ศูนย์ข่าวภูเก็ต - รัฐมนตรีฯ คมนาคม ยืนยันอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศมีความพร้อมในการให้บริการผู้โดยสาร ขณะที่ปัญหาการให้บริการของ ตม. ดำเนินการแก้ไขแล้วทั้งเพิ่มคน และอุปกรณ์
เมื่อเวลา 14.00 น.วันนี้ (23 ก.ย.) นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และคณะเดินทางตรวจความพร้อมการให้บริการของท่าอากาศยานภูเก็ต ณ อาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ (หลังใหม่) หลังเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่ 16 ก.ย.ที่ผ่านมา โดยมี นางมนฤดี เกตุพันธ์ ผู้อำนวยการท่าอากาศยานภูเก็ต และคณะร่วมให้การต้อนรับ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงการให้บริการของอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ (หลังใหม่) ของท่าอากาศยานภูเก็ต หลังเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการครบ 1 สัปดาห์ โดยระบุว่า ทุกระบบของอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศมีความพร้อมในการให้บริการผู้โดยสารอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากก่อนที่จะมีการเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการมีการฝึกซ้อม และเตรียมความพร้อมก่อนเปิดให้บริการทุกระบบมาประมาณ 5 เดือน ทั้งระบบเช็กอิน ซึ่งมีพื้นที่กว้างกว่าอาคารเดิมอยู่มาก ระบบสายพานลำเลียงกระเป๋า ประตูเทียบเครื่องบิน รีโมตเกตต่างๆ มั่นใจว่าการให้บริการมีความพร้อมอย่างแน่นอน
แต่อย่างไรก็ตาม ในการเปิดให้บริการใหม่ๆ ก็ย่อมจะมีปัญหาติดขัดบ้าง ซึ่งปัญหาใหญ่ในขณะนี้ คือ เรื่องของการตรวจคนเข้าเมือง ซึ่งแต่ละวันมีผู้โดยสารเข้า-ออกที่ท่าอากาศยานภูเก็ต ประมาณ 36,000 คน โดยเฉพาะช่วงขาออก เมื่อมีผู้โดยสารมากก็ย่อมที่จะทำให้เกิดความแออัด เนื่องจากมีกรุ๊ปทัวร์ค่อนข้างมาก เช่นเวลาประมาณ 19.00-21.00 น. เป็นต้น ทำให้การเข้าคิวยาว รวมทั้งเรื่องของกำลังพล และอุปกรณ์ที่ยังไม่พร้อม ซึ่งเรื่องนี้ตนได้ประสานไปยังสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองแล้วเพื่อขอให้เพิ่มกำลังพล ซึ่งปัจจุบัน มีจำนวน 209 คน โดยเพิ่มอีก 31 คน เป็น 240 คน โดยกำลังพลที่เพิ่มมาได้เข้าปฏิบัติงานแล้ว ขณะที่ช่องให้บริการขาเข้า มีจำนวน 19 เคาน์เตอร์ 38 ช่องตรวจ และขาออก 17 เคาน์เตอร์ 34 ช่องตรวจการทำงานของเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองจะแบ่งเป็นผลัด ผลัดละ 15 คน ต่อ 6 ชั่วโมง ซึ่งเป็นจำนวนสูงสุดแล้ว คิดว่าหลังเจ้าหน้าที่เข้ามาเพิ่มจะทำให้ปัญหาการรอคิวยาวลดลงได้
ส่วนเรื่องอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ยังไม่มี เรื่องนี้ก็ได้มีการหารือกันแล้ว เมื่อเพิ่มกำลังพลก็ต้องเพิ่มในส่วนของอุปกรณ์ ปัจจุบัน จำนวนคอมพิวเตอร์มีแค่ 13 เครื่อง ไม่เพียงพอแน่นอน จึงได้ประสานกับสำนักงานใหญ่บริษัท ท่าอากาศยานไทยเพื่อขอใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่เดิมไปก่อน โดยจะนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานได้ในวันจันทร์ที่ 26 ก.ย.ที่จะถึงนี้ ทั้งนี้ จากสถิติการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ตรวจได้ 1 นาที ต่อ 13 คน นับเป็นความเร็วที่ค่อนข้างสูงแล้ว เนื่องจากเจ้าหน้าที่จะต้องตรวจตราด้านความมั่นคงด้วย
ขณะที่เรื่องของไฟฟ้าแสงสว่างที่ผู้ปฏิบัติงานแจ้งว่า แสงสว่างไม่เพียงพอนั้น เป็นเรื่องที่สามารถแก้ไขได้ และปรับความสว่างของแสงให้แก่คนที่เข้าทำงานได้ ซึ่งตอนก่อสร้างอาคารเป็นระบบเทคนิคที่ทำมาเหมือนกัน ซึ่งตนคิดว่าแสงสว่างน่าจะเพียงพอ แต่เมื่อบอกว่าไม่พอก็ต้องปรับให้เข้ากับคนทำงาน
