยให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8
สำหรับที่ดินแปลงดังกล่าวมีการต่อสู้กันมายาวนานกว่า 30 ปี แต่เป็นการต่อสู้กันในชั้นศาลนานถึง 11 ปี แต่หลังจากศาลตัดสิน และพิพากษาให้ที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นที่ดินสาธารณะ และให้ผู้บุกรุกออกพ้นพื้นที่ก็ได้สร้างความดีใจให้แก่ประชาชนชาวจังหวัดภูเก็ตเป็นอย่างมาก เนื่องจากมองว่าที่ดินมูลค่านับหมื่นล้านบาท ไม่ควรที่จะตกลงไปอยู่ในมือของใครคนใดคนหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ควรที่จะเป็นที่ดินที่ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ โดยที่ดินแปลงนี้เป็นที่ดินติดชายทะเล มีความยาวต่อเนื่องกันมากกว่า 3 กิโลเมตร ปัจจุบัน มีการก่อสร้างทั้งร้านอาหาร และสถานที่ให้บริการทางด้านการท่องเที่ยว โดยมีผู้บุกรุกอยู่จำนวนหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม หลังจากศาลตัดสินให้รัฐชนะคดี พ.ต.ท.มนตรี บุณยโยธิน ผู้อำนวยการสำนักคดีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กระทรวงยุติธรรม ได้ประชุมร่วมกับ นายมาแอน สำราญ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเล เจ้าหน้าที่ป่าไม้ เจ้าหน้าที่จากอำเภอถลาง เจ้าหน้าที่ที่ดิน เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เชิงทะเล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดแนวทางในการบริหารจัดการที่ดินแปลงดังกล่าวทันที เพื่อให้ผู้บุกรุกออกจากพื้นที่และนำที่ดินกลับมาเป็นของรัฐเพื่อให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน
พ.ต.ท.มนตรี กล่าวว่า กรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้รับคดีบุกรุกที่ดินรัฐในพื้นที่ชายหาดทะเลที่ต่อเนื่องจากที่ดินเดิม รอยต่อที่ศาลทุจริตพิพากษาจำคุกผู้ต้องหารายสำคัญไปเมื่อเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา โดยกรมสอบสวนได้รับคดีการบุกรุกที่ดินรัฐบริเวณนี้ไว้เป็นคดีพิเศษ โดยขณะนี้ศาลฎีกาได้พิพากษาไปแล้ว 2 คดี คดีแรกเมื่อปี 2558 เป็นคำพิพากษาฎีกาที่ 6251/2558 โดยพิพากษาให้บริษัทเจ้าพญาแลนด์ ออกจากพื้นที่ดินที่เป็นของรัฐ โดยที่ดินดังกล่าวติดกับที่ดินแปลงที่ศาลฎีกาอ่านคำพิพากษา เมื่อวันที่ 1 พ.ย.2560 คือ ฎีกาที่ 4537-4543/2560 ซึ่งคำพิพากษาชัด ว่าที่ดินทั้งหมดทั้ง 178 ไร่ เป็นที่ดินรัฐ และเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วว่า มูลค่าที่ดินในบริเวณนี้หากสามารถออกเป็นเอกสารสิทธิได้ มูลค่าสูงถึงไร่ละประมาณ 70 ล้านบาท จำนวนพื้นที่ที่โจทก์พร้อมรัฐนั้น 178 ไร่ ร่วมเป็นมูลค่ามหาศาลสูงถึงกว่า 12,000 ล้านบาท
สำหรับที่ดินแปลงนี้จากการศึกษาข้อมูล ทราบว่า มีการต่อสู้กันยาวนานถึง 33 ปี ระหว่างรัฐกับเอกชน เป็นการต่อสู้จากการที่เอกชนเอาที่ดินไปออกเอกสารสิทธิ จนกระทั่งกรมที่ดิน มีการเพิกถอนไปเมื่อประมาณปี 2527 จังหวัดภูเก็ต โดยนายอำเภอถลาง จึงได้เสนอให้มีการขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่สงวนหวงห้ามให้ประชาชนได้ใช้ร่วมกัน ตามมติคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ และเป็นไปตามพระราชบัญญัติที่ดิน มาตรา 20 เมื่อปี 2544 หลังจากมีการประกาศก็มีเอกชน จำนวน 9 ราย ยื่นคัดค้าน แต่มีการฟ้องศาล จำนวน 6 ราย ส่วนอีก 3 ราย ไม่มีการดำเนินการ ซึ่งถือว่าเป็นการต่อสู้ที่ยาวนานมาก แต่สุดท้ายความยุติธรรมก็เกิดขึ้น เมื่อคำพิพากษาฎีกาพิพากษาให้ที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นที่ดินสาธารณะ ผู้บุกรุกทั้งหมดจะต้องออกจากพื้นที่ ซึ่งจะต้องมีการดำเนินการตามขั้นตอน จะมีการปิดประกาศให้ชัดเจนเพื่อบังคับคดีต่อผู้ที่อยู่ และใช้ประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว เพื่อให้ออกจากพื้นที่
