กระบี่ - โรงเรียนบ้านไหนหนัง จ.กระบี่ คว้ารางวัลเหรียญทองในการแข่งขันแปรรูปผลิตภัณฑ์ใช้ในชีวิตประจำวัน ระดับภาค และระดับประเทศ
โรงเรียนชุมชนบ้านไหนหนัง ม.3 ต.เขาคราม อ.เมือง จ.กระบี่ ได้ส่งเสริมให้นักเรียนในระดับชั้น ป.4-ป.6 ได้ฝึกทำอาชีพเพื่อหารายได้เสริม โดยนำน้ำผึ้ง และวัตถุดิบที่ได้จากผึ้งโพรงที่เลี้ยงภายในส่วนป่าหลังโรงเรียน เนื้อที่กว่า 10 ไร่ มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้หลากหลายรูปแบบ และมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค เช่น สบู่ ยาสระผม ครีม สครับ และลิปบาล์ม รวมกว่า 10 รายการ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริงในชีวิตประจำวัน และสามารถนำไปจำหน่ายสร้างรายได้ให้แก่เด็กนักเรียนจนสามารถคว้ารางวัลเหรียญทอง ในการแข่งขันโครงงานอาชีพทั้งระดับภาค และระดับประเทศด้วย
ด.ญ.วนิดา ทอดทิ้ง นักเรียนที่ร่วมโครงงานอาชีพการผลิตผลิตภัณฑ์จากน้ำผึ้ง กล่าวว่า ในการทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ นั้นจะมีส่วนผสมของผึ้งเป็นหลัก โดยนำน้ำผึ้งที่เลี้ยงไว้หลังโรงเรียนมาแปรูป เช่น การผลิตสบู่น้ำผึ้งใยบวบ มีส่วนผสมที่สำคัญประกอบด้วย น้ำผึ้ง ไขผึ้ง กรีเซอรีน และใยบวบ โดยขั้นตอนในการผลิตคือ นำน้ำต้มให้เดือด นำกรีเซอรีนมาใส่คนให้ละลาย เติมน้ำผึ้งแล้วคนให้เข้ากัน เมื่อผสมกันเป็นเนื้อเดียวก็นำไปเทในแม่พิมพ์รอประมาณ 2 ชั่วโมง จนเริ่มแข็งตัวก็แกะออกมาบรรจุกล่องได้ โดยกล่องบรรจุภัณฑ์ก็จะทำเองด้วยกระดาษ ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่บรรจุกล่องแล้วก็จะนำไปขายตามชุมชน งานโอทอป หรืองานประจำปี ซึ่งทางโรงเรียนจะแบ่งรายได้ให้นักเรียนที่ร่วมโครงการ ได้ทั้งความรู้ เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และยังสามารถถ่ายทอดความรู้ให้รุ่นน้องได้
ด้านนางจุรีย์ นวลสุวรรณ์ อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์จากน้ำผึ้งที่โรงเรียนผลิตได้จะจำหน่ายให้คนในชุมชน ตามงานต่างๆ ที่ทางโรงเรียนได้รับเชิญ เช่น งานโอทอป งานแสดงสินค้าประจำปี ราคาตั้งแต่ 20 บาท ไปถึง 120 บาท ส่วนใหญ่ลูกค้าที่ซื้อใช้จะกลับมาสั่งสินค้าเพิ่ม เช่น สบู่ และแชมพู แต่ทางโรงเรียนผลิตไม่พอขาย เพราะบรรจุภัณฑ์ต่างๆ จะออกแบบและทำเอง ซึ่งไม่สารถผลิตได้จำนวนมากเพราะใช้ต้นทุนสูง ซึ่งรายได้หลังหักต้นทุนจะแบ่งให้นักเรียนเป็นรายปี หลังหักต้นทุนแล้วนักเรียนจะมีรายได้เฉลี่ยปีละประมาณ 1,000 บาทต่อคน ซึ่งปัจจุบันมีนักนักเรียนตั้งแต่ชั้น ป.4-ป.6 เข้าร่วม จำนวน 16 คน
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ทางโรงเรียนยังไม่สามารถผลิตได้จำนวนมากเหมือนโรงงาน เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้มีจำนวนจำกัด ประกอบกับบรรจุภัณฑ์ต่างๆ จะมีการออกแบบทำเอง โดยใช้กระดาษโฟโต้ซึ่งหากทางหน่วยงานใดต้องการสนับสนุนทางโรงเรียนก็ยินดีเพื่อจะได้เป็นการส่งเสริมนักเรียนให้มีรายได้ และกระจายรายได้สู่ชุมชน หากวัตถุดิบที่ทางโรงเรียนผลิตไม่พอ เช่น ไขผึ้ง ใยบวบ ก็จะซื้อมาจากชาวบ้านในพื้นที่
