ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ชุดปฏิบัติการพิเศษฉลามขาว กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สนธิกำลังร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ลงพื้นที่ออกตรวจสอบ/ตรวจยึดพื้นที่ ตามแผนปฏิบัติการพลิกฟื้นผืนป่าชายเลน จังหวัดภูเก็ต เผยตรวจสอบแล้วเกือบ 20 จุด พบไม่สามารถนำหลักฐานยืนยันได้หลายแปลง แจ้งจับกุมดำเนินคดีไปแล้วกว่า 10 ราย เนื้อที่รวมประมาณ 300-400 ไร่
วันนี้ (30 พ.ค.) นายศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเล (ทช.) พร้อมด้วย น.อ.สถาพร วาจรัตน์ รอง ผอ.กอ.รมน.ภูเก็ต นายวัชรินทร์ ถิ่นถลาง ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 6 (สบทช.6) นายพงศภัค เฮียบสกุล ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายฝั่งและป่าชายเลน นำชุดปฏิบัติการพิเศษฉลามขาว กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สนธิกำลังร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งในส่วนของสำนักอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน สำนักบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 6 กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 4 กอ.รมน. และ กอ.รมน.จังหวัดภูเก็ต ทหาร ตำรวจ เจ้าหน้าที่จากกรมอุทยานฯ เจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าตรวจสอบต่างๆ จำนวน 7 แห่ง ซึ่งก่อนหน้านี้ ตรวจสอบมาแล้วกว่า 10 แปลง ประกอบด้วย ท่าเรือจอดเรือมารีน่า 2 แห่ง คือ โบ๊ทลากูน และรอยัลมารีน่า อ.เมืองภูเก็ต ส่วนที่เหลือเป็นการลงพื้นที่ตรวจสอบบ่อเลี้ยงกุ้ง อีก 5 แห่ง
สำหรับการลงพื้นที่ตรวจสอบมารีน่าทั้ง 2 แห่งนั้น นำโดย นายศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเล (ทช.) พร้อมด้วย น.อ.สถาพร วาจรัตน์ รอง ผอ.กอ.รมน.ภูเก็ต นายวัชรินทร์ ถิ่นถลาง ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 6 (สบทช.6) นายพงศภัค เฮียบสกุล ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายฝั่งและป่าชายเลน ซึ่งทั้ง 2 จุด ทางตัวแทนเจ้าของพื้นที่ได้นำเอกสารสิทธิมาแสดง และส่งมอบให้แก่ทางรองอธิบดีฯตรวจสอบ พร้อมนำชี้แนวเขตที่ดิน และยืนยันให้ดำเนินการตรวจสอบตามข้อเท็จจริง
นายศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเล (ทช.) กล่าวว่า การลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบป่าชายเลนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตในครั้งนี้ มีเป้าหมายดำเนินการ 34 จุด ซึ่งจริงๆ แล้วเจ้าหน้าที่ได้เริ่มปฏิบัติการมาตั้งแต่วันที่ 24 พ.ค.ที่ผ่านมา ขณะนี้ตรวจสอบเสร็จไปแล้วกว่า 20 แปลง เป็นการตรวจสอบพื้นที่ป่าชายเลนที่จะในพื้นที่ 7 ป่าสงวนแห่งชาติ เนื้อที่รวม 2,200 กว่าไร่ ซึ่งก่อนจะมีการลงพื้นที่ก็ได้มีการตรวจสอบภาพถ่ายดาวเทียมในจุดต่างๆ ในหลายปีที่ผ่านมา และพบว่า ตั้งแต่ปี 2538 เริ่มมีการบุกรุกป่าชายเลยโดยการก่อสร้าง และการทำนากุ้งจำนวนมาก การลงมาในครั้งนี้ไม่ได้มุ่งดำเนินการเฉพาะจุดใดจุดหนึ่ง แต่มีเป้าหมายในการดำเนินการทุกจุด ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการนำพื้นที่ป่าชายเลยที่ถูกบุกรุกกลับมาเป็นของรัฐ โดยดำเนินการใน 23 จังหวัดทั่วประเทศ
