ปัตตานี - แม่ทัพภาค 4 ยอมชะลอโครงการพสกนิกรรอบอ่าวปัตตานี แต่ยังไม่เลิกทั้งหมดเพราะยังบริหารจัดการได้ หลังจากได้หารือร่วมกับตัวแทนประมงพื้นบ้าน
วันนี้ (9 ม.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้ากรณีสภาเกษตรกรแห่งชาติ ร่วมกับคณะทำงานด้านกิจการพลเรือนและมวลชน กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้า เป็นผู้นำเสนอเพื่อขอสนับสนุนกรอบวงเงินงบประมาณเกือบ 100 ล้านบาท ได้กำหนดแผนงาน เริ่ม 1 ตุลาคม 2558 นี้ จากรัฐบาลภายใต้ “โครงการพสกนิกรรอบอ่าวปัตตานี สู่สันติสุข” แต่กลับมีบางแผนงานอาจส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประมงพื้นบ้าน จึงเกิดการออกมาเคลื่อนไหวของเครือข่ายประมงพื้นบ้านทั้งจังหวัดปัตตานี เพื่อให้มีการทบทวนโครงการดังกล่าวเสียก่อนเฉพาะกับแผนงานที่ได้ระบุ “แผนการจัดแบ่งพื้นที่ประมง (fishing Ground) และออกใบอนุญาต (Fishing Permit) ให้แก่สหกรณ์แต่ละแห่ง ซึ่งจะนำไปสู่การบริหารจัดการร่วมระหว่างรัฐและชุมชน โดยมีชุมชนเป็นฐาน”
ล่าสุด พล.ท.ปราการ ชลยุทธ แม่ทัพภาค 4 ตัวแทนเครือข่ายประมงพื้นบ้านจังหวัดปัตตานี และผู้ที่มีความเกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมหารือวานนี้ ที่ห้องประชุมค่ายสิรินธร จังหวัดปัตตานี เพื่อรับทราบปัญหา และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อโครงหารดังกล่าว และทางแม่ทัพได้รับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะจากตัวแทนประมงพื้นบ้าน จึงได้กล่าวในที่ประชุมว่า โครงการดังกล่าวเป็นแค่หลักการ ไม่ใช่โครงการที่พร้อมทำ อาจยังจัดการได้อยู่ จึงให้มีการชะลอในเรื่องการเลี้ยงหอยแครงออกไปก่อน สร้างความประทับใจ และชื่นใจให้แก่ตัวแทนเครือข่ายประมงพื้นบ้าน ที่ทางแม่ทัพยอมรับฟังปัญหาของชาวประมงพื้นบ้านในครั้งนี้
ด้านนายมูหามะสุกรี มะสะนิง นายกสมาคมประมงพื้นบ้านจังหวัดปัตตานี กล่าวว่า วันนี้เราปลื้มใจกับพี่น้องชาวประมงเรา เราไปกันทุกอำเภอทั้ง 3 อำเภอ เราคุยเป็นเสียงเดียวกันที่จะแบ่งเป็นสหกรณ์บริหารทะเลหน้าบ้าน หรือทะเลอ่าวปัตตานีหน้าบ้านเรา หรือซีฟูดแบงก์ ที่เราร่วมกันต่อสู้มาที่เราสามารถให้มีการยกเลิกการจับจองมาแล้วเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ที่ผู้ประกอบการ หรือนายทุนใช้เป็นพื้นที่เลี้ยงหอยแครง ที่พวกเราชาวประมงพื้นบ้านสู้มา 5 ปี เราไม่มีทางยอมเป็นอันขาด
วันนี้พวกเราได้ถูกเชิญคุยกับทางกองทัพภาคที่ 4 และกลับเป็นเรื่องที่ดีมากที่ทางกองทัพยอมรับฟังปัญหา และเหตุผลที่พวกเราไม่เห็นด้วย และเราพร้อมที่จะชี้แจงสร้างความเข้าใจร่วมกัน เพราะเราอยากให้ทุกฝ่ายเข้ามาส่งเสริมอาชีพของชาวประมงพื้นบ้าน สร้างงาน สร้างรายได้ เพื่อให้เขามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกว่าปัจจุบันที่เป็นอยู่ โดยเฉพาะช่วงมรสุมเข้ามา พวกเขาออกทะเลไม่ได้ จนทำให้หลายครอบครัวไม่มีงานทำ บางรายถึงกับไม่มีข้าวจะกรอกเข้าหม้อให้ครอบครัวกิน แต่กลับยังไม่มีหน่วยงาน หรือใครเข้ามาจัดการในเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรม
วันนี้ (9 ม.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้ากรณีสภาเกษตรกรแห่งชาติ ร่วมกับคณะทำงานด้านกิจการพลเรือนและมวลชน กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้า เป็นผู้นำเสนอเพื่อขอสนับสนุนกรอบวงเงินงบประมาณเกือบ 100 ล้านบาท ได้กำหนดแผนงาน เริ่ม 1 ตุลาคม 2558 นี้ จากรัฐบาลภายใต้ “โครงการพสกนิกรรอบอ่าวปัตตานี สู่สันติสุข” แต่กลับมีบางแผนงานอาจส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประมงพื้นบ้าน จึงเกิดการออกมาเคลื่อนไหวของเครือข่ายประมงพื้นบ้านทั้งจังหวัดปัตตานี เพื่อให้มีการทบทวนโครงการดังกล่าวเสียก่อนเฉพาะกับแผนงานที่ได้ระบุ “แผนการจัดแบ่งพื้นที่ประมง (fishing Ground) และออกใบอนุญาต (Fishing Permit) ให้แก่สหกรณ์แต่ละแห่ง ซึ่งจะนำไปสู่การบริหารจัดการร่วมระหว่างรัฐและชุมชน โดยมีชุมชนเป็นฐาน”
ล่าสุด พล.ท.ปราการ ชลยุทธ แม่ทัพภาค 4 ตัวแทนเครือข่ายประมงพื้นบ้านจังหวัดปัตตานี และผู้ที่มีความเกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมหารือวานนี้ ที่ห้องประชุมค่ายสิรินธร จังหวัดปัตตานี เพื่อรับทราบปัญหา และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อโครงหารดังกล่าว และทางแม่ทัพได้รับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะจากตัวแทนประมงพื้นบ้าน จึงได้กล่าวในที่ประชุมว่า โครงการดังกล่าวเป็นแค่หลักการ ไม่ใช่โครงการที่พร้อมทำ อาจยังจัดการได้อยู่ จึงให้มีการชะลอในเรื่องการเลี้ยงหอยแครงออกไปก่อน สร้างความประทับใจ และชื่นใจให้แก่ตัวแทนเครือข่ายประมงพื้นบ้าน ที่ทางแม่ทัพยอมรับฟังปัญหาของชาวประมงพื้นบ้านในครั้งนี้
ด้านนายมูหามะสุกรี มะสะนิง นายกสมาคมประมงพื้นบ้านจังหวัดปัตตานี กล่าวว่า วันนี้เราปลื้มใจกับพี่น้องชาวประมงเรา เราไปกันทุกอำเภอทั้ง 3 อำเภอ เราคุยเป็นเสียงเดียวกันที่จะแบ่งเป็นสหกรณ์บริหารทะเลหน้าบ้าน หรือทะเลอ่าวปัตตานีหน้าบ้านเรา หรือซีฟูดแบงก์ ที่เราร่วมกันต่อสู้มาที่เราสามารถให้มีการยกเลิกการจับจองมาแล้วเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ที่ผู้ประกอบการ หรือนายทุนใช้เป็นพื้นที่เลี้ยงหอยแครง ที่พวกเราชาวประมงพื้นบ้านสู้มา 5 ปี เราไม่มีทางยอมเป็นอันขาด
วันนี้พวกเราได้ถูกเชิญคุยกับทางกองทัพภาคที่ 4 และกลับเป็นเรื่องที่ดีมากที่ทางกองทัพยอมรับฟังปัญหา และเหตุผลที่พวกเราไม่เห็นด้วย และเราพร้อมที่จะชี้แจงสร้างความเข้าใจร่วมกัน เพราะเราอยากให้ทุกฝ่ายเข้ามาส่งเสริมอาชีพของชาวประมงพื้นบ้าน สร้างงาน สร้างรายได้ เพื่อให้เขามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกว่าปัจจุบันที่เป็นอยู่ โดยเฉพาะช่วงมรสุมเข้ามา พวกเขาออกทะเลไม่ได้ จนทำให้หลายครอบครัวไม่มีงานทำ บางรายถึงกับไม่มีข้าวจะกรอกเข้าหม้อให้ครอบครัวกิน แต่กลับยังไม่มีหน่วยงาน หรือใครเข้ามาจัดการในเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรม