นครศรีธรรมราช - ผู้ว่าฯ เมืองคอน แจ้งชาวนายืนยันการรับจำนำข้าวตันละ 15,000 บาท ถึงวันที่ 30 พ.ย.นี้ พร้อมแจง 11 โรงสีนครศรีฯ ที่ผิดปกติกำลังเร่งตรวจสอบข้าวเปลือกเกิน ส่วนศพหนูตายอาจเกิดจากการรมสารเคมี แต่ยืนยันว่าสารดังกล่าวจะไม่ตกค้างในข้าว
วันนี้ (8 ก.ค.) นายวิโรจน์ จิวะรังสรรค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า ตนได้แจ้งเรื่องการประชุมของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 ก.ค.2556 ไปยังชาวนาในพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช โดยคณะรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ หรือ กขช. เสนอให้คงราคารับจำนำข้าวเปลือก ตามโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปี 2555/56 ความชื้น 15% ไว้เท่าเดิม คือ ข้าวเปลือกเจ้า 100% ราคาตันละ 15,000 บาท และให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 30 มิ.ย.2556 มีระยะเวลาการรับจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2555/56 สิ้นสุดวันที่ 15 ก.ย.2556 ยกเว้นภาคใต้สิ้นสุดวันที่ 30 พ.ย.2556 ทั้งนี้ ถือเป็นข่าวดีของพี่น้องเกษตรกรชาวนา ทำให้ปัญหาต่างๆ ได้คลี่คลายลง ส่วนฤดูกาลผลิตหน้าเราต้องยอมรับในเรื่องของราคาข้าวในตลาดโลกด้วย
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ยังได้กล่าวถึงผลการตรวจสอบโกดังข้าวตามโครงการรับจำนำข้าวเปลือก เมื่อวันที่ 27 มิ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการตรวจสอบปูพรมพร้อมกันทั้งประเทศตามนโยบายของรัฐบาล ว่า ในส่วนของ จ.นครศรีธรรมราช มี 13 โกดัง โดยอยู่ในพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช 11 โกดัง และอยู่ในพื้นที่ จ.สงขลา 2 โกดัง และมีโรงสีเข้าร่วมโครงการ 35 โรงสี
“ผลการตรวจสอบปรากฏว่า พบสิ่งผิดปกติ 11 โรงสี คือ มีข้าวเกินจากบัญชี ซึ่งต้องหาสาเหตุว่าเกิดจากอะไร เมื่อรายงานไปยังส่วนกลางแล้ว ได้สั่งการให้ตรวจสอบซ้ำอีกครั้งหนึ่งว่าเกิดจากอะไร ต่อมา เมื่อวันที่ 29 มิ.ย.2556 ได้ตรวจซ้ำอีก พบว่า 11 โรงสีที่ผิดปกตินั้นสามารถอธิบายได้ เช่น มีโรงสีหนึ่งได้รับคำสั่งสีจาก อคส. ให้สีข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร แต่สีไม่ทันทำให้กองข้าวเปลือกยังคงอยู่ และเจ้าหน้าที่ที่ตรวจสอบได้นับกองข้าวเปลือกนั้นด้วย”
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ยังสรุปต่ออีกว่า อีกปัญหาหนึ่งคือ เจ้าหน้าที่ได้นับรวมกองข้าวสารของโรงสีที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการเข้าไปด้วย ซึ่งสรุปการตรวจสอบซ้ำได้ว่าสิ่งที่เกินมาไม่ได้ผิดปกติแต่อย่างใด แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกินมาเมื่ออธิบายได้ถือว่าไม่ผิดคดีอาญา แต่ถ้าขาดถือว่าผิดคดีอาญาต้องแจ้งความดำเนินคดี และส่วนที่เกินต้องดูเจตนาว่าเกินเพราะอะไร เก็บไว้เพื่อสวมสิทธิในฤดูกาลผลิตหน้าหรือไม่ ซึ่งทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มอบหมายกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI ร่วมกับตำรวจภูธรจังหวัด เข้ามาสอบสวนถึงสาเหตุว่าข้าวสารและข้าวเปลือกส่วนที่เกินสมเหตุสมผลหรือไม่ต่อไป
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวด้วยว่า ส่วนที่ตรวจสอบพบว่าหนู หรือแมวตายอยู่ในโกดังเก็บข้าวสารนั้น ซึ่งรัฐบาลได้มอบหมายให้อธิบดีกรมวิชาการเกษตรได้ชี้แจงว่า การรมสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชในโรงเก็บที่ไทยใช้อยู่นั้นมี 2 ชนิด คือ เมทิลโบรไมด์ และฟอสฟิน เป็นสารที่ใช้กันอย่างกว้างขวางทั่วโลกที่กำหนดโดยองค์การการค้าโลก หรือ WTO และองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ FAO เนื่องจากสามารถทำลายแมลงศัตรูได้ทุกชนิด และทุกระยะการเจริญเติบโต โดยไม่มีพิษตกค้างเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้สารฆ่าแมลง แต่การรมสารตัวนี้ถ้าหากสัตว์ไปอยู่ที่ เช่น หนูก็จะแห้งตาย แต่ไม่มีพิษตกค้างถึงข้าวแต่อย่างใด
“การพบซากหนูที่ตายในโกดังเก็บข้าวสารนั้น ตนไม่แน่ใจว่าซากหนูแห้งหรือไม่ ถ้าแห้งถือว่าเกิดจากการรมสาร 2 ชนิดนี้แน่นอน เพราะเมื่อรมแล้วต้องใช้ผ้าคลุมไว้นับสิบวัน ถ้าซากหนูมีกลิ่นเหม็นไม่แห้ง อาจจะเกิดจากยาเบื่อหนูก็เป็นไปได้เช่นกัน” นายวิโรจน์กล่าว
