ASTVผู้จัดการออนไลน์ -กฟผ.แจงยังไม่ได้ตัดสินใจขึ้นโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่ อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช ตามที่กลุ่มเครือข่ายภาคประชาชนเข้าใจ แต่ยอมรับเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีการสำรวจแล้วพบว่ามีความเหมาะสม
จากกรณีที่ “ASTVผู้จัดการ” ได้มีการเสนอข่าว กรณีกลุ่มเครือข่ายรักษ์บ้านเกิดลุ่มน้ำปากพนังกว่า 200 คน นำโดยนายครองศักดิ์ แก้วสกุล ร่วมชุมนุมและออกแถลงการณ์ตอบโต้กรณีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกล่าวว่า องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น อ.หัวไทร ได้ยื่นเรื่องต้องการให้มีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่ อ.หัวไทร แท้จริงแล้วประชาชนในพื้นที่ไม่ได้รับรู้เรื่องดังกล่าว
โดยกล่าวว่า กลุ่มเครือข่ายฯ ไม่ได้คัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้า แต่คัดค้านการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงถ่านหิน เนื่องจากกลัวมลพิษที่จะเกิดขึ้นตามมา และมีข้อมูลกล่าวอ้างว่า กฟผ.มีโครงการจะสร้างโรงไฟฟ้าใน จ.นครศรีธรรมราช ถึง 2 แห่ง กำลังผลิตกว่า 1,600 เมกะวัตต์ แต่ทั้งจังหวัดใช้ไฟฟ้าเพียง 320 เมกะวัตต์ต่อวันเท่านั้น
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ส่งหนังสือชี้แจงเรื่องดังกล่าว ลงนามโดย นายธาตรี ริ้วเจริญ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์การ ทำการแทน ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ว่า ปัจจุบันโรงไฟฟ้าถ่านหิน มีเทคโนโลยีที่สามารถควบคุมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานได้แล้ว อีกทั้งมีปริมาณสำรองที่เพียงพอที่จะสร้างความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าให้แก่ประเทศ มีราคาเหมาะสม ไม่ผันผวนเกินไป ทำให้ราคาไฟฟ้ามีเสถียรภาพ จากคุณสมบัติดังกล่าวทำให้นานาประเทศผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงถ่านหินในอัตราที่เพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ การพัฒนาไฟฟ้าของไทย จำเป็นต้องกระจายการใช้เชื้อเพลิงหลากประเภทเพื่อลดความเสี่ยงจากการพึ่งการใช้ก๊าซธรรมชาติผลิตไฟฟ้าสูงถึงร้อยละ 70 ในขณะนี้
อีกทั้งกรณีกล่าวอ้างว่า กฟผ. มีโครงการจะก่อสร้างโรงไฟฟ้าใน จ.นครศรีธรรมราช จำนวน 2 แห่ง กำลังผลิตกว่า 1,600 เมกะวัตต์ นั้น ขอเรียนชี้แจงว่ายังมิได้มีการตัดสินใจในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ทั้งนี้ พื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช เป็นเพียงหนึ่งในพื้นที่ที่ กฟผ. ได้เข้าสำรวจความเหมาะสม และพบว่ามีศักยภาพเพียงพอที่จะก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินได้
ทั้งนี้ กฟผ. ได้ดำเนินการในขั้นตอนชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ พร้อมรับฟังความคิดเห็นข้อกังวลใจเท่านั้น ยังไม่ได้พิจารณาคัดเลือกพื้นที่ อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช เพื่อก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินแต่อย่างใด
นอกจากนี้ ในหนังสือชี้แจง กฟผ. ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า ภาคใต้มีการใช้ไฟฟ้ามากกว่าแหล่งผลิตไฟฟ้าที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยมีกำลังผลิตไฟฟ้าที่พึ่งได้เพียง 2,000 เมกะวัตต์ ในขณะที่ภาคใต้มีความต้องการใช้ไฟฟ้าถึง 2,500 เมกะวัตต์ กอปรกับภาคใต้มีความเติบโตในการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งจากภาคครัวเรือน ภาคอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวฯ ซึ่งหากจะให้เกิดความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าจะต้องมีโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นในภาคใต้
