คอลัมน์ : โลกที่ซับซ้อน
โดย...ประสาท มีแต้ม
ช่วงปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสเดินทางไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับผลกระทบต่อเกษตรกรอันเนื่องมาจากเหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิดในประเทศญี่ปุ่น เป็นเวลา 8 วัน โดยการสนับสนุนขององค์กรเอ็นจีโอประเทศญี่ปุ่น ที่ชื่อว่า “Japan International Volunteer Center, JVC” หรือศูนย์อาสาสมัครญี่ปุ่น ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2523 โดยมีกิจกรรมเพื่อสนับสนุนภาคประชาชนมากกว่า 20 ประเทศ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อชุมชนที่สันติสุข และมีความยั่งยืนด้วยตนเอง
ผมได้พบหลายประเด็นที่น่าสนใจมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวกับความคิด และอุดมการณ์ของคนหนุ่มสาวที่เป็นความหวังของสังคมในอนาคต จึงขอนำมาเล่าสู่กันฟังเป็นตอนๆ แต่ละตอนจบด้วยในตัวครับ
สถานที่ที่ผมไปเยี่ยมชาวนาอยู่ห่างจากที่ตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (ซึ่งระเบิดเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2554 หลังเหตุการณ์สึนามิหนึ่งวัน) ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ในจังหวัดฟูกุชิมะ ประมาณ 40 กิโลเมตร แต่รังสีของสารกัมมันตรังสีก็ยังอุตส่าห์มาตามรังควานไกลถึงนี่จนถึงวันนี้ซึ่งนานกว่า 3 ปีแล้ว
แผนที่ข้างล่างนี้แสดงทั้งที่ตั้งของหมู่บ้านที่ผม และคณะไปเยือน ที่ตั้งของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ตลอดจนแสดงความเข้มของสารกัมมันตรังสี แต่เรื่องความเข้มของรังสี และผลกระทบจะยังไม่กล่าวถึงเพราะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะซับซ้อนเล็กน้อย สรุปว่าในวันนี้ผ่านมาแล้วกว่า 3 ปีภายในรัศมี 10 กิโลเมตร จากโรงไฟฟ้ารัฐบาลก็ยังไม่อนุญาตให้คนอยู่อาศัย แต่สามารถขับรถยนต์ผ่านได้ ปัจจุบันนี้คนกว่า 1.3 แสนคน ที่ได้อพยพออกไปตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2554 ยังไม่สามารถกลับเข้าไปอยู่อาศัยในบ้านของตนเองได้
สภาพเมืองที่คณะของเราขับรถยนต์ผ่านไปเป็นเมืองร้างครับ ไม่มีคนอยู่อาศัย มีแต่บ้านหลังสวยๆ รถยนต์คันใหม่ๆ จอดทิ้งไว้ตลอดเส้นทางที่ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “รู้สึกหดหู่มาก”
ในตอนนี้ผมจะยังไม่เน้นเรื่องโรงไฟฟ้านะครับ แต่จะเล่าถึงอุดมการณ์ และกิจกรรมของคนรุ่นใหม่ที่ถือว่าเป็น “เมล็ดพันธุ์แห่งความหวัง”เป็นเรื่องสวยๆ งามๆ ด้านจิตใจที่ช่วยให้ชีวิตของเรามีพลังขึ้นมาได้นะครับ
