ชุมพร - 3 สมาคมชาวประมงชุมพร นำเรือจอดปากอ่าว รวมตัวเรียกร้องขอความเห็นใจจากรัฐบาล หลังเรือต่ออาชญาบัตรไม่ได้ เพราะเครื่องมือประมงผิดประเภท ขอผ่อนผันออกจับปลาได้ก่อน
เมื่อเวลา 10.00 น.วันนี้ (3 ก.ค.) นายพิศาล ตันติวิชยะ นายกสมาคมประมงปากน้ำชุมพร นายพิจิตร แซ่ลี้ นายกสมาคมประมงร่วมใจชุมพร และนายไตรฤกษ์ มือสันทัด นายกสมาคมประมงปากตะโก พร้อมเจ้าของเรือประมง ผู้ประกอบการแพปลา และแรงงานประมงกว่า 200 คน นำเรือประมงประเภทอวนรุน อวนลาก อวนครอบ อวนปลากระตัก จำนวนกว่า 50 ลำ ที่ไม่ได้รับการจดทะเบียนต่ออาชญาบัตรทำการประมง เนื่องจากเรือใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมายที่ทำลายทรัพยากรสัตว์น้ำ มาจอดหน้าร่องน้ำ อ่าวปากน้ำชุมพร อ.เมือ จ.ชุมพร เพื่อเรียกร้องความเห็นใจ พร้อมทำหนังสือถึงรัฐบาล ให้ช่วยแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร และฝ่ายปกครอง เฝ้าดูแลความสงบเรียบร้อยในการทำกิจกรรมของชาวประมงในครั้งนี้ ต่อมา ทางนายประจินต์ ธารศิริสิน นายอำเภอเมืองชุมพร ซึ่งเดินทางมาในนามตัวแทนผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร มารับหนังสือจากกลุ่มประมงเพื่อยื่นของเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรีต่อไป
สำหรับการทำกิจกรรมเพื่อเรียกร้องขอความเห็นใจจากรัฐบาลของทางชาวประมงในครั้งนี้ นายไตรฤกษ์ สันทัดการ นายกสมาคมชาวประมงปากตะโก อ.ทุ่งตะโก จ.ชุมพร เปิดเผยว่าไม่ได้เป็นการประท้วงเพื่อกดดันรัฐบาลแต่อย่างใด แต่เป็นการออกมาร่วมทำกิจกรรมเพื่อวิงวอนเรียกร้องขอความเห็นใจจากรัฐบาลให้ช่วยผ่อนปรนออกอาชญาบัตรให้แก่ชาวประมงที่ถูกกล่าวหาว่า ใช้อุปกรณ์เครื่องมืออย่างผิดกฎหมาย ให้สามารถออกทำการประมงก่อน โดยมีเงื่อนไขในช่วงระยะหนึ่งเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ชาวประมงที่ลงทุนเสียค่าใช่จ่าย ทั้งจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือ ค่าจดทะเบียนแรงงาน เป็นต้น
นายไตรฤกษ์ กล่าวต่อไปว่า กว่า 20 ปีมาแล้วที่กรมประมงปล่อยให้ผู้ประกอบการทำประมงผิดกฎหมายมาตลอด แต่มาวันนี้รัฐบาลได้ยึดหลักสากล ยึดมาตรการของไอยูยู และอียู โดยอ้างว่าอวน และเรือประเภทนี้ทำลายทรัพยากรสัตว์ขนาดเล็ก เป็นการตัดวงจรชีวิตของระบบนิเวศ ทำลายห่วงโซ่อาหารของธรรมชาติ ซึ่งเรื่องดังกล่าวไม่ใช่จะเป็นจริงทั้งหมด ในส่วนที่เป็นจริงคือ การทำประมงของเรือประเภทนี้จะออกทำประมงด้วยอวนที่มีขนาดเล็กเพียง 0.6 ซม.หรือเรียกว่าตาอวน 130 ในการวางอวนจับปลาในแต่ละหนึ่งวง หรือหนึ่งครั้งก็จะได้ปลาหลากหลายชนิด มีทั้งปลาขนาดใหญ่ ปลาหมึก ประมาณ 10% ปลาขนาดกลาง ประมาณ 20% ซึ่งส่วนหนึ่งจะคัดแยกขายเป็นทำเป็นอาหารสัตว์ และอีก 70% เป็นปลาขนาดเล็ก คือ ปลากระตัก ปลาสายไหม ที่ทุกคนมองว่าทำลายวงจรชีวิต ทำลายทรัพยากรสัตว์น้ำ ซึ่งในข้อมูลที่แท้จริงนั้นปลาจำพวกนี้เป็นปลาอายุสั้น เพียง 45 วันเท่านั้น
นายไตรฤกษ์ ยังกล่าวอีกว่า พวกเรายอมรับว่าใช้เครื่องมือทำประมงอย่างผิดประเภท ไม่ตรงกับเรือ แต่พวกเราก็ทำกันมานานหลายปี อุปกรณ์ทำประมงแต่ละลำราคาสูงตั้งแต่ 1-4 ล้านบาท พวกเรากำลังตกอยู่ในที่นั่งลำบาก อีกทั้งธุรกิจต่อเนื่อง เช่น แพปลากระตักที่ใช้ทำน้ำปลา ปลาแห้ง ส่งขายต่างประเทศ ไม่มีปลาทำ แรงงานทั้งคนไทย และต่างด้าวที่จดทะเบียนถูกต้องเริ่มตกงาน ดังนั้น ทางกลุ่มชาวประมงจึงได้ขอเรียกร้องขอความเห็นใจให้รัฐบาล ให้ออกอาชญาบัตรได้ โดยขอระยะเวลาในการผ่อนผันเรือที่ไม่มีอาชญาบัตร เครื่องมือประมงผิดประเภทสามารถออกไปทำประมงได้ก่อน เพื่อแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายเป็นการเบื้องต้น