จากการดำเนินการที่ผ่านมา พบว่า ตั้งแต่วันที่ 24 ม.ค. จนถึงขณะนี้มีการตรวจสอบไปแล้วเกือบ 20 เป้าหมาย ซึ่งในจำนวนนี้มีประมาณ 10 เป้าหมายที่ผู้ครอบครองไม่สามารถนำเอกสารสิทธิมาแสดงได้ ทางเจ้าหน้าที่จึงแจ้งความจับกุมดำเนินคดีตามกฎหมายไปแล้วประมาณ 10 กว่ารายเนื้อที่ประมาณ 300-400 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นบ่อเลี้ยงกุ้ง ส่วนที่ดินแปลงใหญ่ๆ เช่น สนามกอล์ฟ มารีน่า ต่างก็ได้นำเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับที่ดินมาแสดง ซึ่งเอกสารเหล่านี้ก็จะต้องส่งไปให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบว่าออกโดยถูกต้องหรือไม่ ซึ่งจะต้องใช้เวลาในการตรวจสอบพอสมควร
นายศักดิ์ดา ยังได้กล่าวต่อไปถึงการตรวจสอบที่ดิน จำนวน 2 แปลง ที่สร้างเป็นมารีน่าในปัจจุบัน ว่า จากการตรวจสอบภาพถ่ายทางอากาศเมื่อปี 2538 พบว่า ที่ดินทั้ง 2 จุด เดิมเป็นป่าชายเลน ส่วนกรณีที่มีการนำเอกสารสิทธิมาแสดงก็ต้องนำไปตรวจสอบ ในเบื้องต้น ก็ต้องยอมรับว่าเขามีเอกสารสิทธิในการครอบครอง แต่อย่างไรก็ตาม ในส่วนของตนก็ต้องนำเอกสารสิทธิทั้งหมดไปตรวจพิสูจน์ว่ามีการออกเอกสารสิทธิถูกต้องหรือไม่ ซึ่งเป็นการดำเนินการเช่นเดียวกับรายอื่นๆ ที่นำเอกสารสิทธิมาแสดง ส่วนคนที่ไม่มีเอกสารสิทธิมาแสดงก็ต้องดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
ส่วนกรณีที่มีการกล่าวว่า มีกลุ่มบุคคลบางกลุ่ม บางคนทำตัวเป็นคนกลางในการขอออกเอกสารสิทธิที่ดินบริเวณป่าชายเลยให้แก่นายทุน หรือนำไปขายต่อนั้น นายศักดิ์ดา กล่าวว่า ขณะนี้ทางชุดตนมีชื่ออยู่แล้วว่าเป็นใคร ซึ่งคนคนนี้มีพฤติกรรม และมีความสนิทสนมกับคนที่มีหน้าที่ในการออกเอกสารสิทธิ เมื่อได้เอกสารสิทธิก็จะนำไปจำนองต่อทางธนาคาร หรือขายต่อให้แก่ชาวต่างชาติ ซึ่งตนได้ส่งรายชื่อให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแล้วเพื่อให้มีการสอบสวนสืบสวนพฤติกรรมของคนดังกล่าว
การปฏิบัติการที่ผ่านมา ทช.ได้ทวงคืนป่าชายเลนทั้งหมด 23 จังหวัด โดยข้อมูลของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ระบุว่า จังหวัดที่มีการบุกรุกป่าชายเลนมากที่สุด คือ สมุทรสาคร 126,000 ไร่ รองลงมาคือ เพชรบุรี 35,200 ไร่ สมุทรสงคราม 14,600 ไร่ พังงา 3,680 ไร่ โดยการนำพื้นที่ป่าชายเลนไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบการทำเกษตรกรรม ส่วนจังหวัดที่มีการบุกรุกเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย คือ สมุทรสาคร มากที่สุด 5,070 ไร่ ชลบุรี 3,350 ไร่ เพชรบุรี 1,860 ไร่ พังงา 852 ไร่ ปัตตานี 527 ไร่ ขณะที่จังหวัดที่มีการบุกรุกเพื่อนำพื้นที่ป่าชายเลนไปเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คือ จันทบุรี มากที่สุด 96,000 ไร่ นครศรีธรรมราช 47,100 ไร่ เพชรบุรี 20,300 ไร่ ระยอง 13,000 ไร่ นอกจากนี้ เป้าหมายปีงบประมาณ 2559 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้กำหนดพื้นที่เป้าหมายที่จะดำเนินการตามแผนงาน จำนวน 15,000 ไร่ และได้ดำเนินการทางกฎหมายแล้ว จำนวน 10,694 ไร่ เหลือพื้นที่ที่ต้องดำเนินการอีก 4,306 ไร่ สำหรับการทวงคืนพื้นที่ป่าชายเลนที่ถูกบุกรุกในจังหวัดภูเก็ตครั้งนี้ มีเป้าหมายการทวงคืน จำนวน 34 เป้าหมาย เนื้อที่ประมาณ 2,200 ไร่