เรามาเริ่มต้นให้ความสนใจกับสุภาพสตรีสองคนในภาพนี้กันก่อนนะครับ ซ้ายมือซึ่งจะเป็นตัวเอกของเรื่องคือ คุณมิซูโกะ ซุเกะโนะ บัณฑิตสาวซึ่งจบการศึกษาด้านพลศึกษา จากมหาวิทยาลัยโตเกียว เมื่อ 5 ปีก่อน สำหรับคนขวามือคือ คุณคาอุรุ โมริโมโตะเป็นเจ้าหน้าที่ของ JVC ซึ่งเป็นทั้งผู้ประสานการดูงานครั้งนี้ และเป็นผู้ทำหน้าที่ล่ามไปด้วยในตัว
คุณมิซูโกะ เป็นลูกชาวนาโดยกำเนิด ปัจจุบันเธออาศัยอยู่กับครอบครัวซึ่งอบอุ่นไปด้วยด้วยพ่อ-แม่ ตา-ยาย และน้องชายรวม 6 คน บ้านหลังนี้อยู่ห่างไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงโตเกียว ประมาณ 260 กิโลเมตร
เมื่อจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชื่อดังแล้ว แทนที่เธอจะเป็นครูพละ หรือทำงานอื่นๆ ตามที่ได้ร่ำเรียนมา แต่เธอได้ตัดสินใจเข้าฝึกฝน และเรียนรู้อาชีพเกษตรกรกับพ่อแม่ของเธอก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิดประมาณ 1 ปี โดยหลักสูตรการฝึกฝนอบรมครั้งนี้ต้องใช้เวลานาน 1 ปี
เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ในตอนนั้นเธอยังไม่มีความรู้เรื่องนิวเคลียร์เลย ด้วยความกลัวเธอจึงอพยพไปอยู่โตเกียวเป็นเวลา 10 วัน ได้รับข้อมูลข่าวสารจากโทรทัศน์ซึ่งเธอเชื่อว่าเป็นข่าวสารที่ถูกกรองมาแล้ว แต่เธออยากจะรู้ความจริงโดยเฉพาะความจริงที่สื่อไม่ได้นำเสนอ เมื่อเธอเริ่มตั้งคำถามกับตัวเอง และความคิดใหม่ๆ ก็พรั่งพรูกันออกมา
“โรงไฟฟ้าที่เกิดอุบัติเหตุตั้งอยู่ในจังหวัดฟูกุชิมะ ไม่ได้ผลิตไฟฟ้าให้ชาวฟูกุชิมะใช้ แต่ผลิตเพื่อป้อนให้ชาวกรุงโตเกียวซึ่งมีความสะดวกสบายมาก คนโตเกียว ถ้ามีเงินก็สามารถซื้อได้ทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ในชนบทไม่ต้องซื้ออาหาร มีข้าวให้กิน มีผักกิน นอกจากนี้ ยังมีสภาพเป็นชุมชนที่เข้มแข็งด้วย”
และแล้วเธอก็ได้ตั้งคำถามเดียวกับที่ปรมาจารย์ด้านปรัชญาที่ยิ่งใหญ่ของโลกได้เคยถามกับสานุศิษย์ทั้งหลายเมื่อ 2 พันกว่าปีก่อนว่า “ความสุขคืออะไร”
หลังเกิดอุบัติเหตุได้ 3 เดือน เธอเริ่มเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสารกัมมันตรังสี จากนั้นก็เริ่มหากิจกรรมทำตามความรู้ความเชื่อของเธอ กิจกรรมแรกของเธอคือ การรับอาสาสมัครเพื่อร่วมกันปลูกต้นทานตะวัน เพราะทราบมาว่า ต้นทานตะวันสามารถดูดเก็บสารซีเซียมซึ่งเป็นสารกัมมันตรังสีที่อันตรายที่ออกมาจากโรงไฟฟ้าได้ ปรากฏว่า มีอาสาสมัครมาร่วมกันปลูกถึง 20 คน
“พวกอาสาสมัครเหล่านี้มีความคิดร่วมกันอยู่อย่างหนึ่งคือ อยากจะช่วยแก้วิกฤตของสถานการณ์ของประเทศ อยากทำอะไรสักอย่างหนึ่ง แต่ก็ไม่รู้ว่าจะทำอะไร อีกอย่างหนึ่งพวกอาสาสมัครเหล่านี้ต่างก็มีความเครียดต่อเหตุการณ์ที่ไม่เคยประสบมาก่อน เมื่อมารวมอยู่ด้วยกันก็สามารถคลายความเครียดลงได้ระดับหนึ่ง”
