ASTVผู้จัดการรายวัน - ประธานสมาพันธ์อิสลาม 5 จังหวัดชายแดน แนะรัฐถอนทหาร แสดงความจริงใจ ส่วนบีอาร์เอ็นต้องรับประกันพื้นที่ถอนทหารต้องปลอดคนตาย อ้างเหตุรุนแรงเดือนรอมฎอน "สุกำพล-ประยุทธ์"ประสานเสียงรับไม่ได้ แนะอย่าให้เครดิต เหตุผิดข้อตกลง ไม่จริงใจหยุดยิง
วานนี้(25 มิ.ย.) นายฮัสซัน ตอยิบ แกนนำแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานี หรือขบวนการบีอาร์เอ็น ออกประกาศฉบับที่ 4 ลงนามวันที่ 20 มิถุนายน 2556 ระบุว่าจะยุติการปฏิบัติการทางทหารช่วงเดือนรอมฎอนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 5 อำเภอของจ.สงขลา โดยมีเงื่อนไข 7 ข้อ สรุปว่านักล่าอาณานิคมสยามต้องถอนกำลังทหาร ทหารพราน ตำรวจจากส่วนกลาง และตำรวจชายแดน ออกจากปาตานี ซึ่งก็คือ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 5 อำเภอของจ.สงขลา นอกจากนี้ให้อาสาสมัคร(อส.)ที่นับถือศาสนาอิสลาม ไม่ต้องประจำการตลอดช่วงเดือนรอมฎอน เพื่อปฏิบัติศาสนกิจ และใช้ชีวิตกับครอบครัวอย่างสมบูรณ์
ขณะเดียวกันนักล่าอาณานิคมสยามไม่สามารถสกัดถนน จับ ควบคุมตัวอย่างเด็ดขาด ไม่สามารถจัดกิจกรรมทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับเดือนรอมฎอน โดยขอบเขตและเงื่อนไขดังกล่าวต้องมีการลงนามของนายกรัฐมนตรีสยาม และต้องประกาศในวันที่ 3 กรกฎาคม 2556
โดยเงื่อนไขเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 รอมฎอน 1434 ฮิจเราะห์ศักราช ถึงวันที่ 10 ชาวัล 1434 ฮิจเราะห์ศักราช (เดือนถือศีลอดของชาวไทยมุสลิม ที่จะมีขึ้นราววันที่ 7 กรกฎาคมถึงวันที่ 7 สิงหาคม) นอกจากนี้ฝ่ายรัฐควรสั่งห้ามขายเหล้าหรือสิ่งมึนเมา ปิดแหล่งบังเทิง ช่วงเดือนรอมฎอน
นอกจากนี้การเจรจาสันติภาพระหว่างบีอาร์เอ็นกับนักล่าอาณานิคมสยาม ไม่อาจเกิดขึ้นได้ ตราบใดที่นักล่าอาณานิคมสยาม ไม่ให้คำตอบต่อประเด็นต่อไปนี้ คือ 1.ข้อเรียกร้อง 5 ข้อจากบีอาร์เอ็น ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาของรัฐสยาม 2.การเจรจาสันติภาพต้องเป็นวาระแห่งชาติ 3.ต้องกำหนดฐานะของหัวหน้าคณะตัวแทนไทย และฐานะของหัวหน้าคณะต้องมั่นคง และ 4.ไม่มีการเจรจาลับ
นายอับดุลเลาะมาน อับดุลสมัด ประธานสมาพันธ์คณะกรรมการอิสลาม 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า การเจรจาต้องใช้ระยะเวลา จึงจะบรรลุผลทั้ง 2 ฝ่าย เบื้องต้นทราบว่ารัฐบาลมีแนวคิดที่จะยกเลิกพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ในพื้นที่สีเขียว เมื่อประกาศยกเลิกก็ให้ถอนเจ้าหน้าที่ออกนอกพื้นที่ เพื่อให้บีอาร์เอ็นทราบว่าทำตามคำขอแล้ว แต่ต้องให้บีอาร์เอ็นรับประกันว่าเหตุร้ายต้องไม่มีอย่างเด็ดขาด
นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล เลขาคณะทำงานพิจารณาแนวทางการพูดคุยเพื่อสันติภาพ ระหว่างรัฐบาลกับขบวนการบีอาร์เอ็น กล่าวว่า ถือเป็นการทำผิดเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้บนโต๊ะพูดคุยสันติภาพอีกครั้ง ของกลุ่มบีอาร์เอ็น เพราะตามที่ตกลงกันไว้ บีอาร์เอ็นต้องทำข้อเสนอส่งให้พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) ไม่ใช่ทำคลิปแล้วนำเสนอเมื่อคืนวันที่ 24 มิถุนายน นอกจากนี้ยังผิดข้อตกลงว่าฝ่ายไหนจะยื่นเงื่อนไขหรือข้อเสนอ ต้องแจ้งให้อีกฝ่ายทราบ และที่สำคัญต้องให้มาเลเซีย ในฐานะผู้ประสานงานทราบเรื่องก่อนด้วย แต่บีอาร์เอ็นทำอะไรโดยที่รัฐบาลไทยและมาเลเซียไม่เคยรับรู้มาก่อนเลย
