ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - นักพัฒนาเอกชนผู้ติดตามปัญหาของเกษตรกรชาวนา ชาวประมง มานานเกือบ 4 ทศวรรษ ฟันธง วิกฤตต่างๆ จะไม่มีทางแก้ไขให้ลุล่วงไปได้หากรัฐบาลผู้รับผิดชอบไม่แก้ที่โครงสร้างซึ่งเป็นหัวใจหลักของปัญหา พร้อมเสนอวิธีรับมือเฉพาะหน้า ช่วยชาวนาช่วงข้าวราคาตก
“วิกฤตที่เกิดต่อเกษตรกรชาวนา ถ้าไม่แก้ที่โครงสร้าง ก็ยากที่จะสะสางปัญหาได้”
นั่นคือทัศนะในสายตาของ นายบรรจง นะแส นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทยและประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) ที่มองปัญหาซึ่งเกษตรกรกำลังเผชิญอยู่ทั่วประเทศในขณะนี้ ทั้งย้ำว่า นี่ไม่ใช่เรื่องที่เพิ่งอุบัติขึ้น แต่เป็นปัญหาที่หมักหมมมานานนับศตวรรษ
“เหตุที่ทุกรัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาของพี่น้องเกษตรกรได้เลย เนื่องจากไม่ได้มุ่งแก้ปัญหาที่โครงสร้าง ซึ่งเป็นฐานปัจจัยการผลิตที่สำคัญ นั่นคือเรื่องที่ดินซึ่งเป็นหัวใจหลักในกระบวนการผลิตของพี่น้องเกษตรกร”
ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน เสนอทางออกเพื่อแก้ปัญหาในเฉพาะหน้าสำหรับเกษตรกรชาวนา ว่า รัฐบาลควรส่งเสริมให้หน่วยงานราชการที่มีงบประมาณในการซื้อข้าวสาร ควรนำงบประมาณส่วนนั้นมาซื้อข้าวที่ผลิตจากกลุ่มเกษตรกรโดยตรง เพื่อช่วยเหลือชาวนาที่กำลังประสบปัญหาราคาข้าวตกต่ำ
ติดตามเนื้อหาสาระทั้งหมดได้ในคลิปวิดีโอ ↓↓↓
ที่จริงปัญหาเกษตรกรมันไม่ได้เกิดในยุคนี้ มันเป็นปัญหาที่ต่อเนื่องมายาวนาน ซึ่งเรื่องนี้ก็รับรู้กันทั่วไปว่าประเทศเรามีปัญหาเรื่องโครงสร้าง เกษตรกรที่มีสิ่งที่เป็นปัจจัยที่สำคัญก็คือว่าเกษตรกรเนี่ยต้องสัมพันธ์กับปัจจัยการผลิตชาวประมงก็ต้องอาศัยทะเลแหล่งน้ำ ชาวนาก็ต้องอาศัยที่ดิน ปัญหาเรื่องเชิงโครงสร้างที่ปัจจัยในการผลิตไม่ได้อยู่ในมือเกษตรกรหรือไม่ได้รับการปกป้อง ทะเลก็มือใครยาวสาวได้สาวเอา กลไกลในการดูแลทรัพยากรสำหรับทะเลก็อ่อน
