ศูนย์ข่าวภูเก็ต - สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ จัดสัมมนา “ท่องเที่ยวภูเก็ต..สู่ความยั่งยืน..ทำอย่างไร” หาแนวทางพัฒนาภูเก็ตสู่ความยั่งยืน ย้ำภูเก็ตต้องรู้จุดยืน และเป้าหมายของตัวเอง ที่สำคัญทุกภาคส่วนต้องร่วมกันกำหนดทิศทางของภูเก็ตเองเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืน
เมื่อวานนี้ (17 ก.ย.) น.ส.สมหมาย ปรีชาศิลป์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานเปิดงานสัมมนา “ท่องเที่ยวภูเก็ต..สู่ความยั่งยืน..ทำอย่างไร” ซึ่งคณะจัดการการท่องเที่ยว สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณ จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย จัดขึ้นที่โรงแรมรอยัลภูเก็ตซิตี้ อ.เมือง จ.ภูเก็ต โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนา ประกอบด้วย นายวิจิตร ณ ระนอง ประธานที่ปรึกษาอาวุโสสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย นายภารเดช พยัฆวิเชียร อดีตสมาชิกวุฒิสภา และอดีตผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย นายชวาธิป จินดาวิจักษณ์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายบริการด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ นายชาญชัย ดวงจิตร ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภูเก็ต นายทรงสิทธิ์ บุญผล ประธานเครือข่ายการท่องเที่ยวชุมชนภูเก็ต ซึ่งมี ดร.รักษ์พงศ์ วงศาโรจน์ ผู้อำนวยการแผนการวิจัย เป็นผู้ดำเนินการเสวนา และมีผู้นำชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประมาณ 250 คน
น.ส.สมหมาย ปรีชาศิลป์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีความสำคัญต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศไทย และจังหวัดภูเก็ตสูงมากในหลายมิติ เช่น เป็นภาคเศรษฐกิจที่นำรายได้เข้าประเทศ ซึ่งแนวโน้มการขยายตัวของอุปสงค์การท่องเที่ยวโดยรวม และในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกย่อมเป็นผลบวกต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของจังหวัดภูเก็ต และประเทศไทย กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจในการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวสูงมาก โดยภูเก็ตเป็นจังหวัดที่สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวเป็นลำดับที่ 2 ของประเทศ รองจากกรุงเทพฯ โดยในปี 2555 สามารถทำรายได้ให้แก่ประเทศ จำนวน 248,000 ล้านบาท
น.ส.สมหมาย กล่าวอีกว่า ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา การพัฒนาของจังหวัดภูเก็ตได้เปลี่ยนผ่านจากการพึ่งพิงอุตสาหกรรมเหมืองแร่ สู่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างเต็มรูปแบบ การเติบโตของปริมาณนักท่องเที่ยวในอัตราที่สูงมาก บนฐานทรัพยากรทางธรรมชาติและทรัพยากรสาธารณูปโภคอื่นๆ ที่มีจำกัด การขยายตัวของปริมาณนักท่องเที่ยวในอัตราที่สูงอย่างต่อเนื่อง เป็นโอกาสทางธุรกิจที่ดึงดูดให้เกิดการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และบริการมากขึ้นจาก ทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติตามกระแสโลกาวิวัตน์ ซึ่งการเติบโตและการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนับเป็นสิ่งท้าทายต่อการจัดการการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ตเป็นอย่างมาก
ขณะที่ ดร.รักษ์พงศ์ วงศาโรจน์ อาจารย์ประจำสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ผู้อำนวยการแผนการวิจัย กล่าวถึงการวิจัย “ท่องเที่ยวภูเก็ต..สู่ความยั่งยืน..ทำอย่างไร” ว่า การวิจัยในครั้งนี้จัดทำขึ้นเพื่อวิจัย และพัฒนากลยุทธ์ และคู่มือขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนโดยกระบวนการการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในคลัสเตอร์การท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ซึ่งที่ผ่านมา การท่องเที่ยวของภูเก็ตมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งการท่องเที่ยวของภูเก็ตเริ่มมาตั้งแต่ปี 2510 ถัดมาในปี 2520 ภูเก็ตกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดมบน ปี 2530 ภูเก็ตเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีการโตอย่างรวดเร็ว ปี 2550 ภูเก็ตเป็นแหล่งท่องเที่ยวของคนเอเชีย ส่วนในปี 2560 จะต้องมาคิดกันว่าจะให้การท่องเที่ยวของภูเก็ตไปในทิศทางใด