นายประสิทธิ์ เมฆสุวรรณ ประธานสภาภาคประชาสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า ข้อเสนอแรงเกินไป คงเป็นความจำเป็นของฝ่ายบีอาร์เอ็นที่ไม่ได้อยู่ในฐานะของรัฐ
" สำหรับข้อเสนอ 7 ข้อ ผมมองว่าเป็นเพียงชั้นเชิง เพราะถ้าเดือนรอมฎอนไม่สามารถยุติเหตุรุนแรงได้ บีอาร์เอ็นก็จะเสีย แต่ถ้ายื่นข้อเสนอที่รัฐบาลไทยทำไม่ได้ ก็จะเป็นข้ออ้างว่า ที่ยุติไม่ได้เพราะรัฐบาลไม่รับข้อเสนอ "
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการ คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ การแก้ปัญหาจังวัดชายแดนภาคใต้(ศปก.กปต.) กล่าวว่า ไม่จำเป็นต้องสนองตอบ เพราะหลักการ คือ ลดความรุนแรง ซึ่งกลุ่มบีอาร์เอ็นคงลืมไปว่าเมื่อ 3 สัปดาห์ก่อน เคยเผยแพร่ในยูทูปว่า 6 ศพที่จ.ปัตตานี เป็นฝีมือเจ้าหน้าที่รัฐ แต่ผ่านมา 2 สัปดาห์ ตำรวจจับคนร้ายได้ 1 คน และวิสามัญฆาตกรรม 1 คน คนร้ายที่ถูกจับสารภาพว่าคนที่ถูกวิสามัญเป็นผู้สั่งฆ่า ดังนั้นจะมีข้อเสนอก็เสนอไป ตนไม่รับฟัง
ด้านพล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แถลงว่า ในนามกระทรวงที่รับผิดชอบความมั่นคง ขอชี้แจง 2 ประเด็นว่า 1.ดีใจที่ 2 ฝ่ายมองเห็นแนวทางเดียวกัน คือ หยุดยิงช่วงเดือนรอมฎอน แต่จะหยุดยิงต้องไม่มีเงื่อนไข การจะให้ถอนทหารหรือให้สภารับรองมันเกินไป และ2.หากมีเงื่อนไขเยอะต้องยื่นผ่านประเทศมาเลเซีย แต่กลับเสนอในเว็บไซต์ ถือว่าไม่ได้ทำตามที่ได้คุยกัน
พล.อ.อ.สุกำพล กล่าวว่า ขอประกาศในนามของผู้ดูแลความมั่นคงว่า เงื่อนไขที่เสนอมาตนไม่ยอมรับ เพราะไม่จริงใจ ส่วนการพูดคุยไม่ได้ปิดประตู อยากคุยก็คุยกันไป ไม่อยากคุยก็ไม่คุย เพราะตอนนี้ทุกด้านเราไม่แพ้เลย แต่เราทำด้วยความนิ่มนวล เหมือนพระเอกหนัง มาได้ดีตอน 25 นาทีสุดท้าย ตอนนี้ผู้ร้ายได้เปรียบไปก่อน
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. กล่าวว่า ต้องถามคนไทยว่ารับข้อเสนอเช่นนี้ได้หรือไม่ หากรับไม่ได้ ก็ต้องว่ากันไป ถือว่าเป็นการฟังหูไว้หู ส่วนในพื้นที่ก็กำชับให้รักษาความลับการออกพื้นที่
"อย่าไปกังวลว่าจะต้องถอนทหาร เพราะเรามีทหารและตำรวจเอาไว้ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย ทุกวันนี้จะมีทหารหลายหมื่นต้องดูแลคนกว่า 2 ล้านคนก็ยังไม่ทั่วถึง ถ้าให้ถอนทหารแล้วจะเกิดอะไรขึ้น ข้อเสนอของเขาคงไม่มีประเทศใดในโลกรับได้ ดังนั้นอย่าไปให้เครดิต เอาหูไปนาเอาตาไปไร่ อย่าไปตื่นเต้น"
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ตนยอมไม่ได้กับข้อเสนอเพราะเรามีรัฐธรรมนูญ ที่บัญญัติไว้ว่าต้องเป็นรัฐเดียว ไม่สามารถแบ่งแยกได้ อีกทั้งตอนนี้บีอาร์เอ็นที่ไม่ได้มีอะไรที่เหนือกว่าเรา ต้องคอยดูว่าถ้าหยุดความรุนแรงในเดือนรอมฎอนได้ ก็จะน่าเชื่อถือขึ้นบ้าง ดังนั้นอย่าสร้างความสำคัญให้กับตัวเอง ตนไม่ให้เครดิตตรงนี้
