สุราษฎร์ธานี - เกษตรกรชาวสวนยางจังหวัดสุราษฎร์ธานี เมินยาง-ปาล์มราคาตก หันมาเพาะเห็ดฟางปลอดสารพิษจำหน่าย สร้างรายได้วันละกว่า 1,500 บาทต่อหลัง ชาวสวนยอมรับค่าตอบแทนดีกว่าทำยาง-ปาล์มถึงร้อยละ 70
เกษตรกรชาวสวนยางในพื้นที่บ้านน้ำหัก หมู่ 11 ต.น้ำหัก อ.คีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี ได้หันมาเพาะเห็ดฟางจากทะลายปาล์ม โดยใช้กลางร่องสวนปาล์ม สวนยาง ทดแทนราคายาง ปาล์มที่กำลังตกต่ำ ซึ่งผลผลิตที่ได้มีรสชาติเยี่ยม มีรสหวาน เนื้อเหนียวนุ่มกรอบ มีกลิ่นหอมจากฟางข้าว และที่สำคัญเป็นเห็ดฟางปลอดสารพิษ ไม่มีกลิ่นเหม็นสาบของทะลายปาล์มในเนื้อเห็ด เป็นที่ต้องการของตลาด ราคาขาส่งอยู่ที่ 30-50 บาทต่อกิโลกรัม จนตอนนี้กำลังเป็นที่ต้องการของพ่อค้าคนกลางที่แย่งสั่งจองเดินทางมารับถึงบ้าน
นายสังวล ไทรพันธ์ อายุ 43 ปี พร้อมด้วย น.ส.อุไรวรรณ อายุ 40 ปี 2 สามีภรรยาได้เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้มีอาชีพทำสวนยาง สวนปาล์ม และรับซื้อน้ำยางสด เมื่อราคาตก รายได้หดไม่พอเจือจุนครอบครัว ต้องหาอาชีพเสริม จึงได้ไปหาหนังสือการเพาะเห็ดฟางจากร้านสะดวกซื้อมาศึกษาหาความรู้ พร้อมขอคำแนะนำจากผู้รู้ จึงได้ทดลองทำจนประสบผลสำเร็จ โดยไม่ใช้สารเคมีในเพาะเห็ดแต่อย่างใด แต่หันมานำทะลายปาล์มมาหมักน้ำจะให้ผลผลิตเต็มที่ดี และเป็นเห็ดที่ปลอดสารพิษ
ส่วนการบำรุงดูแลเห็ดให้มีน้ำหนัก สีขาวสวย ตนได้ใช้น้ำมะพร้าวอ่อน และไข่ไก่ผสมกันในจำนวนไข่ไก่ 2 ฟอง น้ำมะพร้าวอ่อน 2 ลูกต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีด 3 วันต่อครั้ง ผลผลิตที่ได้พบว่า เห็ดมีความสมบูรณ์เต็มที่ มีดอกใหญ่น้ำหนักดี สีสวย เนื้อนุ่มเหนียว รสหวาน เป็นที่ต้องการของตลาด ราคาขายส่งอยู่ที่กิโลกรัมละ 30-50 บาท สามารถขายได้วันละประมาณ 1,500 บาทต่อผลผลิตเห็ด 1 โรงเรือน ปัจจุบันทำมา 3 เดือน ขยายพื้นที่สร้างเรือนเพาะเห็ดทั้งเรือนเดี่ยว เรือนคู่ จำนวน 10 หลัง สร้างรายได้รวมแล้วกว่า 500,000 บาทต่อเดือน และกำลังขยายเรือนเพาะอย่างต่อเนื่องเมื่อเปรียบเทียบจากการทำสวนยางที่ทำอยู่ จำนวน 7 ไร่ มีรายได้ 1 ปีเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 150,000 ต่อปี ผิดจากการเพาะเห็ดเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ดีกว่าการทำสวนยางถึงร้อยละ 70 เก็บผลผลิต 3 วันคืนทุน
ด้าน นายถาวร พรหมฉิม นายอำเภอคีรีรัฐนิคม ได้กล่าวว่า เห็ดที่ชาวสวนยางนำมาเพาะมีความหอมของกลิ่นฟางข้าว ไม่มีกลิ่นสาบของทะลายปาล์ม เนื้อเหนียวนุ่ม กรอบ มีรสชาติหวานอร่อยไม่เหมือนเห็ดฟางที่อื่น เตรียมส่งนักวิชาการด้านการเกษตรลงมาส่งเสริมให้ความรู้ และให้การรับรองเป็นเห็ดปลอดสารพิศ พร้อมทั้งเร่งส่งเสริมให้เกษตรกรมีการรวมตัวจัดตั้งกลุ่มผลิตเห็ดฟางปลอดสารพิษอย่างจริงจังต่อไป
