นครศรีธรรมราช - เครือข่ายภาคประชาสังคมพื้นที่สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน 4 แห่ง ในภาคใต้ จัดชำแหละไฟดับ 14 จังหวัด เชิญ กฟผ. แจงยันจุดยืน ไม่ปฏิเสธโรงไฟฟ้าแต่ไม่เอาถ่านหิน ขณะที่ อ.หัวไทรเตรียมเคลื่อนใหญ่ 29 มิ.ย.
วันนี้ (8 มิ.ย.) ที่ จ.นครศรีธรรมราช ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เครือข่ายภาคประชาสังคมในพื้นที่ อ.ท่าศาลา อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช จ.ตรัง และ จ.กระบี่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เตรียมการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย อย่างน้อย 4 โรง จากทั้งหมด 9 โรง โดยมีการจัดเวทีของภาคประชาชนร่วมกัน 4-5 จังหวัด
ซึ่งเป็นประชาชนที่มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่โดยตรง ซึ่งจะมาพูดคุย และร่วมกันเสวนาชำแหละทั้งระบบเรื่องของสาเหตุ ความเป็นไปของไฟฟ้าดับในภาพใต้ โดยมีนักวิชาการ และได้ทำหนังสือเชิญไปยังตัวแทนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ตัวแทนของพลังงานจังหวัดนครศรีธรรมราช เข้าร่วมเพื่อชี้แจงเหตุผล และร่วมอภิปรายเสวนา
นายทรงวุฒิ พัฒแก้ว ผู้ประสานงานเครือข่ายท่าศาลารักษ์บ้านเกิด ระบุว่า ปัจจุบันพื้นที่ภาคใต้ถูกกำหนดในแผนว่าต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินให้ได้ทั้งหมด 9 โรง โรงละ 700-800 เมกะวัตถ์ ฝั่งอ่าวไทยในพื้นที่จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา รวมทั้งฝั่งอันดามัน อย่างสตูล ตรัง และกระบี่ แม้สร้างตามแผนไม่ได้ ก็จะสร้างให้ได้อย่างน้อย 2 โรง พื้นที่ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ รุกหนักมากคือ พื้นที่ อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช และพื้นที่จังหวัดกระบี่
“ทำไมต้องเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหิน เพราะว่าขณะนี้มีการสัมปทานถ่านหินไว้ในประเทศอินโดนีเซีย และประเทศออสเตรเลีย อุตสาหกรรมที่จะสามารถใช้ถ่านหินได้จำนวนมากๆ ต่อวัน คือ โรงไฟฟ้านั่นเอง ขนาด 700-800 เมกะวัตต์ จะใช้ถึงวันละ 7,000 ตัน นี่จึงเป็นคำตอบว่า ทำไมต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ภาคใต้ เนื่องจากมีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลทั้ง 2 ด้าน ง่ายต่อการขนส่งถ่านหินจำนวนมากเพื่อป้อนเข้าสู่โรงไฟฟ้า”
ผู้ประสานงานรายนี้ยังแสดงความเห็นอีกว่า นอกจากนี้ เป้าหมายในพื้นที่ภาคใต้ที่จะพัฒนาเป็นเมืองอุตสาหกรรมหนักในหลายพื้นที่ ซึ่งอุตสาหกรรมจะเป็นตัวแปรสำคัญในการใช้ไฟฟ้าในอนาคต เพราะภาคอุตสาหกรรมอย่างเดียวก็จะใช้ไฟฟ้า 30-40 เปอร์เซ็นต์ของทั้งระบบ ดังนั้น การสำรองพลังงานไฟฟ้าจึงเป็นต้นทุนที่สำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เราจึงมั่นใจว่าเป้าประสงค์ที่แท้จริงของการสร้างโรงไฟฟ้าที่มีกำลังการผลิตจำนวนมากเพื่ออุตสาหกรรมเหล่านั้น
เช่นเดียวกับในพื้นที่อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากไฟฟ้าดับการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินถูกพูดถึงมากขึ้น โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ทำให้ภาคประชาชนที่ต่อต้านพลังงานถ่านหินมีปฏิกิริยาความเคลื่อนไหวมากขึ้น โดยในวันที่ 29 มิ.ย.56 จะมีการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่อีกครั้งเพื่อยืนยันในเจตนารมณ์คัดค้านพลังงานถ่านหินอย่างเต็มกำลัง โดยมีการคาดการณ์ว่าจะมีประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมมากกว่าทุกครั้ง
