โดย...นักข่าวชายขอบ
ประปาไม่ไหล ไม่มีน้ำซ้ำซากเป็นรอบที่เท่าไหร่ไม่อยากจะนับเสียแล้ว หลังจาก 3 ปีเศษที่เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ภายใต้การบริหารงานของ นายเชาววัศน์ เสนพงศ์ ที่ถูกเลือกตั้งเข้ามากุมตำแหน่งนายกเทศมนตรีนครนครศรีธรรมราช จะปฏิเสธความรับผิดชอบในตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งนี้ ไปเสียไม่ได้เลย แม้ว่าเขาจะเคยลั่นวาจาไว้ว่า “ผมไม่รู้ลูกน้องไม่รายงาน ถ้ารายงานผมรู้ไม่มีปัญหาแน่” เป็นสิ่งที่เขาบอกแก่เราไว้เมื่อคราววิกฤตการใช้น้ำของชาวเทศบาลนครนครศรีธรรมราช และใกล้เคียง เมื่อไม่กี่เดือนก่อน และเขาเร่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำใหม่ 4 ตัว ในราคาหลายล้านบาท ที่เชื่อว่านั่นคือการแก้ปัญหา
กว่า 2 สัปดาห์แล้ว ที่ประปาเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ไม่สามารถส่งจ่ายน้ำไปยังผู้ใช้น้ำในหลายพื้นที่ของเทศบาลได้ รวมไปถึง อปท.ใกล้เคียงรอบนอก โดยเฉพาะในโซนฝั่งทิศใต้ของเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช หลายฝ่ายต้องเร่งนำน้ำเข้าไปแจกจ่ายให้แก่ประชาชน ขณะที่การแก้ไขปัญหาของเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ไม่ได้ขยับออกไปจากกรอบแนวคิดที่ว่าความผิดพลาดเป็นของคนอื่น
การเคลื่อนไหวของสมาชิกสภาเทศบาลนครนครศรีธรรมราช จึงเลือกที่จะนำชาวบ้านเข้ายื่นหนังสือต่อ นายสกล จันทรักษ์ ปลัดจังหวัดนครศรีธรรมราช อ้างเหตุผลหลังจากหลายพื้นที่ในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ไม่มีน้ำประปาผลิตโดยเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นระบบจ่ายน้ำหลักที่ชาวบ้านใช้เพียงแหล่งเดียวเริ่มขาดแคลน หลายจุดน้ำหยุดไหลโดยสิ้นเชิง โดยอ้างว่า สาเหตุนั้นเกิดจากชุมชนที่อยู่เหนือต้นน้ำท่าดี ซึ่งเป็นน้ำดิบสำหรับผลิตประปาของเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ชาวบ้าน และเกษตรกรได้ร่วมกันจัดทำฝายชะลอน้ำหลายจุดทำให้ขาดแคลนน้ำที่จะผลิตประปา
นายภูริทัต รัตนพาหุ ส.ท.นครนครศรีธรรมราช เขต 1 พร้อมชาวบ้านร่วม 30 คน มายืนถือป้ายร้องเรียนต่อผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช และได้ลงนามในหนังสือร้องเรียน ในฐานะตัวแทนประชาชน ระบุผ่านหนังสือร้องเรียนของเขาว่า ก่อนหน้าในฐานะ ส.ท.ได้สอบถามไปยังสำนักการประปาเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ได้รับคำตอบว่า ไม่มีน้ำดิบผลิต เนื่องจากชุมชนต้นน้ำมีการปิดกั้นฝายต่างๆ เป็นจำนวนมาก รวมทั้งชลประทานได้ปิดประตูฝายท่าดี ซึ่งเป็นฝายขนาดใหญ่ ซึ่งได้ปิดกั้นประตูน้ำไม่ยอมเปิดมาให้แก่ปลายน้ำ