เธอจัดกิจกรรมให้คนมาร่วมทำในลักษณะนี้เดือนละครั้งโดยเข้าไปใช้ให้มหาวิทยาลัยที่เธอเคยเรียนเป็นผู้ประชาสัมพันธ์ให้ กิจกรรมของเธอคือ การปลูกผักอินทรีย์ และทำอาหารกินกัน มีคนมาจากต่างจังหวัดไกลๆ มาร่วมหลายคน ใช้เวลา 2 วัน 1 คืน ที่นอนก็ใช้อาคารของชุมชน โดยที่รัฐบาลญี่ปุ่นให้การสนับสนุนด้านการเงินด้วยจำนวนหนึ่ง ผู้สมัครต้องเสียเงินคนละประมาณ 3 พันบาท
ต่อมา เธอได้ตัดสินใจจัดตั้งเป็นบริษัทโดยให้ตัวเธอเป็นผู้อำนวยการ ส่วนแม่ของเธอเป็นพนักงาน บริษัทนี้ชื่อเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า Kibo-no-tane (คิโบโนทาเนะ) ซึ่งมีความหมายว่า “เมล็ดพันธุ์แห่งความหวังสำหรับอนาคต (Seed of Hope for the Future)” ภาพข้างล่างนี้มาจากเสื้อยืดที่เธอจัดทำขึ้นในราคาตัวละ 800 บาท ซึ่งผมซื้อติดมือมาด้วยเพราะต้องการจะสนับสนุนความคิดของเธอ
วัตถุประสงค์ในการตั้งบริษัทก็คือ เพื่อส่งเสริมให้คนกลับมาทำนา หรือเป็นเกษตร เธอให้เหตุผลว่า “เพราะเป็นหลักประกันว่ากิจกรรมที่ทำให้คนญี่ปุ่นมีความเข้าใจปัญหาของชาวนา รวมทั้งการส่งเสริมให้คนมาทำนานั้น ไม่ใช่เรื่องทำกันเล่นๆ แต่ต้องทำอย่างจริงจัง และมีความต่อเนื่อง”
จากการทำกิจกรรมของเธออย่างต่อเนื่อง ปรากฏว่า มีคนตัดสินใจมายึดอาชีพเป็นเกษตรกรแล้วจำนวน 5 คน เป้าหมายของเธอคือ การเชื่อมโยงระหว่างคนกับคน และคนกับธรรมชาติ “วันพรุ่งนี้จะมีพนักงานบริษัทที่เกี่ยวกับไอที จำนวน 37 คน จะมาเข้าอบรม”
จากการบอกเล่าของ คุณสนั่น ชูสกูล ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับชาวนาญี่ปุ่นได้เล่าว่า ปัจจุบันคนญี่ปุ่นไม่นิยมทำนา และอพยพไปอยู่ในเมืองใหญ่ จำนวนชาวนาจึงลดลง ปัจจุบันจำนวนคนที่เป็นชาวนาเต็มตัวในญี่ปุ่นมีประมาณ 3% ของประชากรทั้งประเทศเท่านั้น แต่สามารถปลูกข้าวได้ 90% ของความต้องการบริโภคภายในประเทศ นอกจากนี้ คนในชนบทที่มีอาชีพหลักอยู่ในเมืองก็จะทำนาเป็นอาชีพเสริมไปด้วย การทำนาในญี่ปุ่นจะใช้เครื่องจักรทั้งหมดแม้แต่การปักกล้า
คุณมิซูโกะ ได้เล่าต่อไปว่า “ในแต่ละปีที่นี่จะมีหิมะตกหนา 30 เซนติเมตร นานประมาณ 3 เดือน ช่วงนั้นจะปลูกอะไรไม่ได้ แต่เราก็หันไปหารายได้จากการแปรรูปอาหาร เช่นขนมโมจิ”
ผมตั้งคำถามว่า “คุณเรียนมาเพื่อจะเป็นครูพละ แต่หันมาเป็นชาวนาไม่เสียดายสิ่งที่ร่ำเรียนมาหรือ”
เธอตอบว่า ปัจจุบันเธอเป็นวิทยากรอบรมการทำนาก็ได้ทำหน้าที่ครูเหมือนกัน
จากนั้นวงสนทนาก็ได้สอบถามถึงเงินครูจบใหม่ ได้ความว่า ครูจบใหม่จะได้เงินเดือนประมาณ 2 แสนเยน (ประมาณ 7 หมื่นบาท) แต่ถ้าอยู่กรุงโตเกียว ก็จะต้องเสียค่าที่พักเดือนจะ 7 หมื่นเยน ค่าครองชีพในโตเกียวสูงมาก รายได้แค่นี้ก็ต้องประหยัดมากจึงจะอยู่ได้
กลับมาที่ผลกระทบจากกัมมันตรังสี เธอเล่าว่า ตัวเธอเองมีรังสีสะสมอยู่ในตัวที่ 1.3 ไมโครซีเวิร์ต (ซึ่งค่ามาตรฐานต้องไม่เกิน 1ไมโครซีเวิร์ต) ทั้งๆ ที่อยู่ห่างจากโรงไฟฟ้าประมาณ 50 กิโลเมตร
“ก็กังวลอยู่เหมือนกัน แต่ก็พยายามจะไม่คิดมาก”
การตรวจปริมาณรังสีในร่างกาย ถ้าอายุเกิน 18 ปี ก็ต้องเสียค่าตรวจครั้งละประมาณ 3 พันเยน โดยต้องจ่ายเอง เบิกจากใครก็ไม่ได้ รัฐบาลก็ไม่จ่าย บริษัทก็ไม่รับผิดชอบ
เท่าที่ผมดูจากสายตา ที่ดินที่ต้องลอกหน้าดินที่ปนเปื้อนรังสีประมาณ 1 ไร่ โดยลอกออกประมาณ 5 เซนติเมตร แล้วนำไปใส่ไว้ในถุงดำ (ดังรูป)
สิ่งที่ไม่น่าเชื่อก็คือ ค่าใช้จ่ายในการเก็บดินกล่าวซึ่งมีประมาณ 2 เท่าของที่เห็นภาพ ต้องเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 5 แสนบาท (ย้ำ บาทนะครับ) แต่รัฐบาลญี่ปุ่นเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายส่วนนี้ โดยบริษัทโรงไฟฟ้า (คือบริษัท Tepco) เป็นผู้รับผิดชอบหรือไม่ ผมไม่ทราบครับ
ระหว่างสองข้างทางเราจะเห็นถุงดำในสภาพแบบนี้เต็มไปหมด โดยที่ยังไม่รู้ว่าจะเอาไปเก็บไว้ที่ไหน เท่าที่ผมค้นข้อมูลพบว่า สารซีเซียม 137 จะสลายตัวลดลงครึ่งหนึ่ง (ครึ่งชีวิต) ต้องใช้เวลา 30 ปี
ลองจินตนาการเล่นๆ ดูว่า พื้นที่ประมาณ 1 ไร่ เสียค่าใช้จ่ายสูงถึง 5 แสนบาท แล้วในรัศมี 50 กิโลเมตรจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าใด
เมื่อเห็นร่างกายของเธอออกจะแข็งแรง ผมถามว่า “เป็นนักกีฬาหรือเปล่า”
เธอตอบว่า “เป็นนักเซปักตะกร้อ” แต่ไม่ได้บอกว่าระดับไหน และเธอก็เคยไปเที่ยวเมืองไทยด้วย
ผมเก็บภาพในฟาร์มของเธอมาให้ดูครับ ภาพแรงเป็นแปลงมะเขือเทศ อยู่ในโรงเรือนที่ทำด้วยแผ่นพลาสติกหนา (ราคามะเขือเทศในตลาดกิโลกรัม 300 บาท)
เท่าที่ผมเห็นจากบ้านชาวนา 3 ราย ทุกรายมีรถแทรกเตอร์ รถปลูกข้าว และรถใช้สอย (ไม่เหมือนรถกระบะ - คันที่ถูกบัง) ทุกราย
คนที่กำลังตัดหญ้าคือ อาสาสมัครมาจากประเทศเซอร์เบีย (ชาติเดียวนักเทนนิสมือหนึ่งของโลก) อาสาสมัครคนนี้มาช่วยอยู่ประมาณ 2 เดือนแล้ว โดยมาทุกปีตั้งแต่ก่อนจะมีระเบิดโรงไฟฟ้า เขาเล่าว่า “เป็นเพื่อนสนิทกับครอบครัวซุเกะโนะ”
ภาพสุดท้ายคือ สภาพแปลงนา แปลงๆ เล็กๆ โดยไม่ทราบว่าเขตแดนของคุณมิซูโกะไปถึงไหน
เธอได้สรุปความตั้งใจในกิจกรรมของเธอว่า “ต้องการจะสื่อสารความหมายของชีวิต และให้คนได้เข้าใจสภาพที่แท้จริงของจังหวัดฟูกุชิมะ และเป็นการเปิดโอกาสให้คนได้คิด ต้องการให้คนรุ่นใหม่มาทำนา”
และประโยคสุดท้ายที่ผมบันทึกไว้ได้คือ “คนรุ่นใหม่อยากอยู่ในชนบท ไม่อยากอยู่ในกรุงโตเกียว” โดยที่ผมก็สับสนว่า เป็นความคิดความรู้สึกของตัวเธอเอง หรือเป็นความหวังของเธอต่อคนรุ่นใหม่คนอื่นกันแน่
ผมได้แต่หวังว่า “เมล็ดพันธุ์แห่งความหวัง” จะงอกงามเติบใหญ่ต่อไป ไม่เพียงแต่ในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น แต่จะกระจายไปสู่ประเทศอื่นๆ ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยซึ่งกำลังเดินตามรอยความผิดพลาดของประเทศญี่ปุ่นอย่างไม่ลืมหูลืมตา
