พังงา - เฮ! เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน จ.พังงา สามารถบันทึกภาพขณะเต่าตนุเข้ามาวางไข่บริเวณชายหาด สร้างความตื่นให้แก่นักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก ก่อนที่อุทยานแห่งชาติประกาศปิดเกาะวันพรุ่งนี้เพื่อฟื้นฟูธรรมชาติ
เมื่อคืนวันที่ 13 พ.ค.ผ่านมา นายอนัน กว้างตุ้ง เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน จ.พังงา สามารถบันทึกภาพขณะที่เต่าตนุ เพศเมีย กำลังว่ายน้ำขึ้นมาจากทะเลเพื่อขึ้นมาบนฝั่งหาที่ว่างไข่ บริเวณอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน อ.คุระบุรี จ.พังงา ไว้ได้ โดยเต่าตนุ ใช้เวลานานกว่า 1 ชั่วโมง ในการขุดหลุมวางไข่ และทำการกลบทรายก่อนที่จะคลานกลับไปสู่ท้องทะเล สร้างความตื่นเต้นให้แก่เจ้าหน้าที่อุทยานเกาะสิมิลัน และนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นเต่าทะเลตัวแรกที่เจ้าหน้าที่พบเห็น และสามารถถ่ายภาพมาได้ ก่อนที่พรุ่งนี้จะมีการประกาศปิดเกาะตาชัย เกาะสิมิลัน อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน เพื่อฟื้นฟูธรรมชาติ และจะเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมอีกครั้งในช่วงวันที่15 พ.ค.-15 ต.ค.59
ทางด้าน นายณัฐ โก่งเกษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน จ.พังงา เปิดเผยว่า เป็นเรื่องที่ดีที่เต่าตนุขึ้นมาวางไข่ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ก่อนที่จะสิ้นสุดฤดูท่องเที่ยวทางทะเล ตามที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ประกาศปิดการท่องเที่ยว และพักแรมในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน และหมู่เกาะสุรินทร์ ของ จ.พังงา ตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค.-15 ต.ค.59 รวมเป็นระยะเวลา 5 เดือน เพื่อฟื้นฟูธรรมชาติให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ ประกอบช่วงระยะเวลาดังกล่าวอยู่ในช่วงมรสุมของทะเลอันดามัน จึงเสี่ยงต่อภัยธรรมชาติ
สำหรับเต่าตนุ เป็นเต่าทะเลมีขนาดค่อนข้างใหญ่ และมีน้ำหนัก มีอายุยืนถึง 80 ปี โดยมีความยาวตั้งแต่หัวจดหางประมาณ 1 เมตร น้ำหนักราว 130 กิโลกรัม หัวป้อมสั้น ปากสั้น เกล็ดเรียงต่อกันโดยไม่ซ้อนกัน กระดองหลังโค้งนูนเล็กน้อย บริเวณกลางหลังเป็นแนวนูนเกือบเป็นสัน ท้องแบนราบ ขาทั้ง 4 แบน เป็นใบพาย ขาคู่หลังมีขนาดเล็กกว่าขาคู่หน้ามาก ขาคู่หน้ามีเล็บแหลมเพียงข้างละชิ้น สีของกระดองดูเผินๆ มีเพียงสีน้ำตาลแดงเท่านั้น
และฤดูวางไข่ จะประมาณเดือนกันยายน จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ในทะเลอันดามัน จำนวนไข่ต่อครั้งมีตั้งแต่ 70-150 ฟอง ทั้งนี้ เต่าตนุ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 จึงอยากให้นักท่องเที่ยว และประชาชนช่วยกันอนุรักษ์ดูแลเต่าตนุ และสัตว์ทะเลที่นับวันจะหาดูได้ยาก
เมื่อคืนวันที่ 13 พ.ค.ผ่านมา นายอนัน กว้างตุ้ง เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน จ.พังงา สามารถบันทึกภาพขณะที่เต่าตนุ เพศเมีย กำลังว่ายน้ำขึ้นมาจากทะเลเพื่อขึ้นมาบนฝั่งหาที่ว่างไข่ บริเวณอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน อ.คุระบุรี จ.พังงา ไว้ได้ โดยเต่าตนุ ใช้เวลานานกว่า 1 ชั่วโมง ในการขุดหลุมวางไข่ และทำการกลบทรายก่อนที่จะคลานกลับไปสู่ท้องทะเล สร้างความตื่นเต้นให้แก่เจ้าหน้าที่อุทยานเกาะสิมิลัน และนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นเต่าทะเลตัวแรกที่เจ้าหน้าที่พบเห็น และสามารถถ่ายภาพมาได้ ก่อนที่พรุ่งนี้จะมีการประกาศปิดเกาะตาชัย เกาะสิมิลัน อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน เพื่อฟื้นฟูธรรมชาติ และจะเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมอีกครั้งในช่วงวันที่15 พ.ค.-15 ต.ค.59
ทางด้าน นายณัฐ โก่งเกษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน จ.พังงา เปิดเผยว่า เป็นเรื่องที่ดีที่เต่าตนุขึ้นมาวางไข่ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ก่อนที่จะสิ้นสุดฤดูท่องเที่ยวทางทะเล ตามที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ประกาศปิดการท่องเที่ยว และพักแรมในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน และหมู่เกาะสุรินทร์ ของ จ.พังงา ตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค.-15 ต.ค.59 รวมเป็นระยะเวลา 5 เดือน เพื่อฟื้นฟูธรรมชาติให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ ประกอบช่วงระยะเวลาดังกล่าวอยู่ในช่วงมรสุมของทะเลอันดามัน จึงเสี่ยงต่อภัยธรรมชาติ
สำหรับเต่าตนุ เป็นเต่าทะเลมีขนาดค่อนข้างใหญ่ และมีน้ำหนัก มีอายุยืนถึง 80 ปี โดยมีความยาวตั้งแต่หัวจดหางประมาณ 1 เมตร น้ำหนักราว 130 กิโลกรัม หัวป้อมสั้น ปากสั้น เกล็ดเรียงต่อกันโดยไม่ซ้อนกัน กระดองหลังโค้งนูนเล็กน้อย บริเวณกลางหลังเป็นแนวนูนเกือบเป็นสัน ท้องแบนราบ ขาทั้ง 4 แบน เป็นใบพาย ขาคู่หลังมีขนาดเล็กกว่าขาคู่หน้ามาก ขาคู่หน้ามีเล็บแหลมเพียงข้างละชิ้น สีของกระดองดูเผินๆ มีเพียงสีน้ำตาลแดงเท่านั้น
และฤดูวางไข่ จะประมาณเดือนกันยายน จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ในทะเลอันดามัน จำนวนไข่ต่อครั้งมีตั้งแต่ 70-150 ฟอง ทั้งนี้ เต่าตนุ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 จึงอยากให้นักท่องเที่ยว และประชาชนช่วยกันอนุรักษ์ดูแลเต่าตนุ และสัตว์ทะเลที่นับวันจะหาดูได้ยาก