เรื่องที่ดินวันนี้จริงๆแล้วเราก็ปล่อยให้คนจำนวนน้อยมีกัน 6 แสนไร่ ในมือ มีกัน 3 หมื่นไร่ หรือ 5 หมื่นไร่ อย่างนี้ไม่ว่ายุคไหนสมัยไหนมันก็จะเกิดประทุปัญหาขึ้นในแต่ละยุคสมัยจนได้ วันนี้เรามีปัญหาเรื่องราคาพืชผลที่จริงไม่ได้เกิดขึ้นวันนี้หรอก ตั้งแต่ปลูกยางพารา ปลูกปาล์มน้ำมัน อ้อย อะไรก็แล้วแต่ ก็ปัจจัยในการผลิตก็อยู่ในมือเกษตรกร ทีนี้ต้องเข้าใจประเด็นนี้ว่า ปัจจัยในการผลิตของเกษตรกรไม่ได้อยู่ในมือเกษตรกร ปัจจัยในการผลิตไม่อยู่ในมือเกษตรกรแล้ว
ปัจจัยที่ 2 คือถูกรวบให้อยู่ในมือของกลุ่มทุน ชาวประมงจับปลามาได้ก็ต้องอยู่กับแพปลา ซึ่งเป็นของปัจเจกล้วนๆ ไม่ใช่ระบบที่จะพาเกษตรกรรอด ต่างประเทศต้องมีสหกรณ์ มีความเข้มแข็งที่จะดูแลสมาชิกเหมือนอารยันประเทศ เราไม่มี เรามีไซโลเก็บข้าวโพดของเกษตรกรมา เรามีโรงสี เก็บข้าวของชาวนามา ปัจจัยในการผลิตไม่ได้เป็นของตนเอง ผลผลิตก็ถูกร่วมไปอยู่ในมือของกลุ่มทุน ปัจจัยที่เอื้อต่อการผลิต พันธ์พืช ปุ๋ย ยาต่างๆก็อยู่ในมือของกลุ่มทุน ในความเป็นจริงแล้วถ้าอยู่ในยุคปัจจุบันเป็นแค่แรงงานรับจ้าง ทั้งที่ตัวเองเลือดเนื้อเชื้อสายเกษตรกร
เพราะฉะนั้นถ้าเราจะแก้ปัญหาเกษตรกรคิดว่าถ้าเราจะไม่แตะปัญหาเชิงโครงสร้างคือปัจจัยในการผลิตที่ควรจะเป็นของเกษตรกรถ้ายังไม่ถึงจุดนั้นเนี่ยยากที่เราจะแก้ไขปัญหาของเกษตรกรในเมืองไทย อันนี้ผมมองประเด็นหลักตรงนี้ ส่วนการแก้สมมุติว่าชาวประมง อย่าลืมว่าชาวประมงเป็นกลุ่มเกษตรกรที่ไม่น้อย เพราะมีชายฝั่ง 22 จังหวัด อย่างที่ว่าอันดามันและอ่าวไทย มีชาวเกษตรกรที่เป็นชาวประมงที่ใจสั่น คือประมงเรามี 2 แบบ คือประมงพื้นบ้าน และ ประมงพาณิชย์ ประมงพื้นบ้านจะมีประชากรประมาณ 85 % ประมงพาณิชย์มีประชากรประมาณ 15 % ชาวประมงก็อดอยากยากจน เพราะทะเลไม่ได้รับการจัดการให้ทำกับคนส่วนใหญ่ เพราะฉะนั้นก็ลองดูตัวเลขสถิติคนไทยที่การวิจัยเขาเก็บมา เรากินปลาคนนึงประมาณ28-30 กิโลกรัมต่อปี ถ้าคน 60 ล้านคน นั่นก็หมายความว่า เราต้องบริโภคปลาประมาณ 6 หมื่นกว่าตัน
แต่วันนี้เป็นยังไง เรานำปลาเข้ามาจากต่างประเทศ ทั้งๆที่ตัวมีทะเลออกกว้างใหญ่ เราก็เห็นปมว่ามันไปเชื่อมโยงกับปัญหาเชิงโครงสร้าง วันนี้ปีที่แล้วปี 58 เราเอาปลาเล็กปลาน้อย ที่ควรจะเป็นของชาวประมงที่เลี้ยงจนโต มาทำปลากด 5 แสนตัน แน่นอนปลากดมี 2 แบบ (นาทีที่4.55-5.20) ซึ่งในทางวิชาการเห็นชัดเจนว่า 33-34 % คือลูกปลาเล็กๆวัยอ่อน ที่พร้อมจะโต แต่ก็ต้องเอามาถูกธุรกิจปลาป่น เป็นธุรกิจที่เชื่อมโยงกับธุรกิจอหังทรัพย์ซึ่งใหญ่มาก แล้วตรงนี้รัฐบาลก็ไม่จัดการอะไรเลย
