โดย.. อาจารย์ธีรวุฒิ อ่อนดำ
ศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
ข้อมูลสถิติของ International Rubber Study Group (IRSG) เปรียบเทียบข้อมูลไตรมาสที่ 1/2014 พบว่า ผลผลิตยางธรรมชาติ ปริมาณความต้องการใช้ และปริมาณสต๊อกของโลกมีจำนวน 2,761, 2,772 และ 2,662 พันตัน ลดลงคิดเป็น 11.6%, 4.7% และ 1.8% เมื่อเทียบกับไตรมาสล่าสุด และลดลงคิดเป็น 2.7%, 2.2% และ 19.7% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า ขณะที่ข้อมูลปริมาณผลผลิตยางสังเคราะห์ ปริมาณความต้องการใช้ของโลกมีจำนวน 4,055 และ 4,073 เพิ่มขึ้นคิดเป็น 3.7% และ 4.9% เมื่อเทียบกับไตรมาสล่าสุด และเพิ่มขึ้นคิดเป็น 4.5% และ 6.2% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยปริมาณสต๊อกของโลกมีจำนวน 4,643 ลดลงคิดเป็น 0.4% เมื่อเทียบกับไตรมาสล่าสุด และลดคิดเป็น 0.8% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า
ข้อมูลสถานการณ์ผลิตยางธรรมชาติของไทย จากสถาบันวิจัยยางพบว่า มีจำนวน 1,408 พันตัน เพิ่มขึ้น 6.7% เมื่อเทียบกับไตรมาสล่าสุด และเพิ่มขึ้น 46.5% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า ในขณะที่ปริมาณการส่งออกมีจำนวน 1,308 พันตัน เพิ่มขึ้น 16.2% เมื่อเทียบกับไตรมาสล่าสุด และเพิ่มขึ้น 57.3% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยมีประเทศส่งออกที่สำคัญคือ จีน รองลงมาคือ มาเลเซีย และญี่ปุ่น จำนวน 804, 141 และ 61 พันตัน คิดเป็นสัดส่วน 69.9%, 12.0% และ 5.4% เมื่อเทียบกับปริมาณการส่งออกทั้งหมด
ในส่วนปริมาณใช้ในประเทศมีจำนวน 173 พันตัน เพิ่มขึ้น 1.1% เมื่อเทียบกับไตรมาสล่าสุด และเพิ่มขึ้น 9.5% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า ในขณะที่สต๊อกมีจำนวน 1,579 พันตัน เพิ่มขึ้น 8.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสล่าสุด และลดลง 1.6% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า
สำหรับแนวโน้มผลผลิตยางธรรมชาติโดยรวมของโลกไตรมาสที่ 2/2014 ประกอบกับการประมาณการโดยใช้ข้อมูลสถิติที่ผ่านมา คาดว่าปริมาณผลผลิตโดยรวมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงไตรมาส 1/2014 โดยประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่ผลิตยางธรรมชาติมากเป็นอันดับ 2 รองจากไทย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ประเทศจีนก็ได้ขยายพื้นที่เพาะปลูกยางพาราทั้งใน และต่างประเทศอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศ CLMV
ขณะที่ประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ โดยผลผลิตส่วนใหญ่มาจากพื้นที่ทางภาคใต้ของประเทศ ถึงแม้ว่าช่วงไตรมาสแรกจะประสบปัญหาลมมรสุม ตามด้วยฤดูกาลผลัดใบยางพารา ส่งผลทำให้ปริมาณผลผลิตโดยรวมลดลง ทั้งนี้ เชื่อว่าไตรมาส 2 จะกลับมามีปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอันดามัน เกษตรกรส่วนใหญ่เริ่มกลับมากรีดยางพารา หลังจากทิ้งช่วงมาระยะหนึ่ง เนื่องจากอยู่ในช่วงผลัดใบยางพารา ขณะที่เกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ซึ่งฤดูกาลผลัดใบยางพาราจะเริ่มทีหลัง แต่เกษตรกรบางรายเริ่มเปิดกรีดยางบ้างแล้ว ทั้งนี้ หากฝนมาช้ากว่าปกติก็จะส่งผลต่อกำหนดช่วงเปิดกรีดยางพารา โดยเชื่อว่าอย่างช้าที่สุด หลังช่วงสงกรานต์ เกษตรกรจะกลับมาเปิดกรีดยางพาราทั้งหมด ซึ่งจะส่งผลทำให้ปริมาณผลผลิตยางพาราโดยรวมเพิ่มขึ้น
