กระบี่ - ปัญหาสัมปทานสวนปาล์มที่กระบี่ กลับมาคุอีก หลัง 2 ม็อบบุกยื่นหนังสือถึงจังหวัดแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน เจ้าหน้าที่ต้องจัดพื้นที่เพื่อไม่ให้เกิดเหตุกระทบกระทั่ง ขณะที่จากการตรวจสอบพบพื้นที่สัมปทานหมดอายุ และกำลังจะหมดอายุแล้วหลายแปลง
จากกรณีเมื่อปี 2529-2530 รัฐบาลในสมัยนั้นมีนโยบายให้เอกชนเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจปาล์มน้ำมัน ในพื้นที่ จ.กระบี่ จำนวน 14 แปลง เนื้อที่กว่า 70,000 ไร่ และขณะแปลงสัมปทานได้หมดอายุไปแล้วประมาณ 10 แปลง เหลือพื้นที่ที่มีอายุสัมปทานอีก 4 แปลง และบางแปลงกำหลังจะหมดอายุในเร็วๆ นี้
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่มีพื้นที่ที่ทางรัฐอนุญาตให้มีการสัมปทานหมดลง ประกอบกับ ครม.ปี 2546 ได้มีมติไม่ต่ออนุญาตให้พื้นที่ที่ได้รับสัมปทาน พร้อมกับให้นำพื้นที่ดังกล่าวมาจัดสรรให้แก่คนที่ยากจนไม่มีที่ดินทำกิน ทำให้ประชาชนจากหลายพื้นที่บุกรุกเข้าไปยึดครองสวนปาล์มที่หมดอายุสัมปทานในหลายแปลง ซึ่งบางแปลงก็ถูกผลักดันออกไป
จนถึงขณะนี้ สวนปาล์มที่หมดอายุสัมปทานมีกลุ่มม็อบเข้าไปยึดพื้นที่รวมจำนวน 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มภาคีเรียกร้องที่ดินทำกิน มีนายชูวงศ์ มณีกุล เป็นแกนนำ เข้ายึดพื้นที่หมออายุสัมปทานของบริษัทเจียร วานิช เนื้อที่ 20,000 ไร่ ตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าปลายพระยา ตำบลคลองหิน อ.อ่าวลึก ตำบลปลายพระยา อำเภอปลายพระยา
ส่วนกลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มสมาคมคนไทยไร้ที่ดินทำกิน โดยมี นายสุมนตรี สุขดำ แกนนำ เข้ายึดพื้นที่ของบริษัทสหอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด ต.กระบี่น้อย อ.เมือง และ ต.ห้วยยูง อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ระหว่างดำเนินการเพิกถอนเอกสารสิทธิ ส.ป.ก.4-01 จำนวน 109 แปลง เนื้อที่เกือบ 5,000 ไร่
และกลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มของนายสมพงศ์ วงจินดา เข้ายึดพื้นที่ของ บริษัท พิธาน ปาล์มน้ำมัน จำกัด ตำบลคลองหิน อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ซึ่งทั้ง 3 กลุ่มคาดว่าน่าจะมีสมาชิกรวมกันไม่ต่ำกว่า 5 พันคน