สมมุติว่าปลาป่นอย่างละ 50 นั่นหมายความว่าเราต้องสูญเสียลูกปลาสัตว์น้ำลูกปลาเล็กๆ เนี่ย ประมาณ 2.5 แสนตันต่อปี ในทางวิชาการ เอาซะว่า 2.5 แสนตัน ปลาป่นเนี่ยมันทำร้ายทำลายพันธ์สัตว์น้ำ 1 ล้านตัน เราเอา 4 คูณ 2.5 แสนตัน 1 ล้านตันเชียวนะที่เราถูกทำลายไป ถ้าเราปล่อยให้ 1 ล้านตันโตขึ้นมา ปัญหาเรื่องอาชีพก็หมดไป ปัญหาเรื่องคนกินปลาก็จะมีปลามากขึ้น อเมริกาก็กินปลา 50 กิโลกรัมต่อคนต่อปี ญี่ปุ่นนี่ 69 เพราะอะไรเพราะเขาดูแลทะเลดี ปลาเป็นอาหารโปรตีนที่ดีและบริสุทธิ์อย่างธรรมชาติไม่ควรจะทำลาย แต่เราไม่เคยดูแลแผนจัดการเรื่องของทะเลเลย เราปล่อยให้มีการทำลายล้าง ปล่อยให้ชุมชนเกษตรกรที่เป็นชาวประมงเนี่ยล้มละลายหายไปจากแผนที่หมู่บ้านทีละหมู่บ้านเพราะเราไม่เคยจัดการเรื่องทะเล
ผมคิดว่าอันนี้ก็เป็นปัญหาของเรื่องทรัพยากรและก็เรื่องชาวนา ชาวนาก็เหมือนเกษตรกรทั่วไป นาเป็นของคนอื่นเขา เช่าเขากิน เขาบอกกันว่าคนเรากินข้าวประมาณ 5 กิโลกรัม ต่ออาทิตย์นึง ต่อเดือนนึง คูณกว่า 60 ล้านคนเข้าไป แสดงว่าปีนึงคนเราต้องกินข้าวได้ 350 ล้านกิโลกรัม ประมาณ 3 จุด 5แสนตัน คนไทยเยอะกินข้าวขนาดนี้ แต่ทำไม่ชาวนาถึงยากจน แต่ทำไมคนกินข้าวซื้อข้าวแพง มันก็โยงไปถึงปัญหาเรื่องโครงสร้างอีกดังเดิม ทำนาก็ต้องเช่านาเขา หน้าแล้งก็ไม่มีระบบชลประทานที่ดีใช่มั้ยครับ ข้าวเขาก็ผลิตมาแล้ว ข้าวพออยู่กับชาวนาถูก แต่พอแพ๊คใส่ถุง จากกลุ่มทุนที่รวบรวมผลผลิตราคาสูงขึ้น
ก็เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างเรื่องของระบบทุนกินรวบที่ผูกขาดที่มีอยู่ในปัจจุบัน นั้นวันนี้วิกฤตเรื่องข้าว วิกฤตเรื่องชาวประมง มันจึงไม่สามารถแก้ไข้ได้ โดยในวิธีใส่ยาบนหนองในทัศนะของผม คำว่าใส่ยาบนหนองก็คือว่า จำนำข้าว ประกันราคาข้าว ทำมากี่รัฐบาลแล้ว แต่ไม่เคยแก้ปัญหาที่เป็นรากเหง้าของปัญหาชาวนาที่ไม่มี่ดินทำกิน ที่ต้องเช่าที่นาเขา ที่ต้องเป็นหนี้สินกับธกส. เพราะฉะนั้นในทัศนะของพวกเราคนทำงานพัฒนามองว่า ถ้าจะแก้ปัญหาเกษตรกรก็ต้องไปให้ถึงรากเหง้าของปัญหาที่แท้จริง อย่างคดีเรื่องชาวนา เรามีข้อเสนออยู่ 3-4 ข้อ ที่ผมคิดว่ารัฐบาลลองทบทวนดู