วันนี้ (8 ก.ค.) นายวิโรจน์ จิวะรังสรรค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า ตนได้แจ้งเรื่องการประชุมของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 ก.ค.2556 ไปยังชาวนาในพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช โดยคณะรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ หรือ กขช. เสนอให้คงราคารับจำนำข้าวเปลือก ตามโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปี 2555/56 ความชื้น 15% ไว้เท่าเดิม คือ ข้าวเปลือกเจ้า 100% ราคาตันละ 15,000 บาท และให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 30 มิ.ย.2556 มีระยะเวลาการรับจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2555/56 สิ้นสุดวันที่ 15 ก.ย.2556 ยกเว้นภาคใต้สิ้นสุดวันที่ 30 พ.ย.2556 ทั้งนี้ ถือเป็นข่าวดีของพี่น้องเกษตรกรชาวนา ทำให้ปัญหาต่างๆ ได้คลี่คลายลง ส่วนฤดูกาลผลิตหน้าเราต้องยอมรับในเรื่องของราคาข้าวในตลาดโลกด้วย
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ยังได้กล่าวถึงผลการตรวจสอบโกดังข้าวตามโครงการรับจำนำข้าวเปลือก เมื่อวันที่ 27 มิ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการตรวจสอบปูพรมพร้อมกันทั้งประเทศตามนโยบายของรัฐบาล ว่า ในส่วนของ จ.นครศรีธรรมราช มี 13 โกดัง โดยอยู่ในพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช 11 โกดัง และอยู่ในพื้นที่ จ.สงขลา 2 โกดัง และมีโรงสีเข้าร่วมโครงการ 35 โรงสี
“ผลการตรวจสอบปรากฏว่า พบสิ่งผิดปกติ 11 โรงสี คือ มีข้าวเกินจากบัญชี ซึ่งต้องหาสาเหตุว่าเกิดจากอะไร เมื่อรายงานไปยังส่วนกลางแล้ว ได้สั่งการให้ตรวจสอบซ้ำอีกครั้งหนึ่งว่าเกิดจากอะไร ต่อมา เมื่อวันที่ 29 มิ.ย.2556 ได้ตรวจซ้ำอีก พบว่า 11 โรงสีที่ผิดปกตินั้นสามารถอธิบายได้ เช่น มีโรงสีหนึ่งได้รับคำสั่งสีจาก อคส. ให้สีข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร แต่สีไม่ทันทำให้กองข้าวเปลือกยังคงอยู่ และเจ้าหน้าที่ที่ตรวจสอบได้นับกองข้าวเปลือกนั้นด้วย”
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ยังสรุปต่ออีกว่า อีกปัญหาหนึ่งคือ เจ้าหน้าที่ได้นับรวมกองข้าวสารของโรงสีที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการเข้าไปด้วย ซึ่งสรุปการตรวจสอบซ้ำได้ว่าสิ่งที่เกินมาไม่ได้ผิดปกติแต่อย่างใด แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกินมาเมื่ออธิบายได้ถือว่าไม่ผิดคดีอาญา แต่ถ้าขาดถือว่าผิดคดีอาญาต้องแจ้งความดำเนินคดี และส่วนที่เกินต้องดูเจตนาว่าเกินเพราะอะไร เก็บไว้เพื่อสวมสิทธิในฤดูกาลผลิตหน้าหรือไม่ ซึ่งทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มอบหมายกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI ร่วมกับตำรวจภูธรจังหวัด เข้ามาสอบสวนถึงสาเหตุว่าข้าวสารและข้าวเปลือกส่วนที่เกินสมเหตุสมผลหรือไม่ต่อไป
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวด้วยว่า ส่วนที่ตรวจสอบพบว่าหนู หรือแมวตายอยู่ในโกดังเก็บข้าวสารนั้น ซึ่งรัฐบาลได้มอบหมายให้อธิบดีกรมวิชาการเกษตรได้ชี้แจงว่า การรมสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชในโรงเก็บที่ไทยใช้อยู่นั้นมี 2 ชนิด คือ เมทิลโบรไมด์ และฟอสฟิน เป็นสารที่ใช้กันอย่างกว้างขวางทั่วโลกที่กำหนดโดยองค์การการค้าโลก หรือ WTO และองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ FAO เนื่องจากสามารถทำลายแมลงศัตรูได้ทุกชนิด และทุกระยะการเจริญเติบโต โดยไม่มีพิษตกค้างเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้สารฆ่าแมลง แต่การรมสารตัวนี้ถ้าหากสัตว์ไปอยู่ที่ เช่น หนูก็จะแห้งตาย แต่ไม่มีพิษตกค้างถึงข้าวแต่อย่างใด
“การพบซากหนูที่ตายในโกดังเก็บข้าวสารนั้น ตนไม่แน่ใจว่าซากหนูแห้งหรือไม่ ถ้าแห้งถือว่าเกิดจากการรมสาร 2 ชนิดนี้แน่นอน เพราะเมื่อรมแล้วต้องใช้ผ้าคลุมไว้นับสิบวัน ถ้าซากหนูมีกลิ่นเหม็นไม่แห้ง อาจจะเกิดจากยาเบื่อหนูก็เป็นไปได้เช่นกัน” นายวิโรจน์กล่าว