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้มีปัญหากระทบกระทั่งเกิดขึ้นระหว่างกลุ่มผู้บุกรุกเข้าไปยึดครองสวนปาล์มที่หมดสัมปทาน และกลุ่มที่อ้างว่าได้รับความเดือดร้อนจากการเข้าไปยึดครองพื้นที่สวนปาล์มที่หมดอายุสัมปทาน ซึ่งล่าสุด มีเหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อวัน 18 เม.ย.ที่ผ่านมา ชาวบ้าน ม.4, 5, 7, 8 ต.ปลายพระยา อ.ปลายพระยา จ.กระบี่ ประมาณ 100 คน ได้รวมตัวกันขับไล่กลุ่มเครือข่ายไร้ที่ดินทำกินที่ได้เข้ายึดสวนปาล์มน้ำมันขาดอายุสัมปทานของบริษัทยูนิวานิช จำกัด (มหาชน) ต.ปลายพระยา อ.ปลายพระยา หลังจากหมดอายุสัมปทานตั้งแต่ปี 2556 ที่ผ่านมา เพื่อเรียกร้องให้รัฐนำที่ดินไปจัดสรรให้คนจนไร้ที่ทำกินตามมติ ครม.2546 โดยกลุ่มชาวบ้านอ้างว่า ได้รับความเดือดร้อนในการใช้เส้นทางเข้าออกพื้นที่สวนปาล์มน้ำมัน ไปยังพื้นที่การเกษตร และไม่ปลอดภัย สำหรับการรวมตัวในครั้งนี้ทางนายอำเภอได้เข้าเจรจา และให้กลุ่มชาวบ้านไปยื่นหนังสือต่อทางศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดกระบี่
จนกระทั่งล่าสุด เมื่อเวลา 11.00 น.วันนี้ (20 เม.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้มีกลุ่มม็อบ 2 กลุ่ม มารวมตัวกันบริเวณศาลากลางจังหวัดกระบี่ โดยเจ้าหน้าที่ได้แยกให้ชุมนุมกันคนละฝั่งของพื้นที่ศาลากลาง เนื่องจากเกรงว่าจะเกิดการปะทะกัน
กลุ่มแรกเป็นกลุ่มม็อบภาคีเรียกร้องที่ดินทำกิน จังหวัดกระบี่ ประมาณ 300 คน นำโดย นายชูวงศ์ มณีกุล ทางเจ้าหน้าที่ได้ให้จัดให้ชุมนุมกันที่บริเวณศาลหลักเมือง กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มม็อบชาวบ้าน ต.ปลายพระยา ประมาณ 60 คน นำโดย นายสมใจ นวลนุ่น ทางเจ้าหน้าที่ได้จัดให้ชุมนุมกันที่บริเวณศาลากลางกระบี่ (หลังเก่า) โดยทั้ง 2 กลุ่มอยู่ห่างกันประมาณ 200 เมตร บรรยากาศเป็นไปด้วยความตึงเครียด
นายสมใจ นวลนุ่น ตัวแทนชาวบ้าน ต.ปลายพระยา กล่าวว่า ชาวบ้าน ต.ปลายพระยา จำนวน 4 หมู่บ้าน ประกอบด้วย ม.4 ม.5 ม.7 และ ม.8 ซึ่งอยู่รอยต่อของบริษัทเจียร วานิช ได้รับความเดือดร้อน หลังจากกลุ่มม็อบของ นายชูวงศ์ มณีกุล เข้าไปยึดสวนปาล์ม พร้อมเรียกร้องให้รัฐจัดสรรที่ดินให้แก่ผู้ยากไร้ แต่พบว่าไม่ได้มาเพื่อเรียกร้องที่ดิน ได้สร้างความหวาดกลัวให้ชาวบ้าน ปัญหาความเดือดร้อนชาวบ้านไม่สามารถอดทนต่อไปได้ และเป็นปัญหาสังคมที่พร้อมจะบานปลาย โดยล่าสุด เมื่อวันที่ 18 เมษายนที่ผ่านมา ชาวบ้านได้รวมตัวกันขับไล่ม็อบจนเหตุการณ์เกือบบานปลาย แต่โชคดีที่มีเจ้าหน้าที่เข้ามาไกล่เกลี่ย ชาวบ้านจึงได้ยอมถอนกำลังออกไป จึงได้รวมตัวกันมาเรียกร้องให้ทางจังหวัดกระบี่ ช่วยแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้านด้วย
ต่อมา ทางพันเอกไพโรจน์ โตงามวงศ์ หัวหน้ากลุ่มงานข่าวฝ่ายความมั่นคง จ.กระบี่ รับเรื่อง พร้อมนำประเด็นปัญหาความเดือดร้อนแจ้งจังหวัดกระบี่ดำเนินการต่อไป ชาวบ้านพอใจได้แยกย้ายกันกลับ
