xs
xsm
sm
md
lg

เยี่ยม! น.ศ. ม.หาดใหญ่คว้าแชมป์ภาคใต้ “สื่อการสอนภูมิศาสตร์บนแท็บเล็ต”

เผยแพร่:

ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - สุดเจ๋ง! น.ศ.สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจจาก ม.หาดใหญ่ คว้าแชมป์ภาคใต้ระดับยอดเยี่ยม ประเภทสื่อการเรียนรู้ในผลงาน “การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (หมวดภูมิศาสตร์) สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ จัดโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (Nectec)

วันนี้ (6 ก.พ.) ฝ่ายประชาสัมพันธิ์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ (ม.หาดใหญ่) แจ้งว่า นางสาวพรชนก อาศน์สุวรรณ นายศิวรักษ์ ชาโนเพ็ญศิริ และนายภานุพงค์คงแก้วเคลื่อน นักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ คว้ารางวัลชนะเลิศระดับภาคใต้ ระดับยอดเยี่ยม ประเภทสื่อการเรียนรู้ ในผลงาน “การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (หมวดภูมิศาสตร์) สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ จัดโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (Nectec)

นางสาวพรชนก กล่าวว่า “สื่อการสอนที่พวกเราจัดทำขึ้น ตอบสนองต่อการสนับสนุนให้เด็กใช้แท็บเล็ตเป็นสื่อการเรียนการสอน โดยบทเรียนชุดนี้สามารถนำไปใช้ได้จริงบนแท็บเล็ต เด็กสามารถเรียนรู้และทำแบบทดสอบได้ด้วยตนเอง ผ่านสื่อการสอนที่มีรูปแบบตื่นตาตื่นใจ มีรูปภาพ มีเสียงประกอบ ที่เร้าต่อความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก ทำให้เด็กเข้าใจเนื้อหาในวิชาเรียนมากขึ้น”

นายภานุพงค์ กล่าวเสริมว่า “เราเลือกทำสื่อการสอนในวิชาที่มีเนื้อหาเข้าใจยาก โดยก่อนนำรายละเอียดทั้งหมดมาจัดวางในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ พวกเราต้องค้นคว้าหาคำตอบ ว่าสื่อการสอนที่ทำสำเร็จมาแล้วนั้น ช่วยแก้ปัญหาการเรียนรู้ของเด็กได้จริงหรือไม่ โดยเราพบว่าวิชาภูมิศาสตร์เป็นอีกวิชาหนึ่ง ที่มีเนื้อหาเข้าใจยาก จึงช่วยกันศึกษาเรียนรู้ในรายวิชาภูมิศาสตร์ชั้น ม.1 และสรุปเนื้อหาให้ง่ายต่อความเข้าใจของเด็ก หลังจากนั้นจึงนำเนื้อหามาออกแบบเป็นสื่อการเรียนการสอน จนสำเร็จเป็นผลงานชิ้นนี้ในที่สุด”

“สำหรับรางวัลชนะเลิศในระดับภาคใต้ที่ได้รับ ถือเป็นรางวัลที่เราภูมิใจ เพราะเราได้เป็นตัวแทนจากภาคใต้เข้าร่วมการแข่งขันระดับประเทศในรอบชิงชนะเลิศกลางเดือนมีนาคมนี้ โดยเราต้องกลับมาปรับปรุงผลงานให้สมบูรณ์ขึ้นตามคำแนะนำของคณะกรรมการ เพื่อให้งานชิ้นนี้ออกมาดีที่สุด และที่สำคัญเป็นชิ้นงานที่สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้จริง ถือเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้กับน้อง ๆ ในโรงเรียนอีกทางหนึ่งด้วย” นายศิวรักษ์กล่าวทิ้งท้าย

กำลังโหลดความคิดเห็น