ข้อแรกสุดชาวนาต้องมีปัจจัยในการผลิตเป็นของตัวเองคือ ที่ดินในการทำนา นั้นหมายถึงว่า การที่จะให้ชาวนาอยู่ได้ เขาต้องมีที่นาเป็นของตัวเอง วันนี้บางคนมี 6ถึง7 แสนไร่ ทำยังไงถึงได้กลับคืนมา ระบบอะไก็ได้ที่เป็นธรรมกับคนที่เค้าเคยมีที่ดินอยู่ ซึ่งทั่วโลกก็มีอยู่แล้วระบบภาษีมรดก ระบบภาษีก้าวหน้า การจำกัดการถือครองที่ดิน ถามว่าถ้าไม่แก้ตรงนี้จะแก้ได้มั้ย วันนี้คุณไม่แก้ ต่อไปรุ่นลูกรุ่นหลานเราเขาก็ต้องทวงสิ่งเหล่านี้ เพราะว่ามันไม่เป็นความเป็นธรรมในระบบที่ทำให้คนจำนวนน้อยถือปัจจัยผลผลิตส่วนใหญ่ก็คือ เรื่องปฏิรูปที่ดินรูปแบบไหนก็แล้วแต่ว่า จะใช้ภาษีมรดก ภาษีก้าวหน้า การจัดการจำกัดที่ดินกลับมาว่าเกษตรกรควรใช้เท่าไร คนทำอุตสาหกรรมควรจะมีเท่าไรที่ดินควรเป็นเครื่องมือในการเกร็งกำไรสำหรับกลุ่มทุนนิยม แล้วต้องคิดเองนี้ให้ออกว่า ต้องเอาที่ดินเป็นปัจจัยในการผลิตมาให้เกษตรกรให้ได้
อันที่ 2 การแปรรูป การแปรูปจะอยู่ในมือของโรงสี อยู่ในกลุ่มของธุรกิจค่าข้าว ไม่มีนาสักแปลงนึง แต่ว่าผลผลิตอยู่ที่เขาหมด มีโรงสี มีเครื่องแพ๊คกิ้งสวยๆ ใช่มั้ย แต่ถ้ารัฐบอกว่าขั้นตอนแรกผ่านก่อน อันที่สองคือส่งเสริมโรงสีของชุมชนก็คือ รูปแบบสหกรณ์ ซึ่งในบ้านเราก็ล้มเหลวมาตลอดเรื่องสหกรณ์ เพราะเราไม่ได้ส่งเสริมจริง ทำไมชาวนาญี่ปุ่นถึงอยู่ดีกินดี เพราะเขารู้ว่าคนญี่ปุ่นกินข้าวเท่านี้ เขาต้องนำข้าวแต่ชาวนาเขาเลี้ยงดูแลอย่างดี ก็ตั้งเริ่มโรงสี เริ่มต้องสหกรณ์การแปรรูป เมื่อก่อนเราขายเฉพาะข้าวเปลือกยกระดับการแปรรูป
อันที่ 3 มันเป็นค่าใช้จ่ายของเกษตรกรไม่ว่าชาวประมงหรือชาวนาหรือทั่วไปในเรื่องของพลังงาน น้ำมันขึ้นครั้งนึง กระเทือนไปทีนึง แต่วันนี้สังคมมันไปไกลแล้ว นั้นข้อที่3เราจึงสนับสนุนถึงพลังงานทางเลือกไม่ส่าสายลมหรือแสงแดดที่จะมาเป็นทางเลือก ถ้าโรงสีของชุมชนใช้พลังงานทางเลือก กลุ่มเกษตรกรที่ทำนาส่งเสริมเรื่องโซล่าเซลล์ทั่วไป ซึ่งตอนนี้มันมีตัวอย่างเยอะแยะไปหมดแล้ว ฟาร์มหมู พื้นพลังงานแปลงละ 10 ไร่ ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ปั๊มน้ำได้ตลอดทั้งวันไม่ต้องจ่ายสักบาท อันนี้คือการลดรายจ่ายต้นทุนให้เกษตรกร อันข้อที่3เราเสนอเรื่องเอาพลังงานทางเลือกในรูปแบบต่างๆ มาให้กับเกษตรกร