ด้านนายชูวงศ์ มณีกุล แกนนำกลุ่มภาคีเรียกร้องที่ดินทำกิน กล่าวว่า การเดินทางมารวมตัวกันของกลุ่มตนเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม และชี้แจ้งข้อเท็จจริง โดยที่ผ่านมา พวกตนได้เข้าไปอยู่ภายในสวนปาล์มหมดอายุสัมปทานของบริษัท เจียรวานิช ด้วยความสงบ พร้อมเรียกร้องให้ทางจังหวัดนำที่ดินมาจัดสรรให้แก่ผู้ยากไร้ แต่กลับถูกผู้ที่เสียผลประโยชน์ลอบยิงหมายเอาชีวิต และไม่เคยข่มขู่ สร้างความเดือดร้อนให้แก่ชาวบ้าน ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น กลุ่มภาคีฯ จึงต้องมาเรียกร้องขอความเป็นธรรม และชี้แจงข้อเท็จจริง
นายชูวงศ์ กล่าวอีกว่า หลังจากนี้ก็จะรวบรวมสมาชิกไปยื่นขออนุญาตเก็บหาของป่า ในพื้นที่แปลงหมดอายุการอนุญาตทุกแปลง รวม 11 แปลง โดยให้สมาชิกยื่นขอรายละประมาณ 10 ไร่ เพราะมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 26 สิงหาคม 2546 มีมติว่า ให้สวนปาล์มที่ขอใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ และหมดอายุอนุญาตแล้วให้ยุติการอนุญาต แล้วนำมาจัดสรรให้แก่ราษฎรที่ไม่มีที่ดินทำกินมาใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าว โดยให้จังหวัดได้ดำเนินการทันทีตามมติ แต่จังหวัดก็ยังไม่ดำเนินการใดๆ ต่อพื้นที่ที่หมดสัมปทาน ด้วยเหตุนี้ ทางราษฎรที่ไม่มีที่ดินทำกินจึงขออนุญาตเก็บหาของป่า จนกว่าจังหวัดจะทำการจัดสรรที่ดินให้ต่อไป และในที่สุดได้สลายการชุมนุมด้วยความสงบ
จากกรณีเมื่อปี 2529-2530 รัฐบาลในสมัยนั้นมีนโยบายให้เอกชนเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจปาล์มน้ำมัน ในพื้นที่ จ.กระบี่ จำนวน 14 แปลง เนื้อที่กว่า 70,000 ไร่ และขณะแปลงสัมปทานได้หมดอายุไปแล้วประมาณ 10 แปลง เหลือพื้นที่ที่มีอายุสัมปทานอีก 4 แปลง และบางแปลงกำหลังจะหมดอายุในเร็วๆ นี้
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่มีพื้นที่ที่ทางรัฐอนุญาตให้มีการสัมปทานหมดลง ประกอบกับ ครม.ปี 2546 ได้มีมติไม่ต่ออนุญาตให้พื้นที่ที่ได้รับสัมปทาน พร้อมกับให้นำพื้นที่ดังกล่าวมาจัดสรรให้แก่คนที่ยากจนไม่มีที่ดินทำกิน ทำให้ประชาชนจากหลายพื้นที่บุกรุกเข้าไปยึดครองสวนปาล์มที่หมดอายุสัมปทานในหลายแปลง ซึ่งบางแปลงก็ถูกผลักดันออกไป
จนถึงขณะนี้ สวนปาล์มที่หมดอายุสัมปทานมีกลุ่มม็อบเข้าไปยึดพื้นที่รวมจำนวน 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มภาคีเรียกร้องที่ดินทำกิน มีนายชูวงศ์ มณีกุล เป็นแกนนำ เข้ายึดพื้นที่หมออายุสัมปทานของบริษัทเจียร วานิช เนื้อที่ 20,000 ไร่ ตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าปลายพระยา ตำบลคลองหิน อ.อ่าวลึก ตำบลปลายพระยา อำเภอปลายพระยา
