xs
xsm
sm
md
lg

กลุ่มคัดค้านสุราษฎร์ฯ บุกยื่นหนังสือต้านโครงการเจาะสำรวจปิโตรเลียม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


สุราษฎร์ธานี - กลุ่มสมาคมท่องเที่ยวเกาะสมุย เกาะพะงัน และเกาะเต่า ผนึกกำลังเดินทางเข้ายื่นหนังสือคัดค้าน “โครงการเจาะสำรวจปิโตรเลียม” พร้อมออกแถลงการณ์ 3 ข้อ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาวบ้านในพื้นที่ หลังพลังงานจังหวัดสุราษฎร์ ร่วมกับภาคเอกชน เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น

วันนี้ (2 พ.ค.) สืบเนื่องจากในช่วงเช้าที่ผ่านมา ที่สำนักงานพลังงานจังหวัดสุราษฎร์ธานี ต.ขุนทะเล อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี พลังงานจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมกับตัวแทนบริษัทซาลามานเดอร์ เอนเนอร์ยี่ (บัวหลวง) ลิมิเต็ด จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นโครงการเจาะสำรวจปิโตรเลียม บริเวณด้านตะวันตกเฉียงใต้ของแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทย หมายเลข G4/50 จำนวน 3 หลุม ของบริษัท ซาลามานเดอร์ เอนเนอร์ยี่ (บัวหลวง) ลิมิเต็ด ครั้งที่ 2 โดยมีตัวแทนจากภาคต่างๆ เข้าร่วมจำนวน 30 คน

ล่าสุด ได้มีตัวแทนจากสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุย สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะพะงัน กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวบนเกาะเต่า พร้อมด้วย ตัวแทนชาวประมงจำนวนหนึ่งเข้ายื่นหนังสือคัดค้านโครงการดังกล่าวถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ผ่านนายหร่อหยา จันทรัตนา พลังงานจังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมกันนี้ นายอานนท์ วาทยานนท์ ที่ปรึกษาสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุย ได้เป็นตัวแทนอ่านแถลงการณ์คัดค้าน และข้อเรียกร้องจำนวน 3 ข้อ ประกอบด้วย 1.ต้องมีการศึกษาผลตอบแทนทางเศรษกิจของโครงการ ซึ่งจะต้องประเมินรวมต้นทุนทางด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ เศรษฐกิจของชุม และสังคมด้วย เพื่อเปรียบเทียบรายได้ทางเศรษฐกิจของชุมชนที่เคยได้จากการท่องเที่ยว การประมง มิใช่การกล่าวอ้างลอยๆ ว่า การขุดน้ำมันไม่เกิดผลกระทบ และทำให้ลดการนำเข้าน้ำมัน โดยที่ไม่ได้ศึกษาผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจของชุมชนอย่างรอบด้าน

2.รัฐ หรือกระทรวงพลังงาน จะต้องกำหนดมาตรฐานของบริษัท หรือหน่วยงานที่ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้แก่ผู้รับบริษัทผู้ได้รับสัมปทานปิโตรเลียม จะต้องมีความรู้ความสามารถ และมีความเป็นกลาง ที่ต้องรับรองโดยสถาบันการศึกษา และองค์กรด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งภาครัฐ เอกชน ปละภาคประชาชน ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมให้แก่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง 3.ให้ปรับปรุงกฎกติกาที่เกี่ยวข้องกับการรับฟังความคิดเห็น และ กระบวนการในการมีส่วนร่วมของภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้เป็นกระบวนการที่สร้างการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง และผลการศึกษาต้องสามารถนำไปสู่การระงับยับยั้งโครงได้ หากก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิชุมชน สิ่งแวดล้อม และการดำรงอยู่อย่างปกติสุข ทั้งด้านเศรษฐกิจ และสังคม

ขณะเดียวกัน นายอานนท์ กล่าวต่อว่า หากไม่มีการปรับปรุงเครือข่ายภาคภาคประชาชนพร้อมเดินหน้าดำเนินการต่อต้านจนถึงที่สุด หลังจากแถลงการณ์จบทั้งหมดได้แยกย้ายกันกลับไป โดยไม่เหตุรุนแรงแต่อย่างใด

 
 




กำลังโหลดความคิดเห็น