ด้านแนวโน้มความต้องการใช้ยางธรรมชาติ ไตรมาสที่ 2 ปี 2014 (เมษายน-มิถุนายน) คาดว่าปริมาณความต้องการใช้โดยรวมของโลกมีแนวโน้มสดใสกว่าเดิม จากสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และความกังวลในเรื่องตัวเลขเศรษฐกิจโลกที่เริ่มคลี่คลายลง โดยเฉพาะสัญญาณการฟื้นตัวของอเมริกา สะท้อนจากการที่ Fed มีมติเอกฉันท์ลดวงเงิน QE3 อีก 1 หมื่นล้านเหรียญ ลงสู่ 5.5 หมื่นล้านเหรียญต่อเดือน พร้อมความเป็นไปได้ที่โครงการ QE3 อาจจะยุติลงในช่วงปลายปีนี้ สอดรับกับข้อมูลจาก IMF ที่ปรับเพิ่มคาดการณ์ GDP โลก ปี 2014 จาก 3.6% เป็น 3.7% และ World Bank ที่ปรับเพิ่มคาดการณ์ GDP โลกปี 2014 จาก 3.0% เป็น 3.2%
แม้ว่าเศรษฐกิจโดยรวมของโลกเริ่มคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น แต่ประเทศจีนซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากอเมริกา และมีสัดส่วนการบริโภคยางธรรมชาติมากเป็นอันดับ 1 ของโลก เนื่องจากมีฐานการผลิตล้อยางชั้นนำของโลก กำลังเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มชะลอตัว สังเกตได้จากตัวเลขดัชนีการส่งออกของจีน เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ที่หดตัวถึง 18% ทั้งนี้ ย่อมส่งผลต่อปริมาณความต้องการยางธรรมชาติโดยรวม
อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันในตลาดโลกก็ยังคงมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ตามสัญญาณการฟื้นตัวของตัวเลขเศรษฐกิจโลก โดยน้ำมันถือเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการผลิตยางสังเคราะห์ เมื่อราคาน้ำมันมีแนวโน้มสูงขึ้น ย่อมส่งผลให้ราคายางสังเคราะห์ซึ่งเป็นสินค้าทดแทนยางธรรมชาติมีราคาสูงขึ้น ส่งผลให้ปริมาณความต้องการใช้ยางสังเคราะห์ลดลง
จากผลการประเมินของสภาอุตสาหกรรรมแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับตัวเลขการส่งออกรถยนต์ปี 2014 คาดว่าเท่ากับ 1.3 ล้านคัน ซึ่งมีการเติบโตเพิ่มขึ้น 15% เนื่องจากได้รับแรงหนุนจากภาวะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจต่างประเทศ และการอ่อนค่าของเงินบาทที่ช่วยหนุนการส่งออกรถยนต์ รวมไปถึงการที่ค่ายรถยนต์ได้หันมาเน้นการส่งออกมากขึ้น ทำให้ความต้องการใช้ยางธรรมชาติภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมแม้ว่าความต้องการใช้ยางธรรมชาติในประเทศจะเพิ่มขึ้นจากอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีแนวโน้มส่งออกเพิ่มขึ้น แต่การบริโภคภายในประเทศก็ยังเป็นข้อจำกัดสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ จากสภาพเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัว จากปัจจัยการเมืองกดดัน ส่งผลให้อำนาจซื้อในประเทศลดลง สอดคล้องกับ สศค. ที่ปรับลดคาดการณ์ GDP ไทยปี 2014 จาก 4.0% เป็น 2.6% และธปท. ที่ปรับลดคาดการณ์ GDP ไทยปี 2014 จาก 3.0% เป็น 2.7% อีกทั้ง World Bank ที่ปรับลดคาดการณ์ GDP ไทยปี 2014 จาก 5.0% เป็น 4.5% ทั้งหมดนี้สะท้อนแนวโน้มเศรษฐกิจไทยที่ยังคงอ่อนแอในอีกระยะหนึ่ง ส่งผลต่อปริมาณความต้องการใช้ยางธรรมชาติลดลง