เหล่านี้เป็นเหตุผลหลัก ที่ ส.ท.รายนี้ ได้ยื่นหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ผ่านปลัดจังหวัดนครศรีธรรมราช แต่กลับไม่ได้บอกว่า ที่ผ่านมา เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ได้บริหารจัดการน้ำที่ไหลเข้าในพื้นที่เทศบาลอย่างไรบ้าง ซึ่งเป็นแหล่งน้ำดิบเพียงแห่งเดียวที่นำมาผลิตประปา หรือการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้ใช้น้ำในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราชอย่างไร เพื่อไม่ให้ประชาชนเดือดร้อน
3 ปีที่ผ่านมา เทศบาลนครนครศรีธรรมราช เลือกที่จะเน้นโครงการจัดจ้างการขุดลอกคูคลองสายสำคัญต่างๆ เป็นรายปี เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ขุดง่ายจ่ายคล่อง แต่ที่สำคัญไม่ได้ฉุกคิดเลยว่า การไหลของน้ำตามธรรมชาตินั้นย่อมที่จะต้องมีสิ่งกีดขวางโค้งน้ำ คุ้งน้ำต่างๆ ผ่านมาบน้ำ วังน้ำ เป็นการชะลอน้ำโดยธรรมชาติ หรือแม้กระทั่งไม้ริมทางน้ำ ที่แบ่งเป็นไม้กลางน้ำ ไม้ชายน้ำ หรือไม้ริมตลิ่งล้วนแต่มีบทบาทตามธรรมชาติในการชะลอน้ำ ให้มีน้ำใช้ตลอดปีได้ทั้งสิ้น สายน้ำเมื่อไหลผ่านชุมชนเมืองที่ถูกขุดลอกจนโล่งเตียน น้ำปริมาณมหาศาลจึงไหลผ่านไปออกปากอ่าวได้อย่างรวดเร็ว ที่สำคัญน้ำนั้นได้ไหลไปอย่างไร้ประโยชน์
หลายชุมชนชนต้นน้ำ จึงเลือกที่จะบริหารจัดการน้ำด้วยตัวเอง จากภาวะน้ำแล้งส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต โดยเฉพาะชุมชนเกษตรกรรมเหนือลำน้ำท่าดี ที่มีต้นน้ำจากเทือกเขาหลวงนครศรีธรรมราช มาแต่โบร่ำโบราณ ถือเป็นเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงชาวนครศรีธรรมราช ผ่านลำคลองสายเล็กสายน้อยหลายสายมายาวนาน สืบค้นลงไปได้ว่า บรรพบุรุษได้ริเริ่มใช้ภูมิปัญญาทำฝายชะลอน้ำให้น้ำไหลผ่านเข้าเรือกสวนไร่นา
ยุคสมัยผ่านไป ธรรมชาติเปลี่ยนแปลง ชุมชนเริ่มฉุกคิด และรับรู้ถึงความแห้งแล้ง “ฝายมีชีวิต” ได้ถูกริเริ่มขึ้นอย่างเป็นระบบ ด้วยวิถีของชุมชน ฝายแบบภูมิปัญญาบรรพบุรุษได้ถูกสร้างขึ้นหลายจุดด้วยมือของชุมชน และแรงสนับสนุนจากหลายฝ่าย เป็นรูปแบบของฝายน้ำล้นที่ลดหลั่นลงตามความสูงของต้นน้ำ ลดหลั่นมายังปลายน้ำ และให้น้ำไหลผ่านได้แบบขั้นบันไดชะลอน้ำไว้ใช้ได้อย่างสมบูรณ์ทุกพื้นที่
ชุมชนที่ริเริ่มนับแต่คีรีวงเป็นต้นมา จนถึงไชยมนตรี มะม่วงสองต้น ต่างเริ่มมีความชุ่มชื้นฟื้นคืนน้ำได้หมุนไหลเข้าสู่ทางน้ำต่างๆ ได้มากขึ้น เรือกสวนไร่นามีน้ำใช้ในระบบเกษตรกรรม คนมีน้ำอุปโภค น้ำที่ล้นจากแต่ละฝ่ายได้ถูกชะลอไปตามลำดับทุกขั้นตอน เกิดจากความร่วมมือกระสอบทราย ไม้ไผ่ เชือก แรงคน อีกสารพัดต่างร่วมมือกัน คนละไม้ละมือทุกฝ่ายมีส่วนร่วม แต่เมื่อมาถึงเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช จุดสูบน้ำใหญ่ที่โรงสูบน้ำประตูชัย อ้างว่ามีน้ำดิบไม่เพียงพอต่อการสูบผลิต เลือกที่จะไม่ทำอะไรในการแก้ไขปัญหา กลับเลือกที่จะกล่าวโทษชุมชนต้นน้ำ ที่ไม่ปล่อยน้ำมาให้ ทั้งที่น้ำล้นข้ามสันฝายมาให้ทุกวัน