เมื่อเวลา 10.00 น.วันนี้ (3 ก.ค.) นายพิศาล ตันติวิชยะ นายกสมาคมประมงปากน้ำชุมพร นายพิจิตร แซ่ลี้ นายกสมาคมประมงร่วมใจชุมพร และนายไตรฤกษ์ มือสันทัด นายกสมาคมประมงปากตะโก พร้อมเจ้าของเรือประมง ผู้ประกอบการแพปลา และแรงงานประมงกว่า 200 คน นำเรือประมงประเภทอวนรุน อวนลาก อวนครอบ อวนปลากระตัก จำนวนกว่า 50 ลำ ที่ไม่ได้รับการจดทะเบียนต่ออาชญาบัตรทำการประมง เนื่องจากเรือใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมายที่ทำลายทรัพยากรสัตว์น้ำ มาจอดหน้าร่องน้ำ อ่าวปากน้ำชุมพร อ.เมือ จ.ชุมพร เพื่อเรียกร้องความเห็นใจ พร้อมทำหนังสือถึงรัฐบาล ให้ช่วยแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร และฝ่ายปกครอง เฝ้าดูแลความสงบเรียบร้อยในการทำกิจกรรมของชาวประมงในครั้งนี้ ต่อมา ทางนายประจินต์ ธารศิริสิน นายอำเภอเมืองชุมพร ซึ่งเดินทางมาในนามตัวแทนผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร มารับหนังสือจากกลุ่มประมงเพื่อยื่นของเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรีต่อไป
สำหรับการทำกิจกรรมเพื่อเรียกร้องขอความเห็นใจจากรัฐบาลของทางชาวประมงในครั้งนี้ นายไตรฤกษ์ สันทัดการ นายกสมาคมชาวประมงปากตะโก อ.ทุ่งตะโก จ.ชุมพร เปิดเผยว่าไม่ได้เป็นการประท้วงเพื่อกดดันรัฐบาลแต่อย่างใด แต่เป็นการออกมาร่วมทำกิจกรรมเพื่อวิงวอนเรียกร้องขอความเห็นใจจากรัฐบาลให้ช่วยผ่อนปรนออกอาชญาบัตรให้แก่ชาวประมงที่ถูกกล่าวหาว่า ใช้อุปกรณ์เครื่องมืออย่างผิดกฎหมาย ให้สามารถออกทำการประมงก่อน โดยมีเงื่อนไขในช่วงระยะหนึ่งเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ชาวประมงที่ลงทุนเสียค่าใช่จ่าย ทั้งจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือ ค่าจดทะเบียนแรงงาน เป็นต้น
นายไตรฤกษ์ กล่าวต่อไปว่า กว่า 20 ปีมาแล้วที่กรมประมงปล่อยให้ผู้ประกอบการทำประมงผิดกฎหมายมาตลอด แต่มาวันนี้รัฐบาลได้ยึดหลักสากล ยึดมาตรการของไอยูยู และอียู โดยอ้างว่าอวน และเรือประเภทนี้ทำลายทรัพยากรสัตว์ขนาดเล็ก เป็นการตัดวงจรชีวิตของระบบนิเวศ ทำลายห่วงโซ่อาหารของธรรมชาติ ซึ่งเรื่องดังกล่าวไม่ใช่จะเป็นจริงทั้งหมด ในส่วนที่เป็นจริงคือ การทำประมงของเรือประเภทนี้จะออกทำประมงด้วยอวนที่มีขนาดเล็กเพียง 0.6 ซม.หรือเรียกว่าตาอวน 130 ในการวางอวนจับปลาในแต่ละหนึ่งวง หรือหนึ่งครั้งก็จะได้ปลาหลากหลายชนิด มีทั้งปลาขนาดใหญ่ ปลาหมึก ประมาณ 10% ปลาขนาดกลาง ประมาณ 20% ซึ่งส่วนหนึ่งจะคัดแยกขายเป็นทำเป็นอาหารสัตว์ และอีก 70% เป็นปลาขนาดเล็ก คือ ปลากระตัก ปลาสายไหม ที่ทุกคนมองว่าทำลายวงจรชีวิต ทำลายทรัพยากรสัตว์น้ำ ซึ่งในข้อมูลที่แท้จริงนั้นปลาจำพวกนี้เป็นปลาอายุสั้น เพียง 45 วันเท่านั้น
นายไตรฤกษ์ ยังกล่าวอีกว่า พวกเรายอมรับว่าใช้เครื่องมือทำประมงอย่างผิดประเภท ไม่ตรงกับเรือ แต่พวกเราก็ทำกันมานานหลายปี อุปกรณ์ทำประมงแต่ละลำราคาสูงตั้งแต่ 1-4 ล้านบาท พวกเรากำลังตกอยู่ในที่นั่งลำบาก อีกทั้งธุรกิจต่อเนื่อง เช่น แพปลากระตักที่ใช้ทำน้ำปลา ปลาแห้ง ส่งขายต่างประเทศ ไม่มีปลาทำ แรงงานทั้งคนไทย และต่างด้าวที่จดทะเบียนถูกต้องเริ่มตกงาน ดังนั้น ทางกลุ่มชาวประมงจึงได้ขอเรียกร้องขอความเห็นใจให้รัฐบาล ให้ออกอาชญาบัตรได้ โดยขอระยะเวลาในการผ่อนผันเรือที่ไม่มีอาชญาบัตร เครื่องมือประมงผิดประเภทสามารถออกไปทำประมงได้ก่อน เพื่อแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายเป็นการเบื้องต้น