นครศรีธรรมราช - โครงการก่อสร้างศูนย์แพทย์ ม.วลัยลักษณ์ มูลค่ากว่า 2,000 ล้าน ส่อแววโมฆะ! เผยเหตุจากเอกสารขณะเข้าทำสัญญาไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และเอกสารค้ำประกันจากธนาคารไม่ถูกต้อง ส่งผลให้บริษัทผู้รับเหมาไม่สามารถเบิกเงินค่าก่อสร้างงวดแรกมูลค่ากว่า 70 ล้านบาทได้ ด้านผู้บริหารเครียดหนักหวั่นการก่อสร้างล่าช้าไม่มีกำหนด
วันนี้ (25 มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โครงการศูนย์แพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ หรือที่เรียกกันติดปากว่า โครงการโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งมีงบประมาณที่ใช้ในโครงการก่อสร้างรวม 2,165 ล้านบาท โดยจะมีการเรียนการสอนของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ซึ่งมีความคาดหวังว่าจะเป็นศูนย์กลางของการรักษาพยาบาลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในภาคใต้ตอนบน โดยโครงการการดังกล่าวนั้นได้ถูกอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่สมัยรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี มูลค่าโครงการในครั้งนั้นกว่า 1,600 ล้านบาท
แต่หลังจากเปลี่ยนรัฐบาล ปรากฏว่า โครงการนี้ถูกชะลอไปก่อน และ ครม.ได้อนุมัติโครงการใหม่ และได้เปลี่ยนแปลงงบประมาณในการก่อสร้างใหม่เป็นวงเงินเกือบ 2,200 ล้านบาท โดยอ้างถึงมูลค่าของการจ้างงาน และวัสดุก่อสร้างที่มีราคาเพิ่มสูงขึ้น จนมีการประมูลงานเกิดขึ้นโดยมีบริษัทผู้รับเหมาเข้าร่วมประมูลงาน จำนวน 3 บริษัท โดยบริษัทที่ประมูลได้นั้นได้ยื่นซองประกวดราคาวงเงิน 2,165 ล้านบาท โดยมีเอกสารที่เกี่ยวข้องรวมทั้งหนังสือรับรองวงเงินประกันซองจนกระทั่งเข้าสู่กระบวนการลงนามสัญญาว่าจ้างรับเหมางานก่อสร้างศูนย์การแพทย์แห่งนี้ และบริษัทผู้รับจ้างได้เริ่มเข้าปรับพื้นที่เพื่อทำการก่อสร้าง โดยเฉพาะงานปรับพื้นที่นั้นมีวงเงินจำนวน 70 ล้านบาท โดยได้มีการเริ่มดำเนินการไถต้นไม้ และขุดถมดินปรับพื้นที่ไปแล้วหลายเปอร์เซ็นต์ จนมีการตั้งเบิกงบประมาณงวดแรก
แหล่งข่าวภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้เปิดเผยต่อผู้สื่อข่าวว่าหลังจากที่ผู้รับเหมาได้ทำหนังสือเบิกเงินงวดแรก เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้ตรวจสอบรายละเอียดเอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวข้องเนื่องจากป้องกันความผิดพลาด เพราะเป็นโครงการที่มีวงเงินสูง และมีรายละเอียดปลีกย่อยจำนวนมาก แม้ว่าจะมีการทำสัญญาแล้วเอกสารที่เกี่ยวข้องได้ถูกตรวจสอบทั้งหมด
“ซึ่งพบความผิดปกติอย่างมากใน 2 ส่วนด้วยกันคือ เอกสารการเงินที่เป็นวงเงินประกันซองประกวดราคา โดยพบว่า เอกสารนี้ผิดปกติอาจไม่ใช่เอกสารที่ชอบด้วยกฎหมายนั่นเป็นชั้นแรกที่อาจส่งผลกระทบให้สัญญาว่าจ้างที่มีการลงนามไปแล้วอาจเป็นโมฆะไปด้วย เนื่องจากเอกสารไม่ถูกต้องมาตั้งแต่ต้นก่อนที่จะมีการทำสัญญา ในส่วนต่อมาคือ เอกสารการค้ำประกันของสถาบันการเงินที่ต้องยื่นมาพร้อมกับการเบิกเงินงวดแรก เป็นเอกสารที่อาจไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นเดียวกัน จึงไม่สามารถเบิกเงินงวดแรกได้ แต่ทราบว่ายังไม่ได้มีการเบิกจ่ายทำให้กลายเป็นปัญหาใหญ่เกิดขึ้น และยังไม่ได้สรุปทางออกของเรื่องนี้” แหล่งข่าวรายนี้กล่าว
อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า หลังจากพบความผิดปกติของเอกสารแล้วนั้น ทำให้ผู้บริหารระดับสูงวิตกกังวลว่าโครงการนี้อาจต้องยุติไปก่อน และทำให้คณะแพทยศาสตร์ได้รับผลกระทบ รวมทั้งศูนย์แพทย์ที่จะเป็นศูนย์กลางการรักษาโดยเฉพาะทางของภาคใต้ตอนบนต้องล้มเหลว ซึ่งต่างพยายามแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน และขณะเดียวกัน ดร.กีร์รัตน์ สงวนไทร อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ทำหนังสือด่วนส่งไปยังสภามหาวิทยาลัยเพื่อร่วมกันพิจารณาหาทางออกในการแก้ไขปัญหาว่าจะดำเนินการอย่างไรกับปัญหานี้