วิสัยทัศน์กว้างไกลที่กำลังมองหาแหล่งผลิตน้ำดิบ 500-600 ไร่ หรือโครงการมูลค่าหลายร้อยล้าน เพื่อจัดการระบบประปาเทศบาลนครนครศรีธรรมราชเสียใหม่ แต่นั่นยังอยู่ในอากาศ หรือกระดาษ และความฝัน แต่น้ำที่ชาวบ้านไม่สามารถใช้ได้สวนทางกับค่าน้ำที่ขึ้นราคามาแบบไม่รู้ตัว เป็นความเดือดร้อนที่ชาวบ้านได้รับ ในวันนี้กลับไม่ได้รับการแก้ไข ประโยคที่ว่า “อยู่ในระหว่างการแก้ไข” จึงไม่ใช่คำตอบ แต่คำตอบสุดท้ายในสายน้ำเดียวกัน “ฝายมีชีวิต” ของชุมชนต้นน้ำท่าดี ชาวชุมชนต่างมีบทเรียนเป็นของตัวเอง และริเริ่มที่จะเรียนรู้ แล้วจึงลงมือสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาให้แก่ชุมชนแบบพึ่งพาตนเอง เป็นบริบททางสังคมแบบพัฒนาที่ก้าวหน้า เป็นบทเรียนที่มีชีวิตของสายน้ำ ชุมชน ธรรมชาติ ที่อยู่กันได้อย่างลงตัว
“ฝายมีชีวิต”กำลังกลายเป็นบทเรียนเล่มใหม่ มีเนื้อหาที่เขียนด้วยชุมชน แต่ผู้บริหารเทศบาลนครศรีธรรมราช ไม่เคยคิดที่จะเรียนรู้
ประปาไม่ไหล ไม่มีน้ำซ้ำซากเป็นรอบที่เท่าไหร่ไม่อยากจะนับเสียแล้ว หลังจาก 3 ปีเศษที่เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ภายใต้การบริหารงานของ นายเชาววัศน์ เสนพงศ์ ที่ถูกเลือกตั้งเข้ามากุมตำแหน่งนายกเทศมนตรีนครนครศรีธรรมราช จะปฏิเสธความรับผิดชอบในตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งนี้ ไปเสียไม่ได้เลย แม้ว่าเขาจะเคยลั่นวาจาไว้ว่า “ผมไม่รู้ลูกน้องไม่รายงาน ถ้ารายงานผมรู้ไม่มีปัญหาแน่” เป็นสิ่งที่เขาบอกแก่เราไว้เมื่อคราววิกฤตการใช้น้ำของชาวเทศบาลนครนครศรีธรรมราช และใกล้เคียง เมื่อไม่กี่เดือนก่อน และเขาเร่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำใหม่ 4 ตัว ในราคาหลายล้านบาท ที่เชื่อว่านั่นคือการแก้ปัญหา
กว่า 2 สัปดาห์แล้ว ที่ประปาเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ไม่สามารถส่งจ่ายน้ำไปยังผู้ใช้น้ำในหลายพื้นที่ของเทศบาลได้ รวมไปถึง อปท.ใกล้เคียงรอบนอก โดยเฉพาะในโซนฝั่งทิศใต้ของเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช หลายฝ่ายต้องเร่งนำน้ำเข้าไปแจกจ่ายให้แก่ประชาชน ขณะที่การแก้ไขปัญหาของเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ไม่ได้ขยับออกไปจากกรอบแนวคิดที่ว่าความผิดพลาดเป็นของคนอื่น