ส่วนกลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มสมาคมคนไทยไร้ที่ดินทำกิน โดยมี นายสุมนตรี สุขดำ แกนนำ เข้ายึดพื้นที่ของบริษัทสหอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด ต.กระบี่น้อย อ.เมือง และ ต.ห้วยยูง อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ระหว่างดำเนินการเพิกถอนเอกสารสิทธิ ส.ป.ก.4-01 จำนวน 109 แปลง เนื้อที่เกือบ 5,000 ไร่
และกลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มของนายสมพงศ์ วงจินดา เข้ายึดพื้นที่ของ บริษัท พิธาน ปาล์มน้ำมัน จำกัด ตำบลคลองหิน อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ซึ่งทั้ง 3 กลุ่มคาดว่าน่าจะมีสมาชิกรวมกันไม่ต่ำกว่า 5 พันคน
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้มีปัญหากระทบกระทั่งเกิดขึ้นระหว่างกลุ่มผู้บุกรุกเข้าไปยึดครองสวนปาล์มที่หมดสัมปทาน และกลุ่มที่อ้างว่าได้รับความเดือดร้อนจากการเข้าไปยึดครองพื้นที่สวนปาล์มที่หมดอายุสัมปทาน ซึ่งล่าสุด มีเหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อวัน 18 เม.ย.ที่ผ่านมา ชาวบ้าน ม.4, 5, 7, 8 ต.ปลายพระยา อ.ปลายพระยา จ.กระบี่ ประมาณ 100 คน ได้รวมตัวกันขับไล่กลุ่มเครือข่ายไร้ที่ดินทำกินที่ได้เข้ายึดสวนปาล์มน้ำมันขาดอายุสัมปทานของบริษัทยูนิวานิช จำกัด (มหาชน) ต.ปลายพระยา อ.ปลายพระยา หลังจากหมดอายุสัมปทานตั้งแต่ปี 2556 ที่ผ่านมา เพื่อเรียกร้องให้รัฐนำที่ดินไปจัดสรรให้คนจนไร้ที่ทำกินตามมติ ครม.2546 โดยกลุ่มชาวบ้านอ้างว่า ได้รับความเดือดร้อนในการใช้เส้นทางเข้าออกพื้นที่สวนปาล์มน้ำมัน ไปยังพื้นที่การเกษตร และไม่ปลอดภัย สำหรับการรวมตัวในครั้งนี้ทางนายอำเภอได้เข้าเจรจา และให้กลุ่มชาวบ้านไปยื่นหนังสือต่อทางศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดกระบี่
จนกระทั่งล่าสุด เมื่อเวลา 11.00 น.วันนี้ (20 เม.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้มีกลุ่มม็อบ 2 กลุ่ม มารวมตัวกันบริเวณศาลากลางจังหวัดกระบี่ โดยเจ้าหน้าที่ได้แยกให้ชุมนุมกันคนละฝั่งของพื้นที่ศาลากลาง เนื่องจากเกรงว่าจะเกิดการปะทะกัน
กลุ่มแรกเป็นกลุ่มม็อบภาคีเรียกร้องที่ดินทำกิน จังหวัดกระบี่ ประมาณ 300 คน นำโดย นายชูวงศ์ มณีกุล ทางเจ้าหน้าที่ได้ให้จัดให้ชุมนุมกันที่บริเวณศาลหลักเมือง กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มม็อบชาวบ้าน ต.ปลายพระยา ประมาณ 60 คน นำโดย นายสมใจ นวลนุ่น ทางเจ้าหน้าที่ได้จัดให้ชุมนุมกันที่บริเวณศาลากลางกระบี่ (หลังเก่า) โดยทั้ง 2 กลุ่มอยู่ห่างกันประมาณ 200 เมตร บรรยากาศเป็นไปด้วยความตึงเครียด
