วานนี้ (10 ก.ค.) ที่กองบัญชาการกองทัพบก พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกำหนดนโยบายและการบริหารจัดการน้ำ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งแรก โดยมีส่วนราชการที่รับผิดชอบงานที่เกี่ยวข้อง และคณะที่ปรึกษาที่ได้รับการแต่งตั้ง อาทิ นายปราโมทย์ ไม้กลัด, นายอาณัติ อาภาภิรม, นายทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์ และนายชวลิต จันทรรัตน์ เข้าร่วมประชุม
โดย พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวช่วงหนึ่งในระหว่างการประชุมว่า การบริหารจัดการน้ำเป็นวาระที่ คสช.ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง จำเป็นต้องเร่งบริหารจัดการในทุกมิติ ทั้งน้ำท่วม น้ำแล้ง น้ำที่ใช้ในทางอุปโภคบริโภค และน้ำที่ใช้เพื่อการเกษตร เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการคิดวางแผน เพื่อจัดทำแนวทางการบริหารจัดการน้ำของประเทศอย่างเป็นระบบ เป็นรูปธรรมและยั่งยืน โดยคณะกรรมการชุดนี้จะร่วมกันกำหนดยุทธศาสตร์น้ำของประเทศ ทั้งระยะสั้น ระยะยาวครอบคลุมในหลายด้าน อาทิ ความสมดุลของปริมาณน้ำของประเทศทั้งน้ำเกินน้ำขาด คุณภาพน้ำ ระบบการบริหารจัดการ มาตรการจัดการน้ำด้วยการใช้สิ่งก่อสร้างและไม่ใช้สิ่งก่อสร้าง การบูรณาการร่วมของหน่วยงานราชการ ระบบรวบรวมและฐานข้อมูลด้านน้ำ รวมไปถึงการเผยแพร่ข้อมูลและสร้างความเข้าใจกับประชาชนให้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำ เป็นต้น
ภายหลังการประชุม พ.อ.หญิง ศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษกกองทัพบก ในฐานะทีมโฆษก คสช. เปิดเผยว่า เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของคณะกรรมการฯ ที่ประชุมได้เห็นชอบให้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมา 5 กลุ่ม เพื่อจัดทำแผนบริหารจัดการน้ำในภาพรวมประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 รับผิดชอบลุ่มน้ำในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก กลุ่มที่ 2 รับผิดชอบลุ่มน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ กลุ่มที่ 3 รับผิดชอบระบบฐานข้อมูล กลุ่มที่ 4 รับผิดชอบการจัดองค์กร ข้อกำหนด กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และกลุ่มที่ 5 รับผิดชอบด้านการสร้างการรับรู้และความเข้าใจต่อประชาชน
พ.อ.หญิง ศิริจันทร์ กล่าวอีกว่า ที่ประชุมมอบให้อนุกรรมการแต่ละกลุ่ม ไปจัดทำแผนงานโครงการพร้อมจัดลำดับความเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหา เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการกำหนดนโยบายและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำพิจารณา โดยมีเป้าหมายว่าจะจัดทำแผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่สมบูรณ์ให้แล้วเสร็จในระยะเวลา 3 เดือน ทั้งนี้ พล.อ.ฉัตรชัยได้ให้ทุกกลุ่มงานนำแนวทางพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องน้ำ มาเป็นหลักในการจัดทำแผนงานโครงการด้วย
โดย พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวช่วงหนึ่งในระหว่างการประชุมว่า การบริหารจัดการน้ำเป็นวาระที่ คสช.ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง จำเป็นต้องเร่งบริหารจัดการในทุกมิติ ทั้งน้ำท่วม น้ำแล้ง น้ำที่ใช้ในทางอุปโภคบริโภค และน้ำที่ใช้เพื่อการเกษตร เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการคิดวางแผน เพื่อจัดทำแนวทางการบริหารจัดการน้ำของประเทศอย่างเป็นระบบ เป็นรูปธรรมและยั่งยืน โดยคณะกรรมการชุดนี้จะร่วมกันกำหนดยุทธศาสตร์น้ำของประเทศ ทั้งระยะสั้น ระยะยาวครอบคลุมในหลายด้าน อาทิ ความสมดุลของปริมาณน้ำของประเทศทั้งน้ำเกินน้ำขาด คุณภาพน้ำ ระบบการบริหารจัดการ มาตรการจัดการน้ำด้วยการใช้สิ่งก่อสร้างและไม่ใช้สิ่งก่อสร้าง การบูรณาการร่วมของหน่วยงานราชการ ระบบรวบรวมและฐานข้อมูลด้านน้ำ รวมไปถึงการเผยแพร่ข้อมูลและสร้างความเข้าใจกับประชาชนให้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำ เป็นต้น
ภายหลังการประชุม พ.อ.หญิง ศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษกกองทัพบก ในฐานะทีมโฆษก คสช. เปิดเผยว่า เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของคณะกรรมการฯ ที่ประชุมได้เห็นชอบให้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมา 5 กลุ่ม เพื่อจัดทำแผนบริหารจัดการน้ำในภาพรวมประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 รับผิดชอบลุ่มน้ำในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก กลุ่มที่ 2 รับผิดชอบลุ่มน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ กลุ่มที่ 3 รับผิดชอบระบบฐานข้อมูล กลุ่มที่ 4 รับผิดชอบการจัดองค์กร ข้อกำหนด กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และกลุ่มที่ 5 รับผิดชอบด้านการสร้างการรับรู้และความเข้าใจต่อประชาชน
พ.อ.หญิง ศิริจันทร์ กล่าวอีกว่า ที่ประชุมมอบให้อนุกรรมการแต่ละกลุ่ม ไปจัดทำแผนงานโครงการพร้อมจัดลำดับความเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหา เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการกำหนดนโยบายและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำพิจารณา โดยมีเป้าหมายว่าจะจัดทำแผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่สมบูรณ์ให้แล้วเสร็จในระยะเวลา 3 เดือน ทั้งนี้ พล.อ.ฉัตรชัยได้ให้ทุกกลุ่มงานนำแนวทางพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องน้ำ มาเป็นหลักในการจัดทำแผนงานโครงการด้วย