ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เข้าเยี่ยมอาการน้องดีเจ ยกเป็นอุทาหรณ์ให้แก่ทุกครอบครัวดูแลบุตรหลานให้ใกล้ชิดเป็นพิเศษ ขณะที่แพทย์เผยยังต้องเฝ้าติดตามอาการต่อเนื่องไปอีก 24-48 ชม. เพื่อระวังการติดเชื้อ และภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ
เมื่อเวลา 15.45 น.วันนี้ (10 ก.พ.) นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ได้เข้าเยี่ยมดูอาการ ด.ช.เจษฎากร ไชยโย หรือน้องดีเจ อายุ 3 ปี 10 เดือน ที่หอผู้ป่วยวิกฤติกุมารเวช(PICU) โดยมีนายแพทย์เจษฎา จงไพบูลย์พัฒนะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต พญ.ชัญญาวีร์ นารีจรูญศักดิ์ รองผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจด้านปฐมภูมิ และคณะแพทย์ที่ให้การรักษาน้องดีเจ ประกอบด้วย พญ.ธิดา ขวัญนา กุมารแพทย์ และหัวหน้ากลุ่มงานกุมารเวชกรรม พญ.กรกช ทองคำ กุมารแพทย์เฉพาะทางสาขาโรคระบบทางเดินหายใจ นพ.จิรเดช ปัญญาสุทธิกิจ แพทย์ศัลยกรรมเด็ก และ นพ.นพดล ธาดากุล กุมารแพทย์เฉพาะทางสาขาโรคระบบประสาท รวมถึงมารดา และตาของน้องดีเจ ร่วมให้ข้อมูลเกี่ยวกับน้องดีเจ ซึ่งเข้ารับการรักษาตัวเมื่อวานนี้ (9 ก.พ.)
นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เปิดเผยว่า จากการรับฟังข้อมูลจากตา และแม่ของเด็ก ทราบว่า ปกติแล้วเด็กจะเล่นอยู่กับบ้านเพราะยังไม่เข้าโรงเรียน วันเกิดเหตุ (3 ก.พ.) แม่ไปทำงาน ปล่อยให้เด็กอยู่กับตา ตาเผลอหลับกลางวัน พอตื่นมาก็พบว่าเด็กได้หายตัวไปแล้ว แต่ยังนับว่าโชคดีที่ได้ตัวเด็กกลับคืน แม้ว่าจะยังอยู่ในสภาพอิดโรย เพราะหายตัวไปอยู่ในป่านาน 6 วันเต็ม ตอนนี้อยู่ในความดูแลของทีมแพทย์โรงพยาบาลวชิระภูเก็ตอย่างใกล้ชิด ในไม่ช้าเด็กคงมีร่างกายที่แข็งแรง กลับมาใช้ชีวิตปกติกับครอบครัวต่อไป
อย่างไรก็ตาม เรื่องที่เด็กหายตัวไปจากบ้านคงนำไปสู่ประเด็นการสืบค้นสืบหาข้อมูลว่าด้วยเหตุผลใดที่ทำให้เด็กหลุดไปอยู่ในป่า ซึ่งห่างจากบ้านพักของเด็กประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นอุทาหรณ์ให้แก่ทุกครอบครัวในการดูแล ซึ่งต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ มีเคสเด็กหายตัวไปเป็นข่าวอยู่บ่อยครั้ง จึงอยากฝากผู้ปกครองดูแลลูกหลานให้ใกล้ชิดเป็นพิเศษ
ขณะที่ นพ.เจษฎา จงไพบูลย์พัฒนะ ผอ.โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต เปิดเผยถึงอาการของเด็กว่า แรกรับเด็กมีอาการเพลีย ไข้ มีเลือดออกในทางเดินอาหาร ตามตัวมีบาดแผลคล้ายปลาตอด ไม่พบร่องรอยการถูกทำร้าย มีอาการขาดน้ำ และเกลือแร่ แรกรับให้สารน้ำเพื่อแก้ภาวะขาดน้ำ และเกลือแร่ ให้ยาฆ่าเชื้อรักษาภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด และดูแลในหอผู้ป่วยวิกฤตกุมารเวชกรรม (PICU) ระหว่างนั้นมีเลือดออกจากทางเดินอาหารเป็นปริมาณมาก ทำให้ผู้ป่วยซีด ความดันโลหิตต่ำ และชัก ได้ทำการช่วยหายใจ ให้ยากันชัก ให้สารน้ำ และเลือด
ขณะนี้สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่มีอาการชัก หรือเลือดออกจากทางเดินอาหารเพิ่ม แต่จำเป็นต้องติดตามอาการต่อเนื่องไปอีก 24-48 ชั่วโมง ในหอผู้ป่วยวิกฤตกุมารเวช เพื่อเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้ เช่น ภาวะแทรกซ้อนทางเดินอาหารส่วนบน เกลือแร่บางตัวยังผิดปกติ รวมถึงเฝ้าระวังบาดแผลบริเวณหลังเท้า และง่ามมือว่ามีการติดเชื้อมากขึ้นหรือไม่ ขณะที่ระบบทางเดินหายใจไม่ได้มีปัญหา แต่ที่ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจเนื่องจากเด็กมีภาวะเลือดออกค่อนข้างมากจึงใส่เครื่องช่วยหายใจ
