ศูนย์ข่าวภูเก็ต - “รองจำเริญ” จี้ท่าอากาศยานภูเก็ต พิจารณาใหม่กรณีรถเข้าไปรับนักท่องเที่ยวในสนามบิน หลังยกเลิกสัมปทาน เหตุแนวทางการแก้ปัญหาเป็นการ “ยกเลิกสัมปทาน เพื่อกลุ่มสัมปทานเดิม” เพราะรถอื่นยังไม่สามารถเข้าไปรับผู้โดยสารได้เหมือนเดิม ในขณะที่ทางจังหวัดต้องการที่จะแก้ปัญหารถแท็กซี่ป้ายดำทั้งหมด เพื่อให้เข้าสู่ระบบแท็กซี่มิเตอร์ที่สามารถรับผู้โดยสารได้ทั้ง 2 ขา
นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานการประชุม คณะทำงาน ศปอท. จังหวัดภูเก็ต ครั้งที่ 7/2556 เพื่อติดตามการปฏิบัติงาน และการแก้ปัญหาการร้องเรียนจากหน่วยงาน ซึ่งจัดให้มีการประชุมเมื่อวานนี้ (12 พ.ย.) ที่ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการร่วมเพื่อป้องกันและปราบปรามผู้มีอิทธิพลที่เป็นภัยต่อการท่องเที่ยว (ศปอท.) จังหวัดภูเก็ต กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต โดยมีหน่วยงานต่างๆ เช่น สำนักงานส่งจังหวัด ตำรวจภูธรจังหวัด ตำรวจท่องเที่ยว กรมสอบสวนคดีพิเศษ ฝ่ายปกครอง เจ้าท่าภูมิภาค สาขาภูเก็ต ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดภูเก็ต เป็นต้น โดยมี พ.ต.อ.อรุณ แกล้ววาที รอง ผบก.ภ.จว.ภูเก็ต พ.ต.ท.สมบูรณ์ สารสิทธิ์ ผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษ 3 นายธีรยุทธ์ ประเสริฐผล ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งจังหวัดภูเก็ต นายประพันธ์ ขันธุ์พระแสง หัวหน้าศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดภูเก็ต และคณะทำงานจากอีกหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม
โดยนายจำเริญ กล่าวในการประชุมถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาเรื่องการร้องเรียนต่างๆ ว่า ได้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ทั้งเรื่องของแท็กซี่ป้ายดำที่เปิดโอกาสให้มาขึ้นทะเบียนเพื่อปรับเป็นรถป้ายเขียวจาก ซึ่งเปิดให้เจ้าของรถมาแจ้งขึ้นทะเบียนมาเป็นเวลากว่า 6 เดือนแล้ว พบว่า ขณะนี้มีผู้มาขึ้นทะเบียนเพียงแค่ 1,321 คันเท่านั้น จากจำนวน 2,579 คัน คิดเป็น 51.2% ส่วนผู้ที่ยังไม่มาขึ้นส่วนใหญ่อ้างเรื่องของติดไฟแนนซ์ และอ้างเรื่องปัญหาการเงิน ซึ่งหลังจากนี้คงจะต้องมีการดำเนินการอย่างจริงจัง รวมถึงรถตู้ ซึ่งมีการเข้ามาร้องเรียน ซึ่งภายในวันที่ 22 พ.ย.นี้ รถตู้ที่ต้องการเข้าระบบจะต้องมาขึ้นทะเบียนให้เรียบร้อย หากไม่มาดำเนินการทางเจ้าหน้าที่จะต้องดำเนินการจับกุมอย่างเด็ดขาดเช่นเดียวกัน ซึ่งเรื่องนี้จะเร่งประสานไปยังอธิบดีกรมขนส่งในการเร่งรัดให้มีการจดทะเบียนป้ายเหลืองให้แก่รถตู้เป็นกรณีพิเศษ
ขณะที่ในส่วนของการแก้ไขปัญหากรณีคิวรถแท็กซี่ที่ห้างเซ็นทรัล เฟสติวัล จ.ภูเก็ต พ.ต.ท.สมบูรณ์ สารสิทธิ์ ผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษ 3 กล่าวว่า ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนของการจัดตั้งสหกรณ์ ซึ่งจะเร่งดำเนินการให้เสร็จภายใน 30 มิ.ย.นี้ ซึ่งขณะนี้การดำเนินการยังมีปัญหาในระดับหนึ่ง แต่จะเร่งดำเนินการให้เสร็จโดยเร็วที่สุด