เกษตรกรชาวสวนยางในพื้นที่บ้านน้ำหัก หมู่ 11 ต.น้ำหัก อ.คีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี ได้หันมาเพาะเห็ดฟางจากทะลายปาล์ม โดยใช้กลางร่องสวนปาล์ม สวนยาง ทดแทนราคายาง ปาล์มที่กำลังตกต่ำ ซึ่งผลผลิตที่ได้มีรสชาติเยี่ยม มีรสหวาน เนื้อเหนียวนุ่มกรอบ มีกลิ่นหอมจากฟางข้าว และที่สำคัญเป็นเห็ดฟางปลอดสารพิษ ไม่มีกลิ่นเหม็นสาบของทะลายปาล์มในเนื้อเห็ด เป็นที่ต้องการของตลาด ราคาขาส่งอยู่ที่ 30-50 บาทต่อกิโลกรัม จนตอนนี้กำลังเป็นที่ต้องการของพ่อค้าคนกลางที่แย่งสั่งจองเดินทางมารับถึงบ้าน
นายสังวล ไทรพันธ์ อายุ 43 ปี พร้อมด้วย น.ส.อุไรวรรณ อายุ 40 ปี 2 สามีภรรยาได้เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้มีอาชีพทำสวนยาง สวนปาล์ม และรับซื้อน้ำยางสด เมื่อราคาตก รายได้หดไม่พอเจือจุนครอบครัว ต้องหาอาชีพเสริม จึงได้ไปหาหนังสือการเพาะเห็ดฟางจากร้านสะดวกซื้อมาศึกษาหาความรู้ พร้อมขอคำแนะนำจากผู้รู้ จึงได้ทดลองทำจนประสบผลสำเร็จ โดยไม่ใช้สารเคมีในเพาะเห็ดแต่อย่างใด แต่หันมานำทะลายปาล์มมาหมักน้ำจะให้ผลผลิตเต็มที่ดี และเป็นเห็ดที่ปลอดสารพิษ
ส่วนการบำรุงดูแลเห็ดให้มีน้ำหนัก สีขาวสวย ตนได้ใช้น้ำมะพร้าวอ่อน และไข่ไก่ผสมกันในจำนวนไข่ไก่ 2 ฟอง น้ำมะพร้าวอ่อน 2 ลูกต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีด 3 วันต่อครั้ง ผลผลิตที่ได้พบว่า เห็ดมีความสมบูรณ์เต็มที่ มีดอกใหญ่น้ำหนักดี สีสวย เนื้อนุ่มเหนียว รสหวาน เป็นที่ต้องการของตลาด ราคาขายส่งอยู่ที่กิโลกรัมละ 30-50 บาท สามารถขายได้วันละประมาณ 1,500 บาทต่อผลผลิตเห็ด 1 โรงเรือน ปัจจุบันทำมา 3 เดือน ขยายพื้นที่สร้างเรือนเพาะเห็ดทั้งเรือนเดี่ยว เรือนคู่ จำนวน 10 หลัง สร้างรายได้รวมแล้วกว่า 500,000 บาทต่อเดือน และกำลังขยายเรือนเพาะอย่างต่อเนื่องเมื่อเปรียบเทียบจากการทำสวนยางที่ทำอยู่ จำนวน 7 ไร่ มีรายได้ 1 ปีเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 150,000 ต่อปี ผิดจากการเพาะเห็ดเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ดีกว่าการทำสวนยางถึงร้อยละ 70 เก็บผลผลิต 3 วันคืนทุน
ด้าน นายถาวร พรหมฉิม นายอำเภอคีรีรัฐนิคม ได้กล่าวว่า เห็ดที่ชาวสวนยางนำมาเพาะมีความหอมของกลิ่นฟางข้าว ไม่มีกลิ่นสาบของทะลายปาล์ม เนื้อเหนียวนุ่ม กรอบ มีรสชาติหวานอร่อยไม่เหมือนเห็ดฟางที่อื่น เตรียมส่งนักวิชาการด้านการเกษตรลงมาส่งเสริมให้ความรู้ และให้การรับรองเป็นเห็ดปลอดสารพิศ พร้อมทั้งเร่งส่งเสริมให้เกษตรกรมีการรวมตัวจัดตั้งกลุ่มผลิตเห็ดฟางปลอดสารพิษอย่างจริงจังต่อไป