ยะลา - ชาวยะลาระบุข้อเสนอของกลุ่มบีอาร์เอ็นขัดแย้งกับสภาพจริงในพื้นที่ เชื่อหากถอนกำลังทหารออก ประชาชนต้องเผชิญกับความหวาดหวั่น แนะอยากให้ทีมเจรจาทบทวนว่าคนในพื้นที่ทั้งพุทธ และมุสลิมมีโอกาสแสดงความคิดเห็นมากน้อยเพียงใด
วันนี้ (27 มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.ยะลา ว่า จากกรณีที่กลุ่มขบวนการบีอาร์เอ็น นำโดยนายฮัสซัน ตอยิบ ได้ยื่นข้อเสนอ 6 ข้อ ให้แก่คณะพูดคุยสันติภาพของไทย หลังจากมีการพูดคุยสันติภาพกันครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 13 มิ.ย.ที่ผ่านมา
โดยข้อเสนอทั้ง 6 ข้อ มีประเด็นหลักๆ ในการให้รัฐบาลไทยถอนกำลังทหารทั้งหมดออกจากพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และให้กำลังภาคประชาชนเป็นผู้ดูแลพื้นที่ อีกทั้งการเสนอให้ปิดสถานบริการ สถานบันเทิง งดการขายแอลกอฮอล์ในช่วงเดือนรอมฎอน ซึ่งเป็นเดือนที่ประชาชนผู้นับถือศาสนาอิสลามเข้าสู่การถือศีลอด และปฏิบัติศาสนกิจทางศาสนา
ทั้งนี้ ประชาชนในพื้นที่ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับทราบข้อมูลดังกล่าวก็ได้ให้ความคิดเห็นว่า “การเสนอข้อต่อรองดังกล่าวเป็นไปได้ยาก เนื่องจากในพื้นที่ยังเกิดเหตุการณ์ และสถานการณ์ยังคงมีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง”
โดยนายรักชาติ สุวรรณ ประธานชุมชนคูหามุข เทศบาลนครยะลา เปิดเผยว่า ข้อเสนอต่างๆ ที่กลุ่มขบวนการบีอาร์เอ็น ได้ยื่นข้อเสนอมานั้น ไม่ว่าจะเป็นการให้ถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่ จะต้องมองว่าประชาชนในพื้นที่สามารถมั่นใจในความปลอดภัยได้มากน้อยเพียงใด และมีการยืนยันได้หรือไม่ว่า หากกำลังเจ้าหน้าที่ถอนออกไปแล้วจะไม่มีเหตุการณ์ร้ายเกิดขึ้นอีก และผู้ก่อการเองยอมวางอาวุธหรือไม่ ไม่ใช่ปล่อยให้ประชาชนอยู่กันอย่างหวาดกลัว ซึ่งตอนนี้มองว่าส่วนของรัฐบาลไทยในทีมพูดคุยสันติภาพได้แสดงออกถึงความได้เปรียบ แต่อยากให้ทบทวนว่าทีมพูดคุยสันติภาพพลาดประเด็นอะไรไปหรือเปล่า ซึ่งต้องกลับมาทบทวนกระบวนการพูดคุยอีกครั้ง และคนในพื้นที่เอง ทั้งพุทธ และมุสลิมได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นถึงความต้องการมากน้อยเพียงใด ซึ่งข้อมูลพื้นฐานความต้องการของประชาชนนั้น ภาครัฐต้องลงมาศึกษาอย่างจริงจัง
“ทั้งนี้ ข้อเสนอของกลุ่มขบวนการบีอาร์เอ็นที่เสนอมาทั้งหมดอาจเป็นเพียงข้อกล่าวอ้าง หากว่าในเดือนรอมฎอนที่จะมาถึงยังเกิดเหตุการณ์ความรุนแรง หรือความไม่สงบยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทางกลุ่มบีอาร์เอ็นเองก็จะโต้กลับมาว่า เพราะรัฐบาลไทยทำตามข้อเสนอไม่ได้ เหตุการณ์ถึงได้รุนแรง และเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว บีอาร์เอ็น หรือผู้กล่าวอ้างไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ได้ ซึ่งเชื่อว่าเป็นเกมในการพูดคุยของกลุ่มบีอาร์เอ็น” นายรักชาติ กล่าว
นายรักชาติ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า หากมีการถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้จริงๆ ตามคำร้องขอ ประชาชนในพื้นที่คงต้องปรับตัวเพิ่มความระมัดระวังกันมากขึ้น ต้องดูแลตัวเองมากยิ่งขึ้น ซึ่งทางขบวนการบีอาร์เอ็นเองที่ได้ยื่นข้อเสนอมา ต้องมีการแสดงให้เห็นว่าประชาชนมีความความปลอดภัยในชีวิตมากขึ้น เพื่อทำให้ประชาชนเกิดความมั่นใจ
