สุราษฎร์ธานี - แกนนำชาวสวนยางสุราษฎร์ธานีพอใจแนวทางการแก้ไขปัญหา หลังนายกฯ สั่งการให้ 8 กระทรวง ร่วมกันหาทางแก้ไขปัญหายางพาราตกต่ำ แต่ยังยืนยันราคาต้อง 60 บาท ระบุพรุ่งนี้เคลื่อนไหวไปประชุมที่จังหวัดตรัง และในวันที่ 13 เคลื่อนไหวเข้ากรุงเทพฯในขณะที่มีแกนนำบางคนมองว่าการเคลื่อนไหวมีการเมืองอยู่เบื้องหลัง
จากรณีแกนนำเกษตรกรชาวสวนยางพาราในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำ พร้อมเรียกร้องราคายางแผ่นดิบชั้น 3 กิโลกรัมละ 60 บาท หากไม่ได้ตามร้องขอจะรวมกันชุมนุมเรียกร้อง ล่าสุดเมื่อเวลา 10.00น.วันนี้ ( 11 ม.ค. ) ที่ค่ายวิภาวดีรังสิต จังหวัดสุราษฎร์ธานีทางพ.อ.สมเกียรติ รัตนเจริญพรชัย รอง ผอ.รมน.จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้เชิญแกนนำประมาณ 50 คน ประชุมรับฟังความคิดเห็นหาทางออกในการแก้ไขปัญหายางพาราตกต่ำ ตามโครงการสร้างความเข้มแข็งสู่ปฎิรูปสังคม เพื่อนำปัญหาเสนอต่อรัฐบาล ตามการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางพาราที่กำลังเดือดร้อน ก่อนที่จะมีการชุมนุมของเกษตรกรเพื่อเรียกร้องราคายางพารา
โดยมีการแนะแนวทางว่าสิ่งที่เกษตรกรชาวสวนยางปรับตัว คือเพิ่มมูลค่ายางให้มากขึ้น เช่น ยางขนาดเล็กมีการปลูกพืชอายุสั้นแซมเป็นรายได้เสริม พร้อมทั้งตัวอย่างเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในการปลูกพืชแซมในสวนยางมาให้ความรู้ และนำต้นเหรียงมามอบให้แกนนำเกษตรกรนำไปปลูกอีกด้วย
ด้านนายกิตติศักดิ์ วิโรจน์ นายกสมาคมเกษตรกรสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า วันนี้หน่วยงานภาครัฐให้ความสนใจ และให้โอกาสเปิดให้เราพูด แต่เมื่อเข้าร่วมรับฟังแล้วส่วนใหญ่เป็นเรื่องธรรมดา แต่เรื่องปัจจัยที่ทำให้ราคายางพาราตกต่ำไม่ได้พูดถึง แต่ก็ยอมรับว่าภาครัฐไม่มีทางออกอย่างอื่น นอกจากเปิดเวทีขึ้นรับฟังความคิดเห็นและชี้แนะ และมีบางเรื่องที่เกษตรกรชาวสวนยางเขาทำกันอยู่แล้ว เช่น อาชีพเสริมไปเลี้ยงแพะ เลี้ยงวัว เลี้ยงหมู และในสวนยางก็ปลูกผักปลอดสารพิษซึ่งการปลูกพืชเสริมเกษตรกรทำมานานแล้ว
หากไม่ทำอาชีพเสริมคงดำรงชีวิตอยู่ไม่ได้ เนื่องราคายางพาราตกต่ำมานาน4-5 ปีติดต่อกัน เหตุผลที่นำปัญหาต่างๆมาเสนอ ให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว ซึ่งขณะนี้เป็นระยะเร่งด่วน ระยะวิกฤตของเกษตรกรชาวสวนยางที่จะต้องได้รับการแก้ไข ซึ่งตนและเครือข่ายจะเคลื่อนไปร่วมการประชุมที่ จ.ตรัง เพื่อกำหนดทิศทางการเคลื่อนไหวกดดันรัฐบาลให้ได้ราคายางพารากิโลกรัมละ 60 บาท และในวันที่ 13 กลุ่มแกนนำจะเคลื่อนไหวเดินทางไปรวมตัวกันที่สภาเกษตรเพื่อยื่นเรื่องต่อนายกรัฐมนตรี
นายกิตติศักดิ์ ยังได้ระบุว่าพอใจที่ พลเอก ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้ 8 กระทรวงหลักร่วมกันหาทางช่วยเหลือเกษตรกรถึงแม้จะมองว่าเป็นการออกมายับยั้งไม่ให้มอบเคลื่อนตัว แต่ก็ไม่สามารถยับยั้งได้เนื่องจากมีเกษตรกรชาวสวนยางทั้งประเทศ จำนวน 56 จังหวัดที่ได้รับความเดือดร้อนทุกครอบครัว
อย่างไรก็ตามขณะที่นายกิตติศักดิ์ ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวอยู่นั้น ได้มี นายธำรงค์ โสมจันทร์ ประธานเครือข่ายสุราษฎร์ร่วมใจ 18 จังหวัด ได้กล่าวแทรกขึ้น ว่า การเคลื่อนไหวของแกนนำยางครั้งนี้ เชื่อว่าจะต้องมีเงื่อนไข มีผลประโยชน์แอบแฝง และอาจมีการเมืองอยู่เบื้องหลัง โดยให้เหตุผลว่า ขณะนี้นายกรัฐมนตรีกำลังแก้ไขปัญหาอยู่ ทำไมไม่ให้โอกาสบ้าง ตอนที่ยางกิโลกรัมละ 80 บาท ก็เรียกร้องขอราคากิโลกรัมละ 100 - 120 บาท ก่อนที่จะหันมากล่าวกับผู้สื่อข่าวตนเองรู้ดีว่าอะไรเป็นอะไร ซึ่งตนเองรู้เบื้องหน้าเบื้องหลังดีและคลุกคลีกับวงการยางมานาน