ด้านนายสมถวิล แย้มสวน ผู้อำนวยการส่วนรักษาความปลอดภัยท่าอากาศยานภูเก็ต กล่าวถึงการแก้ไขปัญหากรณีรถแท็กซี่ในบริเวณท่าอากาศยานภูเก็ต ว่า สำหรับรูปแบบการบริหารจัดการรถนั้นใช้รูปแบบเดียวกับที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เน้นการจัดระเบียบให้มีความปลอดภัย เป็นระเบียบเรียบร้อย ได้มาตรฐานสากล ราคายุติธรรม ซึ่งเดิมจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.56 โดยมีการประกาศให้รถที่อยู่ในสัมปทานเดิมไปขึ้นทะเบียนเพื่อเข้าสู่ระบบ ซึ่งประกอบด้วย สหกรณ์ บริการรถยนต์บริการธุรกิจ ภูเก็ต จำกัด และบริษัท ภูเก็ต ไม้ขาว สาคู จำกัด บริษัท ภูเก็ต แท็กซี่มิเตอร์ เซอร์วิส จำกัด จำนวนรถ 420 คัน
แต่จากการเปิดให้รถมาขึ้นทะเบียนก่อนหน้านี้ พบว่าไม่มีรถมาขึ้นทะเบียน จึงได้มีการขยายสัมปทานออกไปอีก 2 เดือน คือ ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.56-31 ม.ค.57 เริ่มใช้ระบบใหม่ 1 ก.พ.57 และประกาศให้มีการลงทะเบียนใหม่ในส่วนของ 3 บริษัทเดิมซึ่งยังคงเป็นบริษัทที่เคยได้รับสัมปทาน ซึ่งขณะนี้มีรถมาทยอยขึ้นทะเบียนแล้ว 2 บริษัท คือ บริษัท ภูเก็ต ไม้ขาว สาคู จำกัด และ บริษัท ภูเก็ต แท็กซี่มิเตอร์ เซอร์วิส จำกัด ส่วนกรณีรถอื่นที่เกินจาก 420 คัน ต้องหารือกันอีกครั้ง ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา
อย่างไรก็ตาม หลังจากตัวแทนจากท่าอากาศยานภูเก็ตชี้แจงจบ นายจำเริญ กล่าวว่า รูปแบบการบริหารจัดการรถแท็กซี่ที่บริเวณท่าอากาศยานโดยการยกเลิกสัมปทาน เพื่อบริหารจัดการเองโดยการเรียกเก็บค่าคิว และผู้ที่จะมาเข้าคิวได้ต้องเป็นรถที่เคยอยู่ในบริษัทที่เคยได้รับสัมปทาน ซึ่งตนมองว่า “เป็นการยกเลิกสัมปทานเพื่อกลุ่มสัมปทานเดิม” ซึ่งไม่สามารถแก้ปัญหารถแท็กซี่ป้ายดำที่กำลังเกิดขึ้นได้ เพราะรถจากที่อื่นแม้ว่าจะปรับเป็นรถแท็กซี่ หรือรถป้ายเขียวก็ไม่สามารถที่จะเข้าไปรับนักท่องเที่ยวได้อยู่ดี ซึ่งเรื่องนี้ทางการท่าอากาศยานจะต้องคิดให้รอบคอบ เพราะการแก้ไขปัญหารถแท็กซี่ป้ายดำตามนโยบายของจังหวัดต้องการที่จะแก้ทั้งจังหวัด เพื่อให้รถสามารถรับส่งผู้โดยสารทั้งขาไป และข้ากลับ ซึ่งทำให้การแก้ไขปัญหาเห็นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานการประชุม คณะทำงาน ศปอท. จังหวัดภูเก็ต ครั้งที่ 7/2556 เพื่อติดตามการปฏิบัติงาน และการแก้ปัญหาการร้องเรียนจากหน่วยงาน ซึ่งจัดให้มีการประชุมเมื่อวานนี้ (12 พ.ย.) ที่ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการร่วมเพื่อป้องกันและปราบปรามผู้มีอิทธิพลที่เป็นภัยต่อการท่องเที่ยว (ศปอท.) จังหวัดภูเก็ต กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต โดยมีหน่วยงานต่างๆ เช่น สำนักงานส่งจังหวัด ตำรวจภูธรจังหวัด ตำรวจท่องเที่ยว กรมสอบสวนคดีพิเศษ ฝ่ายปกครอง เจ้าท่าภูมิภาค สาขาภูเก็ต ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดภูเก็ต เป็นต้น โดยมี พ.ต.อ.อรุณ แกล้ววาที รอง ผบก.ภ.จว.ภูเก็ต พ.ต.ท.สมบูรณ์ สารสิทธิ์ ผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษ 3 นายธีรยุทธ์ ประเสริฐผล ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งจังหวัดภูเก็ต นายประพันธ์ ขันธุ์พระแสง หัวหน้าศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดภูเก็ต และคณะทำงานจากอีกหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม
โดยนายจำเริญ กล่าวในการประชุมถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาเรื่องการร้องเรียนต่างๆ ว่า ได้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ทั้งเรื่องของแท็กซี่ป้ายดำที่เปิดโอกาสให้มาขึ้นทะเบียนเพื่อปรับเป็นรถป้ายเขียวจาก ซึ่งเปิดให้เจ้าของรถมาแจ้งขึ้นทะเบียนมาเป็นเวลากว่า 6 เดือนแล้ว พบว่า ขณะนี้มีผู้มาขึ้นทะเบียนเพียงแค่ 1,321 คันเท่านั้น จากจำนวน 2,579 คัน คิดเป็น 51.2% ส่วนผู้ที่ยังไม่มาขึ้นส่วนใหญ่อ้างเรื่องของติดไฟแนนซ์ และอ้างเรื่องปัญหาการเงิน ซึ่งหลังจากนี้คงจะต้องมีการดำเนินการอย่างจริงจัง รวมถึงรถตู้ ซึ่งมีการเข้ามาร้องเรียน ซึ่งภายในวันที่ 22 พ.ย.นี้ รถตู้ที่ต้องการเข้าระบบจะต้องมาขึ้นทะเบียนให้เรียบร้อย หากไม่มาดำเนินการทางเจ้าหน้าที่จะต้องดำเนินการจับกุมอย่างเด็ดขาดเช่นเดียวกัน ซึ่งเรื่องนี้จะเร่งประสานไปยังอธิบดีกรมขนส่งในการเร่งรัดให้มีการจดทะเบียนป้ายเหลืองให้แก่รถตู้เป็นกรณีพิเศษ
ขณะที่ในส่วนของการแก้ไขปัญหากรณีคิวรถแท็กซี่ที่ห้างเซ็นทรัล เฟสติวัล จ.ภูเก็ต พ.ต.ท.สมบูรณ์ สารสิทธิ์ ผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษ 3 กล่าวว่า ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนของการจัดตั้งสหกรณ์ ซึ่งจะเร่งดำเนินการให้เสร็จภายใน 30 มิ.ย.นี้ ซึ่งขณะนี้การดำเนินการยังมีปัญหาในระดับหนึ่ง แต่จะเร่งดำเนินการให้เสร็จโดยเร็วที่สุด
ด้านนายสมถวิล แย้มสวน ผู้อำนวยการส่วนรักษาความปลอดภัยท่าอากาศยานภูเก็ต กล่าวถึงการแก้ไขปัญหากรณีรถแท็กซี่ในบริเวณท่าอากาศยานภูเก็ต ว่า สำหรับรูปแบบการบริหารจัดการรถนั้นใช้รูปแบบเดียวกับที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เน้นการจัดระเบียบให้มีความปลอดภัย เป็นระเบียบเรียบร้อย ได้มาตรฐานสากล ราคายุติธรรม ซึ่งเดิมจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.56 โดยมีการประกาศให้รถที่อยู่ในสัมปทานเดิมไปขึ้นทะเบียนเพื่อเข้าสู่ระบบ ซึ่งประกอบด้วย สหกรณ์ บริการรถยนต์บริการธุรกิจ ภูเก็ต จำกัด และบริษัท ภูเก็ต ไม้ขาว สาคู จำกัด บริษัท ภูเก็ต แท็กซี่มิเตอร์ เซอร์วิส จำกัด จำนวนรถ 420 คัน
แต่จากการเปิดให้รถมาขึ้นทะเบียนก่อนหน้านี้ พบว่าไม่มีรถมาขึ้นทะเบียน จึงได้มีการขยายสัมปทานออกไปอีก 2 เดือน คือ ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.56-31 ม.ค.57 เริ่มใช้ระบบใหม่ 1 ก.พ.57 และประกาศให้มีการลงทะเบียนใหม่ในส่วนของ 3 บริษัทเดิมซึ่งยังคงเป็นบริษัทที่เคยได้รับสัมปทาน ซึ่งขณะนี้มีรถมาทยอยขึ้นทะเบียนแล้ว 2 บริษัท คือ บริษัท ภูเก็ต ไม้ขาว สาคู จำกัด และ บริษัท ภูเก็ต แท็กซี่มิเตอร์ เซอร์วิส จำกัด ส่วนกรณีรถอื่นที่เกินจาก 420 คัน ต้องหารือกันอีกครั้ง ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา
อย่างไรก็ตาม หลังจากตัวแทนจากท่าอากาศยานภูเก็ตชี้แจงจบ นายจำเริญ กล่าวว่า รูปแบบการบริหารจัดการรถแท็กซี่ที่บริเวณท่าอากาศยานโดยการยกเลิกสัมปทาน เพื่อบริหารจัดการเองโดยการเรียกเก็บค่าคิว และผู้ที่จะมาเข้าคิวได้ต้องเป็นรถที่เคยอยู่ในบริษัทที่เคยได้รับสัมปทาน ซึ่งตนมองว่า “เป็นการยกเลิกสัมปทานเพื่อกลุ่มสัมปทานเดิม” ซึ่งไม่สามารถแก้ปัญหารถแท็กซี่ป้ายดำที่กำลังเกิดขึ้นได้ เพราะรถจากที่อื่นแม้ว่าจะปรับเป็นรถแท็กซี่ หรือรถป้ายเขียวก็ไม่สามารถที่จะเข้าไปรับนักท่องเที่ยวได้อยู่ดี ซึ่งเรื่องนี้ทางการท่าอากาศยานจะต้องคิดให้รอบคอบ เพราะการแก้ไขปัญหารถแท็กซี่ป้ายดำตามนโยบายของจังหวัดต้องการที่จะแก้ทั้งจังหวัด เพื่อให้รถสามารถรับส่งผู้โดยสารทั้งขาไป และข้ากลับ ซึ่งทำให้การแก้ไขปัญหาเห็นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น