นายสมใจ นวลนุ่น ตัวแทนชาวบ้าน ต.ปลายพระยา กล่าวว่า ชาวบ้าน ต.ปลายพระยา จำนวน 4 หมู่บ้าน ประกอบด้วย ม.4 ม.5 ม.7 และ ม.8 ซึ่งอยู่รอยต่อของบริษัทเจียร วานิช ได้รับความเดือดร้อน หลังจากกลุ่มม็อบของ นายชูวงศ์ มณีกุล เข้าไปยึดสวนปาล์ม พร้อมเรียกร้องให้รัฐจัดสรรที่ดินให้แก่ผู้ยากไร้ แต่พบว่าไม่ได้มาเพื่อเรียกร้องที่ดิน ได้สร้างความหวาดกลัวให้ชาวบ้าน ปัญหาความเดือดร้อนชาวบ้านไม่สามารถอดทนต่อไปได้ และเป็นปัญหาสังคมที่พร้อมจะบานปลาย โดยล่าสุด เมื่อวันที่ 18 เมษายนที่ผ่านมา ชาวบ้านได้รวมตัวกันขับไล่ม็อบจนเหตุการณ์เกือบบานปลาย แต่โชคดีที่มีเจ้าหน้าที่เข้ามาไกล่เกลี่ย ชาวบ้านจึงได้ยอมถอนกำลังออกไป จึงได้รวมตัวกันมาเรียกร้องให้ทางจังหวัดกระบี่ ช่วยแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้านด้วย
ต่อมา ทางพันเอกไพโรจน์ โตงามวงศ์ หัวหน้ากลุ่มงานข่าวฝ่ายความมั่นคง จ.กระบี่ รับเรื่อง พร้อมนำประเด็นปัญหาความเดือดร้อนแจ้งจังหวัดกระบี่ดำเนินการต่อไป ชาวบ้านพอใจได้แยกย้ายกันกลับ
ด้านนายชูวงศ์ มณีกุล แกนนำกลุ่มภาคีเรียกร้องที่ดินทำกิน กล่าวว่า การเดินทางมารวมตัวกันของกลุ่มตนเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม และชี้แจ้งข้อเท็จจริง โดยที่ผ่านมา พวกตนได้เข้าไปอยู่ภายในสวนปาล์มหมดอายุสัมปทานของบริษัท เจียรวานิช ด้วยความสงบ พร้อมเรียกร้องให้ทางจังหวัดนำที่ดินมาจัดสรรให้แก่ผู้ยากไร้ แต่กลับถูกผู้ที่เสียผลประโยชน์ลอบยิงหมายเอาชีวิต และไม่เคยข่มขู่ สร้างความเดือดร้อนให้แก่ชาวบ้าน ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น กลุ่มภาคีฯ จึงต้องมาเรียกร้องขอความเป็นธรรม และชี้แจงข้อเท็จจริง
นายชูวงศ์ กล่าวอีกว่า หลังจากนี้ก็จะรวบรวมสมาชิกไปยื่นขออนุญาตเก็บหาของป่า ในพื้นที่แปลงหมดอายุการอนุญาตทุกแปลง รวม 11 แปลง โดยให้สมาชิกยื่นขอรายละประมาณ 10 ไร่ เพราะมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 26 สิงหาคม 2546 มีมติว่า ให้สวนปาล์มที่ขอใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ และหมดอายุอนุญาตแล้วให้ยุติการอนุญาต แล้วนำมาจัดสรรให้แก่ราษฎรที่ไม่มีที่ดินทำกินมาใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าว โดยให้จังหวัดได้ดำเนินการทันทีตามมติ แต่จังหวัดก็ยังไม่ดำเนินการใดๆ ต่อพื้นที่ที่หมดสัมปทาน ด้วยเหตุนี้ ทางราษฎรที่ไม่มีที่ดินทำกินจึงขออนุญาตเก็บหาของป่า จนกว่าจังหวัดจะทำการจัดสรรที่ดินให้ต่อไป และในที่สุดได้สลายการชุมนุมด้วยความสงบ