ส่วนการดำเนินการหลังจากนี้ เมื่อดีเอสไอรับเป็นคดีพิเศษ ในการดำเนินการทางดีเอสไอก็จะเป็นผู้ดำเนินการ โดยเฉพาะในส่วนของรายที่มีการบุกรุกอยู่เดิม รวมทั้งรายที่เข้ามาใหม่แต่มีคนเดิมอยู่เบื้องหลัง ทางดีเอสไอ ก็จะต้องเข้ามาตรวจสอบทำประวัติ หากถึงเวลายังไม่ยอมออกจากพื้นที่ก็จะขอศาลอนุมัติหมายจับเพื่อดำเนินการจับกุม และดำเนินคดี ซึ่งจะนำตัวไปดำเนินคดีที่กรุงเทพฯ และคัดค้านการประกันตัวทุกราย ส่วนกรณีที่มีรายใหม่เข้ามาบุกรุกทางพื้นที่ ทั้งปกครอง ตำรวจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินคดีในข้อหาบุกรุกที่ดินสาธารณะได้เลย เพราะที่ดินดังกล่าวเป็นที่ชัดเจนแล้วว่า เป็นที่ดินที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน
ขณะที่ นายมาแอน สำราญ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเล กล่าวว่า ที่ดิน 178 ไร่ เป็นที่ดินติดชายหาดลายัน ไปจนถึงเลพัง ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร ปัจจุบัน ยังมีคนบุกรุกเข้าไปทำประโยชน์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1.บุกรุกประกอบการทางด้านการท่องเที่ยว 2.ใช้ นอมินีเข้ามาแสดงการครอบครอง 3.กลุ่มบุกรุกเดิมที่มี จำนวน 9 ราย และ 6 ราย แสดงตัวคัดค้าน และมีการฟ้องร้อง อบต. จังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่วนกรณีมีการอ้างเอกสารสิทธิ น.ส.3 ก. ครอบครองนั้น ทางกรมที่ดิน ตั้งกรรมการขึ้นมาพิจารณาและมีการเพิกถอนเมื่อปี พ.ศ.2527
และต่อมา จังหวัดภูเก็ต โดยเจ้าพนักงานที่ดินสาขาถลาง ได้ขอขึ้นทะเบียนพื้นที่ชายหาดลายัน-เลพัง หมู่ที่ 4 และ 6 ต่อเนื่องกัน ต.เชิงทะเล อ.ถลาง จ.ภูเก็ต เนื้อที่ 178 ไร่ เป็นพื้นที่สงวนหวงห้ามให้ประชาชนได้ใช้ร่วมกัน ตามมติคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ และเป็นไปตามพระราชบัญญัติที่ดิน มาตรา 20 เมื่อ ปี 2544 หลังจากนั้น ก็มีการฟ้องร้องทางจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ก็จะต้องมีการปักป้ายเพื่อแจ้งให้ผู้บุกรุกออกจากพื้นที่ และนำที่ดินดังกล่าวมาให้ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน
ด้าน นายยงยุทธ กาญจนานุรักษ์ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ต สาขาถลาง กล่าวว่า การดำเนินการขึ้นทะเบียนในที่ดินแปลงนี้ยังไม่จบ ในขั้นตอนต่อไปจะต้องให้ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เสนอเรื่องต่อคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ อนุมัติให้เป็นที่ดินรัฐ และประกาศในราชกิจจานุเบกษา หลังจากนั้น จึงจะสามารถขึ้นเป็นที่ดินหนังสือสำคัญที่หลวง หรือ นสล.ได้
ขณะที่ พ.ต.ท.ประวุธ วงศ์สีนิล รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ กล่าวว่า ดีเอสไอดำเนินการต่อเนื่องมาจากการดำเนินคดีต่อผู้บุกรุกที่ดินในอุทยานแห่งชาติสิรินาถ เนื่องจากการสอบสวนดำเนินคดีต่อผู้กระทำความผิดเป็นฐานเดียวกันพฤติกรรมเดียวกันแต่พื้นที่อยู่นอกอุทยาน และพยานหลักฐานที่สอบสวนพบก็ต่อเนื่องกัน และเป็นที่ดินงอกในอดีตเป็นที่ทะเลมาก่อน มีสภาพสวยงาม เหมาะเป็นที่ท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว และประชาชนทั่วไปอย่างมาก แต่ไม่ควรเป็นที่ดินของเอกชนเพียงเก้ารายสิบราย แต่ควรจะเป็นที่ดินของประชาชนทั้งประเทศ จึงเสนอให้การบุกรุกที่ดินแปลงนี้เป็นคดีพิเศษ