วันนี้ (27 มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.ยะลา ว่า จากกรณีที่กลุ่มขบวนการบีอาร์เอ็น นำโดยนายฮัสซัน ตอยิบ ได้ยื่นข้อเสนอ 6 ข้อ ให้แก่คณะพูดคุยสันติภาพของไทย หลังจากมีการพูดคุยสันติภาพกันครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 13 มิ.ย.ที่ผ่านมา
โดยข้อเสนอทั้ง 6 ข้อ มีประเด็นหลักๆ ในการให้รัฐบาลไทยถอนกำลังทหารทั้งหมดออกจากพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และให้กำลังภาคประชาชนเป็นผู้ดูแลพื้นที่ อีกทั้งการเสนอให้ปิดสถานบริการ สถานบันเทิง งดการขายแอลกอฮอล์ในช่วงเดือนรอมฎอน ซึ่งเป็นเดือนที่ประชาชนผู้นับถือศาสนาอิสลามเข้าสู่การถือศีลอด และปฏิบัติศาสนกิจทางศาสนา
ทั้งนี้ ประชาชนในพื้นที่ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับทราบข้อมูลดังกล่าวก็ได้ให้ความคิดเห็นว่า “การเสนอข้อต่อรองดังกล่าวเป็นไปได้ยาก เนื่องจากในพื้นที่ยังเกิดเหตุการณ์ และสถานการณ์ยังคงมีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง”
โดยนายรักชาติ สุวรรณ ประธานชุมชนคูหามุข เทศบาลนครยะลา เปิดเผยว่า ข้อเสนอต่างๆ ที่กลุ่มขบวนการบีอาร์เอ็น ได้ยื่นข้อเสนอมานั้น ไม่ว่าจะเป็นการให้ถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่ จะต้องมองว่าประชาชนในพื้นที่สามารถมั่นใจในความปลอดภัยได้มากน้อยเพียงใด และมีการยืนยันได้หรือไม่ว่า หากกำลังเจ้าหน้าที่ถอนออกไปแล้วจะไม่มีเหตุการณ์ร้ายเกิดขึ้นอีก และผู้ก่อการเองยอมวางอาวุธหรือไม่ ไม่ใช่ปล่อยให้ประชาชนอยู่กันอย่างหวาดกลัว ซึ่งตอนนี้มองว่าส่วนของรัฐบาลไทยในทีมพูดคุยสันติภาพได้แสดงออกถึงความได้เปรียบ แต่อยากให้ทบทวนว่าทีมพูดคุยสันติภาพพลาดประเด็นอะไรไปหรือเปล่า ซึ่งต้องกลับมาทบทวนกระบวนการพูดคุยอีกครั้ง และคนในพื้นที่เอง ทั้งพุทธ และมุสลิมได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นถึงความต้องการมากน้อยเพียงใด ซึ่งข้อมูลพื้นฐานความต้องการของประชาชนนั้น ภาครัฐต้องลงมาศึกษาอย่างจริงจัง
“ทั้งนี้ ข้อเสนอของกลุ่มขบวนการบีอาร์เอ็นที่เสนอมาทั้งหมดอาจเป็นเพียงข้อกล่าวอ้าง หากว่าในเดือนรอมฎอนที่จะมาถึงยังเกิดเหตุการณ์ความรุนแรง หรือความไม่สงบยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทางกลุ่มบีอาร์เอ็นเองก็จะโต้กลับมาว่า เพราะรัฐบาลไทยทำตามข้อเสนอไม่ได้ เหตุการณ์ถึงได้รุนแรง และเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว บีอาร์เอ็น หรือผู้กล่าวอ้างไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ได้ ซึ่งเชื่อว่าเป็นเกมในการพูดคุยของกลุ่มบีอาร์เอ็น” นายรักชาติ กล่าว
นายรักชาติ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า หากมีการถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้จริงๆ ตามคำร้องขอ ประชาชนในพื้นที่คงต้องปรับตัวเพิ่มความระมัดระวังกันมากขึ้น ต้องดูแลตัวเองมากยิ่งขึ้น ซึ่งทางขบวนการบีอาร์เอ็นเองที่ได้ยื่นข้อเสนอมา ต้องมีการแสดงให้เห็นว่าประชาชนมีความความปลอดภัยในชีวิตมากขึ้น เพื่อทำให้ประชาชนเกิดความมั่นใจ