โดย...ประสาท มีแต้ม
ช่วงปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสเดินทางไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับผลกระทบต่อเกษตรกรอันเนื่องมาจากเหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิดในประเทศญี่ปุ่น เป็นเวลา 8 วัน โดยการสนับสนุนขององค์กรเอ็นจีโอประเทศญี่ปุ่น ที่ชื่อว่า “Japan International Volunteer Center, JVC” หรือศูนย์อาสาสมัครญี่ปุ่น ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2523 โดยมีกิจกรรมเพื่อสนับสนุนภาคประชาชนมากกว่า 20 ประเทศ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อชุมชนที่สันติสุข และมีความยั่งยืนด้วยตนเอง
ผมได้พบหลายประเด็นที่น่าสนใจมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวกับความคิด และอุดมการณ์ของคนหนุ่มสาวที่เป็นความหวังของสังคมในอนาคต จึงขอนำมาเล่าสู่กันฟังเป็นตอนๆ แต่ละตอนจบด้วยในตัวครับ
สถานที่ที่ผมไปเยี่ยมชาวนาอยู่ห่างจากที่ตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (ซึ่งระเบิดเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2554 หลังเหตุการณ์สึนามิหนึ่งวัน) ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ในจังหวัดฟูกุชิมะ ประมาณ 40 กิโลเมตร แต่รังสีของสารกัมมันตรังสีก็ยังอุตส่าห์มาตามรังควานไกลถึงนี่จนถึงวันนี้ซึ่งนานกว่า 3 ปีแล้ว
แผนที่ข้างล่างนี้แสดงทั้งที่ตั้งของหมู่บ้านที่ผม และคณะไปเยือน ที่ตั้งของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ตลอดจนแสดงความเข้มของสารกัมมันตรังสี แต่เรื่องความเข้มของรังสี และผลกระทบจะยังไม่กล่าวถึงเพราะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะซับซ้อนเล็กน้อย สรุปว่าในวันนี้ผ่านมาแล้วกว่า 3 ปีภายในรัศมี 10 กิโลเมตร จากโรงไฟฟ้ารัฐบาลก็ยังไม่อนุญาตให้คนอยู่อาศัย แต่สามารถขับรถยนต์ผ่านได้ ปัจจุบันนี้คนกว่า 1.3 แสนคน ที่ได้อพยพออกไปตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2554 ยังไม่สามารถกลับเข้าไปอยู่อาศัยในบ้านของตนเองได้
สภาพเมืองที่คณะของเราขับรถยนต์ผ่านไปเป็นเมืองร้างครับ ไม่มีคนอยู่อาศัย มีแต่บ้านหลังสวยๆ รถยนต์คันใหม่ๆ จอดทิ้งไว้ตลอดเส้นทางที่ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “รู้สึกหดหู่มาก”
ในตอนนี้ผมจะยังไม่เน้นเรื่องโรงไฟฟ้านะครับ แต่จะเล่าถึงอุดมการณ์ และกิจกรรมของคนรุ่นใหม่ที่ถือว่าเป็น “เมล็ดพันธุ์แห่งความหวัง”เป็นเรื่องสวยๆ งามๆ ด้านจิตใจที่ช่วยให้ชีวิตของเรามีพลังขึ้นมาได้นะครับ