ขณะที่ผู้สื่อข่าวพยายามติดต่อกับ ดร.กีร์รัตน์ สงวนไทร อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ แต่ไม่สามารถติดต่อได้ โดยพบว่า ดร.กีร์รัตน์ อยู่ในระหว่างการประชุมสภาวิชาการของมหาวิทยาลัย ซึ่ง “ASTVผู้จัดการภาคใต้” จะรายงานความคืบหน้าต่อไป
วันนี้ (25 มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โครงการศูนย์แพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ หรือที่เรียกกันติดปากว่า โครงการโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งมีงบประมาณที่ใช้ในโครงการก่อสร้างรวม 2,165 ล้านบาท โดยจะมีการเรียนการสอนของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ซึ่งมีความคาดหวังว่าจะเป็นศูนย์กลางของการรักษาพยาบาลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในภาคใต้ตอนบน โดยโครงการการดังกล่าวนั้นได้ถูกอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่สมัยรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี มูลค่าโครงการในครั้งนั้นกว่า 1,600 ล้านบาท
แต่หลังจากเปลี่ยนรัฐบาล ปรากฏว่า โครงการนี้ถูกชะลอไปก่อน และ ครม.ได้อนุมัติโครงการใหม่ และได้เปลี่ยนแปลงงบประมาณในการก่อสร้างใหม่เป็นวงเงินเกือบ 2,200 ล้านบาท โดยอ้างถึงมูลค่าของการจ้างงาน และวัสดุก่อสร้างที่มีราคาเพิ่มสูงขึ้น จนมีการประมูลงานเกิดขึ้นโดยมีบริษัทผู้รับเหมาเข้าร่วมประมูลงาน จำนวน 3 บริษัท โดยบริษัทที่ประมูลได้นั้นได้ยื่นซองประกวดราคาวงเงิน 2,165 ล้านบาท โดยมีเอกสารที่เกี่ยวข้องรวมทั้งหนังสือรับรองวงเงินประกันซองจนกระทั่งเข้าสู่กระบวนการลงนามสัญญาว่าจ้างรับเหมางานก่อสร้างศูนย์การแพทย์แห่งนี้ และบริษัทผู้รับจ้างได้เริ่มเข้าปรับพื้นที่เพื่อทำการก่อสร้าง โดยเฉพาะงานปรับพื้นที่นั้นมีวงเงินจำนวน 70 ล้านบาท โดยได้มีการเริ่มดำเนินการไถต้นไม้ และขุดถมดินปรับพื้นที่ไปแล้วหลายเปอร์เซ็นต์ จนมีการตั้งเบิกงบประมาณงวดแรก
แหล่งข่าวภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้เปิดเผยต่อผู้สื่อข่าวว่าหลังจากที่ผู้รับเหมาได้ทำหนังสือเบิกเงินงวดแรก เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้ตรวจสอบรายละเอียดเอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวข้องเนื่องจากป้องกันความผิดพลาด เพราะเป็นโครงการที่มีวงเงินสูง และมีรายละเอียดปลีกย่อยจำนวนมาก แม้ว่าจะมีการทำสัญญาแล้วเอกสารที่เกี่ยวข้องได้ถูกตรวจสอบทั้งหมด
“ซึ่งพบความผิดปกติอย่างมากใน 2 ส่วนด้วยกันคือ เอกสารการเงินที่เป็นวงเงินประกันซองประกวดราคา โดยพบว่า เอกสารนี้ผิดปกติอาจไม่ใช่เอกสารที่ชอบด้วยกฎหมายนั่นเป็นชั้นแรกที่อาจส่งผลกระทบให้สัญญาว่าจ้างที่มีการลงนามไปแล้วอาจเป็นโมฆะไปด้วย เนื่องจากเอกสารไม่ถูกต้องมาตั้งแต่ต้นก่อนที่จะมีการทำสัญญา ในส่วนต่อมาคือ เอกสารการค้ำประกันของสถาบันการเงินที่ต้องยื่นมาพร้อมกับการเบิกเงินงวดแรก เป็นเอกสารที่อาจไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นเดียวกัน จึงไม่สามารถเบิกเงินงวดแรกได้ แต่ทราบว่ายังไม่ได้มีการเบิกจ่ายทำให้กลายเป็นปัญหาใหญ่เกิดขึ้น และยังไม่ได้สรุปทางออกของเรื่องนี้” แหล่งข่าวรายนี้กล่าว
อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า หลังจากพบความผิดปกติของเอกสารแล้วนั้น ทำให้ผู้บริหารระดับสูงวิตกกังวลว่าโครงการนี้อาจต้องยุติไปก่อน และทำให้คณะแพทยศาสตร์ได้รับผลกระทบ รวมทั้งศูนย์แพทย์ที่จะเป็นศูนย์กลางการรักษาโดยเฉพาะทางของภาคใต้ตอนบนต้องล้มเหลว ซึ่งต่างพยายามแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน และขณะเดียวกัน ดร.กีร์รัตน์ สงวนไทร อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ทำหนังสือด่วนส่งไปยังสภามหาวิทยาลัยเพื่อร่วมกันพิจารณาหาทางออกในการแก้ไขปัญหาว่าจะดำเนินการอย่างไรกับปัญหานี้
ขณะที่ผู้สื่อข่าวพยายามติดต่อกับ ดร.กีร์รัตน์ สงวนไทร อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ แต่ไม่สามารถติดต่อได้ โดยพบว่า ดร.กีร์รัตน์ อยู่ในระหว่างการประชุมสภาวิชาการของมหาวิทยาลัย ซึ่ง “ASTVผู้จัดการภาคใต้” จะรายงานความคืบหน้าต่อไป