จากกรณีที่ “ASTVผู้จัดการ” ได้มีการเสนอข่าว กรณีกลุ่มเครือข่ายรักษ์บ้านเกิดลุ่มน้ำปากพนังกว่า 200 คน นำโดยนายครองศักดิ์ แก้วสกุล ร่วมชุมนุมและออกแถลงการณ์ตอบโต้กรณีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกล่าวว่า องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น อ.หัวไทร ได้ยื่นเรื่องต้องการให้มีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่ อ.หัวไทร แท้จริงแล้วประชาชนในพื้นที่ไม่ได้รับรู้เรื่องดังกล่าว
โดยกล่าวว่า กลุ่มเครือข่ายฯ ไม่ได้คัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้า แต่คัดค้านการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงถ่านหิน เนื่องจากกลัวมลพิษที่จะเกิดขึ้นตามมา และมีข้อมูลกล่าวอ้างว่า กฟผ.มีโครงการจะสร้างโรงไฟฟ้าใน จ.นครศรีธรรมราช ถึง 2 แห่ง กำลังผลิตกว่า 1,600 เมกะวัตต์ แต่ทั้งจังหวัดใช้ไฟฟ้าเพียง 320 เมกะวัตต์ต่อวันเท่านั้น
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ส่งหนังสือชี้แจงเรื่องดังกล่าว ลงนามโดย นายธาตรี ริ้วเจริญ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์การ ทำการแทน ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ว่า ปัจจุบันโรงไฟฟ้าถ่านหิน มีเทคโนโลยีที่สามารถควบคุมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานได้แล้ว อีกทั้งมีปริมาณสำรองที่เพียงพอที่จะสร้างความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าให้แก่ประเทศ มีราคาเหมาะสม ไม่ผันผวนเกินไป ทำให้ราคาไฟฟ้ามีเสถียรภาพ จากคุณสมบัติดังกล่าวทำให้นานาประเทศผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงถ่านหินในอัตราที่เพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ การพัฒนาไฟฟ้าของไทย จำเป็นต้องกระจายการใช้เชื้อเพลิงหลากประเภทเพื่อลดความเสี่ยงจากการพึ่งการใช้ก๊าซธรรมชาติผลิตไฟฟ้าสูงถึงร้อยละ 70 ในขณะนี้
อีกทั้งกรณีกล่าวอ้างว่า กฟผ. มีโครงการจะก่อสร้างโรงไฟฟ้าใน จ.นครศรีธรรมราช จำนวน 2 แห่ง กำลังผลิตกว่า 1,600 เมกะวัตต์ นั้น ขอเรียนชี้แจงว่ายังมิได้มีการตัดสินใจในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ทั้งนี้ พื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช เป็นเพียงหนึ่งในพื้นที่ที่ กฟผ. ได้เข้าสำรวจความเหมาะสม และพบว่ามีศักยภาพเพียงพอที่จะก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินได้
ทั้งนี้ กฟผ. ได้ดำเนินการในขั้นตอนชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ พร้อมรับฟังความคิดเห็นข้อกังวลใจเท่านั้น ยังไม่ได้พิจารณาคัดเลือกพื้นที่ อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช เพื่อก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินแต่อย่างใด
นอกจากนี้ ในหนังสือชี้แจง กฟผ. ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า ภาคใต้มีการใช้ไฟฟ้ามากกว่าแหล่งผลิตไฟฟ้าที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยมีกำลังผลิตไฟฟ้าที่พึ่งได้เพียง 2,000 เมกะวัตต์ ในขณะที่ภาคใต้มีความต้องการใช้ไฟฟ้าถึง 2,500 เมกะวัตต์ กอปรกับภาคใต้มีความเติบโตในการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งจากภาคครัวเรือน ภาคอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวฯ ซึ่งหากจะให้เกิดความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าจะต้องมีโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นในภาคใต้