อันที่ 4 ผมคิดว่าเรื่องนี้ยกระดับไปอีกขั้นหนึ่งว่า การตั้งวิสาหกิจชุมชน วันนี้นิยมข้าวเฉพาะข้าวเจ้า แต่แป้งทำเป็นขนมได้เป็นร้อยเป็นพันชนิด เป็นไปได้เยอะไปซะหมดเลย แต่การแปรรูปนี้ไม่ได้อยู่ในมือเกษตรกร จะทำอย่างไรให้อยู่ในมือเกษตรกร ซึ่งรัฐต้องดูแลในช่วงต้น สุดท้ายผมคิดว่าสิ่งที่เราปฏิเสธไม่ได้ในวันนี้ก็กลุ่มคนที่รวยที่สุดในประเทศไทย เราก็อยู่ใช่มั้ย โดยเฉพาะกลุ่มที่ขายเหล้าขายเบียร์
อย่าลืมว่าปัจจัยหนึ่งในการผลิตเหล้าหรือเบียร์ก็คือข้าว คุณก็เปิดเหล้าเสรีสิ ไม่ใช่เปิดอยู่แบบปัจจุบัน คนที่รวยที่สุดยังเป็นค่าราษฎร์กุมอยู่ ถ้าคนกลุ่มนี้ไม่เปิดการแปรรูปยกระดับมูลค่าของข้าวก็จะยิ่งไปยาก เพราะฉะนั้นเหล้าเสรีต้องเป็นจริงไปในทางปฏิบัติ ไม่ใช่เราจะส่งเสริมการบริโภคเหล้า แต่เราปฏิเสธไม่ได้ว่าสังคมเราวันนี้เรื่องแอลอกฮอลล์
เรื่องเหล้า พิธีกรรมตามงานเราปฏิเสธไม่ได้ยกเว้นว่าเราปิดประเทศห้ามมีเหล้ามีเบียร์มันคงเป็นไม่ได้ แต่ช่องว่างที่มันเกิดขึ้นหรือปัจจัยในการผลิตเหล้ามันไปอยู่ในมือของกลุ่มคนคนเดียว ทั้งเรื่องกินเหล้า เหล้าขาวต่างๆ มันเป็นสิ่งผิดกฎหมาย จะให้ถูกกฎหมายก็มีกาบีบเงื่อนไงให้กับชาวนาที่มีปัจจัยในการผลิตของตัวเองไม่ว่าอ้อย น้ำตาล ข้าว ไม่สามารถแปรรูปได้เลย ทั้งๆที่เรามี ทำไมถึงผลิตไม่ได้ เพราะเรามีกล ภาษีตรวจสอบเยอะแยะไปหมดเลย ไม่เป็นเสรี
ฉะนั้น 4 ข้อนี้เป็นทางออกของชาวนา โดยหัวใจคือเริ่มปฏิรูปที่ดิน ส่วนเรื่องทะเล ประเทศเรามีทั้งข้าวไม่ขาดแคลนข้าวแต่ชาวนายากจน มีชาวประมง 5แสนกว่าครอบครัว ล้านกว่าคน มีทักษะในการจับปลาพร้อมกุ้งหอยปูปลามโหฬารเลย ทะเลวันนี้หลังจากใช้มาตรา44 ทำให้ทะเลหลายพื้นที่ฟื้นขึ้น หลังจากที่เราโดนไอยูยูฟิชชิ่ง เข้ามา ที่โดนมาตรการฟื้นฟูทะเล ตอนนั้นสินค้าเราเข้าไปยุโรปไม่ได้ เราก็เลยต้องปรับปรุง เรือเถื่อน เรือลงทะเบียนให้ถูกต้องถูกตามกฎหมาย รัฐปรับปรุงเพราะว่ามันกระทบต่อผลประโยชน์ของกลุ่มทุน
