xs
xsm
sm
md
lg

ว่าด้วย “ยางนา” วลัยลักษณ์? เป้าหมายของการจัดการ “เอาออก” 200 กว่าต้น เพื่อสร้างถนน!?

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


 
โดย..บุญเสริม แก้วพรหม สำนักกวีน้อยเมืองนคร

คุณหมอบัญชา พงษ์พานิช ผู้เริ่มต้นร่วมปลูกร่วมสร้างมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ให้ข้อมูลที่ไปที่มาของการปลูก “ยางนา” ไว้ในเฟซบุ๊ก ดังนี้... “...Bunchar Pongpanich ฝากประเด็นเหล่านี้ประกอบการพิจารณาในวันที่ 19 (พ.ค.) ด้วยนะครับ...” ที่ตกใจใหญ่คือ ข่าวที่ถามมาว่า

“หมอรู้หรือยังว่าที่วลัยลักษณ์จะขุดโค่นต้นยางมีนักศึกษามาขอผ้าห่มพระธาตุบอกว่าจะเอาไปบวชต้นยางที่ปลูกไว้เมื่อแรกสร้างริมทางเข้ามหาวิทยาลัยหลายร้อยต้นหวังจะให้มหาวิทยาลัยได้ยั้งหยุดปฏิบัติการอันเหลือเชื่อนี้”

อะไรกันอีกหรือนี่ มหาวิทยาลัยนี้ที่ผมมีส่วนร่วมสร้าง ยังไม่รู้ข่าวรายละเอียดว่าจริงเท็จประการใดแต่ขอโอกาสรายงานในฐานะคนมีส่วนปลูกสร้างมากับมือ ว่า ...

1.แถวยางฝั่งตะวันออกที่ปลูกเป็นแนวขนานถนนทางเข้าสายหลักของมหาวิทยาลัยนั้นอยู่ในผังแม่บท รวมทั้งเป็นส่วนประกอบสำคัญของอุทยานพฤกษศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ที่มหาวิทยาลัยกราบทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่า เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานการศึกษาเฉลิมพระเกียรติที่มหาวิทยาลัยจัดทำเพื่อถวายเป็นการเฉลิมพระเกียรติ

2.การกำหนดเลือกปลูกยางนาตลอดแนวเป็นกำแพงหลายชั้นนั้น ด้วยปรารภ พระจริยาวัตร และแบบอย่างของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเคยให้หยุดรถพระที่นั่งระหว่างทางเสด็จกลับจากพระตำหนักไกลกังวล แล้วทรงเก็บลูกยางใต้ต้นนำไปเพาะ และปลูกเป็นป่าในพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เติบโตเป็นป่ากลางวังมาถึงทุกวันนี้

3.ขณะกำลังทำแผนอยู่นั้น ได้เกิดพายุลม และฝนฟอเรสต์ถล่มพื้นที่ภาคใต้ตลอดแนวชายฝั่งตะวันออก คณะกรรมการจึงหมายให้ป่ายางที่จะใหญ่ในอนาคตนี้เป็นเสมือนหนึ่งกำแพงธรรมชาติ เพื่อลดแรงลมปะทะต่อมหาวิทยาลัยในอนาคต

4.เมื่อท่านนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น คือ นายชวน หลีกภัย ได้รับทราบ ถึงกับชื่นชมต่อมหาวิทยาลัยที่มีวิสัยทัศน์ และทำสิ่งนี้ไว้ นำมาสู่การสนับสนุนส่งเสริมมหาวิทยาลัยตามควรแก่เหตุ

หากมหาวิทยาลัยไม่ได้คิดที่จะโค่นตัด หรือทำอะไร ก็ขออภัย ถือเสียว่าผมขอโอกาสให้ข้อมูลก็แล้วกัน

แต่หากคิดจริง ขอได้โปรดพิจารณาใคร่ครวญอย่างยิ่งว่าอะไรคืออะไรเพราะประดู่ก็เอาไม่อยู่ ยางนาก็จะไม่เอาอีก หรือว่าจะให้มีแต่ไม้พื้นถิ่นดั้งเดิมที่น่าจะยังมีเต็มไปทั้งทุ่งหญ้า และป่ากอเหลาะแหละที่ผมจำได้ติดหู ก็มี ต้นแซะ นิง นน และไข่เน่า ?

ในฐานะคนที่ร่วมปลูกสร้าง ยังจะวิงวอนขอไว้ชีวิตยางนาป่านี้ไว้ได้ไหมครับ

ทั้งนี้ ผมนึกถึงครั้งเจ้าชายสิทธัตถะ เข้าช่วยนกห รือหงส์ที่เจ้าชายเทวทัตยิงร่วง แล้วเกิดข้อพิพาทที่มีคนกลางมาวินิจฉัย ถ้าจำไม่ผิด ท่านให้ชีวิตแก่ผู้ปกปักรักษา หาได้มอบให้แก่ผู้ทำร้ายหมายพิฆาต

แต่ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าใครคือคนกลางในกรณีนี้ หากมีใครในวลัยลักษณ์รับรู้ข้อมูล และที่ผมร้องขอนี้ มีบวชกันเมื่อไหร่ กรุณาบอกด้วยนะครับ

“จำได้ว่าเมื่อตัดถนนในมหาวิทยาลัย ผมสั่งเลี้ยวหนีต้นไม้ใหญ่ทุกต้น ตอนขุดสระใหญ่ไปเจอป่ายาง ผมสั่งให้เว้นไว้เป็นเกาะ ขอเถอะครับ ท่านผู้มีอำนาจหน้าที่ทั้งหลาย ยังยุ่งไม่พอ ยังร้อนไม่มากหรือครับ ฝากประเด็นนี้ประกอบการพิจารณาด้วยนะครับ...”

ขอขอบคุณในข้อมูลของคุณหมอ ทำให้รับรู้ที่มาที่ไป คุณค่า และความสำคัญของ “ยางนา” วลัยลักษณ์ ซึ่งกำลังเป็นเป้าหมายของการจัดการ “เอาออก” 200 กว่าต้น เพื่อสร้างถนน ?? ไว้ ณ ที่นี้

ขอบคุณครับ
ลุงบุญเสริม
17 พฤษภาคม 2559
 
 
 

กำลังโหลดความคิดเห็น