ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ผอ.สบทช.6 พร้อมนักวิชาการกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก ลงพื้นที่เกาะไม้ท่อน จ.ภูเก็ต สำรวจฝูงโลมาปากขวดกว่า 20 ตัว หลังพบย้ายถิ่นมาหากินใกล้ชายหาด ระบุผลการสำรวจพบมีการรบกวนจากเรือนำเที่ยวที่ขับเข้าใกล้โลมามากเกินไป ลงพื้นที่ทำความเข้าใจด่วน ก่อนย้ายหนีไปอยู่ที่อื่น
วันนี้ (17 พ.ค.) นายสุชาติ รัตนเรืองศรี ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล สำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 6 (สบทช.6) พร้อมด้วย ดร.ก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์ หัวหน้ากลุ่มสัตว์ทะเลหายาก ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง นำเรือของศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน ออกสำรวจฝูงโลมาปากขวด ที่บริเวณเกาะไม้ท่อน จ.ภูเก็ต หลังพบว่า บริเวณดังกล่าวมีฝูงโลมาจำนวนหลายตัวว่ายน้ำเข้ามาหาอาหารกินเป็นประจำ จนกลายเป็นจุดที่ผู้ประกอบการทางด้านการท่องเที่ยวมักจะนำเรือพานักท่องเที่ยวไปดูฝูงโลมากันเป็นจำนวนมาก
นายสุชาติ รัตนเรืองศรี ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล สำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 6 (สบทช.6) กล่าวว่า จากการออกสำรวจฝูงโลมาในครั้งนี้พบว่า เป็นโลมาปากขวดที่มีฝูงใหญ่มาก มีประชากรประมาณ 23 ตัว โดยว่ายน้ำหากิน และวนเวียนอยู่บริเวณเกาะไม้ท่อน อ.เมือง จ.ภูเก็ต ห่างจากฝั่งประมาณ 500-800 เมตรเท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นฝูงโลมาขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบมา การพบฝูงโลมาขนาดใหญ่ในบริเวณดังกล่าวเป็นการแสดงให้เห็นว่า จุดที่พบโลมาเป็นจุดที่ยังมีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์
แต่อย่างไรก็ตาม จากการลงพื้นที่สำรวจฝูงโลมาในครั้งนี้ พบว่า ฝูงโลมา เริ่มถูกรบกวนจากเรือให้บริการนักท่องเที่ยวที่พานักนักท่องเที่ยวไปชมฝูงโลมาอย่างใกล้ชิดเกินไป บางลำพยายามที่จะวนเรือเพื่อต้อนฝูงโลมาให้ว่ายน้ำเข้ามาใกล้เรือมากที่สุด บางลำขับเรือเข้าไปกลางฝูงโลมา ซึ่งการกระทำดังกล่าวส่งผลกระทบต่อโลมาโดยตรง และจะส่งผลเสียตามมาอีกมากมาย เพราะถ้าฝูงโลมาถูกรบกวนมากๆ อาจจะทำให้ฝูงโลมาดังกล่าวว่ายน้ำหนีไปหากินที่อื่นแทนก็ได้
ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวเคยเกิดขึ้นต่อเกาะไข่ จ.พังงา มาแล้ว เพราะจากการสำรวจเมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา และมีการสำรวจติดตามฝูงโลมาดังกล่าวอย่างต่อเนื่องของทางกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน พบว่า เดิมฝูงโลมาดังกล่าวเคยหากิน และอาศัยอยู่บริเวณเกาะไข่ แต่มาระยะหลังเกาะไข่ มีสิ่งรบกวนเกิดขึ้นจำนวนมาก ทั้งจากเรือท่องเที่ยว นักท่องเที่ยว จึงพากันย้ายมาหากินที่เกาะไม้ท่อน และเกาะใกล้เคียงที่มีความสงบกว่า
นายสุชาติ ยังกล่าวต่อไปว่า ถ้าผู้ประกอบการ หรือคนภูเก็ตเองต้องการที่จะรักษาให้ฝูงโลมาอาศัยอยู่ที่เกาะไม้ท่อนนาน และสามารถออกไปชมได้อย่างใกล้ชิดก็ควรที่จะกำหนดมาตรการในการดูแล โดยเฉพาะการพานักท่องเที่ยวไปชมปลาแบบใกล้ชิดควรที่จะมีแนวปฏิบัติ ซึ่งตามหลักวิชาการระยะที่เหมาะสมในการนำเรือเข้าไปใกล้ฝูงโลมาไม่ควรจะเข้าไปใกล้เกิน 500 เมตร และจะต้องขับเรือแบบช้าๆ หรือจอดลอยลำ เพราะโลมาจะว่ายน้ำเข้ามาหาเรือเอง
ซึ่งในส่วนของตน และทางกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก วันนี้ (17 พ.ค.) ได้ลงพื้นที่บนเกาะไม้ท่อน เพื่อให้ให้ความรู้ให้คำแนะนำ และขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการเรือนำเที่ยวในการนำนักท่องเที่ยวไปชมฝูงโลมาแล้ว คิดว่าน่าจะได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี เพื่อที่จะสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางธรรมชาติได้อย่างเต็มที่ แต่ถ้ามีการรุกราน หรือรบกวนฝูงโลมาอย่างรุนแรงเชื่อได้เลยว่า ฝูงโลมาเหล่านี้จะต้องหนีออกจากพื้นที่แน่นอน
