xs
xsm
sm
md
lg

การปฏิรูปยางพาราไทย (ตอนที่ 1) ดึงจีนร่วมทุนแปรรูปยาง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

(ภาพจากอินเตอร์เน็ต)
โดย..สุนทร รักษ์รงค์ ผู้ประสานงานแนวร่วมกู้ชีพชาวสวนยาง

บริบทของยางพาราไทยได้เปลี่ยนไป จากเดิมเราจะอยู่แค่ทำยางต้นน้ำ หรือแค่ส่งออกยางดิบอย่างเดิมไม่ได้อีกต่อไป ตัวเลขส่งออกยางเกือบ 4 ล้านตัน ในขณะที่นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์แค่เพียง 500,000 ตัน หรือ 14% ของผลผลิตยางธรรมชาติทั้งหมด หากแค่ขยับอุตสาหกรรมยาง ให้เกิดการใช้ยางในประเทศแค่ 1 ล้านตัน กลับสร้างมูลค่ามากกว่ามูลค่าการส่งออกยางดิบในปัจจุบันเสียอีก

ดังนั้น ไทยจะต้องสร้างศูนย์กลางยางล้ออุตสาหกรรมยาง เมืองยาง โดยดึงประเทศจีนมาร่วมลงทุน เพราะจีนเองก็ถูกอเมริกากดดันเรื่องทุ่มตลาด และด้วยเหตุที่ขาดดุลการค้ากับจีนจึงเพิ่มภาษีนำเข้ารถยนต์กับจีนเป็น 24% จีนจึงมองหาลู่ทางเปลี่ยนฐานการผลิตรถยนต์

ประเทศไทยจึงเหมาะที่สุดที่จะมาร่วมทุน ตอนนี้จีนเล็ง ซีพี และเบียร์ช้าง ที่กำลังเข้าสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ เพราะประเทศไทยมียางในมือที่จะป้อนอุตสาหกรรมวงล้อ และอื่นๆ ได้ ยังสามารถเอายางของจีนที่ปลูกในพม่า ลาว เขมร และเวียดนาม เข้ามาป้อนอุตสาหกรรมยางได้

อีกต้นตอของปัญหาที่ผ่านมา คือ การผูกขาดตลาดยางโดย 5 เสือส่งออก ที่ได้จ่ายผลประโยชน์ให้แก่นักการเมือง และข้าราชการในกระทรวงเกษตรฯ เพื่อทำร้ายชาวสวนยางตลอด 50 ปีที่ผ่านมา ตลาดยางกระดาษ ก็เป็นอีกปัญหา ตลาดล่วงหน้าเล็กๆ ของไทย อย่าง AFET ของญี่ปุ่น อย่าง TOCOM และตลาดเซี่ยงไฮ้ ตลาดยางคล้ายตลาดทองคำ คือการปั่นราคาและมีการส่งมอบจริงแค่ 1% เท่านั้น

วิธีแก้คือ ต้องดึงประเทศจีนมาทำตลาดซื้อขายจริง SPOT MARKET ส่งมอบจริง ให้ผู้ผลิตได้พบกับผู้ใช้ยางจริงๆ ไม่ใช่โบรกเกอร์ หรือนายหน้าผูกขาดอย่าง 5 เสือผู้ส่งออก โดยเฉพาะที่ตลาดกลางยางพารานครศรีธรรมราช ทำให้เป็นตลาดชิงเต่าแบบของจีน แต่ปัญหาของชาวสวนยางไทยที่มี 21 ล้านไร่ เป็นรายย่อยเสียส่วนใหญ่ ทำให้สถาบันเกษตรกรไม่มีความเป็นเอกภาพในการรวมยางเลยเสียเปรียบ 5 เสือผู้ส่งออก

ขณะเดียวกัน มีผู้ปลูกรายใหญ่กลายเป็นของรัฐคือ องค์การสวนยาง 41,000 ไร่ และองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้อีกนับแสนไร่ แต่ตัวเลขไม่เปิดเผยเพราะมีขบวนการโกงเพื่อทำเป็นรายได้นอกระบบ ดังนั้น ใน พ.ร.บ.การยางฉบับชาวสวนยาง จึงต้องผนวกเอาสวนยางจาก ออป. มาเป็นฐานเพื่อรวบรวมผลผลิตให้สามารถเปิดตลาดชิงเต่านครศรีธรรมราชได้ โดยสร้างให้องค์การสวนยาง เป็นเสือตัวที่ 6 ในการรวบรวมยางจากสถาบันเกษตร

สรุป การปฏิรูปยางพาราในมิติการตลาด คือ ต้องสร้างตลาดซื้อขายจริง และสร้างอุตสาหกรรมยางภายในประเทศเพื่อลดการส่งออกยางดิบธรรมชาติ และส่งออกสินค้าผลิตภัณฑ์ยาง

(อ่านต่อตอนที่ 2)
 
 

กำลังโหลดความคิดเห็น