เรามาเริ่มต้นให้ความสนใจกับสุภาพสตรีสองคนในภาพนี้กันก่อนนะครับ ซ้ายมือซึ่งจะเป็นตัวเอกของเรื่องคือ คุณมิซูโกะ ซุเกะโนะ บัณฑิตสาวซึ่งจบการศึกษาด้านพลศึกษา จากมหาวิทยาลัยโตเกียว เมื่อ 5 ปีก่อน สำหรับคนขวามือคือ คุณคาอุรุ โมริโมโตะเป็นเจ้าหน้าที่ของ JVC ซึ่งเป็นทั้งผู้ประสานการดูงานครั้งนี้ และเป็นผู้ทำหน้าที่ล่ามไปด้วยในตัว
คุณมิซูโกะ เป็นลูกชาวนาโดยกำเนิด ปัจจุบันเธออาศัยอยู่กับครอบครัวซึ่งอบอุ่นไปด้วยด้วยพ่อ-แม่ ตา-ยาย และน้องชายรวม 6 คน บ้านหลังนี้อยู่ห่างไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงโตเกียว ประมาณ 260 กิโลเมตร
เมื่อจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชื่อดังแล้ว แทนที่เธอจะเป็นครูพละ หรือทำงานอื่นๆ ตามที่ได้ร่ำเรียนมา แต่เธอได้ตัดสินใจเข้าฝึกฝน และเรียนรู้อาชีพเกษตรกรกับพ่อแม่ของเธอก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิดประมาณ 1 ปี โดยหลักสูตรการฝึกฝนอบรมครั้งนี้ต้องใช้เวลานาน 1 ปี
เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ในตอนนั้นเธอยังไม่มีความรู้เรื่องนิวเคลียร์เลย ด้วยความกลัวเธอจึงอพยพไปอยู่โตเกียวเป็นเวลา 10 วัน ได้รับข้อมูลข่าวสารจากโทรทัศน์ซึ่งเธอเชื่อว่าเป็นข่าวสารที่ถูกกรองมาแล้ว แต่เธออยากจะรู้ความจริงโดยเฉพาะความจริงที่สื่อไม่ได้นำเสนอ เมื่อเธอเริ่มตั้งคำถามกับตัวเอง และความคิดใหม่ๆ ก็พรั่งพรูกันออกมา
“โรงไฟฟ้าที่เกิดอุบัติเหตุตั้งอยู่ในจังหวัดฟูกุชิมะ ไม่ได้ผลิตไฟฟ้าให้ชาวฟูกุชิมะใช้ แต่ผลิตเพื่อป้อนให้ชาวกรุงโตเกียวซึ่งมีความสะดวกสบายมาก คนโตเกียว ถ้ามีเงินก็สามารถซื้อได้ทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ในชนบทไม่ต้องซื้ออาหาร มีข้าวให้กิน มีผักกิน นอกจากนี้ ยังมีสภาพเป็นชุมชนที่เข้มแข็งด้วย”
และแล้วเธอก็ได้ตั้งคำถามเดียวกับที่ปรมาจารย์ด้านปรัชญาที่ยิ่งใหญ่ของโลกได้เคยถามกับสานุศิษย์ทั้งหลายเมื่อ 2 พันกว่าปีก่อนว่า “ความสุขคืออะไร”
หลังเกิดอุบัติเหตุได้ 3 เดือน เธอเริ่มเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสารกัมมันตรังสี จากนั้นก็เริ่มหากิจกรรมทำตามความรู้ความเชื่อของเธอ กิจกรรมแรกของเธอคือ การรับอาสาสมัครเพื่อร่วมกันปลูกต้นทานตะวัน เพราะทราบมาว่า ต้นทานตะวันสามารถดูดเก็บสารซีเซียมซึ่งเป็นสารกัมมันตรังสีที่อันตรายที่ออกมาจากโรงไฟฟ้าได้ ปรากฏว่า มีอาสาสมัครมาร่วมกันปลูกถึง 20 คน
“พวกอาสาสมัครเหล่านี้มีความคิดร่วมกันอยู่อย่างหนึ่งคือ อยากจะช่วยแก้วิกฤตของสถานการณ์ของประเทศ อยากทำอะไรสักอย่างหนึ่ง แต่ก็ไม่รู้ว่าจะทำอะไร อีกอย่างหนึ่งพวกอาสาสมัครเหล่านี้ต่างก็มีความเครียดต่อเหตุการณ์ที่ไม่เคยประสบมาก่อน เมื่อมารวมอยู่ด้วยกันก็สามารถคลายความเครียดลงได้ระดับหนึ่ง”