ถ้าประทบชาวประมงหรอ มันกระทบมาเกือบ 20 ปี 30 ปี ไม่เคยแก้ แต่วันนี้พอกุ้งไปตลาดยุโรปไม่ได้ ทูน่ากระป๋องไปยุโรปไม่ได้ ก็ต้องดิ้น เพราะว่าผลประโยชน์ของเขาคืออันเดียวกัน ถ้าเรามองในแง่ดีก็นี่คือถึงเวลา ในการที่เราควรจะเป็นไทย เราควรจะหันประเทศเข้าสู่สากล เข้าสู้เอสบีเจในอนาคต มีตัวชี้วัดเรื่องความเหลื่อมล้ำ เรื่องความยากจนเรื่องอะไร มันมาแน่ ต่อไปนี้เรื่องไอยูยูฟิชชิ่งที่จะมากดดันประเทศไทย การค้าขายเชิงเอาเปรียบ การถือปัจจัยการผลิตเกินความพอดี อาจเป็นเงื่อนไขทางสังคมประเทศที่เขาพัฒนา ว่าโลกนี้ต้องไปด้วยกัน เราก็ยังถูกบอยคอต อีก
ทำไมเราต้องรอให้เขาบีบ ทำไมเราไม่เริ่มปฏิบัติการเดี๋ยวนี้เลย เพราะฉะนั้นสิ่งที่รัฐบาลทำในวันนี้เนี่ย คือการนำเอารูปแบบเก่ามาใช้ การจำนำข้าว ประกันราคา ไม่มีนัยในการแก้ไขปัญหาเกษตรกรของประเทศในระยะยาว ผมมองอย่างนั้น เพราะอะไร ประชารัฐในเกษตรกร เราไม่ได้มี 100ไร 50ไร่ เรามีกัน 3 ไร 5 ไร่ ถ้าจะมี 100 ไร่ ก็จะเป็นนาเช่า งั้นพอเป็นเกษตรกรแปลงใหญ่ ถามว่าใครได้ประโยชน์ ก็คือกลุ่มเกษตรกรที่เป็นนายทุนเจ้าของที่ดิน มันไม่ใช่เกษตรกรตัวจริง 90 % ของประเทศนี้ การที่กลุ่มนายทุนมารวมกับนโยบายของรัฐเพื่อจะส่งเสริมประชารัฐ เรื่องมตินู้นนี่นั่น ต่อเรื่องเกษตรกรผืนใหญ่ ผมเห็นอยู่ 2 ประเด็น 1.คุณต้องการจะลดความลำบากของพวกคุณในการจัดการที่กระจัดกระจายอยู่ที่นู้นที่นี่ เพราะมันต้องมีจัดการ ต้องมีปัจจัยพื้นฐาน มีการลากถนน ไฟฟ้าเข้าไป การจัดการในแปลนใหญ่ เหมือนต้องการปลูกข้าวโพด วันนี้คุณบอกว่ามาใช้พื้นที่แปลงใหญ่เถอะ เดี๋ยวผมจะจัดการให้
แต่ผมถามว่าเกษตรกรไม่เป็นไทยตรงไหน ในเมื่อที่ดินเนี่ยมันเป็นของเขา งั้นนโยบายนี้ตั้งขึ้นมาเพื่อตอบสนองของกลุ่มทุน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มทุนเกษตร อุตสาหกรรม เหมือนเดิม เกษตรกรก็เป็นเหมือนทาสในเรือนเบี้ยเหมือนเดิม เพราะเขาไม่มีโอกาสได้เป็นเจ้าของในกรรมสิทธิปัจจัยการผลิต ตามที่พูดมาตั้งแต่ต้น แน่นอนมีบางแง่มุมดี สมมติว่าโอเค ข้าวโพดเป็นปัจจัยที่ทำที่ให้หัวโล้น กูต้องบุกป่ากันไป แล้วก็บริษัทก็จะไม่รับซื้อข้าวโพดที่ไม่มีโฉนด แต่เอาชาวบ้านลงมาจากดอย เอาลงมาข้างล่างที่เป็นที่ราบ ที่นาเยอะ คุณไม่ปฏิรูปที่ดิน เขามาเป็นอะไร มาเป็นไอพวกนี้หรอ คนมันมีศักดิ์ศรี แต่ถ้าเราปฎิรูปที่ดิน แล้วบอกว่า โอเคแหละ ลงมาจากล่าง ใครมีพื้นที่ที่ราบเกิน300ไร่ ก็เข้าสู่กลไกการปฎิรูป เพื่อให้พี่น้องมีการปลูกข้าวโพดบนดอย ลงมาปลูกข้างล่างก็ได้ ให้เขาได้ปลูกข้าวโพด แล้วป่าก็คืนมา แล้วกลุ่มทุนที่รวมกันเป็นประชารัฐ ก็รองรับผลผลิต ไม่ว่า ข้าวโพด อ้อย น้ำตาล หรืออะไรก็แล้วแต่ ไอนี้โอเค แต่วันนี้ที่ไม่พูดถึงปัจจัย ปัจจัยที่เป็นหัวใจเกษตรกร คือ ปัจจัยในการผลิต ผมว่าพวกนี้ยังใส่ยาบนหนอง คือเป็นได้แค่นโยบายชั่วคราว