วันนี้ (17 พ.ค.) นายสุชาติ รัตนเรืองศรี ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล สำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 6 (สบทช.6) พร้อมด้วย ดร.ก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์ หัวหน้ากลุ่มสัตว์ทะเลหายาก ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง นำเรือของศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน ออกสำรวจฝูงโลมาปากขวด ที่บริเวณเกาะไม้ท่อน จ.ภูเก็ต หลังพบว่า บริเวณดังกล่าวมีฝูงโลมาจำนวนหลายตัวว่ายน้ำเข้ามาหาอาหารกินเป็นประจำ จนกลายเป็นจุดที่ผู้ประกอบการทางด้านการท่องเที่ยวมักจะนำเรือพานักท่องเที่ยวไปดูฝูงโลมากันเป็นจำนวนมาก
นายสุชาติ รัตนเรืองศรี ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล สำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 6 (สบทช.6) กล่าวว่า จากการออกสำรวจฝูงโลมาในครั้งนี้พบว่า เป็นโลมาปากขวดที่มีฝูงใหญ่มาก มีประชากรประมาณ 23 ตัว โดยว่ายน้ำหากิน และวนเวียนอยู่บริเวณเกาะไม้ท่อน อ.เมือง จ.ภูเก็ต ห่างจากฝั่งประมาณ 500-800 เมตรเท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นฝูงโลมาขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบมา การพบฝูงโลมาขนาดใหญ่ในบริเวณดังกล่าวเป็นการแสดงให้เห็นว่า จุดที่พบโลมาเป็นจุดที่ยังมีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์
แต่อย่างไรก็ตาม จากการลงพื้นที่สำรวจฝูงโลมาในครั้งนี้ พบว่า ฝูงโลมา เริ่มถูกรบกวนจากเรือให้บริการนักท่องเที่ยวที่พานักนักท่องเที่ยวไปชมฝูงโลมาอย่างใกล้ชิดเกินไป บางลำพยายามที่จะวนเรือเพื่อต้อนฝูงโลมาให้ว่ายน้ำเข้ามาใกล้เรือมากที่สุด บางลำขับเรือเข้าไปกลางฝูงโลมา ซึ่งการกระทำดังกล่าวส่งผลกระทบต่อโลมาโดยตรง และจะส่งผลเสียตามมาอีกมากมาย เพราะถ้าฝูงโลมาถูกรบกวนมากๆ อาจจะทำให้ฝูงโลมาดังกล่าวว่ายน้ำหนีไปหากินที่อื่นแทนก็ได้
ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวเคยเกิดขึ้นต่อเกาะไข่ จ.พังงา มาแล้ว เพราะจากการสำรวจเมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา และมีการสำรวจติดตามฝูงโลมาดังกล่าวอย่างต่อเนื่องของทางกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน พบว่า เดิมฝูงโลมาดังกล่าวเคยหากิน และอาศัยอยู่บริเวณเกาะไข่ แต่มาระยะหลังเกาะไข่ มีสิ่งรบกวนเกิดขึ้นจำนวนมาก ทั้งจากเรือท่องเที่ยว นักท่องเที่ยว จึงพากันย้ายมาหากินที่เกาะไม้ท่อน และเกาะใกล้เคียงที่มีความสงบกว่า
นายสุชาติ ยังกล่าวต่อไปว่า ถ้าผู้ประกอบการ หรือคนภูเก็ตเองต้องการที่จะรักษาให้ฝูงโลมาอาศัยอยู่ที่เกาะไม้ท่อนนาน และสามารถออกไปชมได้อย่างใกล้ชิดก็ควรที่จะกำหนดมาตรการในการดูแล โดยเฉพาะการพานักท่องเที่ยวไปชมปลาแบบใกล้ชิดควรที่จะมีแนวปฏิบัติ ซึ่งตามหลักวิชาการระยะที่เหมาะสมในการนำเรือเข้าไปใกล้ฝูงโลมาไม่ควรจะเข้าไปใกล้เกิน 500 เมตร และจะต้องขับเรือแบบช้าๆ หรือจอดลอยลำ เพราะโลมาจะว่ายน้ำเข้ามาหาเรือเอง
ซึ่งในส่วนของตน และทางกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก วันนี้ (17 พ.ค.) ได้ลงพื้นที่บนเกาะไม้ท่อน เพื่อให้ให้ความรู้ให้คำแนะนำ และขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการเรือนำเที่ยวในการนำนักท่องเที่ยวไปชมฝูงโลมาแล้ว คิดว่าน่าจะได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี เพื่อที่จะสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางธรรมชาติได้อย่างเต็มที่ แต่ถ้ามีการรุกราน หรือรบกวนฝูงโลมาอย่างรุนแรงเชื่อได้เลยว่า ฝูงโลมาเหล่านี้จะต้องหนีออกจากพื้นที่แน่นอน