การเคลื่อนไหวของสมาชิกสภาเทศบาลนครนครศรีธรรมราช จึงเลือกที่จะนำชาวบ้านเข้ายื่นหนังสือต่อ นายสกล จันทรักษ์ ปลัดจังหวัดนครศรีธรรมราช อ้างเหตุผลหลังจากหลายพื้นที่ในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ไม่มีน้ำประปาผลิตโดยเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นระบบจ่ายน้ำหลักที่ชาวบ้านใช้เพียงแหล่งเดียวเริ่มขาดแคลน หลายจุดน้ำหยุดไหลโดยสิ้นเชิง โดยอ้างว่า สาเหตุนั้นเกิดจากชุมชนที่อยู่เหนือต้นน้ำท่าดี ซึ่งเป็นน้ำดิบสำหรับผลิตประปาของเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ชาวบ้าน และเกษตรกรได้ร่วมกันจัดทำฝายชะลอน้ำหลายจุดทำให้ขาดแคลนน้ำที่จะผลิตประปา
นายภูริทัต รัตนพาหุ ส.ท.นครนครศรีธรรมราช เขต 1 พร้อมชาวบ้านร่วม 30 คน มายืนถือป้ายร้องเรียนต่อผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช และได้ลงนามในหนังสือร้องเรียน ในฐานะตัวแทนประชาชน ระบุผ่านหนังสือร้องเรียนของเขาว่า ก่อนหน้าในฐานะ ส.ท.ได้สอบถามไปยังสำนักการประปาเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ได้รับคำตอบว่า ไม่มีน้ำดิบผลิต เนื่องจากชุมชนต้นน้ำมีการปิดกั้นฝายต่างๆ เป็นจำนวนมาก รวมทั้งชลประทานได้ปิดประตูฝายท่าดี ซึ่งเป็นฝายขนาดใหญ่ ซึ่งได้ปิดกั้นประตูน้ำไม่ยอมเปิดมาให้แก่ปลายน้ำ
เหล่านี้เป็นเหตุผลหลัก ที่ ส.ท.รายนี้ ได้ยื่นหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ผ่านปลัดจังหวัดนครศรีธรรมราช แต่กลับไม่ได้บอกว่า ที่ผ่านมา เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ได้บริหารจัดการน้ำที่ไหลเข้าในพื้นที่เทศบาลอย่างไรบ้าง ซึ่งเป็นแหล่งน้ำดิบเพียงแห่งเดียวที่นำมาผลิตประปา หรือการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้ใช้น้ำในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราชอย่างไร เพื่อไม่ให้ประชาชนเดือดร้อน
3 ปีที่ผ่านมา เทศบาลนครนครศรีธรรมราช เลือกที่จะเน้นโครงการจัดจ้างการขุดลอกคูคลองสายสำคัญต่างๆ เป็นรายปี เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ขุดง่ายจ่ายคล่อง แต่ที่สำคัญไม่ได้ฉุกคิดเลยว่า การไหลของน้ำตามธรรมชาตินั้นย่อมที่จะต้องมีสิ่งกีดขวางโค้งน้ำ คุ้งน้ำต่างๆ ผ่านมาบน้ำ วังน้ำ เป็นการชะลอน้ำโดยธรรมชาติ หรือแม้กระทั่งไม้ริมทางน้ำ ที่แบ่งเป็นไม้กลางน้ำ ไม้ชายน้ำ หรือไม้ริมตลิ่งล้วนแต่มีบทบาทตามธรรมชาติในการชะลอน้ำ ให้มีน้ำใช้ตลอดปีได้ทั้งสิ้น สายน้ำเมื่อไหลผ่านชุมชนเมืองที่ถูกขุดลอกจนโล่งเตียน น้ำปริมาณมหาศาลจึงไหลผ่านไปออกปากอ่าวได้อย่างรวดเร็ว ที่สำคัญน้ำนั้นได้ไหลไปอย่างไร้ประโยชน์