ด้านแนวโน้มการส่งออกของไทยไตรมาสที่ 2/2014 คาดว่าจะมีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสล่าสุด ทั้งนี้ สืบเนื่องจากอุปทาน (Supply) หรือปริมาณผลผลิตยางธรรมชาติในประเทศที่กลับมามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หลังจากผ่านพ้นช่วงลมมรสุม และฤดูกาลผลัดใบยางพารา ประกอบกับค่าเงินบาทที่มีแนวอ่อนค่าลงในปัจจุบัน เมื่อเทียบกับต้นปีที่ผ่านมา ถือเป็นปัจจัยบวกสำคัญที่อาจทำให้การส่งออกเพิ่มขึ้น แต่โดยภาพรวมการส่งออกยังถูกจำกัดโดยตัวเลขเศรษฐกิจของจีน ซึ่งเป็นประเทศที่บริโภคยางธรรมชาติมากเป็นอันดับ 1 ของโลก และเป็นประเทศที่ไทยส่งออกยางธรรมชาติมากเป็นอันดับ 1 คิดเป็นสัดส่วน 69.9% ของปริมาณยางธรรมชาติที่ส่งออกทั้งหมด
สำหรับแนวโน้มราคายาง คาดว่าจะยังคงเคลื่อนไหวขึ้นลงอยู่ในกรอบจำกัด โดยมีแนวโน้มขยับขึ้นในช่วงต้นไตรมาสที่ 2 และลดลงในช่วงครึ่งหลัง โดยมีปัจจัยกดดันที่สำคัญคือ
ปัจจัยบวก
- ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นตามสัญญาณการฟื้นตัวของตัวเลขเศรษฐกิจโลก ส่งผลต่อปริมาณความต้องการใช้ยางสังเคราะห์ลดลง ซึ่งเป็นสินค้าทดแทนยางธรรมชาติ
- อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP’s Growth) ของโลก ปี 2014 เพิ่มขึ้นจากเดิมที่คาดการณ์ไว้ 3.6% เป็น 3.7% (IMF) และ 3.0% เป็น 3.2% (World Bank)
ปัจจัยลบ
- สถานการณ์การเมืองที่ลากยาว ซึ่งยังไม่มีท่าทีว่าจะจบลง อาจกระทบฉุดรั้งความเชื่อมั่นภาคการลงทุน และการบริโภคภายในประเทศ รวมไปถึงอุตสาหกรรมยางธรรมชาติ และอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องทั้งระบบ สอดคล้องกับแนวโน้มปริมาณความต้องการใช้ยางธรรมชาติในประเทศที่มีแนวโน้มลดลง
- ความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับแนวนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลต่อการแก้ไขปัญหาราคายางที่มากกว่าการให้เงินอุดหนุน
- สศค. ปรับลดคาดการณ์ GDP ไทยปี 2014 จาก 4.0% เป็น 2.6% ขณะที่ ธปท. ปรับลดคาดการณ์ GDP ไทยปี 2014 จาก 3.0% เป็น 2.7% จากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ยังคงชะลอตัวต่อเนื่อง หลังปัจจัยการเมืองกดดัน รวมไปถึง World Bank ที่ปรับลดคาดการณ์ GDP ไทยปี 2014 จาก 5.0% เป็น 4.5%
- อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP’s Growth) ของประเทศจีน ที่มีสัญญาณการชะลอตัวของตัวเลขเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นประเทศที่บริโภคยางธรรมชาติมากเป็นอันดับ 1 ของโลก
- ปริมาณผลผลิตยางธรรมชาติที่จะออกสู่ตลาดเพิ่มมากขึ้น หลังฤดูกาลผลัดใบยางพารา ซึ่งอยู่ในช่วงสิ้นเดือนมีนาคม ถึงกลางเดือนเมษายน
- ปริมาณสต๊อกยางธรรมชาติของโลกที่เพิ่มขึ้น ซึ่งไม่สอดคล้องกับปริมาณผลผลิตยางธรรมชาติของโลกที่เพิ่มขึ้น สะท้อนถึงผลผลิตยางธรรมชาติที่สูงกว่าปริมาณความต้องการใช้ ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันราคาไม่ให้สูงขึ้น
ศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
ข้อมูลสถิติของ International Rubber Study Group (IRSG) เปรียบเทียบข้อมูลไตรมาสที่ 1/2014 พบว่า ผลผลิตยางธรรมชาติ ปริมาณความต้องการใช้ และปริมาณสต๊อกของโลกมีจำนวน 2,761, 2,772 และ 2,662 พันตัน ลดลงคิดเป็น 11.6%, 4.7% และ 1.8% เมื่อเทียบกับไตรมาสล่าสุด และลดลงคิดเป็น 2.7%, 2.2% และ 19.7% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า ขณะที่ข้อมูลปริมาณผลผลิตยางสังเคราะห์ ปริมาณความต้องการใช้ของโลกมีจำนวน 4,055 และ 4,073 เพิ่มขึ้นคิดเป็น 3.7% และ 4.9% เมื่อเทียบกับไตรมาสล่าสุด และเพิ่มขึ้นคิดเป็น 4.5% และ 6.2% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยปริมาณสต๊อกของโลกมีจำนวน 4,643 ลดลงคิดเป็น 0.4% เมื่อเทียบกับไตรมาสล่าสุด และลดคิดเป็น 0.8% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า
ข้อมูลสถานการณ์ผลิตยางธรรมชาติของไทย จากสถาบันวิจัยยางพบว่า มีจำนวน 1,408 พันตัน เพิ่มขึ้น 6.7% เมื่อเทียบกับไตรมาสล่าสุด และเพิ่มขึ้น 46.5% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า ในขณะที่ปริมาณการส่งออกมีจำนวน 1,308 พันตัน เพิ่มขึ้น 16.2% เมื่อเทียบกับไตรมาสล่าสุด และเพิ่มขึ้น 57.3% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยมีประเทศส่งออกที่สำคัญคือ จีน รองลงมาคือ มาเลเซีย และญี่ปุ่น จำนวน 804, 141 และ 61 พันตัน คิดเป็นสัดส่วน 69.9%, 12.0% และ 5.4% เมื่อเทียบกับปริมาณการส่งออกทั้งหมด
ในส่วนปริมาณใช้ในประเทศมีจำนวน 173 พันตัน เพิ่มขึ้น 1.1% เมื่อเทียบกับไตรมาสล่าสุด และเพิ่มขึ้น 9.5% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า ในขณะที่สต๊อกมีจำนวน 1,579 พันตัน เพิ่มขึ้น 8.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสล่าสุด และลดลง 1.6% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า
สำหรับแนวโน้มผลผลิตยางธรรมชาติโดยรวมของโลกไตรมาสที่ 2/2014 ประกอบกับการประมาณการโดยใช้ข้อมูลสถิติที่ผ่านมา คาดว่าปริมาณผลผลิตโดยรวมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงไตรมาส 1/2014 โดยประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่ผลิตยางธรรมชาติมากเป็นอันดับ 2 รองจากไทย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ประเทศจีนก็ได้ขยายพื้นที่เพาะปลูกยางพาราทั้งใน และต่างประเทศอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศ CLMV
ขณะที่ประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ โดยผลผลิตส่วนใหญ่มาจากพื้นที่ทางภาคใต้ของประเทศ ถึงแม้ว่าช่วงไตรมาสแรกจะประสบปัญหาลมมรสุม ตามด้วยฤดูกาลผลัดใบยางพารา ส่งผลทำให้ปริมาณผลผลิตโดยรวมลดลง ทั้งนี้ เชื่อว่าไตรมาส 2 จะกลับมามีปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอันดามัน เกษตรกรส่วนใหญ่เริ่มกลับมากรีดยางพารา หลังจากทิ้งช่วงมาระยะหนึ่ง เนื่องจากอยู่ในช่วงผลัดใบยางพารา ขณะที่เกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ซึ่งฤดูกาลผลัดใบยางพาราจะเริ่มทีหลัง แต่เกษตรกรบางรายเริ่มเปิดกรีดยางบ้างแล้ว ทั้งนี้ หากฝนมาช้ากว่าปกติก็จะส่งผลต่อกำหนดช่วงเปิดกรีดยางพารา โดยเชื่อว่าอย่างช้าที่สุด หลังช่วงสงกรานต์ เกษตรกรจะกลับมาเปิดกรีดยางพาราทั้งหมด ซึ่งจะส่งผลทำให้ปริมาณผลผลิตยางพาราโดยรวมเพิ่มขึ้น