จากรณีแกนนำเกษตรกรชาวสวนยางพาราในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำ พร้อมเรียกร้องราคายางแผ่นดิบชั้น 3 กิโลกรัมละ 60 บาท หากไม่ได้ตามร้องขอจะรวมกันชุมนุมเรียกร้อง ล่าสุดเมื่อเวลา 10.00น.วันนี้ ( 11 ม.ค. ) ที่ค่ายวิภาวดีรังสิต จังหวัดสุราษฎร์ธานีทางพ.อ.สมเกียรติ รัตนเจริญพรชัย รอง ผอ.รมน.จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้เชิญแกนนำประมาณ 50 คน ประชุมรับฟังความคิดเห็นหาทางออกในการแก้ไขปัญหายางพาราตกต่ำ ตามโครงการสร้างความเข้มแข็งสู่ปฎิรูปสังคม เพื่อนำปัญหาเสนอต่อรัฐบาล ตามการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางพาราที่กำลังเดือดร้อน ก่อนที่จะมีการชุมนุมของเกษตรกรเพื่อเรียกร้องราคายางพารา
โดยมีการแนะแนวทางว่าสิ่งที่เกษตรกรชาวสวนยางปรับตัว คือเพิ่มมูลค่ายางให้มากขึ้น เช่น ยางขนาดเล็กมีการปลูกพืชอายุสั้นแซมเป็นรายได้เสริม พร้อมทั้งตัวอย่างเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในการปลูกพืชแซมในสวนยางมาให้ความรู้ และนำต้นเหรียงมามอบให้แกนนำเกษตรกรนำไปปลูกอีกด้วย
ด้านนายกิตติศักดิ์ วิโรจน์ นายกสมาคมเกษตรกรสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า วันนี้หน่วยงานภาครัฐให้ความสนใจ และให้โอกาสเปิดให้เราพูด แต่เมื่อเข้าร่วมรับฟังแล้วส่วนใหญ่เป็นเรื่องธรรมดา แต่เรื่องปัจจัยที่ทำให้ราคายางพาราตกต่ำไม่ได้พูดถึง แต่ก็ยอมรับว่าภาครัฐไม่มีทางออกอย่างอื่น นอกจากเปิดเวทีขึ้นรับฟังความคิดเห็นและชี้แนะ และมีบางเรื่องที่เกษตรกรชาวสวนยางเขาทำกันอยู่แล้ว เช่น อาชีพเสริมไปเลี้ยงแพะ เลี้ยงวัว เลี้ยงหมู และในสวนยางก็ปลูกผักปลอดสารพิษซึ่งการปลูกพืชเสริมเกษตรกรทำมานานแล้ว
หากไม่ทำอาชีพเสริมคงดำรงชีวิตอยู่ไม่ได้ เนื่องราคายางพาราตกต่ำมานาน4-5 ปีติดต่อกัน เหตุผลที่นำปัญหาต่างๆมาเสนอ ให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว ซึ่งขณะนี้เป็นระยะเร่งด่วน ระยะวิกฤตของเกษตรกรชาวสวนยางที่จะต้องได้รับการแก้ไข ซึ่งตนและเครือข่ายจะเคลื่อนไปร่วมการประชุมที่ จ.ตรัง เพื่อกำหนดทิศทางการเคลื่อนไหวกดดันรัฐบาลให้ได้ราคายางพารากิโลกรัมละ 60 บาท และในวันที่ 13 กลุ่มแกนนำจะเคลื่อนไหวเดินทางไปรวมตัวกันที่สภาเกษตรเพื่อยื่นเรื่องต่อนายกรัฐมนตรี
นายกิตติศักดิ์ ยังได้ระบุว่าพอใจที่ พลเอก ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้ 8 กระทรวงหลักร่วมกันหาทางช่วยเหลือเกษตรกรถึงแม้จะมองว่าเป็นการออกมายับยั้งไม่ให้มอบเคลื่อนตัว แต่ก็ไม่สามารถยับยั้งได้เนื่องจากมีเกษตรกรชาวสวนยางทั้งประเทศ จำนวน 56 จังหวัดที่ได้รับความเดือดร้อนทุกครอบครัว
อย่างไรก็ตามขณะที่นายกิตติศักดิ์ ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวอยู่นั้น ได้มี นายธำรงค์ โสมจันทร์ ประธานเครือข่ายสุราษฎร์ร่วมใจ 18 จังหวัด ได้กล่าวแทรกขึ้น ว่า การเคลื่อนไหวของแกนนำยางครั้งนี้ เชื่อว่าจะต้องมีเงื่อนไข มีผลประโยชน์แอบแฝง และอาจมีการเมืองอยู่เบื้องหลัง โดยให้เหตุผลว่า ขณะนี้นายกรัฐมนตรีกำลังแก้ไขปัญหาอยู่ ทำไมไม่ให้โอกาสบ้าง ตอนที่ยางกิโลกรัมละ 80 บาท ก็เรียกร้องขอราคากิโลกรัมละ 100 - 120 บาท ก่อนที่จะหันมากล่าวกับผู้สื่อข่าวตนเองรู้ดีว่าอะไรเป็นอะไร ซึ่งตนเองรู้เบื้องหน้าเบื้องหลังดีและคลุกคลีกับวงการยางมานาน