วันนี้ (8 มิ.ย.) ที่ จ.นครศรีธรรมราช ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เครือข่ายภาคประชาสังคมในพื้นที่ อ.ท่าศาลา อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช จ.ตรัง และ จ.กระบี่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เตรียมการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย อย่างน้อย 4 โรง จากทั้งหมด 9 โรง โดยมีการจัดเวทีของภาคประชาชนร่วมกัน 4-5 จังหวัด
ซึ่งเป็นประชาชนที่มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่โดยตรง ซึ่งจะมาพูดคุย และร่วมกันเสวนาชำแหละทั้งระบบเรื่องของสาเหตุ ความเป็นไปของไฟฟ้าดับในภาพใต้ โดยมีนักวิชาการ และได้ทำหนังสือเชิญไปยังตัวแทนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ตัวแทนของพลังงานจังหวัดนครศรีธรรมราช เข้าร่วมเพื่อชี้แจงเหตุผล และร่วมอภิปรายเสวนา
นายทรงวุฒิ พัฒแก้ว ผู้ประสานงานเครือข่ายท่าศาลารักษ์บ้านเกิด ระบุว่า ปัจจุบันพื้นที่ภาคใต้ถูกกำหนดในแผนว่าต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินให้ได้ทั้งหมด 9 โรง โรงละ 700-800 เมกะวัตถ์ ฝั่งอ่าวไทยในพื้นที่จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา รวมทั้งฝั่งอันดามัน อย่างสตูล ตรัง และกระบี่ แม้สร้างตามแผนไม่ได้ ก็จะสร้างให้ได้อย่างน้อย 2 โรง พื้นที่ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ รุกหนักมากคือ พื้นที่ อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช และพื้นที่จังหวัดกระบี่
“ทำไมต้องเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหิน เพราะว่าขณะนี้มีการสัมปทานถ่านหินไว้ในประเทศอินโดนีเซีย และประเทศออสเตรเลีย อุตสาหกรรมที่จะสามารถใช้ถ่านหินได้จำนวนมากๆ ต่อวัน คือ โรงไฟฟ้านั่นเอง ขนาด 700-800 เมกะวัตต์ จะใช้ถึงวันละ 7,000 ตัน นี่จึงเป็นคำตอบว่า ทำไมต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ภาคใต้ เนื่องจากมีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลทั้ง 2 ด้าน ง่ายต่อการขนส่งถ่านหินจำนวนมากเพื่อป้อนเข้าสู่โรงไฟฟ้า”
ผู้ประสานงานรายนี้ยังแสดงความเห็นอีกว่า นอกจากนี้ เป้าหมายในพื้นที่ภาคใต้ที่จะพัฒนาเป็นเมืองอุตสาหกรรมหนักในหลายพื้นที่ ซึ่งอุตสาหกรรมจะเป็นตัวแปรสำคัญในการใช้ไฟฟ้าในอนาคต เพราะภาคอุตสาหกรรมอย่างเดียวก็จะใช้ไฟฟ้า 30-40 เปอร์เซ็นต์ของทั้งระบบ ดังนั้น การสำรองพลังงานไฟฟ้าจึงเป็นต้นทุนที่สำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เราจึงมั่นใจว่าเป้าประสงค์ที่แท้จริงของการสร้างโรงไฟฟ้าที่มีกำลังการผลิตจำนวนมากเพื่ออุตสาหกรรมเหล่านั้น
เช่นเดียวกับในพื้นที่อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากไฟฟ้าดับการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินถูกพูดถึงมากขึ้น โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ทำให้ภาคประชาชนที่ต่อต้านพลังงานถ่านหินมีปฏิกิริยาความเคลื่อนไหวมากขึ้น โดยในวันที่ 29 มิ.ย.56 จะมีการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่อีกครั้งเพื่อยืนยันในเจตนารมณ์คัดค้านพลังงานถ่านหินอย่างเต็มกำลัง โดยมีการคาดการณ์ว่าจะมีประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมมากกว่าทุกครั้ง