ด้านแนวโน้มความต้องการใช้ยางธรรมชาติ ไตรมาสที่ 2 ปี 2014 (เมษายน-มิถุนายน) คาดว่าปริมาณความต้องการใช้โดยรวมของโลกมีแนวโน้มสดใสกว่าเดิม จากสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และความกังวลในเรื่องตัวเลขเศรษฐกิจโลกที่เริ่มคลี่คลายลง โดยเฉพาะสัญญาณการฟื้นตัวของอเมริกา สะท้อนจากการที่ Fed มีมติเอกฉันท์ลดวงเงิน QE3 อีก 1 หมื่นล้านเหรียญ ลงสู่ 5.5 หมื่นล้านเหรียญต่อเดือน พร้อมความเป็นไปได้ที่โครงการ QE3 อาจจะยุติลงในช่วงปลายปีนี้ สอดรับกับข้อมูลจาก IMF ที่ปรับเพิ่มคาดการณ์ GDP โลก ปี 2014 จาก 3.6% เป็น 3.7% และ World Bank ที่ปรับเพิ่มคาดการณ์ GDP โลกปี 2014 จาก 3.0% เป็น 3.2%
แม้ว่าเศรษฐกิจโดยรวมของโลกเริ่มคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น แต่ประเทศจีนซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากอเมริกา และมีสัดส่วนการบริโภคยางธรรมชาติมากเป็นอันดับ 1 ของโลก เนื่องจากมีฐานการผลิตล้อยางชั้นนำของโลก กำลังเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มชะลอตัว สังเกตได้จากตัวเลขดัชนีการส่งออกของจีน เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ที่หดตัวถึง 18% ทั้งนี้ ย่อมส่งผลต่อปริมาณความต้องการยางธรรมชาติโดยรวม
อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันในตลาดโลกก็ยังคงมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ตามสัญญาณการฟื้นตัวของตัวเลขเศรษฐกิจโลก โดยน้ำมันถือเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการผลิตยางสังเคราะห์ เมื่อราคาน้ำมันมีแนวโน้มสูงขึ้น ย่อมส่งผลให้ราคายางสังเคราะห์ซึ่งเป็นสินค้าทดแทนยางธรรมชาติมีราคาสูงขึ้น ส่งผลให้ปริมาณความต้องการใช้ยางสังเคราะห์ลดลง
จากผลการประเมินของสภาอุตสาหกรรรมแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับตัวเลขการส่งออกรถยนต์ปี 2014 คาดว่าเท่ากับ 1.3 ล้านคัน ซึ่งมีการเติบโตเพิ่มขึ้น 15% เนื่องจากได้รับแรงหนุนจากภาวะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจต่างประเทศ และการอ่อนค่าของเงินบาทที่ช่วยหนุนการส่งออกรถยนต์ รวมไปถึงการที่ค่ายรถยนต์ได้หันมาเน้นการส่งออกมากขึ้น ทำให้ความต้องการใช้ยางธรรมชาติภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมแม้ว่าความต้องการใช้ยางธรรมชาติในประเทศจะเพิ่มขึ้นจากอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีแนวโน้มส่งออกเพิ่มขึ้น แต่การบริโภคภายในประเทศก็ยังเป็นข้อจำกัดสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ จากสภาพเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัว จากปัจจัยการเมืองกดดัน ส่งผลให้อำนาจซื้อในประเทศลดลง สอดคล้องกับ สศค. ที่ปรับลดคาดการณ์ GDP ไทยปี 2014 จาก 4.0% เป็น 2.6% และธปท. ที่ปรับลดคาดการณ์ GDP ไทยปี 2014 จาก 3.0% เป็น 2.7% อีกทั้ง World Bank ที่ปรับลดคาดการณ์ GDP ไทยปี 2014 จาก 5.0% เป็น 4.5% ทั้งหมดนี้สะท้อนแนวโน้มเศรษฐกิจไทยที่ยังคงอ่อนแอในอีกระยะหนึ่ง ส่งผลต่อปริมาณความต้องการใช้ยางธรรมชาติลดลง