ขณะที่ นายวิจิตร ณ ระนอง ประธานที่ปรึกษาอาวุโสสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ภูเก็ตยังสามารถอยู่ได้แต่อยู่ได้ในแบบที่แย่ลงทุกวัน ถ้าเปรียบภูเก็ตก็เหมือนเพชรที่หาคนมาเทียบได้ยาก แต่ขณะนี้เรากำลังทำให้เพชรไม่ส่องแสงมองไม่แวววาวเพราะการเจียระไนที่ไม่ถูกจุด คนที่มาภูเก็ตต้องการมาเที่ยวชายหาดแต่ถ้าชายหาดดูไม่ได้ หรือมาแล้วไม่มีความสุขคนก็ไม่อยากมาต่อ ให้สิ่งรอบข้างซึ่งเปรียบเหมือนน้ำจิ้มดีแค่ไหนถ้าอาหารจานหลักไม่ดีคนก็ไม่อยากกิน เพราะฉะนั้น การพัฒนาการท่องเที่ยวจะต้องยิงให้ตรงเป้า การจะทำให้การท่องเที่ยวของภูเก็ตยั่งยืน และเดินไปข้างหน้าจะต้องรู้ว่าตอนนี้เรายืนอยู่ ณ จุดใด และจุดมุ่งหมาย หรือเป้าหมายอยู่ที่ไหน ถ้าเรารู้แบบนี้ก็สามารถเดินไปสู่จุดหมายได้อย่างแน่นอน
ด้านนายภารเดช พยัฆวิเชียร อดีตสมาชิกวุฒิสภา และอดีตผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ขณะนี้ภูเก็ตมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องของจำนวนนักท่องเที่ยวกับการรองรับซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงถ้าไม่มีการกำหนดเพดานทิศทางของภูเก็ตโดยการจำกัดจำนวน ถึงเวลาแล้วที่จะต้องมีการกำหนดนโยบายสาธารณะด้านการท่องเที่ยวให้ครอบคลุม ถ้าไม่มีการดำเนินการต่อไปภูเก็ตก็ขายตัวเองไม่ได้ ถึงเวลาแล้วที่ภูเก็ตควรจะจากข้างล่างไปยังข้างบน มีการกำหนดคู่มือในการพัฒนาท่องเที่ยว เช่น คู่มือจัดรูปที่ดิน และที่สำคัญ การทำภูเก็ตให้ยั่งยืนทุกคนต้องปรับตัว ทุกภาคส่วนต้องมองในภาพรวมทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน รวมกันคิด และกำหนดทิศทางร่วมกันในการพัฒนาภูเก็ต เพื่อให้ภูเก็ตไปสู่ความยั่งยืน
เมื่อวานนี้ (17 ก.ย.) น.ส.สมหมาย ปรีชาศิลป์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานเปิดงานสัมมนา “ท่องเที่ยวภูเก็ต..สู่ความยั่งยืน..ทำอย่างไร” ซึ่งคณะจัดการการท่องเที่ยว สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณ จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย จัดขึ้นที่โรงแรมรอยัลภูเก็ตซิตี้ อ.เมือง จ.ภูเก็ต โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนา ประกอบด้วย นายวิจิตร ณ ระนอง ประธานที่ปรึกษาอาวุโสสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย นายภารเดช พยัฆวิเชียร อดีตสมาชิกวุฒิสภา และอดีตผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย นายชวาธิป จินดาวิจักษณ์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายบริการด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ นายชาญชัย ดวงจิตร ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภูเก็ต นายทรงสิทธิ์ บุญผล ประธานเครือข่ายการท่องเที่ยวชุมชนภูเก็ต ซึ่งมี ดร.รักษ์พงศ์ วงศาโรจน์ ผู้อำนวยการแผนการวิจัย เป็นผู้ดำเนินการเสวนา และมีผู้นำชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประมาณ 250 คน
น.ส.สมหมาย ปรีชาศิลป์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีความสำคัญต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศไทย และจังหวัดภูเก็ตสูงมากในหลายมิติ เช่น เป็นภาคเศรษฐกิจที่นำรายได้เข้าประเทศ ซึ่งแนวโน้มการขยายตัวของอุปสงค์การท่องเที่ยวโดยรวม และในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกย่อมเป็นผลบวกต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของจังหวัดภูเก็ต และประเทศไทย กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจในการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวสูงมาก โดยภูเก็ตเป็นจังหวัดที่สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวเป็นลำดับที่ 2 ของประเทศ รองจากกรุงเทพฯ โดยในปี 2555 สามารถทำรายได้ให้แก่ประเทศ จำนวน 248,000 ล้านบาท