โรงเรียนชุมชนบ้านไหนหนัง ม.3 ต.เขาคราม อ.เมือง จ.กระบี่ ได้ส่งเสริมให้นักเรียนในระดับชั้น ป.4-ป.6 ได้ฝึกทำอาชีพเพื่อหารายได้เสริม โดยนำน้ำผึ้ง และวัตถุดิบที่ได้จากผึ้งโพรงที่เลี้ยงภายในส่วนป่าหลังโรงเรียน เนื้อที่กว่า 10 ไร่ มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้หลากหลายรูปแบบ และมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค เช่น สบู่ ยาสระผม ครีม สครับ และลิปบาล์ม รวมกว่า 10 รายการ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริงในชีวิตประจำวัน และสามารถนำไปจำหน่ายสร้างรายได้ให้แก่เด็กนักเรียนจนสามารถคว้ารางวัลเหรียญทอง ในการแข่งขันโครงงานอาชีพทั้งระดับภาค และระดับประเทศด้วย
ด.ญ.วนิดา ทอดทิ้ง นักเรียนที่ร่วมโครงงานอาชีพการผลิตผลิตภัณฑ์จากน้ำผึ้ง กล่าวว่า ในการทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ นั้นจะมีส่วนผสมของผึ้งเป็นหลัก โดยนำน้ำผึ้งที่เลี้ยงไว้หลังโรงเรียนมาแปรูป เช่น การผลิตสบู่น้ำผึ้งใยบวบ มีส่วนผสมที่สำคัญประกอบด้วย น้ำผึ้ง ไขผึ้ง กรีเซอรีน และใยบวบ โดยขั้นตอนในการผลิตคือ นำน้ำต้มให้เดือด นำกรีเซอรีนมาใส่คนให้ละลาย เติมน้ำผึ้งแล้วคนให้เข้ากัน เมื่อผสมกันเป็นเนื้อเดียวก็นำไปเทในแม่พิมพ์รอประมาณ 2 ชั่วโมง จนเริ่มแข็งตัวก็แกะออกมาบรรจุกล่องได้ โดยกล่องบรรจุภัณฑ์ก็จะทำเองด้วยกระดาษ ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่บรรจุกล่องแล้วก็จะนำไปขายตามชุมชน งานโอทอป หรืองานประจำปี ซึ่งทางโรงเรียนจะแบ่งรายได้ให้นักเรียนที่ร่วมโครงการ ได้ทั้งความรู้ เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และยังสามารถถ่ายทอดความรู้ให้รุ่นน้องได้
ด้านนางจุรีย์ นวลสุวรรณ์ อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์จากน้ำผึ้งที่โรงเรียนผลิตได้จะจำหน่ายให้คนในชุมชน ตามงานต่างๆ ที่ทางโรงเรียนได้รับเชิญ เช่น งานโอทอป งานแสดงสินค้าประจำปี ราคาตั้งแต่ 20 บาท ไปถึง 120 บาท ส่วนใหญ่ลูกค้าที่ซื้อใช้จะกลับมาสั่งสินค้าเพิ่ม เช่น สบู่ และแชมพู แต่ทางโรงเรียนผลิตไม่พอขาย เพราะบรรจุภัณฑ์ต่างๆ จะออกแบบและทำเอง ซึ่งไม่สารถผลิตได้จำนวนมากเพราะใช้ต้นทุนสูง ซึ่งรายได้หลังหักต้นทุนจะแบ่งให้นักเรียนเป็นรายปี หลังหักต้นทุนแล้วนักเรียนจะมีรายได้เฉลี่ยปีละประมาณ 1,000 บาทต่อคน ซึ่งปัจจุบันมีนักนักเรียนตั้งแต่ชั้น ป.4-ป.6 เข้าร่วม จำนวน 16 คน
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ทางโรงเรียนยังไม่สามารถผลิตได้จำนวนมากเหมือนโรงงาน เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้มีจำนวนจำกัด ประกอบกับบรรจุภัณฑ์ต่างๆ จะมีการออกแบบทำเอง โดยใช้กระดาษโฟโต้ซึ่งหากทางหน่วยงานใดต้องการสนับสนุนทางโรงเรียนก็ยินดีเพื่อจะได้เป็นการส่งเสริมนักเรียนให้มีรายได้ และกระจายรายได้สู่ชุมชน หากวัตถุดิบที่ทางโรงเรียนผลิตไม่พอ เช่น ไขผึ้ง ใยบวบ ก็จะซื้อมาจากชาวบ้านในพื้นที่