ปัตตานี - ศอ.บต. ชี้แจงแนวทางการดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนระดับหมู่บ้านในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามโครงการ พนม. ประจำปีงบประมาณ 2557
วันที่ (23 ม.ค.) ผู้สื่อข่าวรางงานว่า ที่หอประชุมที่ว่าการอำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี ว่าที่ ร.ต.เลิศเกียรติ วงศ์โพธิพันธ์ รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นประธานการประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนระดับหมู่บ้าน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี 2557 (โครงการ พนม.) โดยมีนายสุพล โพธิ์แก้ว นายอำเภอมายอ นายลือชัย เจริญทรัพย์ ผู้อำนวยการสำนักประสานนโยบายสังคมจิตวิทยา ศอ.บต. และสมาชิกทีมพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล และบัณฑิตอาสาพัฒนามาตุภูมิ ประมาณ 100 คน เข้าร่วมในการประชุม
ว่าที่ ร.ต.เลิศเกียรติ วงศ์โพธิพันธ์ รองเลขาธิการ ศอ.บต. ได้พบปะและให้กำลังใจทีมพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล และบัณฑิตอาสาพัฒนามาตุภูมิ ในฐานะเป็นผู้ช่วย ศอ.บต. ในการขับเคลื่อนโครงการ พนม. ด้วยความเข้มแข็งและมุ่งมั่น เพื่อให้พี่น้องประชาชนในหมู่บ้านได้รับการดูแลเป็นอย่างดีจากหน่วยงานราชการ ซึ่งโครงการนี้ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 5 ปี ที่มีผลต่อพี่น้องประชาชนอย่างสูงสุด ทั้งในมิติของการความเชื่อมั่น ความพึงพอใจในการมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิต และการดูแลเอาใจใส่จากภาครัฐ นำไปสู่ต้นแบบการพัฒนาของ ศอ.บต.ในการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน ประชาชนสามารถแก้ปัญหาด้วยตนเอง เพราะไม่มีใครรู้ปัญหาได้ดีเท่าตัวเราเอง พร้อมร่วมกันทำ รับผิดชอบ ดูแลพื้นที่ของตนเอง สร้างผู้นำในเกิดขึ้นในหมู่บ้าน โดยมีทีมพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลเข้าไปเป็นพี่เลี้ยง
ทั้งนี้ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศอ.บต. ได้เสนอแนะแนวทางเพื่อทำความเข้าใจในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้ทราบในปี 2557 6 ประการคือ ประการแรก ให้โครงการนี้ตอบโจทย์ในเรื่องของความสุขของพี่น้องประชาชนในหมู่บ้าน ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับสภาพปัญหา ความต้องการของหมู่บ้านนั้นๆ ด้วย ประการที่ 2 เน้นหนักในเรื่องของการทำประชาคมร่วมกัน โดยอยากให้พี่น้องประชาชนในหมู่บ้านออกมามีบทบาท มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกัน ปรึกษาหารือ ร่วมกันตัดสินใจ ประการที่ 3 การแก้ไขความไม่เป็นเอกภาพในการแก้ปัญหาของจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในการทำงานของหน่วยงานราชการ ประการที่ 4 ท่านเลขาธิการ ศอ.บต.พยายามผลักดันในมิติศาสนา ภาษา วัฒนธรรม และการศึกษา ในกิจกรรมต่างๆ ภายในหมู่บ้านที่ได้ทำร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม พร้อมทั้งส่งเสริมในเรื่องของป้ายที่มี 3 ภาษา คือ ภาษามลายู ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ประการที่ 5 คือ การประเมินและติดตามผลงานของการดำเนินโครงการ โดยอาจจะคัดเลือกคณะกรรมการประเมินจากทีมพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลเพื่อเป็นตัวแทนของ ศอ.บต. ในการตรวจประเมินผลการดำเนินงาน ซึ่งต้องเป็นรูปธรรม มีตัวชี้วัดที่ชัดเจน
และประการสุดท้าย คือ ให้บัณฑิตอาสาเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชน เพื่อเป็นการสร้างพันธมิตรในการทำงาน รวมไปถึงหน่วยงานราชการในพื้นที่ และตั้งเครือข่ายการติดต่อสื่อสารแบบรวดเร็ว (Real Time) เพื่อให้ได้รับทราบข้อมูล เหตุการณ์ หรือกิจกรรมได้ทันที ซึ่งทาง ศอ.บต. หรือหน่วยงานพันธมิตรสามารถลงพื้นที่เพื่อร่วมกิจกรรม หรือร่วมแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที ทั้งนี้ ที่อยากจะบอกถึงข่าวดีแก่ทุกๆ คนที่ร่วมกันทำงานอย่างมุ่งมั่น จึงได้มีมาตรการเสริมสร้างขวัญ และกำลังใจในเรื่องของเงินเพิ่มพิเศษสำหรับการสู้รบ (พสร.) ที่จะดำเนินการให้ทุกคนต่อไป และการประเมินทีมที่มีคุณภาพและมีผลงานในหมู่บ้านที่โดดเด่น จะพาไปเพิ่มทักษะที่ต่างประเทศ และทีมที่มีระดับปานกลางจะเพิ่มทักษะภายในประเทศ เพื่อเป็นการตอบแทนในผลการทำงานที่ช่วยกันขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับหมู่บ้านอีกด้วย