น.ส.สมหมาย กล่าวอีกว่า ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา การพัฒนาของจังหวัดภูเก็ตได้เปลี่ยนผ่านจากการพึ่งพิงอุตสาหกรรมเหมืองแร่ สู่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างเต็มรูปแบบ การเติบโตของปริมาณนักท่องเที่ยวในอัตราที่สูงมาก บนฐานทรัพยากรทางธรรมชาติและทรัพยากรสาธารณูปโภคอื่นๆ ที่มีจำกัด การขยายตัวของปริมาณนักท่องเที่ยวในอัตราที่สูงอย่างต่อเนื่อง เป็นโอกาสทางธุรกิจที่ดึงดูดให้เกิดการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และบริการมากขึ้นจาก ทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติตามกระแสโลกาวิวัตน์ ซึ่งการเติบโตและการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนับเป็นสิ่งท้าทายต่อการจัดการการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ตเป็นอย่างมาก
ขณะที่ ดร.รักษ์พงศ์ วงศาโรจน์ อาจารย์ประจำสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ผู้อำนวยการแผนการวิจัย กล่าวถึงการวิจัย “ท่องเที่ยวภูเก็ต..สู่ความยั่งยืน..ทำอย่างไร” ว่า การวิจัยในครั้งนี้จัดทำขึ้นเพื่อวิจัย และพัฒนากลยุทธ์ และคู่มือขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนโดยกระบวนการการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในคลัสเตอร์การท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ซึ่งที่ผ่านมา การท่องเที่ยวของภูเก็ตมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งการท่องเที่ยวของภูเก็ตเริ่มมาตั้งแต่ปี 2510 ถัดมาในปี 2520 ภูเก็ตกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดมบน ปี 2530 ภูเก็ตเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีการโตอย่างรวดเร็ว ปี 2550 ภูเก็ตเป็นแหล่งท่องเที่ยวของคนเอเชีย ส่วนในปี 2560 จะต้องมาคิดกันว่าจะให้การท่องเที่ยวของภูเก็ตไปในทิศทางใด
ขณะที่ นายวิจิตร ณ ระนอง ประธานที่ปรึกษาอาวุโสสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ภูเก็ตยังสามารถอยู่ได้แต่อยู่ได้ในแบบที่แย่ลงทุกวัน ถ้าเปรียบภูเก็ตก็เหมือนเพชรที่หาคนมาเทียบได้ยาก แต่ขณะนี้เรากำลังทำให้เพชรไม่ส่องแสงมองไม่แวววาวเพราะการเจียระไนที่ไม่ถูกจุด คนที่มาภูเก็ตต้องการมาเที่ยวชายหาดแต่ถ้าชายหาดดูไม่ได้ หรือมาแล้วไม่มีความสุขคนก็ไม่อยากมาต่อ ให้สิ่งรอบข้างซึ่งเปรียบเหมือนน้ำจิ้มดีแค่ไหนถ้าอาหารจานหลักไม่ดีคนก็ไม่อยากกิน เพราะฉะนั้น การพัฒนาการท่องเที่ยวจะต้องยิงให้ตรงเป้า การจะทำให้การท่องเที่ยวของภูเก็ตยั่งยืน และเดินไปข้างหน้าจะต้องรู้ว่าตอนนี้เรายืนอยู่ ณ จุดใด และจุดมุ่งหมาย หรือเป้าหมายอยู่ที่ไหน ถ้าเรารู้แบบนี้ก็สามารถเดินไปสู่จุดหมายได้อย่างแน่นอน
ด้านนายภารเดช พยัฆวิเชียร อดีตสมาชิกวุฒิสภา และอดีตผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ขณะนี้ภูเก็ตมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องของจำนวนนักท่องเที่ยวกับการรองรับซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงถ้าไม่มีการกำหนดเพดานทิศทางของภูเก็ตโดยการจำกัดจำนวน ถึงเวลาแล้วที่จะต้องมีการกำหนดนโยบายสาธารณะด้านการท่องเที่ยวให้ครอบคลุม ถ้าไม่มีการดำเนินการต่อไปภูเก็ตก็ขายตัวเองไม่ได้ ถึงเวลาแล้วที่ภูเก็ตควรจะจากข้างล่างไปยังข้างบน มีการกำหนดคู่มือในการพัฒนาท่องเที่ยว เช่น คู่มือจัดรูปที่ดิน และที่สำคัญ การทำภูเก็ตให้ยั่งยืนทุกคนต้องปรับตัว ทุกภาคส่วนต้องมองในภาพรวมทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน รวมกันคิด และกำหนดทิศทางร่วมกันในการพัฒนาภูเก็ต เพื่อให้ภูเก็ตไปสู่ความยั่งยืน