หลายชุมชนชนต้นน้ำ จึงเลือกที่จะบริหารจัดการน้ำด้วยตัวเอง จากภาวะน้ำแล้งส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต โดยเฉพาะชุมชนเกษตรกรรมเหนือลำน้ำท่าดี ที่มีต้นน้ำจากเทือกเขาหลวงนครศรีธรรมราช มาแต่โบร่ำโบราณ ถือเป็นเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงชาวนครศรีธรรมราช ผ่านลำคลองสายเล็กสายน้อยหลายสายมายาวนาน สืบค้นลงไปได้ว่า บรรพบุรุษได้ริเริ่มใช้ภูมิปัญญาทำฝายชะลอน้ำให้น้ำไหลผ่านเข้าเรือกสวนไร่นา
ยุคสมัยผ่านไป ธรรมชาติเปลี่ยนแปลง ชุมชนเริ่มฉุกคิด และรับรู้ถึงความแห้งแล้ง “ฝายมีชีวิต” ได้ถูกริเริ่มขึ้นอย่างเป็นระบบ ด้วยวิถีของชุมชน ฝายแบบภูมิปัญญาบรรพบุรุษได้ถูกสร้างขึ้นหลายจุดด้วยมือของชุมชน และแรงสนับสนุนจากหลายฝ่าย เป็นรูปแบบของฝายน้ำล้นที่ลดหลั่นลงตามความสูงของต้นน้ำ ลดหลั่นมายังปลายน้ำ และให้น้ำไหลผ่านได้แบบขั้นบันไดชะลอน้ำไว้ใช้ได้อย่างสมบูรณ์ทุกพื้นที่
ชุมชนที่ริเริ่มนับแต่คีรีวงเป็นต้นมา จนถึงไชยมนตรี มะม่วงสองต้น ต่างเริ่มมีความชุ่มชื้นฟื้นคืนน้ำได้หมุนไหลเข้าสู่ทางน้ำต่างๆ ได้มากขึ้น เรือกสวนไร่นามีน้ำใช้ในระบบเกษตรกรรม คนมีน้ำอุปโภค น้ำที่ล้นจากแต่ละฝ่ายได้ถูกชะลอไปตามลำดับทุกขั้นตอน เกิดจากความร่วมมือกระสอบทราย ไม้ไผ่ เชือก แรงคน อีกสารพัดต่างร่วมมือกัน คนละไม้ละมือทุกฝ่ายมีส่วนร่วม แต่เมื่อมาถึงเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช จุดสูบน้ำใหญ่ที่โรงสูบน้ำประตูชัย อ้างว่ามีน้ำดิบไม่เพียงพอต่อการสูบผลิต เลือกที่จะไม่ทำอะไรในการแก้ไขปัญหา กลับเลือกที่จะกล่าวโทษชุมชนต้นน้ำ ที่ไม่ปล่อยน้ำมาให้ ทั้งที่น้ำล้นข้ามสันฝายมาให้ทุกวัน
วิสัยทัศน์กว้างไกลที่กำลังมองหาแหล่งผลิตน้ำดิบ 500-600 ไร่ หรือโครงการมูลค่าหลายร้อยล้าน เพื่อจัดการระบบประปาเทศบาลนครนครศรีธรรมราชเสียใหม่ แต่นั่นยังอยู่ในอากาศ หรือกระดาษ และความฝัน แต่น้ำที่ชาวบ้านไม่สามารถใช้ได้สวนทางกับค่าน้ำที่ขึ้นราคามาแบบไม่รู้ตัว เป็นความเดือดร้อนที่ชาวบ้านได้รับ ในวันนี้กลับไม่ได้รับการแก้ไข ประโยคที่ว่า “อยู่ในระหว่างการแก้ไข” จึงไม่ใช่คำตอบ แต่คำตอบสุดท้ายในสายน้ำเดียวกัน “ฝายมีชีวิต” ของชุมชนต้นน้ำท่าดี ชาวชุมชนต่างมีบทเรียนเป็นของตัวเอง และริเริ่มที่จะเรียนรู้ แล้วจึงลงมือสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาให้แก่ชุมชนแบบพึ่งพาตนเอง เป็นบริบททางสังคมแบบพัฒนาที่ก้าวหน้า เป็นบทเรียนที่มีชีวิตของสายน้ำ ชุมชน ธรรมชาติ ที่อยู่กันได้อย่างลงตัว
“ฝายมีชีวิต”กำลังกลายเป็นบทเรียนเล่มใหม่ มีเนื้อหาที่เขียนด้วยชุมชน แต่ผู้บริหารเทศบาลนครศรีธรรมราช ไม่เคยคิดที่จะเรียนรู้