วันนี้ (30 พ.ค.) นายศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเล (ทช.) พร้อมด้วย น.อ.สถาพร วาจรัตน์ รอง ผอ.กอ.รมน.ภูเก็ต นายวัชรินทร์ ถิ่นถลาง ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 6 (สบทช.6) นายพงศภัค เฮียบสกุล ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายฝั่งและป่าชายเลน นำชุดปฏิบัติการพิเศษฉลามขาว กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สนธิกำลังร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งในส่วนของสำนักอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน สำนักบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 6 กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 4 กอ.รมน. และ กอ.รมน.จังหวัดภูเก็ต ทหาร ตำรวจ เจ้าหน้าที่จากกรมอุทยานฯ เจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าตรวจสอบต่างๆ จำนวน 7 แห่ง ซึ่งก่อนหน้านี้ ตรวจสอบมาแล้วกว่า 10 แปลง ประกอบด้วย ท่าเรือจอดเรือมารีน่า 2 แห่ง คือ โบ๊ทลากูน และรอยัลมารีน่า อ.เมืองภูเก็ต ส่วนที่เหลือเป็นการลงพื้นที่ตรวจสอบบ่อเลี้ยงกุ้ง อีก 5 แห่ง
สำหรับการลงพื้นที่ตรวจสอบมารีน่าทั้ง 2 แห่งนั้น นำโดย นายศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเล (ทช.) พร้อมด้วย น.อ.สถาพร วาจรัตน์ รอง ผอ.กอ.รมน.ภูเก็ต นายวัชรินทร์ ถิ่นถลาง ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 6 (สบทช.6) นายพงศภัค เฮียบสกุล ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายฝั่งและป่าชายเลน ซึ่งทั้ง 2 จุด ทางตัวแทนเจ้าของพื้นที่ได้นำเอกสารสิทธิมาแสดง และส่งมอบให้แก่ทางรองอธิบดีฯตรวจสอบ พร้อมนำชี้แนวเขตที่ดิน และยืนยันให้ดำเนินการตรวจสอบตามข้อเท็จจริง
นายศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเล (ทช.) กล่าวว่า การลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบป่าชายเลนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตในครั้งนี้ มีเป้าหมายดำเนินการ 34 จุด ซึ่งจริงๆ แล้วเจ้าหน้าที่ได้เริ่มปฏิบัติการมาตั้งแต่วันที่ 24 พ.ค.ที่ผ่านมา ขณะนี้ตรวจสอบเสร็จไปแล้วกว่า 20 แปลง เป็นการตรวจสอบพื้นที่ป่าชายเลนที่จะในพื้นที่ 7 ป่าสงวนแห่งชาติ เนื้อที่รวม 2,200 กว่าไร่ ซึ่งก่อนจะมีการลงพื้นที่ก็ได้มีการตรวจสอบภาพถ่ายดาวเทียมในจุดต่างๆ ในหลายปีที่ผ่านมา และพบว่า ตั้งแต่ปี 2538 เริ่มมีการบุกรุกป่าชายเลยโดยการก่อสร้าง และการทำนากุ้งจำนวนมาก การลงมาในครั้งนี้ไม่ได้มุ่งดำเนินการเฉพาะจุดใดจุดหนึ่ง แต่มีเป้าหมายในการดำเนินการทุกจุด ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการนำพื้นที่ป่าชายเลยที่ถูกบุกรุกกลับมาเป็นของรัฐ โดยดำเนินการใน 23 จังหวัดทั่วประเทศ
