ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - “แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล” เผยไทยเป็น 1 ใน 58 ประเทศของโลกที่ยังคงโทษประหารชีวิต ฝั่งจีนอุบเงียบจำนวนนักโทษประหารอ้างความลับประเทศ ด้านภูมิภาคอาเซียนกัมพูชา-ฟิลิปปินส์ล้ำเลิกโทษประหารแล้ว วอนไทยลงมติ “เห็นชอบ” เลิกโทษประหารในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติปลายปีนี้
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เปิดเผยรายงานสถานการณ์โทษประหารชีวิตและการประหารชีวิตในปี 2556 พบว่าการประหารชีวิตส่วนใหญ่เกิดขึ้นในประเทศ จีน อิหร่าน อิรัก ซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐฯ ส่วนไทยยังคงเป็นหนึ่งใน 58 ประเทศที่ยังใช้โทษประหารชีวิต ในขณะที่แนวโน้มทั่วโลกมุ่งสู่การยกเลิกโทษประหารชีวิต
ในรายงาน “สถานการณ์โทษประหารชีวิตและการประหารชีวิต ในปี 2556” (Death Sentences and Executions in 2013) ของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลที่เผยแพร่ในวันนี้ ยืนยันว่าแนวโน้มทั่วโลกมุ่งสู่การยกเลิกโทษประหารชีวิต โดยในปี 2556 มีเพียง 22 ประเทศหรือหนึ่งใน 10 ของประเทศทั่วโลกเท่านั้นที่ยังทำการประหารชีวิต
มีประชาชนอย่างน้อย 778 คนทั่วโลกถูกประหารชีวิต ซึ่งตัวเลขดังกล่าวไม่รวมจำนวนผู้ถูกประหารชีวิตในประเทศจีน ซึ่งรัฐบาลถือว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นความลับของชาติ เกือบ 80% ของการประหารชีวิตทั่วโลกเกิดขึ้นในสามประเทศ คือ อิหร่าน อิรัก และซาอุดิอาระเบีย ปัจจุบันมี 140 ประเทศหรือมากกว่า 2 ใน 3 ของ ประเทศทั่วโลกที่ได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตทั้งในทางกฎหมาย หรือในทางปฏิบัติแล้ว
สำหรับประชาคมอาเซียนซึ่งประกอบด้วย 10 ประเทศนั้น กัมพูชาและฟิลิปปินส์ ยกเลิกโทษประหารชีวิตสำหรับความผิดทางอาญาทุกประเภท ส่วนลาว พม่า และบรูไน ได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตในทางปฏิบัติ ส่วนประเทศไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์และเวียดนาม ยังคงมี และใช้โทษประหารชีวิตอยู่
อินโดนีเซียและเวียดนามได้รื้อฟื้นการประหารชีวิตอีกครั้ง หลังจากพักการประหารชีวิตมาเป็นเวลานาน การประหารชีวิตในเวียดนามเริ่มขึ้นอีกครั้งในรอบ 18 เดือน หลังจากที่ปี 2555 รัฐบาลเวียดนามไม่สามารถประหารชีวิตนักโทษได้เนื่องจากทางประชาคมยุโรปมีคำสั่งห้ามส่งออกยาที่จำเป็นต้องใช้เพื่อการฉีดให้เสียชีวิต ดังนั้นในปีที่ผ่านเวียดนามจึงกลับมาใช้การประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าแทน
อย่างไรก็ตามในภูมิภาคนี้ยังมีพัฒนาการเชิงบวกอยู่ เพราะเป็นปีที่สองติดต่อกันที่ไม่มีรายการการประหารชีวิตในสิงคโปร์ และยังมีการเปลี่ยนแปลงจากโทษประหารชีวิตของนักโทษ 6 คนเป็นโทษจำคุกแทน ภายหลังที่มีการทบทวนกฎหมายบังคับใช้โทษประหารชีวิตของประเทศเมื่อปี 2555 ซึ่งในเดือนธันวาคมปี 2557 นี้ จะมีการลงมติที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเพื่อพักใช้โทษประหารชีวิตขึ้นอีกครั้ง เราคาดหวังว่าประเทศไทยจะลงมติ “เห็นชอบ” รับมติพักการใช้โทษประหารชีวิตชั่วคราวอย่างเป็นทางการ หลังจากที่ประเทศไทยได้ “งดออกเสียง” ในปี 2553 และ 2555 ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าอีกครั้งหนึ่งเมื่อเทียบกับการลงมติ “คัดค้าน” เมื่อปี 2550 และ 2551
“แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เรียกร้องรัฐบาลไทยให้ดำเนินการตามเจตน์จำนงที่ระบุไว้ในแผนสิทธิมนุษยชน ประกาศพักการใช้โทษประหารชีวิตชั่วคราวอย่างเป็นทางการ รวมทั้งให้สัตยาบันรับรองพิธีสารเลือกรับฉบับที่สองของกติกาว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง (OP-ICCPR)”ปริญญา บุญฤทธิ์ฤทัยกุล ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยกล่าว
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลคัดค้านโทษประหารชีวิตทุกกรณีโดยไม่มีข้อยกเว้น ไม่ว่าจะเป็นความผิดทางอาญาประเภทใด ไม่ว่าผู้กระทำผิดจะมีบุคลิกลักษณะใด หรือไม่ว่าทางการจะใช้วิธีประหารชีวิตแบบใด โทษประหารชีวิตละเมิดสิทธิที่จะมีชีวิตและเป็นการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รวมทั้งงานวิจัยมากมายจากนานาประเทศได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าโทษประหารชีวิตไม่มีความเชื่อมโยงใดๆ กับการเพิ่มขึ้น หรือลดลงของอาชญากรรม