วันที่ (23 ม.ค.) ผู้สื่อข่าวรางงานว่า ที่หอประชุมที่ว่าการอำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี ว่าที่ ร.ต.เลิศเกียรติ วงศ์โพธิพันธ์ รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นประธานการประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนระดับหมู่บ้าน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี 2557 (โครงการ พนม.) โดยมีนายสุพล โพธิ์แก้ว นายอำเภอมายอ นายลือชัย เจริญทรัพย์ ผู้อำนวยการสำนักประสานนโยบายสังคมจิตวิทยา ศอ.บต. และสมาชิกทีมพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล และบัณฑิตอาสาพัฒนามาตุภูมิ ประมาณ 100 คน เข้าร่วมในการประชุม
ว่าที่ ร.ต.เลิศเกียรติ วงศ์โพธิพันธ์ รองเลขาธิการ ศอ.บต. ได้พบปะและให้กำลังใจทีมพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล และบัณฑิตอาสาพัฒนามาตุภูมิ ในฐานะเป็นผู้ช่วย ศอ.บต. ในการขับเคลื่อนโครงการ พนม. ด้วยความเข้มแข็งและมุ่งมั่น เพื่อให้พี่น้องประชาชนในหมู่บ้านได้รับการดูแลเป็นอย่างดีจากหน่วยงานราชการ ซึ่งโครงการนี้ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 5 ปี ที่มีผลต่อพี่น้องประชาชนอย่างสูงสุด ทั้งในมิติของการความเชื่อมั่น ความพึงพอใจในการมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิต และการดูแลเอาใจใส่จากภาครัฐ นำไปสู่ต้นแบบการพัฒนาของ ศอ.บต.ในการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน ประชาชนสามารถแก้ปัญหาด้วยตนเอง เพราะไม่มีใครรู้ปัญหาได้ดีเท่าตัวเราเอง พร้อมร่วมกันทำ รับผิดชอบ ดูแลพื้นที่ของตนเอง สร้างผู้นำในเกิดขึ้นในหมู่บ้าน โดยมีทีมพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลเข้าไปเป็นพี่เลี้ยง
ทั้งนี้ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศอ.บต. ได้เสนอแนะแนวทางเพื่อทำความเข้าใจในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้ทราบในปี 2557 6 ประการคือ ประการแรก ให้โครงการนี้ตอบโจทย์ในเรื่องของความสุขของพี่น้องประชาชนในหมู่บ้าน ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับสภาพปัญหา ความต้องการของหมู่บ้านนั้นๆ ด้วย ประการที่ 2 เน้นหนักในเรื่องของการทำประชาคมร่วมกัน โดยอยากให้พี่น้องประชาชนในหมู่บ้านออกมามีบทบาท มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกัน ปรึกษาหารือ ร่วมกันตัดสินใจ ประการที่ 3 การแก้ไขความไม่เป็นเอกภาพในการแก้ปัญหาของจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในการทำงานของหน่วยงานราชการ ประการที่ 4 ท่านเลขาธิการ ศอ.บต.พยายามผลักดันในมิติศาสนา ภาษา วัฒนธรรม และการศึกษา ในกิจกรรมต่างๆ ภายในหมู่บ้านที่ได้ทำร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม พร้อมทั้งส่งเสริมในเรื่องของป้ายที่มี 3 ภาษา คือ ภาษามลายู ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ประการที่ 5 คือ การประเมินและติดตามผลงานของการดำเนินโครงการ โดยอาจจะคัดเลือกคณะกรรมการประเมินจากทีมพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลเพื่อเป็นตัวแทนของ ศอ.บต. ในการตรวจประเมินผลการดำเนินงาน ซึ่งต้องเป็นรูปธรรม มีตัวชี้วัดที่ชัดเจน
และประการสุดท้าย คือ ให้บัณฑิตอาสาเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชน เพื่อเป็นการสร้างพันธมิตรในการทำงาน รวมไปถึงหน่วยงานราชการในพื้นที่ และตั้งเครือข่ายการติดต่อสื่อสารแบบรวดเร็ว (Real Time) เพื่อให้ได้รับทราบข้อมูล เหตุการณ์ หรือกิจกรรมได้ทันที ซึ่งทาง ศอ.บต. หรือหน่วยงานพันธมิตรสามารถลงพื้นที่เพื่อร่วมกิจกรรม หรือร่วมแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที ทั้งนี้ ที่อยากจะบอกถึงข่าวดีแก่ทุกๆ คนที่ร่วมกันทำงานอย่างมุ่งมั่น จึงได้มีมาตรการเสริมสร้างขวัญ และกำลังใจในเรื่องของเงินเพิ่มพิเศษสำหรับการสู้รบ (พสร.) ที่จะดำเนินการให้ทุกคนต่อไป และการประเมินทีมที่มีคุณภาพและมีผลงานในหมู่บ้านที่โดดเด่น จะพาไปเพิ่มทักษะที่ต่างประเทศ และทีมที่มีระดับปานกลางจะเพิ่มทักษะภายในประเทศ เพื่อเป็นการตอบแทนในผลการทำงานที่ช่วยกันขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับหมู่บ้านอีกด้วย