xs
xsm
sm
md
lg

เผยผลสำรวจ “จปฐ.” คนตรังมีรายได้เฉลี่ย 170 บาท/คน/วัน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


 
ตรัง - เผยผลสำรวจ “จปฐ.” เที่ยวล่าสุดของชาวเมืองหมู่ย่าง พบรายมีได้เฉลี่ยอยู่ที่ 170 บาท/คน/วัน โดยมีผู้ที่ยากจนไม่ผ่านเกณฑ์อยู่เพียง 6 ครัวเรือน รวมทั้งพบปัญหาการศึกษา และสุขภาพยังคงมีระดับสูงในบางกลุ่ม
 
นายสาธร นราวิสุทธิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เปิดเผยว่า สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดตรัง ได้ดำเนินการประสานการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ในเขตชนบท ช่วงระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน 2556 ที่ผ่านมา โดยอาสาสมัครที่อยู่ในหมู่บ้านเข้าไปสัมภาษณ์หัวหน้าครัวเรือน พร้อมบันทึกเทป และประมวลผลข้อมูล รวมทั้งจัดเวทีประชาคมตรวจสอบรับรองความถูกต้องของข้อมูลในระดับตำบล อำเภอ และจังหวัด ก่อนส่งผ่านข้อมูลให้กรมการพัฒนาชุมชน เพื่อนำข้อมูลไปประมวลผลในระดับประเทศต่อไป
 
ทั้งนี้ พบว่ารายได้เฉลี่ยของชาวตรังอยู่ที่คนละ 62,088  บาท/ปี หรือเฉลี่ยวันละ 170 บาท โดยอำเภอวังวิเศษ มีรายได้เฉลี่ยสูงสุดคนละ 72,161 บาท/ปี ส่วนอำเภอหาดสำราญ มีรายได้เฉลี่ยต่ำสุดคนละ 53,463  บาท/ปี และครัวเรือนยากจนที่รายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ 30,000  บาท/คน/ปี มีจำนวน  6  ครัวเรือน นอกจากนี้ ยังได้มีการประเมินความสุขจากคะแนนเต็ม 10 พบว่า คนตรังได้เฉลี่ย 8.17 คะแนน ส่วนอำเภอที่มีความสุขสูงสุดคือ อำเภอหาดสำราญได้ 8.35 คะแนน และอำเภอที่มีความสุขต่ำสุดคือ อำเภอนาโยงได้ 7.89 คะแนน
 
สำหรับตัวชี้วัดที่บรรลุเป้าหมายมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ตัวชี้วัดที่ 23 คือ คนในครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยไม่น้อยกว่าคนละ 30,000 บาทต่อปี ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 99.99 ตกเกณฑ์ 6 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 0.01 ตัวชี้วัดที่ 2 คือ เด็กแรกเกิดถึง 12 ปี ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคครบตามตารางสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 99.98 ตกเกณฑ์ 10 คน คิดเป็นร้อยละ 0.02 และตัวชี้วัดที่ 28 คือ คนสูงอายุได้รับการดูแลจากคนในครัวเรือน หมู่บ้าน/ชุมชน หรือภาครัฐ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 99.97 ตกเกณฑ์ 16 คน คิดเป็นร้อยละ 0.03
 
ส่วนตัวชี้วัดที่บรรลุเป้าหมายน้อยที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ ตัวชี้วัดที่ 19 คือ เด็กที่จบการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี ที่ไม่ได้เรียนต่อและยังไม่มีงานทำ ไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 39.06 ตกเกณฑ์ 25 คน โดยอยู่ในอำเภอกันตัง, วังวิเศษ, นาโยง และหาดสำราญ ตัวชี้วัดที่ 3 คือ เด็กแรกเกิดได้กินนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนแรกติดต่อกัน ไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 9.89 ตกเกณฑ์ 2.53 คน โดยกระจายอยู่ทุกอำเภอ และตัวชี้วัดที่ 26 คือ คนในครัวเรือนไม่สูบบุหรี่ ไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 8.66 ตกเกณฑ์ 31,461 คน โดยกระจายอยู่ทุกอำเภอ
 
ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทย ได้อนุมัติงบประมาณให้จังหวัดตรัง ดำเนินการนำเสนอผลการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชนบทต่อสาธารณชน เพื่อนำผลการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนไปใช้ประโยชน์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
 
 

กำลังโหลดความคิดเห็น