วานนี้(25 มิ.ย.) นายฮัสซัน ตอยิบ แกนนำแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานี หรือขบวนการบีอาร์เอ็น ออกประกาศฉบับที่ 4 ลงนามวันที่ 20 มิถุนายน 2556 ระบุว่าจะยุติการปฏิบัติการทางทหารช่วงเดือนรอมฎอนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 5 อำเภอของจ.สงขลา โดยมีเงื่อนไข 7 ข้อ สรุปว่านักล่าอาณานิคมสยามต้องถอนกำลังทหาร ทหารพราน ตำรวจจากส่วนกลาง และตำรวจชายแดน ออกจากปาตานี ซึ่งก็คือ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 5 อำเภอของจ.สงขลา นอกจากนี้ให้อาสาสมัคร(อส.)ที่นับถือศาสนาอิสลาม ไม่ต้องประจำการตลอดช่วงเดือนรอมฎอน เพื่อปฏิบัติศาสนกิจ และใช้ชีวิตกับครอบครัวอย่างสมบูรณ์
ขณะเดียวกันนักล่าอาณานิคมสยามไม่สามารถสกัดถนน จับ ควบคุมตัวอย่างเด็ดขาด ไม่สามารถจัดกิจกรรมทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับเดือนรอมฎอน โดยขอบเขตและเงื่อนไขดังกล่าวต้องมีการลงนามของนายกรัฐมนตรีสยาม และต้องประกาศในวันที่ 3 กรกฎาคม 2556
โดยเงื่อนไขเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 รอมฎอน 1434 ฮิจเราะห์ศักราช ถึงวันที่ 10 ชาวัล 1434 ฮิจเราะห์ศักราช (เดือนถือศีลอดของชาวไทยมุสลิม ที่จะมีขึ้นราววันที่ 7 กรกฎาคมถึงวันที่ 7 สิงหาคม) นอกจากนี้ฝ่ายรัฐควรสั่งห้ามขายเหล้าหรือสิ่งมึนเมา ปิดแหล่งบังเทิง ช่วงเดือนรอมฎอน
นอกจากนี้การเจรจาสันติภาพระหว่างบีอาร์เอ็นกับนักล่าอาณานิคมสยาม ไม่อาจเกิดขึ้นได้ ตราบใดที่นักล่าอาณานิคมสยาม ไม่ให้คำตอบต่อประเด็นต่อไปนี้ คือ 1.ข้อเรียกร้อง 5 ข้อจากบีอาร์เอ็น ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาของรัฐสยาม 2.การเจรจาสันติภาพต้องเป็นวาระแห่งชาติ 3.ต้องกำหนดฐานะของหัวหน้าคณะตัวแทนไทย และฐานะของหัวหน้าคณะต้องมั่นคง และ 4.ไม่มีการเจรจาลับ
นายอับดุลเลาะมาน อับดุลสมัด ประธานสมาพันธ์คณะกรรมการอิสลาม 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า การเจรจาต้องใช้ระยะเวลา จึงจะบรรลุผลทั้ง 2 ฝ่าย เบื้องต้นทราบว่ารัฐบาลมีแนวคิดที่จะยกเลิกพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ในพื้นที่สีเขียว เมื่อประกาศยกเลิกก็ให้ถอนเจ้าหน้าที่ออกนอกพื้นที่ เพื่อให้บีอาร์เอ็นทราบว่าทำตามคำขอแล้ว แต่ต้องให้บีอาร์เอ็นรับประกันว่าเหตุร้ายต้องไม่มีอย่างเด็ดขาด
นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล เลขาคณะทำงานพิจารณาแนวทางการพูดคุยเพื่อสันติภาพ ระหว่างรัฐบาลกับขบวนการบีอาร์เอ็น กล่าวว่า ถือเป็นการทำผิดเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้บนโต๊ะพูดคุยสันติภาพอีกครั้ง ของกลุ่มบีอาร์เอ็น เพราะตามที่ตกลงกันไว้ บีอาร์เอ็นต้องทำข้อเสนอส่งให้พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) ไม่ใช่ทำคลิปแล้วนำเสนอเมื่อคืนวันที่ 24 มิถุนายน นอกจากนี้ยังผิดข้อตกลงว่าฝ่ายไหนจะยื่นเงื่อนไขหรือข้อเสนอ ต้องแจ้งให้อีกฝ่ายทราบ และที่สำคัญต้องให้มาเลเซีย ในฐานะผู้ประสานงานทราบเรื่องก่อนด้วย แต่บีอาร์เอ็นทำอะไรโดยที่รัฐบาลไทยและมาเลเซียไม่เคยรับรู้มาก่อนเลย