ด้านแนวโน้มการส่งออกของไทยไตรมาสที่ 2/2014 คาดว่าจะมีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสล่าสุด ทั้งนี้ สืบเนื่องจากอุปทาน (Supply) หรือปริมาณผลผลิตยางธรรมชาติในประเทศที่กลับมามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หลังจากผ่านพ้นช่วงลมมรสุม และฤดูกาลผลัดใบยางพารา ประกอบกับค่าเงินบาทที่มีแนวอ่อนค่าลงในปัจจุบัน เมื่อเทียบกับต้นปีที่ผ่านมา ถือเป็นปัจจัยบวกสำคัญที่อาจทำให้การส่งออกเพิ่มขึ้น แต่โดยภาพรวมการส่งออกยังถูกจำกัดโดยตัวเลขเศรษฐกิจของจีน ซึ่งเป็นประเทศที่บริโภคยางธรรมชาติมากเป็นอันดับ 1 ของโลก และเป็นประเทศที่ไทยส่งออกยางธรรมชาติมากเป็นอันดับ 1 คิดเป็นสัดส่วน 69.9% ของปริมาณยางธรรมชาติที่ส่งออกทั้งหมด
สำหรับแนวโน้มราคายาง คาดว่าจะยังคงเคลื่อนไหวขึ้นลงอยู่ในกรอบจำกัด โดยมีแนวโน้มขยับขึ้นในช่วงต้นไตรมาสที่ 2 และลดลงในช่วงครึ่งหลัง โดยมีปัจจัยกดดันที่สำคัญคือ
ปัจจัยบวก
- ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นตามสัญญาณการฟื้นตัวของตัวเลขเศรษฐกิจโลก ส่งผลต่อปริมาณความต้องการใช้ยางสังเคราะห์ลดลง ซึ่งเป็นสินค้าทดแทนยางธรรมชาติ
- อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP’s Growth) ของโลก ปี 2014 เพิ่มขึ้นจากเดิมที่คาดการณ์ไว้ 3.6% เป็น 3.7% (IMF) และ 3.0% เป็น 3.2% (World Bank)
ปัจจัยลบ
- สถานการณ์การเมืองที่ลากยาว ซึ่งยังไม่มีท่าทีว่าจะจบลง อาจกระทบฉุดรั้งความเชื่อมั่นภาคการลงทุน และการบริโภคภายในประเทศ รวมไปถึงอุตสาหกรรมยางธรรมชาติ และอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องทั้งระบบ สอดคล้องกับแนวโน้มปริมาณความต้องการใช้ยางธรรมชาติในประเทศที่มีแนวโน้มลดลง
- ความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับแนวนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลต่อการแก้ไขปัญหาราคายางที่มากกว่าการให้เงินอุดหนุน
- สศค. ปรับลดคาดการณ์ GDP ไทยปี 2014 จาก 4.0% เป็น 2.6% ขณะที่ ธปท. ปรับลดคาดการณ์ GDP ไทยปี 2014 จาก 3.0% เป็น 2.7% จากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ยังคงชะลอตัวต่อเนื่อง หลังปัจจัยการเมืองกดดัน รวมไปถึง World Bank ที่ปรับลดคาดการณ์ GDP ไทยปี 2014 จาก 5.0% เป็น 4.5%
- อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP’s Growth) ของประเทศจีน ที่มีสัญญาณการชะลอตัวของตัวเลขเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นประเทศที่บริโภคยางธรรมชาติมากเป็นอันดับ 1 ของโลก
- ปริมาณผลผลิตยางธรรมชาติที่จะออกสู่ตลาดเพิ่มมากขึ้น หลังฤดูกาลผลัดใบยางพารา ซึ่งอยู่ในช่วงสิ้นเดือนมีนาคม ถึงกลางเดือนเมษายน
- ปริมาณสต๊อกยางธรรมชาติของโลกที่เพิ่มขึ้น ซึ่งไม่สอดคล้องกับปริมาณผลผลิตยางธรรมชาติของโลกที่เพิ่มขึ้น สะท้อนถึงผลผลิตยางธรรมชาติที่สูงกว่าปริมาณความต้องการใช้ ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันราคาไม่ให้สูงขึ้น