ผมว่ามิติใหม่ที่เกิดขึ้นในช่วงนี้น่าสนใจ เป็นมิติที่คนชั้นกลางเริ่มรับรู้ปัญหาสังคมโดยรวม สังคมเรามันพัฒนาไปเร็ว คนส่วนใหญ่เริ่มเห็นปัญหาเชิงโครงสร้าง แต่ว่าจะไปแตะปัญหาเชิงโครงสร้างทีเดียวเลย เหมือนสมัยที่จะต้องปฎิวัติก่อนก็อาจจะช้าไป แต่พลังที่มันจะหมุนต่อเนื่องในสังคมเนี่ย ไม่ว่ากลุ่มสถาบันการศึกษา ปัญญาชนคนชั้นกลาง เห็นใจชาวประมง ชาวประมงที่มีการรวมตัวกัน เริ่มเห็นใจชาวนา ต้นทุนบางที่ ชุมชนประมงหลายชุมชนที่พวกผมทำงานอยู่ก็ 22 ชุมชน ที่รวมกันเป็นชมรม เป็นสมาคมชาวประมงพื้นบ้าน แล้วก็มีผลผลิต
แล้วขณะนี้ชาวนาที่สุรินทร์ แถวภาคกลางที่เขาเริ่มรวมตัวกันด้วยตัวเอง ไม่ใช่ที่รัฐสนับสนุน แพ็คข้าวเป็นกล่องเป็นกิโล ส่งขาย ขายตรง ผมว่านี่เป็นทางออก วันนี้เนี่ยทางสมาคมรักทะเลไทย ร้านคนจับปลา ซื้อปลาครบ5,000 บาท เราก็แถมข้าว1 ถุง 1 กิโล ข้าวสามหยดจากพัทลุง แต่ถ้าลองดู Volume มันเป็นแค่ Image เป็นแค่แสงไฟดวงน้อยๆ ถึงสุดท้ายรัฐเป็นฝ่ายดำเนินการเรื่องนี้ ตอนนี้สมมติเป็นนโยบาย โรงพยาบาลแต่ละโรงพยาบาล คุกทุกคุก ค่ายทหารทุกค่ายทหาร จะต้องซื้อข้าวจากกกลุ่มเกษตรกรตัวจริงเท่านั้น น่าจะทำให้เป็นจริง
มันจะมีโอกาสเป็นไปได้ไหมนั้น มันอยู่ที่ว่ารัฐบาลจะเลือกยืนข้างไหน ถ้าหากคุณยืนข้างชาวนากับวิกฤตชาวนากับคุณเอาเงินไปประกันราคาข้าว ก็ต้องไปจ่ายให้ค่าโรงสี มันก็ดักรออยู่แล้ว ผลประโยชน์ก็ตกถึงชาวบ้านนิดเดียว แต่ถ้าคุณต่อตรง พื้นที่ไหนที่มีศักยภาพ เรื่องการซื้อข้าว เรื่องการแปรรูป ในขณะที่กลไกของรัฐงบประมาณกี่หมื่นล้านที่ใช้ในการซื้อข้าวเข้าโรงพยาบาล ซื้อข้าวให้คุก ซื้อข้าวให้ค่ายทหาร หรือหน่วยงานราชการหลายหน่วยงานเนี่ย ไปดูเลยว่าแต่ละหน่วยงานคุณใช้งบประมาณไปเท่าไหร่ในการซื้อข้าวมาบริโภค แต่วันนี้งบประมาณส่วนนี้อยู่กับกลุ่มทุนหมดเลย มากี่ 10 กี่ 100ปีแล้วล่ะ ทำไมไม่เปลี่ยนมันตรงนี้เลย นี่คือทางออกในทัศนะของผมครับ