เธอจัดกิจกรรมให้คนมาร่วมทำในลักษณะนี้เดือนละครั้งโดยเข้าไปใช้ให้มหาวิทยาลัยที่เธอเคยเรียนเป็นผู้ประชาสัมพันธ์ให้ กิจกรรมของเธอคือ การปลูกผักอินทรีย์ และทำอาหารกินกัน มีคนมาจากต่างจังหวัดไกลๆ มาร่วมหลายคน ใช้เวลา 2 วัน 1 คืน ที่นอนก็ใช้อาคารของชุมชน โดยที่รัฐบาลญี่ปุ่นให้การสนับสนุนด้านการเงินด้วยจำนวนหนึ่ง ผู้สมัครต้องเสียเงินคนละประมาณ 3 พันบาท
ต่อมา เธอได้ตัดสินใจจัดตั้งเป็นบริษัทโดยให้ตัวเธอเป็นผู้อำนวยการ ส่วนแม่ของเธอเป็นพนักงาน บริษัทนี้ชื่อเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า Kibo-no-tane (คิโบโนทาเนะ) ซึ่งมีความหมายว่า “เมล็ดพันธุ์แห่งความหวังสำหรับอนาคต (Seed of Hope for the Future)” ภาพข้างล่างนี้มาจากเสื้อยืดที่เธอจัดทำขึ้นในราคาตัวละ 800 บาท ซึ่งผมซื้อติดมือมาด้วยเพราะต้องการจะสนับสนุนความคิดของเธอ
วัตถุประสงค์ในการตั้งบริษัทก็คือ เพื่อส่งเสริมให้คนกลับมาทำนา หรือเป็นเกษตร เธอให้เหตุผลว่า “เพราะเป็นหลักประกันว่ากิจกรรมที่ทำให้คนญี่ปุ่นมีความเข้าใจปัญหาของชาวนา รวมทั้งการส่งเสริมให้คนมาทำนานั้น ไม่ใช่เรื่องทำกันเล่นๆ แต่ต้องทำอย่างจริงจัง และมีความต่อเนื่อง”
จากการทำกิจกรรมของเธออย่างต่อเนื่อง ปรากฏว่า มีคนตัดสินใจมายึดอาชีพเป็นเกษตรกรแล้วจำนวน 5 คน เป้าหมายของเธอคือ การเชื่อมโยงระหว่างคนกับคน และคนกับธรรมชาติ “วันพรุ่งนี้จะมีพนักงานบริษัทที่เกี่ยวกับไอที จำนวน 37 คน จะมาเข้าอบรม”
จากการบอกเล่าของ คุณสนั่น ชูสกูล ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับชาวนาญี่ปุ่นได้เล่าว่า ปัจจุบันคนญี่ปุ่นไม่นิยมทำนา และอพยพไปอยู่ในเมืองใหญ่ จำนวนชาวนาจึงลดลง ปัจจุบันจำนวนคนที่เป็นชาวนาเต็มตัวในญี่ปุ่นมีประมาณ 3% ของประชากรทั้งประเทศเท่านั้น แต่สามารถปลูกข้าวได้ 90% ของความต้องการบริโภคภายในประเทศ นอกจากนี้ คนในชนบทที่มีอาชีพหลักอยู่ในเมืองก็จะทำนาเป็นอาชีพเสริมไปด้วย การทำนาในญี่ปุ่นจะใช้เครื่องจักรทั้งหมดแม้แต่การปักกล้า
คุณมิซูโกะ ได้เล่าต่อไปว่า “ในแต่ละปีที่นี่จะมีหิมะตกหนา 30 เซนติเมตร นานประมาณ 3 เดือน ช่วงนั้นจะปลูกอะไรไม่ได้ แต่เราก็หันไปหารายได้จากการแปรรูปอาหาร เช่นขนมโมจิ”
ผมตั้งคำถามว่า “คุณเรียนมาเพื่อจะเป็นครูพละ แต่หันมาเป็นชาวนาไม่เสียดายสิ่งที่ร่ำเรียนมาหรือ”
เธอตอบว่า ปัจจุบันเธอเป็นวิทยากรอบรมการทำนาก็ได้ทำหน้าที่ครูเหมือนกัน
จากนั้นวงสนทนาก็ได้สอบถามถึงเงินครูจบใหม่ ได้ความว่า ครูจบใหม่จะได้เงินเดือนประมาณ 2 แสนเยน (ประมาณ 7 หมื่นบาท) แต่ถ้าอยู่กรุงโตเกียว ก็จะต้องเสียค่าที่พักเดือนจะ 7 หมื่นเยน ค่าครองชีพในโตเกียวสูงมาก รายได้แค่นี้ก็ต้องประหยัดมากจึงจะอยู่ได้
กลับมาที่ผลกระทบจากกัมมันตรังสี เธอเล่าว่า ตัวเธอเองมีรังสีสะสมอยู่ในตัวที่ 1.3 ไมโครซีเวิร์ต (ซึ่งค่ามาตรฐานต้องไม่เกิน 1ไมโครซีเวิร์ต) ทั้งๆ ที่อยู่ห่างจากโรงไฟฟ้าประมาณ 50 กิโลเมตร
“ก็กังวลอยู่เหมือนกัน แต่ก็พยายามจะไม่คิดมาก”