สำหรับการบุกรุกที่ดินของรัฐถ้าทำสำเร็จก็จะเกิดความเสียหายต่อรัฐมาก เนื่องจากมูลค่าที่ดินสูงมาก และสภาพที่ดินมีทิวทัศน์ที่สวยงาม หากสามารถรักษาไว้ได้ก็จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของนักท่องเที่ยว และประชาชนอีกแห่งหนึ่ง ที่สำคัญที่ดินบริเวณนี้ควรเป็นของคนไทยทุกคนไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง
ด้าน นายนรภัทร ปลอดทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า หลังจากที่ภาครัฐชนะคดีดังกล่าวและได้คืนที่ดิน จำนวน 178 ไร่ กลับมาเป็นที่ดินของรัฐ และเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ ซึ่งในส่วนของการบริหารพื้นที่สาธารณะ เป็นหน้าที่ของฝ่ายปกครอง และท้องถิ่นในการบูรณาการดูแลรักษา ไม่ให้ผู้ใดนำไปใช้ประโยชน์ส่วนตัวต่อไป โดยจังหวัดได้ดำเนินการจัดตั้งคณะทำงานขึ้นมา 1 ชุด แบ่งหน้าที่การทำงานเป็นฝ่าย ประกอบด้วย คณะทำงานฝ่ายรังวัดสอบเขตที่ดิน การปักปันแนวเขต และคณะทำงานพิจารณากำหนดพื้นที่ในการใช้ประโยชน์สาธารณะ ซึ่งจะเร่งดำเนินการโดยเร็วที่สุด และจะต้องยึดหลักให้เป็นพื้นที่สาธารณะที่ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ เป็นที่พักผ่อน เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ โดยไม่มีใครเข้ามาแอบอ้างเป็นเจ้าของ เนื่องจากปัจจุบันในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต มีพื้นที่ชายหาดหลายแห่งที่ประชาชนไม่สามารถเข้าไปใช้พื้นที่ได้ ดังนั้น พื้นที่แห่งนี้จะต้องเป็นทางเลือกใหม่ให้แก่ประชาชน
ส่วนกรณีการดำเนินการต่อผู้บุกรุกที่ยังไม่ออกจากพื้นที่ ทางจังหวัดจะดำเนินการโดยใช้อำนาจทางกฎหมาย และอำนาจจากศาล มาใช้ในการดำเนินการ โดยจะประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนที่บุกรุกได้เข้าใจสถานะว่า พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่สาธารณะ การบุกรุกถือเป็นความผิดทางกฎหมาย ทั้งนี้ การเป็นพื้นที่สาธารณะ ประชาชน หรือกลุ่มบุคคลจะไม่มีสิทธิครอบครอง หรือเข้ามาทำประโยชน์ใดๆ ได้
กว่าจะได้ที่ดินมูลค่านับหมื่นล้านกลับมาเป็นของรัฐ ต้องใช้ทั้งความพยายาม และการยึดมั่นที่จะรักษาผลประโยชน์ของชาติ โดยเฉพาะคดีเอกชนบุกรุกหาดเลพัง เนื้อที่ 178 ไร่ ต้องใช้เวลาว่าคดี 11 ปี ซึ่งคดีนี้ นายบัณฑูร ทองตัน ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีแรงงานภาค 8 ผู้ว่าคดี พร้อมทีมงานได้ต่อสู้กันมาอย่างเต็มที่ ทั้งๆ ที่ภาครัฐ และข้าราชการที่ถูกฟ้องร้องปล่อยให้ล่วงเลยระยะเวลาคำให้การแก้คดี จนศาลมีคำสั่งขาดนัดยื่นคำให้การแล้ว แต่ทีมอัยการได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลไถ่สวน และมีคำสั่งอุทธรณ์ให้ยื่นคำให้การแก้คดีจนเป็นผลสำเร็จ และฟ้องแย้งให้โจทก์ออกไปจากที่ครอบครองอยู่ ซึ่งคดีนี้มีการใช้หลักนิติวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วย โดยการอ่านแปลภาพถ่ายทางอากาศพิสูจน์ได้ว่า เมื่อปี 2510 บริเวณที่พิพาทเป็นชายทะเลที่น้ำท่วมถึง การที่โจทก์อ้างว่า มีการทำประโยชน์ก่อนประมวลกฎหมายที่ดินบังคับใช้จึงเป็นไปไม่ได้