เมื่อเวลา 15.45 น.วันนี้ (10 ก.พ.) นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ได้เข้าเยี่ยมดูอาการ ด.ช.เจษฎากร ไชยโย หรือน้องดีเจ อายุ 3 ปี 10 เดือน ที่หอผู้ป่วยวิกฤติกุมารเวช(PICU) โดยมีนายแพทย์เจษฎา จงไพบูลย์พัฒนะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต พญ.ชัญญาวีร์ นารีจรูญศักดิ์ รองผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจด้านปฐมภูมิ และคณะแพทย์ที่ให้การรักษาน้องดีเจ ประกอบด้วย พญ.ธิดา ขวัญนา กุมารแพทย์ และหัวหน้ากลุ่มงานกุมารเวชกรรม พญ.กรกช ทองคำ กุมารแพทย์เฉพาะทางสาขาโรคระบบทางเดินหายใจ นพ.จิรเดช ปัญญาสุทธิกิจ แพทย์ศัลยกรรมเด็ก และ นพ.นพดล ธาดากุล กุมารแพทย์เฉพาะทางสาขาโรคระบบประสาท รวมถึงมารดา และตาของน้องดีเจ ร่วมให้ข้อมูลเกี่ยวกับน้องดีเจ ซึ่งเข้ารับการรักษาตัวเมื่อวานนี้ (9 ก.พ.)
นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เปิดเผยว่า จากการรับฟังข้อมูลจากตา และแม่ของเด็ก ทราบว่า ปกติแล้วเด็กจะเล่นอยู่กับบ้านเพราะยังไม่เข้าโรงเรียน วันเกิดเหตุ (3 ก.พ.) แม่ไปทำงาน ปล่อยให้เด็กอยู่กับตา ตาเผลอหลับกลางวัน พอตื่นมาก็พบว่าเด็กได้หายตัวไปแล้ว แต่ยังนับว่าโชคดีที่ได้ตัวเด็กกลับคืน แม้ว่าจะยังอยู่ในสภาพอิดโรย เพราะหายตัวไปอยู่ในป่านาน 6 วันเต็ม ตอนนี้อยู่ในความดูแลของทีมแพทย์โรงพยาบาลวชิระภูเก็ตอย่างใกล้ชิด ในไม่ช้าเด็กคงมีร่างกายที่แข็งแรง กลับมาใช้ชีวิตปกติกับครอบครัวต่อไป
อย่างไรก็ตาม เรื่องที่เด็กหายตัวไปจากบ้านคงนำไปสู่ประเด็นการสืบค้นสืบหาข้อมูลว่าด้วยเหตุผลใดที่ทำให้เด็กหลุดไปอยู่ในป่า ซึ่งห่างจากบ้านพักของเด็กประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นอุทาหรณ์ให้แก่ทุกครอบครัวในการดูแล ซึ่งต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ มีเคสเด็กหายตัวไปเป็นข่าวอยู่บ่อยครั้ง จึงอยากฝากผู้ปกครองดูแลลูกหลานให้ใกล้ชิดเป็นพิเศษ
ขณะที่ นพ.เจษฎา จงไพบูลย์พัฒนะ ผอ.โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต เปิดเผยถึงอาการของเด็กว่า แรกรับเด็กมีอาการเพลีย ไข้ มีเลือดออกในทางเดินอาหาร ตามตัวมีบาดแผลคล้ายปลาตอด ไม่พบร่องรอยการถูกทำร้าย มีอาการขาดน้ำ และเกลือแร่ แรกรับให้สารน้ำเพื่อแก้ภาวะขาดน้ำ และเกลือแร่ ให้ยาฆ่าเชื้อรักษาภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด และดูแลในหอผู้ป่วยวิกฤตกุมารเวชกรรม (PICU) ระหว่างนั้นมีเลือดออกจากทางเดินอาหารเป็นปริมาณมาก ทำให้ผู้ป่วยซีด ความดันโลหิตต่ำ และชัก ได้ทำการช่วยหายใจ ให้ยากันชัก ให้สารน้ำ และเลือด
ขณะนี้สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่มีอาการชัก หรือเลือดออกจากทางเดินอาหารเพิ่ม แต่จำเป็นต้องติดตามอาการต่อเนื่องไปอีก 24-48 ชั่วโมง ในหอผู้ป่วยวิกฤตกุมารเวช เพื่อเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้ เช่น ภาวะแทรกซ้อนทางเดินอาหารส่วนบน เกลือแร่บางตัวยังผิดปกติ รวมถึงเฝ้าระวังบาดแผลบริเวณหลังเท้า และง่ามมือว่ามีการติดเชื้อมากขึ้นหรือไม่ ขณะที่ระบบทางเดินหายใจไม่ได้มีปัญหา แต่ที่ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจเนื่องจากเด็กมีภาวะเลือดออกค่อนข้างมากจึงใส่เครื่องช่วยหายใจ