การตรวจปริมาณรังสีในร่างกาย ถ้าอายุเกิน 18 ปี ก็ต้องเสียค่าตรวจครั้งละประมาณ 3 พันเยน โดยต้องจ่ายเอง เบิกจากใครก็ไม่ได้ รัฐบาลก็ไม่จ่าย บริษัทก็ไม่รับผิดชอบ
เท่าที่ผมดูจากสายตา ที่ดินที่ต้องลอกหน้าดินที่ปนเปื้อนรังสีประมาณ 1 ไร่ โดยลอกออกประมาณ 5 เซนติเมตร แล้วนำไปใส่ไว้ในถุงดำ (ดังรูป)
สิ่งที่ไม่น่าเชื่อก็คือ ค่าใช้จ่ายในการเก็บดินกล่าวซึ่งมีประมาณ 2 เท่าของที่เห็นภาพ ต้องเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 5 แสนบาท (ย้ำ บาทนะครับ) แต่รัฐบาลญี่ปุ่นเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายส่วนนี้ โดยบริษัทโรงไฟฟ้า (คือบริษัท Tepco) เป็นผู้รับผิดชอบหรือไม่ ผมไม่ทราบครับ
ระหว่างสองข้างทางเราจะเห็นถุงดำในสภาพแบบนี้เต็มไปหมด โดยที่ยังไม่รู้ว่าจะเอาไปเก็บไว้ที่ไหน เท่าที่ผมค้นข้อมูลพบว่า สารซีเซียม 137 จะสลายตัวลดลงครึ่งหนึ่ง (ครึ่งชีวิต) ต้องใช้เวลา 30 ปี
ลองจินตนาการเล่นๆ ดูว่า พื้นที่ประมาณ 1 ไร่ เสียค่าใช้จ่ายสูงถึง 5 แสนบาท แล้วในรัศมี 50 กิโลเมตรจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าใด
เมื่อเห็นร่างกายของเธอออกจะแข็งแรง ผมถามว่า “เป็นนักกีฬาหรือเปล่า”
เธอตอบว่า “เป็นนักเซปักตะกร้อ” แต่ไม่ได้บอกว่าระดับไหน และเธอก็เคยไปเที่ยวเมืองไทยด้วย
ผมเก็บภาพในฟาร์มของเธอมาให้ดูครับ ภาพแรงเป็นแปลงมะเขือเทศ อยู่ในโรงเรือนที่ทำด้วยแผ่นพลาสติกหนา (ราคามะเขือเทศในตลาดกิโลกรัม 300 บาท)
เท่าที่ผมเห็นจากบ้านชาวนา 3 ราย ทุกรายมีรถแทรกเตอร์ รถปลูกข้าว และรถใช้สอย (ไม่เหมือนรถกระบะ - คันที่ถูกบัง) ทุกราย
คนที่กำลังตัดหญ้าคือ อาสาสมัครมาจากประเทศเซอร์เบีย (ชาติเดียวนักเทนนิสมือหนึ่งของโลก) อาสาสมัครคนนี้มาช่วยอยู่ประมาณ 2 เดือนแล้ว โดยมาทุกปีตั้งแต่ก่อนจะมีระเบิดโรงไฟฟ้า เขาเล่าว่า “เป็นเพื่อนสนิทกับครอบครัวซุเกะโนะ”
ภาพสุดท้ายคือ สภาพแปลงนา แปลงๆ เล็กๆ โดยไม่ทราบว่าเขตแดนของคุณมิซูโกะไปถึงไหน
เธอได้สรุปความตั้งใจในกิจกรรมของเธอว่า “ต้องการจะสื่อสารความหมายของชีวิต และให้คนได้เข้าใจสภาพที่แท้จริงของจังหวัดฟูกุชิมะ และเป็นการเปิดโอกาสให้คนได้คิด ต้องการให้คนรุ่นใหม่มาทำนา”
และประโยคสุดท้ายที่ผมบันทึกไว้ได้คือ “คนรุ่นใหม่อยากอยู่ในชนบท ไม่อยากอยู่ในกรุงโตเกียว” โดยที่ผมก็สับสนว่า เป็นความคิดความรู้สึกของตัวเธอเอง หรือเป็นความหวังของเธอต่อคนรุ่นใหม่คนอื่นกันแน่
ผมได้แต่หวังว่า “เมล็ดพันธุ์แห่งความหวัง” จะงอกงามเติบใหญ่ต่อไป ไม่เพียงแต่ในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น แต่จะกระจายไปสู่ประเทศอื่นๆ ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยซึ่งกำลังเดินตามรอยความผิดพลาดของประเทศญี่ปุ่นอย่างไม่ลืมหูลืมตา