xs
xsm
sm
md
lg

ชลประทานยะลาเดินเครื่องสร้างฝายทดน้ำ แก่ปัญหาภัยแล้งระยะยาว

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ยะลา - กรมชลประทานยะลา ลงสำรวจพื้นที่ประสบภัยแล้งหลังฝนทิ้งช่วงแล้วกว่า 3 เดือน พร้อมเดินแผนวางระบบสูบน้ำแก้ปัญหาเบื้องต้น 800 ไร่ เผยคลองทั่วจังหวัดระดับน้ำลดลงแล้วกว่า 50% คาดแล้งต่ออีกอย่างน้อย 2 เดือน พร้อมเตรียมสร้างฝายทดน้ำแก้ปัญหาระยะยาว

วันนี้ (13 มี.ค.) เวลา 10.00 น. นายอนุรักษ์ ธีระโชติ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานยะลา พร้อมเจ้าหน้าที่ เดินทางไปตรวจสอบพื้นที่ ต.ยุโป อ.เมือง จ.ยะลา หลังจากที่ทางเทศบาลตำบลยุโป แจ้งว่าในพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่เกิดภัยแล้งเป็นประจำทุกปี โดยทาชลประทานยะลาเตรียมที่จะวางแผนทำฝายทดน้ำเพื่อที่จะสามารถเก็บกักน้ำเอาไว้ใช้ในพื้นที่ช่วงหน้าแล้งในปีต่อๆ ไป

นายอนุรักษ์ ธีระโชติ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานยะลา เปิดเผยว่า ทางกรมชลประทานมีแผนที่จะวางระบบสูบน้ำ ซึ่งจะสามารถแก้ไขปัญหาในพื้นที่ได้ประมาณ 800 ไร่ กำลังการสูบน้ำจะสูบน้ำได้วันละ 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อวัน ซึ่งจะสามารถช่วยเหลือพื้นที่ได้อย่างเพียงพอทั้งฤดูฝน และฤดูแล้ง ปัญหาตรงนี้หลังจากฝนทิ้งช่วง 3 เดือน ก็ทำให้เกิดสภาวะอย่างที่เห็น น้ำในคลองธรรมชาติไม่มีนอกจากลำน้ำสาขาใหญ่เท่านั้นที่ยังมีอยู่

ประกอบกับการใช้น้ำมีมากกว่าในทุกช่วง ทำให้ทุกลำคลองน้ำลดลงเกือบ 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งแนวโน้มยังจะแล้งอีก 2 เดือน คาดว่าน้ำจะแล้งเกือบหมดในลำน้ำสาขาแม่น้ำปัตตานี จากการระบายน้ำจากเขื่อนบางลาง เนื่องจากเขาซ้อมการผลิตไฟฟ้าอยู่ ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาอีกประมาณเดือนครึ่ง ก็ทำให้ปีนี้อาจจะเป็นปีที่จะเกิดภัยแล้งอย่างรุนแรง

“โครงการนี้ก็อยู่ในขั้นตอนการออกแบบ ถ้าสำรวจออกแบบเสร็จในปีนี้คาดว่าปีหน้าก็เข้านำเสนอเข้าสู่ขบวนการงบประมาณต่อไปซึ่งหลายๆ ส่วนจะต้องช่วยกันมีการผลักดันให้โครงการนี้นำกลับมาช่วยปัญหาภัยแล้งให้แก่พี่น้องชาว ต.ยุโป จังหวัดยะลา พื้นที่แห่งนี้เป็นพื้นที่เพาะปลูกข้าวประมาณ 800 ไร่ แต่ก็จะได้ทั้งสวนยาง สวนผลไม้ ที่อยู่รอบๆ บริเวณนี้ ในขณะเดียวกัน ก็จะนำบ่อน้ำนี้ไปทำบ่อน้ำตื้นบริเวณชุมชนหมู่บ้านสูงขึ้น จะทำให้น้ำมีใช้อย่างเพียงพอต่อไป” นายอนุรักษ์ กล่าว

ผู้อำนวยการโครงการชลประทานยะลา ยังกล่าวอีกว่า โครงการที่บ้านยะลา ต.ยะลา อ.เมือง จ.ยะลา ก็เป็นโครงการฝายบ้านยะลา เป็นระบบน้ำที่พัฒนาน้ำผิวดินให้เป็นน้ำส่งเข้าพื้นที่นาเกือบ 2,000 ไร่ สามารถที่จะช่วยเหลือพี่น้องที่ประสบภัยแล้ง ส่วนฤดูฝนจะช่วยในการเสริมในส่วนที่น้ำขาด ในช่วงฤดูฝนก็ทำให้พี่น้องที่อยู่บริเวณดังกล่าวสามารถใช้น้ำได้อย่างครบถ้วนได้ ซึ่งพบว่าในหน้าแล้งปีนี้ผลกระทบก็น้อยมาก อาจจะมีบางส่วนขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการในการนำน้ำไป ซึ่งนำน้ำไปอย่างครบถ้วน และชาวบ้านพอใจก็ใช้ประโยชน์ได้เต็มที่

ก่อนหน้านี้ ก่อนที่จะมีการจัดสร้าง พื้นที่ดังกล่าวก็มีความแห้งแล้งอย่างเช่นในพื้นที่ ต.ยุโป จนล่าสุด ก็สามารถแก้ไขจนชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนน้อยที่สุด ทางชลประทานได้เข้าไปแก้ปัญหาก็จะเป็นพื้นที่เฉพาะจุด แต่หลายๆ พื้นที่ที่ชาวบ้านยังเดือดร้อนอยู่ ทางชลประทานจะประสานการช่วยเหลือกับทางหน่วยราชการเพื่อนำน้ำขึ้นไปใช้ประโยชน์



 
 

กำลังโหลดความคิดเห็น