นายประสิทธิ์ เมฆสุวรรณ ประธานสภาภาคประชาสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า ข้อเสนอแรงเกินไป คงเป็นความจำเป็นของฝ่ายบีอาร์เอ็นที่ไม่ได้อยู่ในฐานะของรัฐ
" สำหรับข้อเสนอ 7 ข้อ ผมมองว่าเป็นเพียงชั้นเชิง เพราะถ้าเดือนรอมฎอนไม่สามารถยุติเหตุรุนแรงได้ บีอาร์เอ็นก็จะเสีย แต่ถ้ายื่นข้อเสนอที่รัฐบาลไทยทำไม่ได้ ก็จะเป็นข้ออ้างว่า ที่ยุติไม่ได้เพราะรัฐบาลไม่รับข้อเสนอ "
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการ คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ การแก้ปัญหาจังวัดชายแดนภาคใต้(ศปก.กปต.) กล่าวว่า ไม่จำเป็นต้องสนองตอบ เพราะหลักการ คือ ลดความรุนแรง ซึ่งกลุ่มบีอาร์เอ็นคงลืมไปว่าเมื่อ 3 สัปดาห์ก่อน เคยเผยแพร่ในยูทูปว่า 6 ศพที่จ.ปัตตานี เป็นฝีมือเจ้าหน้าที่รัฐ แต่ผ่านมา 2 สัปดาห์ ตำรวจจับคนร้ายได้ 1 คน และวิสามัญฆาตกรรม 1 คน คนร้ายที่ถูกจับสารภาพว่าคนที่ถูกวิสามัญเป็นผู้สั่งฆ่า ดังนั้นจะมีข้อเสนอก็เสนอไป ตนไม่รับฟัง
ด้านพล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แถลงว่า ในนามกระทรวงที่รับผิดชอบความมั่นคง ขอชี้แจง 2 ประเด็นว่า 1.ดีใจที่ 2 ฝ่ายมองเห็นแนวทางเดียวกัน คือ หยุดยิงช่วงเดือนรอมฎอน แต่จะหยุดยิงต้องไม่มีเงื่อนไข การจะให้ถอนทหารหรือให้สภารับรองมันเกินไป และ2.หากมีเงื่อนไขเยอะต้องยื่นผ่านประเทศมาเลเซีย แต่กลับเสนอในเว็บไซต์ ถือว่าไม่ได้ทำตามที่ได้คุยกัน
พล.อ.อ.สุกำพล กล่าวว่า ขอประกาศในนามของผู้ดูแลความมั่นคงว่า เงื่อนไขที่เสนอมาตนไม่ยอมรับ เพราะไม่จริงใจ ส่วนการพูดคุยไม่ได้ปิดประตู อยากคุยก็คุยกันไป ไม่อยากคุยก็ไม่คุย เพราะตอนนี้ทุกด้านเราไม่แพ้เลย แต่เราทำด้วยความนิ่มนวล เหมือนพระเอกหนัง มาได้ดีตอน 25 นาทีสุดท้าย ตอนนี้ผู้ร้ายได้เปรียบไปก่อน
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. กล่าวว่า ต้องถามคนไทยว่ารับข้อเสนอเช่นนี้ได้หรือไม่ หากรับไม่ได้ ก็ต้องว่ากันไป ถือว่าเป็นการฟังหูไว้หู ส่วนในพื้นที่ก็กำชับให้รักษาความลับการออกพื้นที่
"อย่าไปกังวลว่าจะต้องถอนทหาร เพราะเรามีทหารและตำรวจเอาไว้ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย ทุกวันนี้จะมีทหารหลายหมื่นต้องดูแลคนกว่า 2 ล้านคนก็ยังไม่ทั่วถึง ถ้าให้ถอนทหารแล้วจะเกิดอะไรขึ้น ข้อเสนอของเขาคงไม่มีประเทศใดในโลกรับได้ ดังนั้นอย่าไปให้เครดิต เอาหูไปนาเอาตาไปไร่ อย่าไปตื่นเต้น"
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ตนยอมไม่ได้กับข้อเสนอเพราะเรามีรัฐธรรมนูญ ที่บัญญัติไว้ว่าต้องเป็นรัฐเดียว ไม่สามารถแบ่งแยกได้ อีกทั้งตอนนี้บีอาร์เอ็นที่ไม่ได้มีอะไรที่เหนือกว่าเรา ต้องคอยดูว่าถ้าหยุดความรุนแรงในเดือนรอมฎอนได้ ก็จะน่าเชื่อถือขึ้นบ้าง ดังนั้นอย่าสร้างความสำคัญให้กับตัวเอง ตนไม่ให้เครดิตตรงนี้