xs
xsm
sm
md
lg

ตรังออกข้อบัญญัติอนุรักษ์ควายพื้นบ้านอยู่คู่เกาะสุกรอย่างยืนยาว

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


 
ตรัง - พบควายพื้นบ้านมากสุดในจังหวัดตรัง บนเกาะสุกร โดยถูกนำมาใช้ประโยชน์สารพัด ทั้งทำนา ปศุสัตว์ และท่องเที่ยว จึงได้มีการออกข้อบัญญัติเพื่ออนุรักษ์เอาไว้ และส่งผลให้มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี

วันนี้ (1 ส.ค.) นางราตรี จิตรหลัง นายก อบต.เกาะสุกร อ.ปะเหลียน กล่าวว่า ขณะนี้เกาะสุกร หรือเกาะหมู มีควายพื้นบ้านจำนวนมากที่สุด และมีเพียงเกาะเดียวในจังหวัดตรัง หรือประมาณ 300 ตัว ซึ่งแตกต่างไปจากพื้นที่อื่นๆ ในภาคใต้ที่มักจะนิยมการเลี้ยงวัวมากกว่า สำหรับควายเหล่านี้ในอดีตจะนำไปใช้เพื่อการทำนา โดยเฉพาะในพื้นที่หมู่ที่ 2 บ้านแหลม และหมู่ที่ 3 บ้านทุ่ง แต่หลังจากมีการขนส่งรถไถข้ามมายังเกาะได้โดยสะดวก ความสำคัญของการใช้ควายไถนาก็ค่อยๆ ลดลง จนเหลือประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันกลับมีการนำควายไปใช้เพื่อการบริโภคมากขึ้น ทั้งบนเกาะสุกร หรือส่งไปขายบนฝั่ง โดยเฉพาะการใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาอิสลาม เช่น งานฮารีรายอ งานแต่ง งานศพ ส่งผลให้ราคาควายขยับตัวสูงขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 280-300 บาท หรือตัวละ 25,000-35,000 บาท ซึ่งแต่ละตัวจะมีน้ำหนักประมาณ 150 กิโลกรัม และใช้ระยะเวลาในการเลี้ยง 2 ปี ซึ่งถือว่าคุ้มค่าอย่างมาก ประกอบกับควายบนเกาะแห่งนี้มีอาหารการกินที่อุดมสมบูรณ์ จึงทำให้ผลผลิตที่ออกมามีคุณภาพดีกว่าที่อื่นๆ คือ เนื้อแน่น และรสชาติอร่อย 
 

 
สำหรับ อบต.เกาะสุกร ได้พยายามอนุรักษ์ฝูงควาย เพื่อให้สัตว์พื้นบ้านชนิดนี้ยังคงอยู่คู่กับท้องถิ่นต่อไป โดยเฉพาะการออกข้อบัญญัติ เพื่อให้ทั้งการทำนา การปศุสัตว์ และการท่องเที่ยว สามารถใช้วิถีธรรมชาติร่วมกันได้ เช่น ในช่วงหน้าฝนประมาณเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม จะต้องจับควายทุกตัวเข้าคอก เพื่อมิให้ไปเดินเหยียบย่ำนาข้าวเสียหาย แต่เมื่อถึงช่วงหน้าร้อน ประมาณเดือนมกราคม-มิถุนายน หรือเรียกว่าฤดูปล่อยควาย จะต้องปล่อยให้ควายเดินไปไหนมาไหนทั่วเกาะได้โดยอิสระ แม้กระทั่งรถที่ไปชนก็จะมีความผิด

ทั้งนี้ ตามตำนานเล่าว่า เมืองครั้งที่เกาะสุกร ยังอยู่ในเขตปกครองของเมืองปะลันด้า ได้มี นายเส็น ชาวต่างชาติ บรรทุกควายประมาณ 100 ตัว ด้วยเรือขนาดใหญ่ โดยไม่รู้เส้นทาง จึงชนเข้ากับหอกลางทะเล หรือต่อมาเรียกกันว่า หอเทศ จนเรือล่มหาย คาดว่าจะทำให้ควายบางส่วนว่ายน้ำขึ้นไปอยู่บนเกาะ และขยายพันธุ์ออกมา ซึ่งจากการออกข้อบัญญัติดังกล่าว ที่มีแห่งแรก และแห่งเดียวในประเทศไทย ทำให้ควายมีความสุข และมีการเลี้ยงเพิ่มขึ้นทุกปี อีกทั้งยังเป็นผลดีต่อการท่องเที่ยวด้วย เพราะช่วยดึงดูดให้ผู้คนข้ามฝั่งมาเที่ยวชม
 

 
 

กกถ.สั่ง อบจ.-อบต.-เทศบาล มีผลวันนี้ ยกเลิกหนุนบริการสาธารณะ “ภารกิจการศึกษา-สาธารณสุข” หน่วยงานรัฐอื่น
กกถ.สั่ง อบจ.-อบต.-เทศบาล มีผลวันนี้ ยกเลิกหนุนบริการสาธารณะ “ภารกิจการศึกษา-สาธารณสุข” หน่วยงานรัฐอื่น
มีผลวันนี้ กกถ.สั่ง อบจ.-เทศบาล-อบต.ทั่วประเทศ ยกเลิกสนับสนุนงบประมาณ-บุคลากร-ซ่อมแซม การให้บริการสาธารณะ “ภารกิจด้านการศึกษา-สาธารณสุข” ที่ตราในยุครัฐบาลอภิสิทธิ์ แก่ส่วนราชการ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐในจังหวัด แต่หากอนุมัติงบฯข้ามปีให้ใช้จนกว่าจะหมดโครงการฯ เผยไม่ครอบคลุมยกเลิกบริการสาธารณะ “องค์กรประชาชน” วัด มัสยิด กาชาด สมาคม มูลนิธิ หรือองค์กรที่จัดตั้งตามกฎหมาย เช่น สภาวัฒนธรรม คณะกรรมการหมู่บ้าน อสม. กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรี
กำลังโหลดความคิดเห็น