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เปิดเผยรายงานสถานการณ์โทษประหารชีวิตและการประหารชีวิตในปี 2556 พบว่าการประหารชีวิตส่วนใหญ่เกิดขึ้นในประเทศ จีน อิหร่าน อิรัก ซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐฯ ส่วนไทยยังคงเป็นหนึ่งใน 58 ประเทศที่ยังใช้โทษประหารชีวิต ในขณะที่แนวโน้มทั่วโลกมุ่งสู่การยกเลิกโทษประหารชีวิต
ในรายงาน “สถานการณ์โทษประหารชีวิตและการประหารชีวิต ในปี 2556” (Death Sentences and Executions in 2013) ของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลที่เผยแพร่ในวันนี้ ยืนยันว่าแนวโน้มทั่วโลกมุ่งสู่การยกเลิกโทษประหารชีวิต โดยในปี 2556 มีเพียง 22 ประเทศหรือหนึ่งใน 10 ของประเทศทั่วโลกเท่านั้นที่ยังทำการประหารชีวิต
มีประชาชนอย่างน้อย 778 คนทั่วโลกถูกประหารชีวิต ซึ่งตัวเลขดังกล่าวไม่รวมจำนวนผู้ถูกประหารชีวิตในประเทศจีน ซึ่งรัฐบาลถือว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นความลับของชาติ เกือบ 80% ของการประหารชีวิตทั่วโลกเกิดขึ้นในสามประเทศ คือ อิหร่าน อิรัก และซาอุดิอาระเบีย ปัจจุบันมี 140 ประเทศหรือมากกว่า 2 ใน 3 ของ ประเทศทั่วโลกที่ได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตทั้งในทางกฎหมาย หรือในทางปฏิบัติแล้ว
สำหรับประชาคมอาเซียนซึ่งประกอบด้วย 10 ประเทศนั้น กัมพูชาและฟิลิปปินส์ ยกเลิกโทษประหารชีวิตสำหรับความผิดทางอาญาทุกประเภท ส่วนลาว พม่า และบรูไน ได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตในทางปฏิบัติ ส่วนประเทศไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์และเวียดนาม ยังคงมี และใช้โทษประหารชีวิตอยู่
อินโดนีเซียและเวียดนามได้รื้อฟื้นการประหารชีวิตอีกครั้ง หลังจากพักการประหารชีวิตมาเป็นเวลานาน การประหารชีวิตในเวียดนามเริ่มขึ้นอีกครั้งในรอบ 18 เดือน หลังจากที่ปี 2555 รัฐบาลเวียดนามไม่สามารถประหารชีวิตนักโทษได้เนื่องจากทางประชาคมยุโรปมีคำสั่งห้ามส่งออกยาที่จำเป็นต้องใช้เพื่อการฉีดให้เสียชีวิต ดังนั้นในปีที่ผ่านเวียดนามจึงกลับมาใช้การประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าแทน
อย่างไรก็ตามในภูมิภาคนี้ยังมีพัฒนาการเชิงบวกอยู่ เพราะเป็นปีที่สองติดต่อกันที่ไม่มีรายการการประหารชีวิตในสิงคโปร์ และยังมีการเปลี่ยนแปลงจากโทษประหารชีวิตของนักโทษ 6 คนเป็นโทษจำคุกแทน ภายหลังที่มีการทบทวนกฎหมายบังคับใช้โทษประหารชีวิตของประเทศเมื่อปี 2555 ซึ่งในเดือนธันวาคมปี 2557 นี้ จะมีการลงมติที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเพื่อพักใช้โทษประหารชีวิตขึ้นอีกครั้ง เราคาดหวังว่าประเทศไทยจะลงมติ “เห็นชอบ” รับมติพักการใช้โทษประหารชีวิตชั่วคราวอย่างเป็นทางการ หลังจากที่ประเทศไทยได้ “งดออกเสียง” ในปี 2553 และ 2555 ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าอีกครั้งหนึ่งเมื่อเทียบกับการลงมติ “คัดค้าน” เมื่อปี 2550 และ 2551
“แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เรียกร้องรัฐบาลไทยให้ดำเนินการตามเจตน์จำนงที่ระบุไว้ในแผนสิทธิมนุษยชน ประกาศพักการใช้โทษประหารชีวิตชั่วคราวอย่างเป็นทางการ รวมทั้งให้สัตยาบันรับรองพิธีสารเลือกรับฉบับที่สองของกติกาว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง (OP-ICCPR)”ปริญญา บุญฤทธิ์ฤทัยกุล ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยกล่าว
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลคัดค้านโทษประหารชีวิตทุกกรณีโดยไม่มีข้อยกเว้น ไม่ว่าจะเป็นความผิดทางอาญาประเภทใด ไม่ว่าผู้กระทำผิดจะมีบุคลิกลักษณะใด หรือไม่ว่าทางการจะใช้วิธีประหารชีวิตแบบใด โทษประหารชีวิตละเมิดสิทธิที่จะมีชีวิตและเป็นการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รวมทั้งงานวิจัยมากมายจากนานาประเทศได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าโทษประหารชีวิตไม่มีความเชื่อมโยงใดๆ กับการเพิ่มขึ้น หรือลดลงของอาชญากรรม