เมื่อเวลา 14.00 น.วันนี้ (23 ก.ย.) นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และคณะเดินทางตรวจความพร้อมการให้บริการของท่าอากาศยานภูเก็ต ณ อาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ (หลังใหม่) หลังเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่ 16 ก.ย.ที่ผ่านมา โดยมี นางมนฤดี เกตุพันธ์ ผู้อำนวยการท่าอากาศยานภูเก็ต และคณะร่วมให้การต้อนรับ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงการให้บริการของอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ (หลังใหม่) ของท่าอากาศยานภูเก็ต หลังเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการครบ 1 สัปดาห์ โดยระบุว่า ทุกระบบของอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศมีความพร้อมในการให้บริการผู้โดยสารอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากก่อนที่จะมีการเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการมีการฝึกซ้อม และเตรียมความพร้อมก่อนเปิดให้บริการทุกระบบมาประมาณ 5 เดือน ทั้งระบบเช็กอิน ซึ่งมีพื้นที่กว้างกว่าอาคารเดิมอยู่มาก ระบบสายพานลำเลียงกระเป๋า ประตูเทียบเครื่องบิน รีโมตเกตต่างๆ มั่นใจว่าการให้บริการมีความพร้อมอย่างแน่นอน
แต่อย่างไรก็ตาม ในการเปิดให้บริการใหม่ๆ ก็ย่อมจะมีปัญหาติดขัดบ้าง ซึ่งปัญหาใหญ่ในขณะนี้ คือ เรื่องของการตรวจคนเข้าเมือง ซึ่งแต่ละวันมีผู้โดยสารเข้า-ออกที่ท่าอากาศยานภูเก็ต ประมาณ 36,000 คน โดยเฉพาะช่วงขาออก เมื่อมีผู้โดยสารมากก็ย่อมที่จะทำให้เกิดความแออัด เนื่องจากมีกรุ๊ปทัวร์ค่อนข้างมาก เช่นเวลาประมาณ 19.00-21.00 น. เป็นต้น ทำให้การเข้าคิวยาว รวมทั้งเรื่องของกำลังพล และอุปกรณ์ที่ยังไม่พร้อม ซึ่งเรื่องนี้ตนได้ประสานไปยังสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองแล้วเพื่อขอให้เพิ่มกำลังพล ซึ่งปัจจุบัน มีจำนวน 209 คน โดยเพิ่มอีก 31 คน เป็น 240 คน โดยกำลังพลที่เพิ่มมาได้เข้าปฏิบัติงานแล้ว ขณะที่ช่องให้บริการขาเข้า มีจำนวน 19 เคาน์เตอร์ 38 ช่องตรวจ และขาออก 17 เคาน์เตอร์ 34 ช่องตรวจการทำงานของเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองจะแบ่งเป็นผลัด ผลัดละ 15 คน ต่อ 6 ชั่วโมง ซึ่งเป็นจำนวนสูงสุดแล้ว คิดว่าหลังเจ้าหน้าที่เข้ามาเพิ่มจะทำให้ปัญหาการรอคิวยาวลดลงได้
ส่วนเรื่องอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ยังไม่มี เรื่องนี้ก็ได้มีการหารือกันแล้ว เมื่อเพิ่มกำลังพลก็ต้องเพิ่มในส่วนของอุปกรณ์ ปัจจุบัน จำนวนคอมพิวเตอร์มีแค่ 13 เครื่อง ไม่เพียงพอแน่นอน จึงได้ประสานกับสำนักงานใหญ่บริษัท ท่าอากาศยานไทยเพื่อขอใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่เดิมไปก่อน โดยจะนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานได้ในวันจันทร์ที่ 26 ก.ย.ที่จะถึงนี้ ทั้งนี้ จากสถิติการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ตรวจได้ 1 นาที ต่อ 13 คน นับเป็นความเร็วที่ค่อนข้างสูงแล้ว เนื่องจากเจ้าหน้าที่จะต้องตรวจตราด้านความมั่นคงด้วย
ขณะที่เรื่องของไฟฟ้าแสงสว่างที่ผู้ปฏิบัติงานแจ้งว่า แสงสว่างไม่เพียงพอนั้น เป็นเรื่องที่สามารถแก้ไขได้ และปรับความสว่างของแสงให้แก่คนที่เข้าทำงานได้ ซึ่งตอนก่อสร้างอาคารเป็นระบบเทคนิคที่ทำมาเหมือนกัน ซึ่งตนคิดว่าแสงสว่างน่าจะเพียงพอ แต่เมื่อบอกว่าไม่พอก็ต้องปรับให้เข้ากับคนทำงาน