จากการดำเนินการที่ผ่านมา พบว่า ตั้งแต่วันที่ 24 ม.ค. จนถึงขณะนี้มีการตรวจสอบไปแล้วเกือบ 20 เป้าหมาย ซึ่งในจำนวนนี้มีประมาณ 10 เป้าหมายที่ผู้ครอบครองไม่สามารถนำเอกสารสิทธิมาแสดงได้ ทางเจ้าหน้าที่จึงแจ้งความจับกุมดำเนินคดีตามกฎหมายไปแล้วประมาณ 10 กว่ารายเนื้อที่ประมาณ 300-400 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นบ่อเลี้ยงกุ้ง ส่วนที่ดินแปลงใหญ่ๆ เช่น สนามกอล์ฟ มารีน่า ต่างก็ได้นำเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับที่ดินมาแสดง ซึ่งเอกสารเหล่านี้ก็จะต้องส่งไปให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบว่าออกโดยถูกต้องหรือไม่ ซึ่งจะต้องใช้เวลาในการตรวจสอบพอสมควร
นายศักดิ์ดา ยังได้กล่าวต่อไปถึงการตรวจสอบที่ดิน จำนวน 2 แปลง ที่สร้างเป็นมารีน่าในปัจจุบัน ว่า จากการตรวจสอบภาพถ่ายทางอากาศเมื่อปี 2538 พบว่า ที่ดินทั้ง 2 จุด เดิมเป็นป่าชายเลน ส่วนกรณีที่มีการนำเอกสารสิทธิมาแสดงก็ต้องนำไปตรวจสอบ ในเบื้องต้น ก็ต้องยอมรับว่าเขามีเอกสารสิทธิในการครอบครอง แต่อย่างไรก็ตาม ในส่วนของตนก็ต้องนำเอกสารสิทธิทั้งหมดไปตรวจพิสูจน์ว่ามีการออกเอกสารสิทธิถูกต้องหรือไม่ ซึ่งเป็นการดำเนินการเช่นเดียวกับรายอื่นๆ ที่นำเอกสารสิทธิมาแสดง ส่วนคนที่ไม่มีเอกสารสิทธิมาแสดงก็ต้องดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
ส่วนกรณีที่มีการกล่าวว่า มีกลุ่มบุคคลบางกลุ่ม บางคนทำตัวเป็นคนกลางในการขอออกเอกสารสิทธิที่ดินบริเวณป่าชายเลยให้แก่นายทุน หรือนำไปขายต่อนั้น นายศักดิ์ดา กล่าวว่า ขณะนี้ทางชุดตนมีชื่ออยู่แล้วว่าเป็นใคร ซึ่งคนคนนี้มีพฤติกรรม และมีความสนิทสนมกับคนที่มีหน้าที่ในการออกเอกสารสิทธิ เมื่อได้เอกสารสิทธิก็จะนำไปจำนองต่อทางธนาคาร หรือขายต่อให้แก่ชาวต่างชาติ ซึ่งตนได้ส่งรายชื่อให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแล้วเพื่อให้มีการสอบสวนสืบสวนพฤติกรรมของคนดังกล่าว
การปฏิบัติการที่ผ่านมา ทช.ได้ทวงคืนป่าชายเลนทั้งหมด 23 จังหวัด โดยข้อมูลของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ระบุว่า จังหวัดที่มีการบุกรุกป่าชายเลนมากที่สุด คือ สมุทรสาคร 126,000 ไร่ รองลงมาคือ เพชรบุรี 35,200 ไร่ สมุทรสงคราม 14,600 ไร่ พังงา 3,680 ไร่ โดยการนำพื้นที่ป่าชายเลนไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบการทำเกษตรกรรม ส่วนจังหวัดที่มีการบุกรุกเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย คือ สมุทรสาคร มากที่สุด 5,070 ไร่ ชลบุรี 3,350 ไร่ เพชรบุรี 1,860 ไร่ พังงา 852 ไร่ ปัตตานี 527 ไร่ ขณะที่จังหวัดที่มีการบุกรุกเพื่อนำพื้นที่ป่าชายเลนไปเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คือ จันทบุรี มากที่สุด 96,000 ไร่ นครศรีธรรมราช 47,100 ไร่ เพชรบุรี 20,300 ไร่ ระยอง 13,000 ไร่ นอกจากนี้ เป้าหมายปีงบประมาณ 2559 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้กำหนดพื้นที่เป้าหมายที่จะดำเนินการตามแผนงาน จำนวน 15,000 ไร่ และได้ดำเนินการทางกฎหมายแล้ว จำนวน 10,694 ไร่ เหลือพื้นที่ที่ต้องดำเนินการอีก 4,306 ไร่ สำหรับการทวงคืนพื้นที่ป่าชายเลนที่ถูกบุกรุกในจังหวัดภูเก็ตครั้งนี้ มีเป้าหมายการทวงคืน จำนวน 34 เป้าหมาย เนื้อที่ประมาณ 2,200 ไร่